ผ่าคลอดใช้เวลากี่นาที ผ่าคลอดใช้เวลาฟักฟื้นนานไหม
หากคุณแม่มีความจำเป็นต้องผ่าคลอด คุณหมอจะให้คำแนะนำและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผ่าคลอดเบื้องต้น เช่น การผ่าคลอดใช้เวลากี่นาที ผ่าคลอดกี่ชั่วโมง ผ่าคลอดนานไหม รวมถึงขั้นตอนในการผ่าคลอด และประเภทของการคลอด รวมถึงข้อดี-ข้อเสีย ของการผ่าคลอดและคลอดธรรมชาติ ในวันนี้เราจะมาทำความรู้จัก และเรียนรู้สิ่งสำคัญที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้ เกี่ยวกับการผ่าคลอด เพื่อให้ว่าที่คุณแม่ทุกคนสามารถเตรียมพร้อมรับมือได้ดียิ่งขึ้น
สรุป
- การคลอดธรรมชาติ เป็นการคลอดผ่านช่องคลอดโดยไม่ต้องผ่าตัด เหมาะกับคุณแม่ที่มีสุขภาพแข็งแรง และทารกอยู่ในท่าปกติ โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 6-12 ชั่วโมง แต่สามารถสั้นหรือยาวนานกว่านี้ได้
- การผ่าคลอด เป็นการคลอดผ่านการผ่าตัดหน้าท้อง เหมาะกับกรณีที่มีความเสี่ยงต่อทั้งแม่และลูก การผ่าคลอดใช้เวลาประมาณ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ระยะเวลาที่แน่นอนขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ประเภทของการผ่าคลอด ขนาดของทารกและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
- การเลือกวิธีคลอดที่ดีที่สุด ขึ้นอยู่กับสุขภาพของคุณแม่และลูก ปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาว่าวิธีการคลอดแบบใดเหมาะสมกับคุณแม่และลูกน้อยมากที่สุด
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- การผ่าคลอด คืออะไร
- การผ่าคลอด มีทั้งหมดกี่แบบ
- ก่อนผ่าคลอด คุณแม่ควรเตรียมตัวอย่างไร
- คลอดเองหรือผ่าคลอด แบบไหนดีกว่ากัน
- กรณีไหนบ้างที่คุณแม่จำเป็นต้องผ่าคลอด
- คุณแม่ต้องรอให้เจ็บท้องก่อนไหมจึงผ่าคลอดได้
- อาการผิดปกติหลังการผ่าคลอด ที่ควรพบแพทย์
- ข้อดีและข้อเสีย ของการคลอดเองและผ่าคลอด
- ทำไมการผ่าตัดคลอด ถึงได้รับความนิยม
- ข้อควรรู้เกี่ยวกับการผ่าคลอด สำหรับแม่ผ่าคลอด
- วิธีเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กผ่าคลอด
การผ่าคลอด คืออะไร
การผ่าคลอด หรือการผ่าตัดคลอด เป็นหนึ่งวิธีในการคลอดบุตรนอกเหนือจากการคลอดตามธรรมชาติ โดยปกติแล้วจะเป็นวิธีการที่แพทย์จะเลือกใช้ในกรณีที่มีความจำเป็น เนื่องจากลูกไม่สามารถคลอดผ่านทางช่องคลอดได้ตามธรรมชาติด้วยความเสี่ยงที่อาจส่งผลเป็นอันตรายต่อชีวิตทั้งตัวคุณแม่และลูกในครรภ์ การผ่าคลอดจะผ่านการหารือและวางแผนร่วมกันของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้คุณแม่ไม่จำเป็นต้้องกังวลว่าผ่าคลอดใช้เวลากี่นาที ผ่าคลอดกี่ชั่วโมง ผ่าคลอดนานไหม หรือคลอดเองกับผ่าคลอดแบบไหนดีกว่ากัน เพราะหากมีความจำเป็นทางการแพทย์แล้ว คุณหมอจะเลือกวิธีการที่เหมาะสมและปลอดภัยกับทั้งคุณแม่และลูกน้อยอย่างเหมาะสม
การผ่าคลอด มีทั้งหมดกี่แบบ
การผ่าคลอดนั้นสามารถแบ่งตามลักษณะของแผลออกเป็น 2 แบบได้แก่
1. การผ่าคลอดแนวขวาง หรือแนวบิกีนี่ที่มดลูกส่วนล่าง (Transverse)
เป็นการผ่าตัดคลอดโดยแพทย์จะทำการลงมีดผ่าตัดในแนวขวาง บนบริเวณมดลูกส่วนล่างที่เรียกว่า เส้นบิกีนี่ ซึ่งหมายถึงบริเวณเหนือหัวหน่าว โดยจะมีความยาวของแผลผ่าตัดประมาณ 12-15 ซม. เป็นรูปแบบการผ่าตัดคลอดที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เพราะบริเวณนี้มีเลือดมาเลี้ยงน้อย ทำให้เสียเลือดน้อยระหว่างการผ่าตัด และมีโอกาสเกิดอาการแผลแยกในครรภ์ต่อไปได้น้อย
2. การผ่าตัดในแนวตั้งที่มดลูกส่วนล่าง (Vertical Midline incision)
เป็นการผ่าตัดคลอดโดยที่แพทย์จะทำการลงมีดผ่าตัดเป็นแนวตรงที่มดลูกตอนบน จากบริเวณใต้สะดือลงมาถึงเหนือหัวหน่าวเพื่อทำการเอาทารกออกจากครรภ์ แม้จะเป็นวิธีการที่ทำได้ง่ายและรวดเร็ว แต่วิธีการนี้ไม่ได้รับความนิยมนักในปัจจุบัน เนื่องจากบริเวณที่ทำการผ่าตัดเป็นบริเวณที่เนื้อมดลูกหนา มีเลือดมาเลี้ยงมาก ทำให้เสียเลือดมากระหว่างผ่าตัด
ก่อนผ่าคลอด คุณแม่ควรเตรียมตัวอย่างไร
ก่อนจะเข้ารับการผ่าคลอด คุณแม่ต้องเตรียมตัวทำความพร้อมก่อนทำการผ่าตัด ดังนี้
- เตรียมความพร้อมทางร่างกาย: คุณแม่ควรตรวจเลือดหรือตรวจวินิจฉัยอื่น ๆ เพื่อประเมินความพร้อมของทั้งคุณแม่และลูกในครรภ์ก่อนการผ่าตัด
- แจ้งประวัติการแพ้และภาวะแทรกซ้อน: คุณแม่ต้องแจ้งประวัติที่จำเป็นต่อการรักษาให้ครบถ้วน เช่น ประวัติการแพ้ยาและประวัติการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบ
- งดน้ำและอาหาร: คุณแม่ควรงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัดเพื่อความปลอดภัยในระหว่างการผ่าตัด
คลอดเองหรือผ่าคลอด แบบไหนดีกว่ากัน
คลอดเองหรือผ่าคลอด วิธีไหนที่ดีกว่ากัน ต้องบอกว่าการคลอดบุตรเป็นหนึ่งในกระบวนการตามธรรมชาติของมนุษย์ ดังนั้นการคลอดธรรมชาติ ดีกว่าอย่างแน่นอน แต่ไม่ใช่ว่าการผ่าคลอดเป็นสิ่งไม่ดี สุดท้ายแล้วจะเลือกวิธีการคลอดบุตรแบบไหนนั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับสภาวะทางร่างกายของคุณแม่ และแพทย์ผู้ดูแลครรภ์ ที่พิจารณาปัจจัยความเสี่ยงต่าง ๆ ในการคลอดบุตร และได้วางแผนการคลอดที่เหมาะสมกับสภาพความพร้อมต่าง ๆ ในแต่ละบุคคลไปนั่นเอง
กรณีไหนบ้างที่คุณแม่จำเป็นต้องผ่าคลอด
กรณีที่แพทย์จะแนะนำให้คุณแม่ตัดสินใจเลือกวิธีการคลอดบุตรด้วยการผ่าคลอดนั้น มักจะเกิดจากสาเหตุ และปัจจัยที่ส่งผลต่อความปลอดภัยในการคลอดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กรณีที่เกิดจากความผิดปกติของทารกในครรภ์ เช่น ตำแหน่งศีรษะลูกในท้องผิดปกติ หมุนผิดตำแหน่ง ไม่กลับตัวลงมา ลูกในครรภ์ไม่แข็งแรงมีความเสี่ยงที่จะขาดออกซิเจนขณะเจ็บท้องคลอด เป็นต้น หรือความผิดปกติของคุณแม่ที่อาจทำให้เกิดอันตรายระหว่างการคลอดบุตร เช่น คุณแม่ไม่มีแรงเบ่ง รกเกาะต่ำขวางปากมดลูก รวมถึงกรณีที่คุณแม่มีโรคประจำตัวบางโรค ซึ่งอาจเป็นอันตรายหากคลอดธรรมชาติ เป็นต้น
คุณแม่ต้องรอให้เจ็บท้องก่อนไหมจึงผ่าคลอดได้
ต้องรอให้เจ็บท้องก่อนไหมถึงผ่าคลอดได้ ผ่าคลอดนานไหม เป็นอีกหนึ่งคำถามที่คุณแม่สงสัย ว่าจำเป็นจะต้องให้เจ็บท้องก่อนไหมจึงจะสามารถทำการผ่าคลอดได้ คำตอบที่ถูกต้องก็คือ ขึ้นกับคำแนะนำของแพทย์ หากคุณหมอได้ประเมิณ และวางแผนการคลอดบุตรด้วยการผ่าคลอดได้แล้ว ก็สามารถดำเนินการตามกำหนดการที่ได้นัดหมายไว้ได้เลย
อาการผิดปกติหลังการผ่าคลอด ที่ควรพบแพทย์
นอกจากการเตรียมตัวก่อนคลอดที่คุณแม่ต้องปฏิบัติแล้ว หลังจากผ่าคลอดแล้วคุณแม่ก็ยังต้องสังเกตอาการของตัวเองอย่างใกล้ชิด หากมีอาการหรืออาการอื่นใดที่ผิดปกติ ขอแนะนำให้รีบพบแพทย์โดยทันที ตัวอย่างความผิดปกติเช่น
- มีไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียสเป็นเวลาเกิน 24 ชั่วโมง
- มีเลือดออกจากทางช่องคลอดเป็นจำนวนมาก
- มีก้อนเลือดขนาดใหญ่ออกจากช่องคลอด
- น้ำคาวปลาไม่ไหลในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด
- ปวดท้องน้อยในช่วง 1 สัปดาห์แรกหลังคลอด
- มีอาการบวมแดง มีน้ำเหลืองไหลซึม หรือเป็นหนองบริเวณแผลผ่าตัด
ข้อดีและข้อเสีย ของการคลอดเองและผ่าคลอด
ข้อดีของการผ่าคลอด
- สามารถวางแผนการคลอดบุตรล่วงหน้าได้ ไม่ต้องกังวลว่าผ่าคลอดนานไหม เพราะอาจใช้เวลาผ่าตัดไม่นาน
- ลดความกังวล และความเครียดของคุณแม่ พร้อมต่อการคลอดบุตรมากยิ่งขึ้น
- ลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หลังคลอดบุตร
- ไม่เจ็บปวดระหว่างการทำคลอด เพราะระหว่างการผ่าคลอด แพทย์จะทำการบล็อกหลัง หรือให้คุณแม่ดมยาสลบ
- คุณแม่สามารถทำหมันได้เลยหากต้องการ ไม่ต้องมาผ่าตัด หรือทำหัตถการทำหมันในภายหลัง
ข้อเสียของการผ่าคลอด
- คุณแม่มักจะเจ็บแผลผ่าคลอดเป็นเวลานาน
- มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เลือดออกมาก หรือติดเชื้อ เป็นต้น
- ลูกจะพลาดโอกาสในการได้รับภูมิคุ้มกันตั้งต้นจากการคลอด มีควาามเสี่ยงสูงต่อการเกิดภูมิแพ้ หรือป่วยได้ง่าย
- มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการคลอดแบบธรรมชาติ
- หลังคลอดจะมีอาการอ่อนเพลียและเหนื่อยได้ง่าย
ข้อดีของการคลอดธรรมชาติ
- ลูกจะได้รับภูมิคุ้มกันตั้งต้นจากจุลินทรีย์สุขภาพที่อาศัยอยู่บริเวณช่องคลอดของคุณแม่ ทำให้ลูกมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงตามธรรมชาติ
- ไม่มีการผ่าตัด เสียเลือดน้อยกว่าการผ่าคลอด ลดความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ภาวะเลือดออกภายใน หรือการติดเชื้อ
- ใช้เวลาในการพักฟื้นไม่นาน หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ คุณแม่สามารถกลับบ้านได้ภายในเวลา 2 วันหลังจากการคลอด
- คุณแม่สามารถให้นมลูกได้ทันที
- ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตรไม่แพงเมื่อเทียบกับการผ่าคลอดในโรงพยาบาลเดียวกัน
- โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนในการเจ็บครรภ์ครั้งต่อไปอย่างเช่น แผลมดลูกปริแตก มีน้อยลง
ข้อเสียของการคลอดธรรมชาติ
- ไม่สามารถกำหนดวันคลอดได้อย่างแน่นอน ไม่สามารถวางแผนเตรียมตัวล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ
- มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่อยู่หลังคลอด จากเนื้อเยื่ออุ้งเชิงเกรานของคุณแม่ที่อาจเกิดการหย่อนได้
- หากการคลอดยาก ต้องมีการใช้หัตถการ หรืออุปกรณ์ในการช่วยคลอด
- ต้องเจ็บปวดครรภ์เป็นระยะเวลานานขณะคลอด
- มีความเสี่ยงที่จะเกิดการฉีกขาด หรือขยายตัวของปากมดลูก และช่องคลอดได้
ทำไมการผ่าตัดคลอด ถึงได้รับความนิยม
1. ความปลอดภัยสูง
การผ่าคลอดได้รับการวางแผนและหารือร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งช่วยเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ไม่คาดคิดและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับคุณแม่และทารก
2. การกำหนดเวลาได้
คุณแม่สามารถวางแผนการผ่าคลอดได้ โดยมองหาฤกษ์ผ่าคลอด และปรึกษาแพทย์หลังจากสัปดาห์ที่ 38 เพื่อกำหนดวันคลอดที่ปลอดภัย
3. ใช้เวลาผ่าตัดไม่นาน
ผ่าคลอดใช้เวลากี่นาที ผ่าคลอดใช้เวลานานไหม การผ่าตัดคลอดใช้เวลาเพียงประมาณ 45 นาทีถึง 1 ชั่วโมง ทำให้เป็นวิธีการที่สะดวกและรวดเร็ว
4. ลดความเจ็บปวดขณะคลอด
การทำการบล็อกหลัง หรือการใช้ยาสลบช่วยลดความเจ็บปวดระหว่างการผ่าตัด ทำให้คุณแม่รู้สึกสบายขึ้น
5. ลดการยืดหย่อนของเชิงกราน
การผ่าคลอดช่วยลดผลกระทบต่อเส้นเอ็นยึดและเชิงกรานที่เกิดจากการเบ่งคลอดตามธรรมชาติ ช่วยให้สุขภาพเชิงกรานดีกว่าในระยะยาว
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการผ่าคลอด สำหรับแม่ผ่าคลอด
- การผ่าคลอดครั้งถัดไป: หากคุณแม่เคยผ่าคลอดในท้องแรก แพทย์จะแนะนำให้ผ่าคลอดในท้องถัดไปเพื่อความปลอดภัย
- จำนวนครั้งที่ทำได้: การผ่าคลอดสำหรับคุณแม่ สามารถทำได้ไม่เกิน 3 ครั้งในชีวิต
- ระยะเวลาฟื้นตัว: หลังการผ่าคลอด คุณแม่จะฟื้นตัวภายใน 12 ชั่วโมง และสามารถกลับบ้านได้ภายใน 4-5 วัน
- การดูแลแผล: เพื่อให้แผลผ่าคลอดหายไว ควรหลีกเลี่ยงการโดนน้ำและห้ามยกของหนัก เพื่อป้องกันไม่ให้แผลปริแตก ติดเชื้อ หรืออักเสบ
- ระยะเวลาหาย: แผลผ่าคลอดใช้เวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์ในการปิดสนิทและหายดี
- ผลต่อการเลี้ยงลูก: แผลผ่าคลอด อาจทำให้การเตรียมร่างกายสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ช้ากว่าการคลอดธรรมชาติ
วิธีเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กผ่าคลอด
เนื่องจากลูกผ่าคลอดนั้น จะพลาดโอกาสในการได้รับภูมิคุ้มกันตั้งต้นจากช่องคลอด แตกต่างจากเด็กคลอดธรรมชาติที่จะได้รับจุลินทรีย์สุขภาพที่อาศัยอยู่ในบริเวณช่องคลอดของคุณแม่ ทำให้เด็กผ่าคลอดมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าเด็กคลอดธรรมชาติ แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลไป เพราะคุณแม่สามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงให้กับลูกผ่าคลอดได้ ด้วยการให้โภชนาการที่ดีคือนมแม่ เพราะในน้ำนมแม่มีจุลินทรีย์สุขภาพหลากสายพันธุ์ เช่น B. lactis ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
นอกจากนี้ในน้ำนมแม่ยังมีสารอาหารสำคัญอื่น ๆ อีกมากมายกว่า 200 ชนิด รวมไปถึงสารอาหารที่จำเป็นต่อพัฒนาการสมอง เช่น ดีเอชเอ เออาร์เอ รวมถึง สฟิงโกไมอีลิน มีส่วนช่วยในการสร้างไมอีลิน ทำให้สมองสามารถส่งสัญญาณประสาทได้ไวขึ้น และสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณแม่มือใหม่คงเข้าใจเกี่ยวกับการผ่าคลอด และ การผ่าคลอดใช้เวลากี่นาที ขั้นตอนในการผ่าคลอดที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้ รวมถึงประเภทของการคลอด นอกจากนี้ก่อนที่จะถึงกำหนดคลอดเจ้าตัวเล็ก คุณแม่มือใหม่อย่าลืมจัดกระเป๋าเตรียมของก่อนคลอด ไปด้วยนะคะ เพื่อความสะดวกสบาย เมื่อต้องเตรียมตัวเดินทางไปคลอดเจ้าตัวเล็ก
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่
- Health check แบบประเมินสุขภาพของคุณแม่และพัฒนาการของลูกน้อย
- หัวนมบอด คืออะไร ปัญหาหัวนมบอดของคุณแม่ให้นมที่แก้ไขได้
- หัวนมคนท้อง การเปลี่ยนแปลงของเต้านมคนท้องระหว่างตั้งครรภ์
- หัวนมแตก อาการเจ็บหัวนมดูแลอย่างไร คุณแม่ให้นมลูกต่อได้ไหม
- วิธีให้นมลูกสำหรับคุณแม่มือใหม่ การให้นมลูกหลังคลอดที่ถูกต้อง
- วิธีให้ลูกดูดขวด เมื่อลูกติดเต้าไม่ดูดขวดนม พร้อมวิธีรับมือลูกน้อย
- วิธีกู้น้ำนม เมื่อคุณแม่น้ำนมไม่ไหล น้ำนมหด พร้อมวิธีเพิ่มน้ำนม
- วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอเมื่อลูกไม่เรอ ช่วยให้ลูกสบายท้องหลังอิ่มนม
- ท่าให้นมลูก ท่านอนให้นม พร้อมท่าจับเรอ ป้องกันลูกน้อยท้องอืด
- ท่อน้ำนมอุดตัน ภาวะท่อน้ำนมตันของคุณแม่ให้นมหลังคลอด
- วิธีนวดเปิดท่อน้ำนม นวดเต้าหลังคลอด แก้ไขปัญหาคุณแม่น้ำนมน้อย
อ้างอิง:
- คำแนะนำเรื่อง การผ่าตัดคลอดเด็กออกทางหน้าท้อง, โรงพยาบาลกรุงเทพ
- Grönlund MM, et al. Clin Exp Allergy. 2007 Dec;37(12):1764-72
- Floch MH, et. al. J Clin Gastroenterol. 2015 Nov-Dec;49 Suppl 1:S69-73
อ้างอิง ณ วันที่ 19 ตุลาคม 2566