อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 25 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 25 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

05.03.2020

ช่วงเวลาความสุขของคุณแม่ในการอุ้มท้องเดินทางมาถึงอายุครรภ์ 25 สัปดาห์ เป็นการตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาส 2 ในสัปดาห์นี้คุณแม่จะรู้สึกได้ถึงการดิ้นขยับตัวของลูกน้อยในครรภ์ที่เพิ่มมากขึ้น สำหรับสุขภาพของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ แพทย์จะนัดตรวจคัดกรองเบาหวานให้กับคุณแม่ เพื่อเช็กว่ามีภาวะเบาหวานแทรกซ้อนด้วยหรือไม่

headphones

PLAYING: อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 25 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ ทารกในครรภ์จะดิ้นมากขึ้น และช่วงที่ทารกดิ้นได้เยอะจะเป็นช่วงที่ทารกในครรภ์ตื่น
  • อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ ทารกในครรภ์จะมีน้ำหนักตัวอยู่ที่ประมาณ 600 กรัม และขนาดตัวทารกประมาณ  30-35 เซนติเมตร  เปรียบเทียบเท่ากับฟักทองหนึ่งลูกเล็ก
  • อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ ทารกในครรภ์เริ่มที่จะได้ยินเสียงจากภายนอกครรภ์บ้างแล้ว
  • อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ บริเวณหน้าท้องจะเริ่มมีรอยแตกลาย ที่เป็นผลมาจากน้ำหนักตัวคุณแม่ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผิวบริเวณหน้าท้องมีการยืดขยายขึ้นอย่างรวดเร็ว

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ ทารกจะดิ้นมากขึ้นเพราะอะไร

พัฒนาการของทารกในครรภ์ที่ทำให้คุณแม่รู้สึกตื่นเต้นและก็ดีใจไปพร้อมกัน คือการรับรู้ได้ถึงการดิ้นของลูกในครรภ์  แม่จะเริ่มรู้สึกว่าลูกมีการขยับ ตัวเบา ๆ มาตั้งแต่ช่วงอายุครรภ์ได้ 16-20 สัปดาห์แล้ว ซึ่งพอเข้าสู่ช่วงอายุครรภ์ 25 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ไตรมาส 2 ทารกในครรภ์จะเคลื่อนไหวร่างกายพลิกขยับตัวไปมาจนคุณแม่รู้สึกได้ถึงการดิ้นที่มากและบ่อยขึ้น การดิ้นเป็นการบอกถึงสุขภาพของทารกในครรภ์ และช่วงเวลาที่คุณแม่รู้สึกว่าลูกดิ้นมาก จะเป็นช่วงเวลาที่ลูกในท้องตื่น

 

วิธีนับลูกดิ้น คุณแม่นับยังไงได้บ้าง มีกี่วิธี

  • วิธีที่ 1 จะนับลูกดิ้นหลังคุณแม่รับประทานอาหารอิ่ม 3 มื้อ โดยให้นับการดิ้นของลูก นับครั้งละ 1 ชั่วโมง ลูกต้องมีการดิ้นให้ได้ไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง
  • วิธีที่ 2 จะนับลูกดิ้นในช่วงเวลา 8 โมงเช้า ถึง 12.00 น.(เที่ยง) ในระหว่าง 4 ชั่วโมงนี้ลูกต้องดิ้นให้ได้ 10 ครั้งเป็นอย่างน้อย

 

ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์ ทารกจะมีน้ำหนักเท่าไหร่

ทารกในครรภ์ที่อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ จะอยู่ในช่วงการตั้งครรภ์เดือนที่ 6 ทารกจะมีการพัฒนาสร้างอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การเริ่มพัฒนาขึ้นของลายนิ้วมือ ลายนิ้วเท้า ทารกเริ่มเปิด ปิดเปลือกตา ปอดมีการทำงาน และหูเริ่มที่จะได้ยินเสียงจากภายนอกครรภ์บ้างแล้ว สัปดาห์นี้ทารกในครรภ์จะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 600 กรัม

 

อาการคนท้อง 25 สัปดาห์ ที่พบได้ทั่วไป

1. ท้องแตกลาย

ผิวท้องแตกลายเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน เมื่อเข้าสู่อายุครรภ์ 6 เดือนน้ำหนักตัวคุณแม่จะเพิ่มขึ้นส่งผลให้ผิวหนังบริเวณหน้าท้องมีการยืดขยายมาก สำหรับรอยแตกลายจะมีขนาดกว้างประมาณ 1-10 เซนติเมตร

 

2. ปวดหลัง

อายุครรภ์ที่มากขึ้นส่งผลให้กระดูกสันหลังของคุณแม่แอ่นจากการรับน้ำหนักครรภ์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนกว่าจะคลอด จึงส่งผลให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการปวดหลัง

 

3. ปัสสาวะบ่อย

คุณแม่ปัสสาวะบ่อยขณะตั้งครรภ์ถือเป็นอาการปกติ สาเหตุที่ทำให้ปัสสาวะบ่อยเป็นเพราะขนาดตัวของทารกในครรภ์ที่เจริญเติบโตขึ้นจนไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้คุณแม่รู้สึกปวดปัสสาวะและเข้าห้องน้ำบ่อย

 

4. น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ตลอด 9 เดือนของการตั้งครรภ์ น้ำหนักของคุณแม่จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นมา โดยรวมแล้วอยู่ที่ประมาณ 10-15 กิโลกรัม

 

แต่หากในระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่สังเกตเห็นอาการผิดปกติเหล่านี้  คุณแม่อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ แนะนำให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที ได้แก่

  • ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะออกมาได้
  • มีเลือดซึมออกจากช่องคลอด
  • สายตาทั้งสองข้างมีอาการพร่ามัว
  • ปวดศีรษะที่ตรงขมับซีกขวา
  • เปลือกตาบวมปิดลงมา
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้นมากผิดปกติ

 

ท้อง 25 สัปดาห์ ท้องจะใหญ่ขึ้นแค่ไหน

 

ท้อง 25 สัปดาห์ ท้องจะใหญ่ขึ้นแค่ไหน

คุณแม่อยู่ในช่วงอายุครรภ์ไตรมาส 2 เริ่มกลับมารับประทานอาหารได้มาก หลังจากอาการแพ้ท้อง ดีขึ้น ซึ่งน้ำหนักต่อเดือนจะขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม ครรภ์ของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นจนสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน และเพื่อความคล่องสบายตัวในการทำกิจวัตรประจำวัน แนะนำให้คุณแม่สวมใส่ชุดเสื้อผ้าสำหรับคนท้อง

 

ท้อง 25 สัปดาห์ ลูกในครรภ์จะตัวใหญ่แค่ไหน

ทารกในครรภ์อายุ 25 สัปดาห์มีขนาดใหญ่ขึ้น เปรียบเสมือนฟักทองลูกเล็ก หรือประมาณ 30-35 เซนติเมตร  และมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 600 กรัม ในช่วงนี้ทารกในครรภ์อาจจะมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็ว การเต้นของจังหวะหัวใจจะอยู่ที่ประมาณ 140 ครั้งต่อนาที

 

พัฒนาการของทารกในครรภ์อายุ 25 สัปดาห์

  • ในช่วงนี้ทารกในครรภ์เริ่มได้ยินเสียง
  • อวัยวะสำคัญอย่างปอดเริ่มมีการทำงาน
  • เริ่มเปิดเปลือกตาได้แล้ว
  • ลายนิ้วมือนิ้วเท้าเริ่มปรากฏขึ้นมา
  • ระบบย่อยอาหารของทารกเริ่มพัฒนาขึ้นมา

 

การดูแลตัวเอง สำหรับคุณแม่ท้อง 25 สัปดาห์

คุณแม่จะมีอาการท้องผูกที่หนักมาก เนื่องจากขนาดตัวของทารกใหญ่ขึ้นจนเคลื่อนไปเบียดลำไส้ ส่งผลให้ลำไส้ทำงานได้น้อยลง ดังนั้นเพื่อช่วยให้อาการท้องผูกดีขึ้น คุณแม่สามารถขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายได้ สามารถปฏิบัติตามได้ง่าย ๆ ดังนี้

  1. แบ่งมื้ออาหารออกเป็นมื้อย่อย ๆ และรับประทานในปริมาณที่น้อยลงต่อ 1 มื้ออาหาร
  2. เน้นการรับประทานอาหารที่มีกากใยเพิ่มมากขึ้น เช่น ผักใบเขียวต่าง ๆ ผักคะน้า ผลไม้ เช่น มะละกอ แก้วมังกร ส้ม และเปลี่ยนจากข้าวขาวมารับประทานเป็นข้าวกล้อง เป็นต้น
  3. ดื่มน้ำเปล่า 8-12 แก้วต่อวัน ประโยชน์ของการดื่มน้ำขณะตั้งครรภ์
     
    • ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น
    • ช่วยให้ทารกได้รับสารอาหารจากแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    • ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีมากขึ้น ป้องกันไม่ให้ท้องผูก
    • ช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้น ป้องกันการเกิดผิวหน้าท้องแตกลาย

 

เคล็ดลับสำหรับคุณพ่อคุณแม่ในช่วงอายุครรภ์ 25 สัปดาห์นี้ แนะนำให้ลูบตรงหน้าท้องคุณแม่บ่อย ๆ พูดคุยกับลูก ร้องเพลง อ่านนิทานให้ลูกฟัง หรือให้ลูกฟังเพลง เพื่อช่วยกระตุ้นพัฒนาการการได้ยินให้กับลูกน้อย หรือหาไฟฉายเล็ก ๆ มาส่องที่หน้าท้องคุณแม่ เพื่อช่วยกระตุ้นพัฒนาการการมองเห็นให้กับลูกน้อย นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หรือการดมกลิ่นหอมต่าง ๆ ยังช่วยกระตุ้นการรับรส และการรับกลิ่นของทารกได้อีกด้วยค่ะ ที่สำคัญเพื่อให้ทารกตั้งแต่แรกคลอดมีความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกาย และมีสมองการเรียนรู้ที่ดี อยากให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ค่ะ เพราะนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม และสฟิงโกไมอีลิน ซึ่งช่วยในพัฒนาการสมอง สติปัญญา และการเจริญเติบโตของลูก รวมทั้งยังมีจุลินทรีย์สุขภาพ บีแล็กทิส (B. lactis) หนึ่งในจุลินทรีย์สุขภาพในกลุ่มบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) และยังเป็นโพรไบโอติกส์ ที่สามารถส่งต่อเพื่อสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยได้อีกด้วย

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. การดิ้นของทารกในครรภ์ สัญญาณที่คุณแม่ควรรู้, โรงพยาบาลบางปะกอก
  2. ฝากครรภ์แต่ละครั้ง ตรวจอะไรบ้าง?, โรงพยาบาลเปาโล
  3. หญิงตั้งครรภ์กับการนับลูกดิ้น, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  4. พัฒนาการของทารกในครรภ์ตลอด 9 เดือน เป็นอย่างไรบ้างนะ, โรงพยาบาลพญาไท
  5. หน้าท้องลาย..ปัญหาหนักใจของคุณแม่ตั้งครรภ์, โรงพยาบาลเปาโล
  6. คุณแม่ตั้งครรภ์กับอาการปวดหลัง, โรงพยาบาลสมิติเวช
  7. ภาวะปัสสาวะบ่อย, MedPark Hospital
  8. คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ในแต่ละไตรมาส, โรงพยาบาลนครธน
  9. เทคนิคคุณแม่ดูแลครรภ์ 9 เดือนอย่างมีคุณภาพ, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  10. คุณแม่ตั้งครรภ์ คุมน้ำหนักอย่างไรให้พอดี, โรงพยาบาลบางปะกอก
  11. ขนาดทารกในครรภ์ ในช่วงสัปดาห์ต่าง ๆ เปรียบเทียบกับขนาดผักและผลไม้, helloคุณหมอ
  12. การดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์และพัฒนาการทารกในครรภ์, โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
  13. คุณแม่ตั้งครรภ์ รับประทานอะไรดี, โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ
  14. เรียนรู้การเคลื่อนไหว ของทารกที่อยู่ในครรภ์, โรงพยาบาลบางปะกอก
  15. พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 25 ของการตั้งครรภ์, helloคุณหมอ

อ้างอิง ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567

บทความแนะนำ

เจ็บสะดือจี๊ด ๆ ตั้งครรภ์ คนท้องเจ็บสะดือ ลูกในครรภ์จะเป็นอะไรไหม

เจ็บสะดือจี๊ด ๆ ตั้งครรภ์ คนท้องเจ็บสะดือ ลูกในครรภ์จะเป็นอะไรไหม

เจ็บสะดือจี๊ด ๆ ตั้งครรภ์ อันตรายไหม อาการคนท้องเจ็บสะดือ เกิดจากสาเหตุอะไร อาการที่ชัดเจนต้องเจ็บลักษณะไหน คนท้องเจ็บสะดือแบบไหนอันตรายกับลูกในครรภ์

อาหารว่างสำหรับคนท้อง คนท้องหิวบ่อย กินขนมคนท้องอะไรได้บ้าง

อาหารว่างสำหรับคนท้อง คนท้องหิวบ่อย กินขนมคนท้องอะไรได้บ้าง

เมนูอาหารว่างสำหรับคนท้อง ขนมที่คนท้องกินได้ระหว่างวัน ช่วยบำรุงครรภ์และดีต่อสุขภาพ มีอะไรบ้าง อาหารว่างสำหรับคนท้องแบบไหนดีกับคุณแม่ท้องและลูกในครรภ์ ไปดูกัน

ท้องกลมท้องแหลมดูยังไง คุณแม่ท้องกลมท้องแหลม บอกอะไรได้บ้าง

ท้องกลมท้องแหลมดูยังไง คุณแม่ท้องกลมท้องแหลม บอกอะไรได้บ้าง

ท้องกลมท้องแหลมดูยังไง ลักษณะหน้าท้องของคุณแม่แต่ละคนแตกต่างกัน เพราะอะไร จะได้ลูกสาวหรือลูกชายดูจากท้องกลมท้องแหลมได้จริงไหม เป็นไปได้กี่เปอร์เซ็นต์

ท้องแตกลายช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่ดูแลผิวหน้าท้องยังไงได้บ้าง

ท้องแตกลายช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่ดูแลผิวหน้าท้องยังไงได้บ้าง

ท้องแตกลายลายตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร หน้าท้องแตกลาย ผิวไม่เรียบเนียนช่วงตั้งท้อง ผิวที่หน้าท้องคุณแม่จะเป็นอย่างไร พร้อมวิธีลดอาการท้องแตกลายจากการตั้งครรภ์