10 วิธีกระตุ้นน้ำนม เพิ่มน้ำนมคุณแม่ เมื่อน้ำนมไม่ไหล

10 วิธีกระตุ้นน้ำนม เพิ่มน้ำนมคุณแม่ เมื่อน้ำนมไม่ไหล

25.09.2019

เชื่อว่าคุณแม่มือใหม่หลาย ๆ คน น่าจะเคยผ่านช่วงเวลาที่หนักใจ หรือท้อใจกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งถือเป็นสารอาหารจากธรรมชาติที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย เพราะนมแม่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย รวมถึงยังมีสารอาหารที่จะช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของลูกให้ทำงานได้ดีขึ้นและมีพัฒนาการทางสมองและร่างกายที่ดีอีกด้วย

headphones

PLAYING: 10 วิธีกระตุ้นน้ำนม เพิ่มน้ำนมคุณแม่ เมื่อน้ำนมไม่ไหล

อ่าน 12 นาที

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ความกังวลหลักของคุณแม่หลังคลอดมีหลายปัจจัย เช่น กลัวน้ำนมไม่ไหลหรือมีน้ำนมไม่เพียงพอกับความต้องการของลูก คุณแม่บางคนเจอลูกปฏิเสธเต้านม ไม่มีการดูดกระตุ้นเพื่อเพิ่มการผลิตน้ำนมตามธรรมชาติ การใช้เครื่องปั๊มนมไม่ถูกวิธี หรือคุณแม่ขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ รวมไปถึงสารอาหารที่จะช่วยบำรุงคุณแม่ในระหว่างการให้นมลูก เพื่อลดความกังวลต่าง ๆ เหล่านี้ เราได้สรุปแนวทางและเทคนิคต่าง ๆ ที่จะช่วยให้คุณแม่ให้น้ำนมลูกน้อยได้อย่างมีคุณภาพและต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ

 

อาหารเพิ่มน้ำนม บำรุงน้ำนมมีอะไรบ้าง

คุณแม่ที่ต้องการเพิ่มน้ำนม จำเป็นต้องได้รับสารอาหารเพียงพอ ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ สำหรับคุณแม่ให้นมบุตรร่างกายต้องการพลังงานประมาณ 2,500 Kcal/วัน เพิ่มขึ้นมากกว่าตอนตั้งครรภ์ จึงควรรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกายเพื่อให้ร่างกายนำมาใช้ผลิตเป็นน้ำนม ในกรณีที่คุณแม่น้ำนมไม่ไหล ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารอย่างหลากหลายและมีสารอาหารครบถ้วน จึงเป็นสิ่งสำคัญและช่วยเพิ่มน้ำนมคุณแม่ได้ ยกตัวอย่างอาหารที่เหมาะสม

  • อาหารจำพวกผลไม้ อาทิ มะละกอสุก อุดมไปด้วยไฟเบอร์ วิตามินเอ บี ซี ธาตุเหล็ก และแคลเซียมสูง มะขาม นิยมใช้กิ่งหรือต้นมะขาม อินทผลัม อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ คุณแม่บางท่านอาจจะทานอินทผลัมตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ เพื่อช่วยสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมดลูก ช่วยให้การบีบตัวของมดลูกระหว่างการคลอดได้ดี 
  • อาหารจำพวกผัก อาทิ หัวปลี สุดยอดผักเรียกน้ำนม มีธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส ขิง อุดมด้วยแคลเซียม วิตามินเอ วิตามินบี ใบกะเพรา มีแคลเซียม และฟอสฟอรัสสูง ฟักทอง มีวิตามินเอ ฟอสฟอรัส และเบต้าแคโรทีน    
  • อาหารจำพวกธัญพืช อาทิ งาดำ แหล่งแคลเซียมชั้นดี ช่วยบำรุงน้ำนมให้มีปริมาณมากยิ่งขึ้น อัลมอนด์ อุดมไปด้วยวิตามินอีและโอเมก้า 3 บำรุงให้น้ำนมที่ได้รับมีคุณภาพ ข้าวกล้องหรือขนมปังโฮลวีต มีใยอาหารสูงช่วยลดปัญหาท้องผูกได้
  • อาหารจำพวกผลิตภัณฑ์จากนม อาทิ นมวัว ที่มีสารอาหารครบถ้วน เสริมสร้างแคลเซียม โดยคุณแม่ให้นมควรดื่มอย่างน้อยวันละ 2-3 แก้ว 
  • อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ อาทิ ปลาแซลมอน ปลาทู ปลากะพง ทำให้ได้รับกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 และ DHA เพิ่มขึ้นซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาทางสมองและระบบประสาทของทารก โดยควรรับประทานปลาทะเลอย่างหลากหลาย     เนื้อหมู เนื้อไก่ รับประทานประมาณ 2 ช้อนโต๊ะต่อมื้อ หรือเทียบเท่ากับไข่ไก่ 1 ฟองต่อมื้อ

 

วิธีกระตุ้นน้ำนมแม่ อาหารบำรุงน้ำนมควรเน้นสารอาหารแบบไหน

  

อาหารบำรุงน้ำนมควรเน้นสารอาหารแบบไหน

อาหารบำรุงน้ำนม  กลุ่มที่ 1 

เป็นสารอาหารที่ช่วยเพิ่มความเข้มข้นและปริมาณของน้ำนมแม ่ รวมถึงส่งผลต่อสุขภาพของลูกน้อยที่ดี 

  • วิตามินบี 1 พบได้ในอาหารจำพวก ปลา เนื้อหมู ถั่ว ธัญพืชต่าง ๆ
  • วิตามินบี 2 พบได้ในอาหารจำพวก อัลมอนด์ ถั่วต่าง ๆ เนื้อแดง ปลาที่มีกรดไขมันจำเป็นสูง ไข่ ชีส
  • วิตามินบี 6 พบได้ในอาหารจำพวก ปลา เนื้อสัตว์ปีก ถั่วลูกไก่ ธัญพืชตระกูลถั่ว มันฝรั่ง ผลไม้อบแห้ง กล้วย
  • วิตามินบี 12 พบได้ในอาหารจำพวก หอย ตับ โยเกิร์ต ปลาที่มีกรดไขมันจำเป็นสูง ไข่ ปู กุ้ง อาหารที่หมักจากยีสต์ตามธรรมชาติ
  • วิตามินเอ พบได้ในอาหารจำพวก มันเทศ แครอท ผักใบเขียวเข้ม เครื่องใน ไข่
  • วิตามินดี พบได้ในอาหารจำพวก ปลาที่มีกรดไขมันจำเป็นสูง น้ำมันตับปลา
  • โคลีน พบได้ในอาหารจำพวก ไข่ ตับวัว ตับไก่ ถั่วพีนัท
  • ซีลีเนียม  พบได้ในอาหารจำพวก อาหารทะเล ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่วต่าง ๆ
  • ไอโอดีน พบได้ในอาหารจำพวก สาหร่ายทะเล ตับ นม เกลือไอโอดีน

 

อาหารบำรุงน้ำนม กลุ่มที่ 2

เป็นสารอาหารที่มีผลต่อสุขภาพแม่โดยตรง ช่วยในการฟื้นตัวหลังคลอด  เป็นสารอาหารที่ไม่ได้ช่วยเพิ่มความเข้มข้นของสารอาหารในน้ำนมแม่ แต่ช่วยบำรุงสุขภาพโดยการเพิ่มสารอาหารให้แก่คุณแม่ให้นม 

  • โฟเลต พบได้ในอาหารจำพวก ผักใบเขียว หน่อไม้ฝรั่ง อะโวคาโด ถั่วต่าง ๆ
  • แคลเซียม พบได้ในอาหารจำพวก ผักใบเขียว นม โยเกิร์ต
  • ธาตุเหล็ก พบได้ในอาหารจำพวก เนื้อแดง เนื้อหมู เนื้อสัตว์ปีก ถั่วต่าง ๆ ผักสีเขียว
  • ทองแดง พบได้ในอาหารจำพวก ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่วต่าง ๆ อาหารทะเล เครื่องใน มันฝรั่ง
  • สังกะสี พบได้ในอาหารจำพวก หอยนางรม เนื้อแดง เนื้อหมู เนื้อสัตว์ปีก ถั่วต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์จากนมวัว

 

อาหารเพิ่มน้ำนม บำรุงน้ำนมคุณแม่ตั้งครรภ์

 

3 เคล็ดลับวิธีเพิ่มน้ำนมแม่ให้เพียงพอกับลูกน้อย

1. ให้ลูกดูดนมจากเต้าของคุณแม่เป็นประจำ 

เนื่องจากการผลิตน้ำนมของแม่เป็นกระบวนการอุปสงค์ อุปทาน ถ้าลูกดูดเยอะ ดูดบ่อย น้ำนมก็จะผลิตเยอะ แต่ถ้าลูกดูดน้อย น้ำนมก็ผลิตน้อย ซึ่งเป็นกลไกธรรมชาติ โดยวิธีการกระตุ้นน้ำนมและเพิ่มน้ำนมที่ดีที่สุด ในกรณที่คุณแม่น้ำนมไม่ไหล คือการใช้เทคนิค ดูดเร็ว ให้ลูกดูดนมจากเต้าทันทีหลังคลอด เพื่อกระตุ้นน้ำนมครั้งแรก โดยให้ลูกน้อยดูดนมให้ได้วันละ 8-12 ครั้ง หรือตามที่ลูกต้องการ ดูดนาน ให้ลูกดูดนมข้างละประมาณ 15 นาที หรือจนกว่าลูกจะเลิกดูดเอง

 

2. การปั๊มน้ำนม

ในช่วงหลังคลอดแรก ๆ คุณแม่ควรให้ลูกน้อยได้ดูดนมจากเต้าให้ได้มากที่สุด นอกจากจะเป็นการกระตุ้นน้ำนมและเพิ่มน้ำนมแล้ว ยังช่วยให้ลูกน้อยได้รับน้ำนมที่มีประโยชน์จากคุณแม่อีกด้วย แต่สำหรับแม่บางท่าน เมื่อครบกำหนดลาคลอดแล้วต้องเริ่มกลับไปทำงาน การปั๊มนมก็เป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ลูกได้มีน้ำนมดื่มอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโดยส่วนใหญ่ในช่วง 6 เดือนแรก อาจต้องปั๊ม 8-12 ครั้งต่อวัน หรือ ทุก 2-4 ชั่วโมง และควรปั๊มในช่วงรอบดึก อย่างน้อย 2 รอบต่อคืน และใช้เวลาในการปั๊มประมาณครั้งละ 15-20 นาที เพื่อให้ได้ปริมาณน้ำนมที่เพียงพอ

 

ในกรณีที่คุณแม่น้ำนมเยอะ อาจพิจารณารอบการปั๊มให้พอ เพื่อไม่ให้เกิดการอุดตันของเต้านม และเมื่ออยู่ที่ทำงานหรือข้างนอก คุณแม่ก็ควรที่จะปั๊มให้ได้ทุก 3-4 ชั่วโมง เพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนมอย่างเพียงพอ และคุณแม่ต้องควรหมั่นทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องปั๊มนมให้ปลอดเชื้ออยู่เสมอ พร้อมสำหรับการใช้งานครั้งถัดไป ทั้งนี้การดื่มให้เพียงพออย่างน้อย 3-4 ลิตรต่อวันก็มีส่วนช่วยให้ปั๊มนมดียิ่งขึ้น

 

3. ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวของคุณแม่ให้นมบุตร

  • รับประทานให้ครบ 5 หมู่ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต  โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ และไขมัน  ในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายทุกวัน และงดอาหารหมักดอง
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม ประเภทแอลกอฮอล์ ยาดองเหล้า  ทุกชนิด เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา  กาแฟ
  • งดอาหารรสจัด เช่นหวานจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด เผ็ดจัด
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ  ไม่ตรากตรำทำงานหนักเกินไป
  • ออกกำลังกายพอประมาณ
  • กินยาบำรุงตามแพทย์สั่ง สำหรับยาอื่น ๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
  • เมื่อมีอาการผิดปกติใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์ทันที

 

10 วิธีกระตุ้นน้ำนมแม่ ช่วยเพิ่มน้ำนม เมื่อคุณแม่น้ำนมไม่ไหล

1. เริ่มให้นมลูกเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ 

ควรให้นมภายใน 1 ชั่วโมงหลังคลอด เพราะประโยชน์นมแม่  ช่วยส่งผลดีต่อลูกน้อยและช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่ในระยะยาว และยังเป็นการเพิ่มความอบอุ่นระหว่างแม่กับลูกน้อยได้อีกด้วย

 

2. ให้นมถี่ขึ้นหรือตามความต้องการของลูก 

การดูดกระตุ้นจะส่งสัญญาณให้ร่างกายสร้างน้ำนมเพิ่มมากขึ้น ช่วยเพิ่มน้ำนม กรณีแม่น้ำนมไม่ไหลและลูกไม่ยอมกินนมจากเต้า คุณแม่อาจใช้วิธีการปั๊มนมให้ถี่ทุก 2-3 ชั่วโมง เพื่อส่งสัญญาณให้ร่างกายสร้างน้ำนมเพิ่มมากขึ้น

 

3. ปั๊มนมระหว่างมื้อให้นม 

ยิ่งน้ำนมเกลี้ยงเต้ามากเท่าไหร่ การผลิตน้ำนมยิ่งมากขึ้น และเร็วขึ้นเท่านั้น ซึ่งการปั๊มนมต่ออีกประมาณ 10 นาทีหลังจากให้ลูกเข้าเต้า จะช่วยให้นมเกลี้ยงเต้ามากยิ่งขึ้น และร่างกายจะผลิตน้ำนมมากขึ้น

 

4. ดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น 

เนื่องจาก 90% ของน้ำนมคือน้ำ น้ำจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการผลิตน้ำนม ในช่วงให้นม ควรดื่มน้ำอย่างน้อย 2-3 ลิตรต่อวัน และดื่มน้ำอย่างน้อย 250 มิลลิลิตร ทุกครั้งหลังให้นม

 

5. นอนพักให้มากขึ้น ลดสิ่งรบกวนที่ทำให้เครียดหรือเหนื่อย 

การนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้ร่างกายสามารถเพิ่มการผลิตน้ำนมมากขึ้น ดังนั้นในบางเวลา คุณแม่อาจจะขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้างให้ช่วยดูแลงานบ้านอื่น ๆ เพื่อที่คุณแม่จะได้มีเวลาพักผ่อนและสามารถให้นมลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

6. ทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ได้พลังงานที่เพียงพอ 

ในช่วงให้นมลูก ร่างกายของแม่จะต้องการพลังงานมากขึ้น 300-500 กิโลแคลอรี่ต่อวัน  ดังนั้น การเพิ่มน้ำนมที่ดี คุณแม่ควรทานอาหารให้ได้พลังงานที่เพียงพอ

 

7. ทานอาหารที่ช่วยเพิ่มน้ำนม 

พืชผัก และอาหารบางชนิด มีสารอาหารที่อาจช่วยเพิ่มน้ำนมได้ ควรเลือกพืชผักเหล่านี้มาประกอบอาหาร และทานให้หลากหลายในแต่ละวัน

 

8. การทำ Power Pumping

การปั๊มนมให้ลูกเป็นรอบ ๆ เลียนแบบการดูดของลูก เพื่อบอกร่างกายว่าต้องการน้ำนมมากขึ้น ทำให้ร่างกายสร้างน้ำนมเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง โดยการทำ Power pumping จะให้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง จะมีการปั๊มสลับกับการหยุดพัก โดยใช้เทคนิคเพิ่มน้ำนม ปั๊ม 20 นาที/พัก 10 นาที/ ปั๊ม 10 นาที/พัก 10 นาที/ปั๊ม 10 นาที

 

9. ทานสมุนไพรเพิ่มน้ำนม 

สมุนไพรบางชนิดสามารถเพิ่มน้ำนมหรือในกรณีที่น้ำนมไม่ไหลได้ อาทิ Fenugreek, Blessed thistle, Fennel, Milk thistle เป็นต้น แต่เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญการให้นมแม่ก่อนทานยาหรือสมุนไพรต่าง ๆ

 

10. หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ หรือยาที่อาจลดการสร้างน้ำนม 

การดื่มแอลกอฮอล์ หรือ การสูบบุหรี่ จะทำให้การสร้างน้ำนมลดลง รวมถึงยาบางชนิดก็อาจทำให้การสร้างน้ำนมลดลงได้ 

 

ไขข้อข้องใจ อาหารบำรุงน้ำนมแม่

  • อาหารเพิ่มน้ำนมและกระตุ้นน้ำนม อาทิ แกงเลียงหัวปลี ไก่ผัดขิง กระเพราหมูสับ ฟักทองผัดไข่น้ำพริกมะขาม (รสไม่จัด) ผัดกุยช่ายใส่ตับ ซึ่งเป็นอาหารเพิ่มน้ำนม คุณแม่ชั้นดี และในระหว่างวันอาจจะดื่มน้ำขิงร่วมด้วย  โดยคุณแม่ควรเลือกสูตรหวานน้อยหรือไม่หวาน เพื่อลดความเสี่ยงน้ำตาลสูง
  • อาหารที่คนท้องควรหลีกเลี่ยง ควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกนมถั่วเหลือง ข้าวสาลี ข้าวโพด และถั่ว เพราะอาจทำให้ลูกน้อยเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้ งดหรือลดเครื่องดื่มและขนมที่มีสารคาเฟอีน แต่ในบางครั้งหากคุณแม่มีความต้องการดื่มกาแฟ ก็สามารถดื่มได้ แต่ต้องเว้นช่วงปั๊มนมหรือเข้าเต้าประมาณ 2-3 ชั่วโมงและมีคาเฟอีนในปริมาณน้อยกว่า 200 มิลลิกรัม หรือดื่มกาแฟไม่เกินวันละ 1-2 แก้ว หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาจส่งผลทางอารมณ์ของลูกน้อย งดอาหารปรุงไม่สุกและอาหารค้างคืนเพราะอาจทำให้คุณแม่ท้องเสียได้ง่าย และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อพัฒนาการที่ดีทางด้านสมองของลูกน้อย
  • ผลไม้เพิ่มน้ำนม อาทิ มะละกอ ใช้เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ ป้องกันโรคนิ่ว บำรุงผิว และช่วยกระตุ้นให้น้ำนมแม่มากขึ้น กล้วย มีโพแทสเซียมสูง เหมาะสำหรับคุณแม่หลังคลอดนั้นสามารถกินกล้วยเพื่อช่วยฟื้นฟูร่างกาย พุทรา เมื่อรับประทานเป็นประจำ จะช่วยให้คุณแม่มีน้ำนมมากขึ้น รวมถึงยังช่วยบำรุงร่างกายของคุณแม่หลังคลอดได้ดี และแคนตาลูป เป็นผลไม้ที่ให้น้ำมาก คุณแม่ที่เพิ่งให้นมลูกไปจึงต้องการน้ำเพื่อมาทดแทนสิ่งที่ขาดหายและเพื่อปรับสมดุลในร่างกาย
  • เครื่องดื่มบำรุงคุณแม่หลังคลอดที่สามารถดื่มได้ อาทิ น้ำขิง นอกจากเพิ่มน้ำนมให้ลูกได้ ยังสามารถช่วยคุณแม่ควบคุมน้ำหนักหลังคลอดด้วย เนื่องจากขิงช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยกระบวนการเผาพลาญ ทำให้เลือดในร่างกายหมุนเวียนดีขึ้น และน้ำหัวปลี ซึ่งหัวปลีมีสรรพคุณที่โดดเด่นในการบำรุงน้ำนมแม่ได้เป็นอย่างดี เพราะมีแคลเซียมสูง โปรตีน ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินซี เบต้าแคโรทีน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด แก้โรคกระเพาะอาหาร และยังบำรุงเลือดได้ดีอีกด้วย

 

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแนวทางบางส่วนที่จะช่วยให้คุณแม่สามารถให้นมแก่ลูกน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพและยาวนานต่อเนื่อง เพราะในนมแม่จะมีสารอาหารครบถ้วน มีสารอาหารบำรุงสมองอย่าง สฟิงโกไมอีลิน ดีเอชเอ เออาร์เอ และ มีจุลินทรีย์สุขภาพในตระกูลบิฟิโดแบคทีเรียม อาทิ บี แล็กทิส ช่วยปรับสมดุลในระบบทางเดินอาหาร เสริมภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ทำให้ลูกเติบโตอย่างแข็งแรง สมวัย พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อีกทั้งการให้นมแม่เป็นหนึ่งในวิธีการเลี้ยงดูลูก ที่ช่วยก่อให้เกิดสายสัมพันธ์ และกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้งห้าของลูก “การให้นมแม่จึงถือเป็นของขวัญที่มีค่าที่สุดแก่ลูกน้อยนั้นเอง”

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง

  • Boonchalerm P, et al. J Nurs Sci Vol 30 No 4 October - December 2012
  • โภชนาการแม่หลังคลอดระยะให้นมลูก, โรงพยาบาลนครธน
  • อาหารสำหรับคุณแม่ให้นมบุตร, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  • ลดอ้วนหลังคลอด ไม่ต้องพึ่งยา ให้ลูกดูด "นม" ทุกวัน ช่วยรีดไขมัน เพิ่มเผาผลาญ, กรมสุขภาพจิต
  • ให้นมลูกอยู่คุณแม่ห้ามกินอะไรบ้าง, โรงพยาบาลวิชัยเวช

อ้างอิง ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2566
 

 

 

บทความแนะนำ

วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอเมื่อลูกไม่เรอ ช่วยให้ลูกสบายท้อง หลังอิ่มนม

วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอเมื่อลูกไม่เรอ ช่วยให้ลูกสบายท้องหลังอิ่มนม

วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอ เมื่อลูกไม่เรอสำหรับลูกน้อย ช่วยป้องกันอาการแหวะนม ไปดูวิธีจับลูกเรอและท่าอุ้มเรอที่ช่วยให้ลูกเรอง่ายและท้องไม่อืดหลังกินนม

วิธีนวดเปิดท่อน้ำนม แก้ไขปัญหาคุณแม่น้ำนมน้อย น้ำนมไม่ไหล

วิธีนวดเปิดท่อน้ำนม นวดเต้าหลังคลอด แก้ไขปัญหาคุณแม่น้ำนมน้อย

รวมวิธีนวดเปิดท่อน้ำนมและนวดเต้าหลังคลอด คุณแม่มือใหม่สามารถนวดกระตุ้นน้ำนมและนวดเปิดท่อน้ำนมได้อย่างไรบ้าง ไปดูวิธีนวดเต้าหลังคลอดที่ถูกต้องกัน

ทารกแหวะนมบ่อย อันตรายหรือไม่ ปัญหากวนใจที่คุณแม่รับมือได้

ทารกแหวะนม ทารกสำลักนมอันตรายไหม ปัญหากวนใจที่แม่รับมือได้

ทารกแหวะนม ทารกสำลักนมบ่อย อาการแหวะนมของลูก เกิดจากอะไรได้บ้าง ลักษณะแบบไหนที่บ่งบอกว่าลูกเริ่มมีอาการผิดปกติ พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกแหวะนม

อาการหมันหลุดเป็นอย่างไร ทำหมันแล้วแต่ยังท้อง เป็นไปได้แค่ไหน

อาการหมันหลุดเป็นอย่างไร ทำหมันแล้วแต่ยังท้อง เป็นไปได้แค่ไหน

อาการหมันหลุดเป็นอย่างไร คุณพ่อคุณแม่ที่ทำหมันแล้ว มีโอกาสท้องอีกไหม สถิติทำหมันแล้วท้อง เกิดขึ้นได้มากน้อยแค่ไหน ไปหาคำตอบเกี่ยวกับการท้องในคนทำหมันกัน