อาการแพ้ท้องของคุณแม่ แพ้ท้องพะอืดพะอม แก้ยังไง พร้อมวิธีรับมือ

อาการคนแพ้ท้องครั้งแรก พร้อมวิธีรับมืออาการแพ้ท้อง

17.02.2024

อาการแพ้ท้องเป็นหนึ่งในสัญญาณเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ คุณแม่อาจมีอาการคลื่นไส้ พะอืดพะอม อยากอาเจียน ถือเป็นเรื่องปกติ หรือบางคนอาจไม่แพ้ท้องเลยก็ได้ บทความนี้จะช่วยให้คุณแม่ทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการแพ้ท้อง สาเหตุ และเคล็ดลับบรรเทาอาการแพ้ท้อง ที่จะช่วยให้คุณแม่รับมืออย่างถูกวิธี

headphones

PLAYING: อาการคนแพ้ท้องครั้งแรก พร้อมวิธีรับมืออาการแพ้ท้อง

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • อาการแพ้ท้องมักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ กระตุ้นให้คุณแม่ไวต่อกลิ่นต่าง ๆ ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน วิงเวียน พะอืดพะอม และอื่น ๆ ซึ่งอาการแพ้ท้องของคุณแม่แต่ละคนมีความแตกต่างกันไป
  • อาการแพ้ท้องมักเกิดในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ มักมีอาการแพ้ท้องรุนแรงในช่วงสัปดาห์ที่ 4-6 หลังจากนั้นอาการแพ้ท้องจะค่อย ๆ ลดลงในช่วงสัปดาห์ที่ 12-14 ของการตั้งครรภ์
  • วิธีบรรเทาอาการแพ้ท้อง เช่น แบ่งอาหารเป็นมื้อย่อย ๆ รับประทานน้อย ๆ แต่บ่อยครั้งแทน หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้รู้สึกคลื่นไส้อาเจียน รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดอาการแพ้ท้อง ดื่มน้ำสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หากมีอาการแพ้ท้องรุนแรง ดื่มน้ำและรับประทานอาหารไม่ได้เลย อาเจียนออกมาหมด น้ำหนักตัวลดอย่างรวดเร็ว อ่อนเพลียมาก หัวใจเต้นเร็ว เป็นอาการที่ผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

อาการแพ้ท้อง (Moring Sickness) เป็นอาการที่มักเกิดกับคุณแม่ตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก โดยที่คุณแม่แต่ละคนจะมีอาการแพ้ท้องที่แตกต่างกัน รวมถึงความรุนแรงของการแพ้ท้องก็ต่างกันไป บางคนแพ้มาก บางคนแพ้น้อย หรือบางคนอาจไม่แพ้เลย ทั้งนี้เกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรทำความเข้าใจและรับมืออย่างถูกวิธี เพื่อให้สุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยสมบูรณ์ไปจนถึงวันคลอด

 

สาเหตุของอาการแพ้ท้อง

อาการแพ้ท้องเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนที่เพิ่มปริมาณมากขึ้นจากรกและลูกน้อยในครรภ์ สภาวะจิตใจของคุณแม่ที่มีความเครียด วิตกกังวล หรืออาจเกิดจากสัญชาตญาณการต่อต้านอาหาร จึงทำให้คุณแม่รู้สึกเหม็นกลิ่นอาหาร อย่างไรก็ตาม แม้อาการคนแพ้ท้องจะทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายตัว แต่จริง ๆ แล้วอาการแพ้ท้องก็มีข้อดีเช่นกัน เนื่องจากทำให้รู้ว่า ร่างกายกำลังสร้างฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการตั้งครรภ์อยู่ ซึ่งแสดงถึงพัฒนาการตั้งครรภ์ที่ดีนั่นเอง

 

รวมอาการแพ้ท้อง ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องเตรียมรับมือ

 

รวมอาการแพ้ท้อง ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องเตรียมรับมือ

อาการแพ้ท้องที่พบบ่อย ได้แก่ อาเจียน เวียนหัวคลื่นไส้พะอืดพะอม เหม็นกลิ่นต่าง ๆ โดยเฉพาะกลิ่นอาหาร แพ้ท้องพะอืดพะอม หงุดหงิดง่าย ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หน้ามืด ท้องอืด จุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ เรอเหม็นเปรี้ยว บางคนอยากกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร บางคนแพ้ท้องอย่างหนักจนน้ำหนักลด เนื่องจากรับประทานอาหารไม่ได้ เป็นต้น

 

อาการแพ้ท้องเริ่มเป็นช่วงไหน และบรรเทาลงช่วงไหน

อาการแพ้ท้องมักเกิดในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ โดยทั่วไปคุณแม่มักมีอาการแพ้ท้องรุนแรงในช่วงสัปดาห์ที่ 4 ถึงสัปดาห์ที่ 6 หลังจากนั้นอาการแพ้ท้องจะค่อย ๆ ลดลงในช่วงสัปดาห์ที่ 12-14 ของการตั้งครรภ์ เมื่อฮอร์โมนการตั้งครรภ์ได้ระดับ อาการแพ้ท้องจะค่อย ๆ ลดลง และหายไปเอง อย่างไรก็ตาม คุณแม่บางคนอาจแพ้ท้องไปจนกว่าจะคลอดเลยก็มี

 

เคล็ดลับบรรเทาอาการแพ้ท้อง ทำได้ไม่ยาก

แพ้ท้องเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ป้องกันไม่ได้ หากเกิดขึ้นกับคุณแม่สิ่งที่ทำได้คือ เอาชนะอาการแพ้ท้องให้ได้ ด้วยเคล็ดลับต่าง ๆ ดังนี้

  • หากรู้สึกเหม็นอาหาร ลองเปลี่ยนวิธีการรับประทานอาหาร จากที่เคยรับประทาน 3 มื้อ ให้แบ่งเป็นมื้อย่อย ๆ บ่อย ๆ หลาย ๆ มื้อแทน
  • รอให้อาหารเย็นลงก่อนค่อยรับประทาน เพราะอาหารที่เพิ่งปรุงสุกใหม่ ๆ จะมีกลิ่นแรงกว่า จึงกระตุ้นอาการแพ้ท้องได้มากกว่าอาหารที่เย็นลงแล้ว
  • หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เพื่อลดอาการแพ้ท้อง สังเกตว่าอะไรเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ท้อง อาหารชนิดใด หรือสิ่งแวดล้อมแบบไหน แล้วพาตัวเองออกห่างจากสิ่งกระตุ้นเหล่านั้น
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามอย่านอนดึก หากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลาย และควรดื่มน้ำสม่ำเสมอเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
  • หากแพ้ท้องจนรับประทานอาหารไม่ได้ ทำให้น้ำหนักตัวลดลง และกังวลว่าจะส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ คุณแม่ควรดื่มน้ำผลไม้ หรือน้ำหวาน เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานจากกลูโคสเพิ่มขึ้น รวมทั้ง พยายามรับประทานอาหารให้บ่อยขึ้น
  • หากแพ้ท้องอย่างหนัก ควรนอนพัก งดอาหารรสจัด เปรี้ยวจัด เผ็ดจัด แต่ไม่ควรปล่อยให้ท้องว่างเป็นอันขาด

 

เคล็ดลับบรรเทาอาการแพ้ท้อง ทำได้ไม่ยาก

 

อาการแพ้ท้องรุนแรง ควรรีบพบแพทย์ เป็นแบบไหน?

คุณแม่ทราบแล้วว่า แพ้ท้องเป็นเรื่องธรรมชาติของคนท้อง ซึ่งทุกคนมีโอกาสแพ้ท้อง และอาจมีอาการแพ้ท้องแตกต่างกันไป แต่อย่างไรก็ตาม หากมีอาการต่อไปนี้ ถือว่าผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์

  1. ดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารไม่ได้เลย อาเจียนออกมาหมด
  2. น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว
  3. มีอาการอ่อนเพลียมาก มีภาวะขาดน้ำ ขาดสารอาหาร ปัสสาวะออกน้อย
  4. หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น
  5. อาเจียนวันละหลายครั้ง

 

หากคุณแม่มีอาการดังกล่าว จะส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่ และยังอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการตั้งครรภ์ที่ไม่ปกติ เช่น ครรภ์ไข่ปลาอุก หรือ ครรภ์แฝดได้ จึงควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัย

 

อาการแพ้ท้องที่เกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนตั้งครรภ์ อาจทำให้คุณแม่ไม่สบายตัว แต่ไม่ถึงกับเป็นเรื่องอันตราย เพียงคุณแม่ทำความเข้าใจ และพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ท้อง เมื่อฮอร์โมนคงที่อาการแพ้ท้องก็จะหายไป ขอให้คุณแม่อดทน พยายามรับประทานอาหารสำหรับคนท้อง และดื่มน้ำสม่ำเสมอ รวมถึงนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องได้ แต่หากแพ้ท้องหนักมากผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. แพ้ท้อง คุณแม่ต้องพร้อมรับมือ, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  2. แพ้ท้องอยู่ใช่ไหม ต้องทำอย่างไรมีคำตอบ, โรงพยาบาลเพชรเวช
  3. สัญญานอันตรายที่แม่ตั้งครรภ์ต้องรีบไปพบแพทย์, พบหมอรามาฯ

อ้างอิง ณ วันที่ 6 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

น้ำคาวปลายังไม่หมดกินน้ำเย็นได้มั้ย คุณแม่ผ่าคลอดกินน้ำเย็นได้ไหม

น้ำคาวปลายังไม่หมดกินน้ำเย็นได้มั้ย คุณแม่ผ่าคลอดกินน้ำเย็นได้ไหม

น้ำคาวปลายังไม่หมดกินน้ำเย็นได้มั้ย ผ่าคลอดกินน้ำเย็นได้ไหม คุณแม่กินน้ำเย็นแล้วน้ำนมจะหดจริงหรือเปล่า พร้อมเคล็ดลับดูแลตัวเองหลังคุณแม่ผ่าคลอด

คนท้องไปงานศพได้ไหม เพราะอะไร ทำไมคนท้องไปงานศพไม่ได้

คนท้องไปงานศพได้ไหม เพราะอะไร ทำไมคนท้องไปงานศพไม่ได้

คนท้องไปงานศพได้ไหม เพราะอะไรคนท้องถึงไปงานศพไม่ได้ หากคนท้องไปงานศพจะเกิดอะไรขึ้น ทำไมถึงมีความเชื่อว่าคนท้องไม่ควรไปงานศพ ไปทำความเข้าใจพร้อมกัน

อารมณ์คนท้องระยะแรกเป็นแบบไหน คนท้องอารมณ์ขึ้น ๆ ลงๆ รับมืออย่างไร

อารมณ์คนท้องระยะแรกเป็นแบบไหน คนท้องอารมณ์ขึ้น ๆ ลงๆ รับมืออย่างไร

อารมณ์คนท้องระยะแรกเป็นแบบไหน คุณแม่ท้องอารมณ์ขึ้นๆ ลง เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณพ่อมือใหม่มีวิธีรับมือกับอารมณ์คนท้องระยะแรกของคุณแม่ได้อย่างไร ไปดูกัน

คลอดก่อนกําหนด 7 เดือน คลอดก่อนกำหนด 32 สัปดาห์ อันตรายไหม

คลอดก่อนกําหนด 7 เดือน คลอดก่อนกำหนด 32 สัปดาห์ อันตรายไหม

คลอดก่อนกําหนด 7 เดือน เกิดจากอะไร คุณแม่คลอดก่อนกำหนด 32 สัปดาห์ ลูกมีโอกาสรอดแค่ไหน อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า พร้อมสัญญาณเตือนการคลอดก่อนกำหนด

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก