คุณแม่ท้อง 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
คุณแม่ท้อง 1 เดือน คงเกิดหลากหลายความรู้สึก ทั้งยินดี ตื่นเต้น และตกใจ เมื่อรับรู้ว่ามีเจ้าตัวน้อยอยู่ในท้อง การดูแลสุขภาพตอนตั้งครรภ์ 1 เดือนนี้มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นช่วงที่ตัวอ่อนเพิ่งเริ่มเติบโต แล้วคุณแม่ควรเตรียมตัวอย่างไร เพื่อให้การตั้งครรภ์นี้ปลอดภัย ลูกในท้องเติบโตอย่างแข็งแรง
PLAYING: คุณแม่ท้อง 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
สรุป
- หากรู้สึกเบื่ออาหาร ประจำเดือนขาด อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะบ่อย มีเลือดออกเล็กน้อย อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า คุณแม่กำลังตั้งครรภ์
- คุณแม่ท้อง 1 เดือน ควรเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม และไม่ควรซื้อวิตามินบำรุงครรภ์มากินเอง ควรทานวิตามินภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น
- ทารกในครรภ์ 1 เดือน จะมีขนาดเท่าเมล็ดส้ม ความยาวเพียง 6 มิลลิเมตร
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณแม่ท้อง 1 เดือน
- ตรวจครรภ์อย่างไรให้ทราบผลแน่ชัด
- ตั้งครรภ์ 1 เดือน ขนาดทารกในครรภ์เท่าเมล็ดส้ม
- สิ่งที่ต้องหยุดทำทันที เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ 1 เดือน
- อาหารที่คุณแม่ท้อง 1 เดือน ควรเริ่มรับประทาน
- การดูแลตัวเองของคุณแม่ท้อง 1 เดือน
- คุณแม่ท้อง 1 เดือน สามารถเริ่มทานวิตามินบำรุงครรภ์ได้เลยหรือไม่
- อย่าลืมไปฝากครรภ์กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณแม่ท้อง 1 เดือน
เมื่อคุณแม่ท้อง 1 เดือน หรือ ท้อง 4 สัปดาห์ อาจมีอาการบางอย่างแสดงออกมา ให้รับรู้ได้ว่ากำลังตั้งครรภ์ 1 เดือน ซึ่งบางอาการของคุณแม่จะคล้ายกับอาการก่อนมีประจำเดือน สำหรับสัญญาณที่บ่งบอกว่ากำลังจะกลายเป็นคุณแม่มือใหม่ มีดังนี้
- ประจำเดือนไม่มา: หากประจำเดือนขาดไป มีความเป็นไปได้ว่า กำลังตั้งครรภ์ โดยเฉพาะคนที่ประจำเดือนมาอย่างสม่ำเสมอ ไม่เคยคลาดเคลื่อน หากรอบเดือนไม่มาตามปกติ ควรรอให้เลยช่วงที่มีประจำเดือนไปก่อนสัก 7 วัน จึงใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ ตรวจหาฮอร์โมน hCG (Human Chorionic Gonadotropin) ที่ร่างกายของคนท้องจะหลั่งออกมา เมื่อเกิดการปฏิสนธิแล้วอย่างน้อย 6 วัน หรือเกิดการฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้ว ซึ่งฮอร์โมน hCG มีความสำคัญต่อร่างกายแม่ท้องอย่างมาก เพราะจะช่วยเรื่องการเจริญเติบโตของตัวอ่อนภายในครรภ์ ทำให้รังไข่หยุดการตกไข่ ประจำเดือนจึงไม่มาในระหว่างการตั้งครรภ์
- อ่อนเพลียง่ายกว่าปกติ: คุณแม่ท้อง 1 เดือน จะมีอาการอ่อนเพลียได้ง่าย เพราะร่างกายของคุณแม่กำลังเตรียมตัวให้เจ้าตัวน้อยเจริญเติบโตภายในครรภ์ ร่างกายจึงผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) มามากขึ้น หลอดเลือดจะเกิดการหย่อนตัว ระดับความดันโลหิตต่ำลง อีกทั้งมดลูกยังต้องการเลือดมากขึ้น รวมถึงอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย ล้วนทำงานหนักขึ้นเช่นกันเพื่อดูแลลูกน้อยของคุณแม่
- รู้สึกเบื่ออาหาร: จากการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายของคนท้อง 1 เดือน ยังทำให้คุณแม่รู้สึกเบื่ออาหาร หรือมีความชอบอาหารบางชนิดที่แตกต่างจากเดิม และอาจอยากลองกินอาหารใหม่ ๆ ที่ไม่เคยลอง คุณแม่บางคนจะอยากกินของที่ไม่เคยชอบกินมาก่อน อยากลองของแปลก รวมถึงของเปรี้ยว ๆ จำพวกผลไม้หรือของหมักดอง
- มีอาการคลื่นไส้อาเจียน: คุณแม่อายุครรภ์ 1 เดือน จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนเกิดขึ้น หรือเรียกว่า อาการแพ้ท้อง ส่วนใหญ่แล้วจะมีอาการช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสแรก หรือ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ จากนั้นจะดีขึ้น แต่ถ้าคลื่นไส้อาเจียนบ่อยจนไม่อาจดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารได้ จะส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำ ระดับเกลือแร่ในเลือดลดลง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- เลือดออกเล็กน้อยคล้ายกับมีประจำเดือน: เมื่อเกิดการฝังตัวของตัวอ่อน อาจทำให้เกิดเลือดออกเล็กน้อยได้คล้ายกับการมีประจำเดือน
- ปัสสาวะบ่อย: ตั้งครรภ์ 1 เดือน เป็นช่วงที่มดลูกโตขึ้นไปกดกระเพาะปัสสาวะ รวมถึงฮอร์โมนที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณเชิงกราน ส่งผลให้ปัสสาวะมากกว่าปกติ คุณแม่ตั้งครรภ์จึงมักจะปวดปัสสาวะบ่อยทั้งในเวลากลางวัน และอยากลุกมาเข้าห้องน้ำในระหว่างที่นอนหลับตอนกลางคืน
ตรวจครรภ์อย่างไรให้ทราบผลแน่ชัด
- ใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์: การตรวจครรภ์เบื้องต้น หากคุณแม่สงสัยว่าท้อง 1 เดือน สามารถตรวจครรภ์ได้ด้วยตนเอง โดยเลือกซื้อชุดตรวจการตั้งครรภ์จากร้านยาที่น่าเชื่อถือ ภายใต้การดูแลของเภสัชกร ซึ่งชุดทดสอบการตั้งครรภ์ควรเลือกที่มีคุณภาพ แล้วนำมาตรวจอย่างน้อย 2 ครั้ง ห่างกัน 2-3 วัน หากประจำเดือนขาดควรรอให้พ้นช่วงมีประจำเดือน 7 วันก่อนจึงค่อยตรวจ
- พบแพทย์เฉพาะทาง: เนื่องจากชุดทดสอบการตั้งครรภ์ อาจจะไม่สามารถให้ผลได้ 100 % และควรเข้าพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจครรภ์จากแพทย์ด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ที่แม่นยำมากขึ้น
ตั้งครรภ์ 1 เดือน ขนาดทารกในครรภ์เท่าเมล็ดส้ม
ตัวอ่อนในครรภ์ 1 เดือน จะมีขนาดประมาณเมล็ดส้ม ความยาวของตัวอ่อน 1 เดือนจะราว ๆ 6 มิลลิเมตร
สิ่งที่ต้องหยุดทำทันที เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ 1 เดือน
- สูบบุหรี่: การสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้เกิดผลร้ายต่อเจ้าตัวน้อย เพราะการสูบบุหรี่ทำให้เส้นเลือดหดตัว ทารกในครรภ์จะได้รับสารอาหารน้อย และยังเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดการแท้งลูกได้ อีกทั้งส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของลูก เช่น เพิ่มโอกาสการเกิดปากแหว่งเพดานโหว่ ส่งผลต่อสมองสติปัญญา และทำให้ลูกป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ
- ดื่มแอลกอฮอล์: เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะส่งผ่านทางรกและสายสะดือได้ ส่งผลต่ออวัยวะของทารก เช่น หัวใจ ไต และสมอง พิษของแอลกอฮอล์ยังสะสมในทารกได้นาน หากดื่มในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์จะอันตรายมาก เนื่องจากเป็นช่วงที่ตัวอ่อนสร้างเซลล์ประสาทและสมอง มีการสร้างอวัยวะ จึงส่งผลต่อความผิดปกติของทารกได้ และยังเสี่ยงต่อการแท้งอีกด้วย
- ออกกำลังอย่างหักโหม: การออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์ไม่ควรออกกำลังกายอย่างหักโหม เมื่อท้อง 1 เดือน ควรยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เดิน ว่ายน้ำ หรือเล่นโยคะสำหรับคนท้อง
- การใช้สารเสพติด: หากใช้สารเสพติดหรือใช้ยาระหว่างตั้งครรภ์ จะเสี่ยงต่อการแท้งบุตร ทารกเสียชีวิตในครรภ์ เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด รวมถึงเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้
อาหารที่คุณแม่ท้อง 1 เดือน ควรเริ่มรับประทาน
โภชนาการที่เหมาะสมสำหรับแม่ท้อง 1 เดือน ควรเลือกรับประทานอาหารสำหรับคนท้อง ที่มีความหลากหลายให้ครบ 5 หมู่ เลือกรับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิกสูง ช่วยในการสร้างเซลล์สมองและอวัยวะของทารกในครรภ์
การดูแลตัวเองของคุณแม่ท้อง 1 เดือน
- คุณแม่ควรเลือกรับประทานอาหารสำหรับคนท้องที่ดีมีประโยชน์ อาหารต้องปรุงสุก สะอาด
- หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารไขมันสูง หรืออาหารกึ่งสำเร็จรูป
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ
- การมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างตั้งครรภ์ 1 เดือนแรก ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน
คุณแม่ท้อง 1 เดือน สามารถเริ่มทานวิตามินบำรุงครรภ์ได้เลยหรือไม่
ก่อนทานวิตามินสำหรับคนท้อง 1 เดือน คุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอก่อน ไม่ควรซื้อมาทานเอง โดยเฉพาะอาหารเสริม เพราะทุกอย่างที่คุณแม่ทานเข้าไป จะส่งผลต่อลูกในท้อง
อย่าลืมไปฝากครรภ์กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
เมื่อคุณแม่ทราบแล้วว่า ตั้งครรภ์ 1 เดือน ควรรีบฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด ก่อน 12 สัปดาห์ เพื่อตรวจคัดกรองความเสี่ยงของคุณแม่ท้อง และจะได้รับคำแนะนำในการดูแลขณะตั้งครรภ์อย่างเหมาะสมอีกด้วย
การดูแลสุขภาพร่างกายของคุณแม่เป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะการตั้งครรภ์ 1 เดือน คุณแม่ควรรีบฝากครรภ์ ให้แพทย์ได้ตรวจร่างกาย ตรวจครรภ์ของคุณแม่ พร้อมรับฟังคำแนะนำในการดูแลตัวเองตอนท้อง 1 เดือน เพื่อให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตได้ดี และมีสุขภาพที่แข็งแรง
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
- พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์ ที่แม่มือใหม่ห้ามพลาด
- คุณแม่ท้อง 2 เดือน อาการตั้งครรภ์ 2 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
- คุณแม่ท้อง 3 เดือน อาการตั้งครรภ์ 3 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
- คุณแม่ท้อง 4 เดือน อาการตั้งครรภ์ 4 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
- คุณแม่ท้อง 5 เดือน อาการตั้งครรภ์ 5 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
- คุณแม่ท้อง 6 เดือน อาการตั้งครรภ์ 6 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
- คุณแม่ท้อง 7 เดือน อาการตั้งครรภ์ 7 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
- คุณแม่ท้อง 8 เดือน อาการตั้งครรภ์ 8 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
- คุณแม่ท้อง 9 เดือน อาการตั้งครรภ์ 9 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
- อาการแพ้ท้องของคุณแม่ แพ้ท้องพะอืดพะอม แก้ยังไง พร้อมวิธีรับมือ
- น้ำคร่ำ คืออะไร น้ำคร่ำรั่ว อาการแบบไหน สัญญาณใกล้คลอดที่ต้องรับมือ
- อาการท้องแข็งบ่อย ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายหรือไม่ ทำไมคุณแม่ต้องรู้
- เลือดล้างหน้าเด็กสีอะไร เลือดล้างหน้าเด็กสัญญาณแรกของการตั้งครรภ์
- ตั้งครรภ์ มีเลือดออก ไม่ปวดท้อง คืออะไร อันตรายไหม สำหรับแม่ตั้งครรภ์
- อาการคนท้องระยะแรก สัญญาณการตั้งครรภ์เป็นแบบนี้
- เมนูคนท้อง อาหารคนท้องบำรุงคุณแม่ท้อง ดีต่อลูกในครรภ์
- คนท้องห้ามกินอะไร อาหารที่ส่งผลเสียต่อคุณแม่ตั้งครรภ์
- อาหารคนท้องไตรมาสแรก โภชนาการที่สำคัญสำหรับคุณแม่และทารกในครรภ์
- วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ก่อนคลอด
- สัญญาณอาการใกล้คลอด เจ็บท้องคลอด อาการก่อนคลอดของคุณแม่
- ของใช้เตรียมคลอด ที่คุณแม่มือใหม่ควรเตรียมของไปคลอด
- ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเกิดจากอะไร พร้อมวิธีรับมืออาการซึมเศร้าหลังคลอด
- ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก
อ้างอิง:
- อาการคนท้องเดือนแรก สัญญาณเริ่มต้นว่ากำลังตั้งครรภ์, โรงพยาบาลศิครินทร์
- ท้องหรือไม่ดูอย่างไร (ฉบับ Update ปี 2567), โรงพยาบาลเพชรเวช
- 5 อาการที่พบบ่อยในคนท้อง, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
- อาการคนท้อง ระยะแรก ยืนยันว่าคุณตั้งครรภ์แล้วแน่ๆ, สมาคมแพทย์สตรีแห่งประเทศไทย
- พัฒนาการของทารกในครรภ์, ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- กรมอนามัย ชี้ ดื่มเบียร์ขณะตั้งครรภ์เสี่ยงกระทบพัฒนาการ รุนแรงถึงแท้งลูก, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
- หญิงท้องสูบบุหรี่ “เสี่ยงแท้ง” เด็กในท้องปากแหว่ง “เพดานโหว่”, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
- ออกแรงกายสำหรับสตรีตั้งครรภ์, โรงพยาบาลเปาโล
- แพทย์เตือนแม่เสพยาขณะตั้งครรภ์ระวังลูกผิดปกติเกิดภาวะวิกฤติเสี่ยงตายทั้งคู่, กรมการแพทย์
- คุณแม่ตั้งครรภ์กับความเสี่ยงในไตรมาสแรก, โรงพยาบาลสมิติเวช
- วิตามิน ยา อาหารเสริม จำเป็นแค่ไหนสำหรับแม่ตั้งครรภ์, โรงพยาบาลสมิติเวช
- ฝากครรภ์เร็ว ฝากครรภ์คุณภาพ ฝากก่อน 12 สัปดาห์, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
อ้างอิง ณ วันที่ 4 มกราคม 2567