ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือนของคุณแม่ บอกอะไรเกี่ยวกับลูกน้อยได้บ้าง

ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน พุงคนท้องแต่ละเดือน บอกอะไรได้บ้าง

10.03.2024

ขนาดท้องแต่ละเดือน ของคุณแม่ท้องจะสัมพันธ์กับน้ำหนักที่ขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์จะช่วยให้ทารกในครรภ์มีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ และยังช่วยให้หลังคลอดลูก คุณแม่จะมีน้ำนมพร้อมสำหรับการเลี้ยงลูกด้วย

headphones

PLAYING: ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน พุงคนท้องแต่ละเดือน บอกอะไรได้บ้าง

อ่าน 8 นาที

สรุป

  • ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน สามารถบอกได้ถึงน้ำหนัก พัฒนาการต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ และความเสี่ยงสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ด้วย
  • ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน ในช่วงการตั้งครรภ์เดือนที่ 8 ขนาดครรภ์ของคุณแม่จะขยายใหญ่มากที่สุด
  • ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน ในช่วงอายุครรภ์ 8-9 เดือน ยอดมดลูกจะโตขยายมาจนถึงลิ้นปี่
  • ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน ในช่วงอายุครรภ์ 9 เดือน จะมีอาการท้องลด ขนาดหน้าท้องมีการลดต่ำลง คุณแม่จะหายใจได้สะดวกมากขึ้น

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ติดตามขนาดหน้าท้องแต่ละเดือนและพัฒนาการของลูกน้อย

แพทย์จะนัดตรวจติดตามครรภ์คุณแม่ตลอด 9 เดือน เพื่อให้ทราบถึงพัฒนาการการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ รวมถึงขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน และสุขภาพของคุณแม่ตลอดการตั้งครรภ์

 

1. ช่วยให้แพทย์คาดคะเนอายุครรภ์ได้

แพทย์จะคาดคะเนอายุครรภ์ให้กับคุณแม่ตั้งแต่ตอนที่ฝากครรภ์ ทางการแพทย์จะแนะนำให้มีการฝากครรภ์ในช่วงอายุครรภ์ไม่มากเกินไปกว่า 12 สัปดาห์ ซึ่งอายุครรภ์จะนับตั้งแต่วันแรกของประจำเดือนรอบสุดท้าย

 

2. บ่งบอกน้ำหนักของทารก

การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักและขนาดตัวของทารกในครรภ์ในแต่ละเดือน จะขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ กรรมพันธุ์ที่รับมาจากพ่อแม่ และโภชนาการสารอาหารที่คุณแม่รับประทานขณะตั้งครรภ์ คุณแม่จะทราบน้ำหนักของลูกในท้องทุกเดือนจากที่แพทย์นัดตรวจครรภ์

 

3. บ่งบอกพัฒนาการของทารก

ขนาดครรภ์ที่พัฒนาขึ้นตลอด 9 เดือน ยังบอกได้ถึงพัฒนาการการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ระหว่างการตั้งครรภ์แพทย์จะมีการทำอัลตราซาวด์ให้กับคุณแม่ สำหรับการอัลตราซาวด์เพื่อดูพัฒนาการทารกในครรภ์ เริ่มได้ตั้งแต่ช่วงอายุครรภ์ได้ 6-8 สัปดาห์ แพทย์จะดูการเต้นของหัวใจ และขนาดตัวทารก

 

4. บ่งบอกการขยายตัวของมดลูก

หลังจากการตั้งครรภ์ผ่านไตรมาสแรกขึ้นไป ขนาดมดลูกและหน้าท้องของคุณแม่จะเริ่มขยายใหญ่ขึ้น มดลูกจะโตจากตรงบริเวณอุ้งเชิงกรานไปจนถึงสะดือ และอายุครรภ์ได้ 8-9 เดือน ยอดมดลูกจะโตขยายมาจนถึงลิ้นปี่

 

5. บ่งบอกความเสี่ยงโรคต่าง ๆ ของคุณแม่ได้

การตั้งครรภ์ไตรมาสแรก เริ่มตั้งครรภ์ถึง 14 สัปดาห์ คุณแม่จะได้รับตรวจเลือดสำหรับฝากครรภ์ครั้งที่ 1 เพื่อดูเกี่ยวกับภาวะของโรคเอดส์ กามโรค ไวรัสตับอักเสบบีและซี โรคธาลัสซีเมีย และกรุ๊ปเลือด

  • การตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 ตั้งแต่อายุครรภ์ 15-28 สัปดาห์ คุณแม่จะได้รับการตรวจเลือดเพื่อนำไปตรวจหาภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • การตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 ตั้งแต่อายุครรภ์ 29-42 สัปดาห์ แพทย์จะนัดตรวจทุก 2 สัปดาห์ โดยมีการตรวจอัลตราซาวด์เพื่อคำนวณน้ำหนักตัวและตรวจสุขภาพทารกในครรภ์

 

ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน: เดือนที่ 1

ช่วง 4 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงปฏิสนธิ ไข่กับสเปิร์มที่ผสมกันแล้วจะย้ายจากท่อนำไข่ไปฝังตัวในมดลูก จากเซลล์ขนาดเล็กจะค่อย ๆ เจริญเติบโตขึ้นเป็นตัวอ่อน ซึ่งคุณแม่ท้องแต่ละคนอาจมีการเปลี่ยนแปลงขยายของหน้าท้องที่ไม่เหมือนกัน คุณแม่ท้องบางคนอาจมีขนาดหน้าท้องใหญ่ขึ้นมาเล็กน้อย หรือคุณแม่ท้องบางคนอาจยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงของขนาดหน้าท้องในเดือนที่ 1 ของการตั้งครรภ์ เพราะทารกในครรภ์ยังมีขนาดที่เล็กมาก

 

ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน: เดือนที่ 2

ช่วง 8 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่ตัวอ่อนฝังตัวที่มดลูกได้อย่างสมบูรณ์ ในเดือนที่ 2 นี้ทารกจะมีรูปร่างกลม และมีความยาว 2-3 เซนติเมตร ขนาดหน้าท้องของคุณแม่ขยายใหญ่ยื่นออกมาเพียงเล็กน้อย หากสังเกตที่สะดือของคุณแม่ท้องแต่ละคนสะดืออาจจะนูนออกมา หรืออาจจะแบนราบก็ได้เช่นกัน

 

ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน: เดือนที่ 3

ช่วง 12 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ มดลูกจะมีการขยายใหญ่ขึ้นจนโผล่พ้นอุ้งเชิงกรานออกมาอยู่ในบริเวณช่องท้องน้อย ทำให้ขนาดหน้าท้องของคุณแม่เริ่มป่องยื่นออกมาเล็กน้อย

 

ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน: เดือนที่ 4

เดือนนี้ทารกในครรภ์จะมีขนาดลำตัว 8-10 นิ้ว คุณแม่จะเริ่มมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ น้ำหนักขึ้นมาประมาณครึ่งกิโลกรัมต่อสัปดาห์ ขนาดหน้าท้องจะขยายใหญ่ขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอีกเล็กน้อย จนคุณแม่จะรู้สึกว่าชุดเสื้อผ้าที่ใส่เริ่มคับ

 

ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน: เดือนที่ 5

น้ำหนักตัวของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นมา 5-7 กิโลกรัม ทารกในครรภ์จะมีการเจริญเติบโตมีขนาดตัวใหญ่ขึ้น ซึ่งน้ำหนักตัวของคุณแม่ที่เพิ่มขึ้นในเดือนนี้ ทำให้ขนาดครรภ์ของคุณแม่ขยายใหญ่ จนเริ่มสังเกตเห็นว่าผิวบริเวณหน้าท้องเริ่มมีการแตกลาย

 

ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน: เดือนที่ 6

ทารกในครรภ์จะมีขนาดลำตัวยาว 11-14 นิ้ว ขนาดครรภ์ของคุณแม่จะขยายใหญ่ขึ้นมามาก เนื่องจากยอดมดลูกขยับขึ้นมาอยู่เหนือสะดือ มดลูกมีขนาดโตเท่ากับลูกฟุตบอล

 

ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน: เดือนที่ 7

ทารกในครรภ์จะมีน้ำหนักขึ้นมาประมาณ 1 กิโลกรัม ขนาดท้องของคุณแม่จะขยายใหญ่จนโต คุณแม่จะรู้สึกว่าหายใจได้เป็นจังหวะสั้น ๆ เท่านั้น นั่นเป็นเพราะว่ามดลูกที่โตขึ้นจนไปเบียดดันกระบังลม การเดิน การเคลื่อนไหวร่างกายของคุณแม่จะมีความอุ้ยอ้ายมาก

 

ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน: เดือนที่ 8  

น้ำคร่ำที่เพิ่มปริมาณสูงขึ้นมา ส่งผลให้ขนาดท้องของคุณแม่ในเดือนนี้มีขนาดใหญ่มากที่สุด

 

ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน: เดือนที่ 9

ทารกในครรภ์มีการเคลื่อนร่างกายลงมาอยู่ตรงช่วงกระดูกเชิงกราน จะช่วยให้คุณแม่หายใจได้คล่องสบายมากขึ้น และขนาดหน้าท้องของคุณแม่ก็จะมีการลดต่ำลงมา ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่าอาการท้องลด

 

ขนาดหน้าท้องแต่ละเดือน สารอาหารสำคัญสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

สารอาหารสำคัญสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

การได้รับสารอาหารที่ดีมีประโยชน์ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน จะช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพที่ดี และทารกในครรภ์มีพัฒนาการการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์แข็งแรง

  • โปรตีน มีความสำคัญในการเพิ่มขนาดเซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกาย ช่วยสร้างน้ำย่อย เพิ่มปริมาณเลือด เสริมภูมิคุ้มกัน และสร้างน้ำนมแม่ แหล่งอาหารที่อุดมด้วยโปรตีน ได้แก่ เนื้อปลา ไข่ นม เต้าหู้ เป็นต้น
  • โฟเลต มีความสำคัญในการสร้างเซลล์สมอง ระบบประสาทและไขสันหลังให้กับทารกในครรภ์ แหล่งอาหารที่อุดมด้วยโฟเลต ได้แก่ บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง ผักโขม และ แคนตาลูป เป็นต้น
  • ธาตุเหล็ก ในช่วงอายุครรภ์ 4-9 เดือน ร่างกายของคุณแม่เริ่มมีการสร้างน้ำนม และเพิ่มปริมาณเลือดขึ้นในร่างกาย ดังนั้นเพื่อช่วยให้น้ำนมแม่มีคุณภาพ จึงควรรับประทานอาหารสำหรับคนท้องที่มีธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นในมื้ออาหาร แหล่งอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก ได้แก่ เนื้อแดง ตับไก่ ไข่แดง งา คะน้า ตำลึง ผักโขม เป็นต้น
  • โอเมก้า 3 ในช่วงอายุครรภ์ 4-9 เดือน คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 ในมื้ออาหารให้เพิ่มมากขึ้น โอเมก้า 3 มีส่วนสำคัญในการสร้างเซลล์สมอง รอยหยักในสมอง ความจำ และพัฒนาสายตาของทารกในครรภ์ แหล่งอาหารที่อุดมด้วยโอเมก้า 3 ได้แก่ ปลาทูน่า ปลาทู ปลาแซลมอน เป็นต้น
  • ไอโอดีน ในช่วงอายุครรภ์ 4-9 เดือน ทารกในครรภ์จะมีการพัฒนาระบบประสาทและสมอง ให้มีการเรียนรู้และความจำที่มีประสิทธิภาพ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนอย่างสม่ำเสมอ แหล่งอาหารที่อุดมด้วยไอโอดีน ได้แก่ สาหร่าย อาหารทะเลทุกชนิด และเกลือเสริมไอโอดีน
  • คาร์โบไฮเดรต ช่วยให้พลังงานแก่ร่างกายของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ กระตุ้นให้ร่างกายสดชื่นขึ้นจากการแพ้ท้อง แหล่งอาหารที่อุดมด้วยคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ ข้าว ขนมปัง ธัญพืช
  • วิตามินบี 2,6,12 คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 2,6,12 ตลอดการตั้งครรภ์ เพราะจะช่วยให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ และช่วยให้ระบบประสาทสมองการเรียนรู้พัฒนาขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยให้ระบบเลือดภายในร่างกายสามารถลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนไปยังอวัยวะต่าง ๆ ให้กับคุณแม่ท้องและทารกในครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แหล่งอาหารที่อุดมด้วยวิตามิน 2,6,12 ได้แก่ นม ไข่แดง เนื้อสัตว์ ตับ โยเกิร์ต ถั่วเมล็ดแห้ง ข้าวโอ๊ต มันฝรั่ง กล้วย และหอยนางรม
  • แคลเซียม เป็นสารอาหารที่สำคัญและจำเป็นตลอดการตั้งครรภ์ เพราะส่วนสำคัญของการสร้างกระดูกของทารกในครรภ์ให้เจริญเติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์ แหล่งอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม ได้แก่ นม เนย และปลาตัวเล็ก ๆ กินได้ทั้งกระดูก

 

ทำไมคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องดื่มน้ำเยอะเป็นพิเศษ

คุณแม่ท้องจำเป็นต้องดื่มน้ำให้มากเพียงพอตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน น้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญของสมอง ช่วยหล่อเลี้ยงเซลล์ในสมองของทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณแม่ท้องควรดื่มน้ำต่อวันให้ได้ 8-10 แก้ว

 

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ได้คุณค่าสารอาหารหลากหลายครบ 5 หมู่ จะช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพดี และทารกในครรภ์มีพัฒนาการการเจริญเติบโตสมบูรณ์แข็งแรง ที่สำคัญการรับประทานอาหารของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ยังส่งผลต่อร่างกายในการสร้างน้ำนมแม่ที่มีคุณภาพอีกด้วย นมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด มีสารอาหารสำคัญอย่างสฟิงโกไมอีลิน ดีเอชเอ ที่เป็นสารอาหารเพื่อพัฒนาสมองของลูกให้มีการเรียนรู้ได้เร็ว และมีจุลินทรีย์สุขภาพหลายสายพันธุ์ เช่น B. lactis ที่ช่วยกระตุ้นสร้างภูมิคุ้มกันในลำไส้ให้แข็งแรง

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ในแต่ละไตรมาส, โรงพยาบาลนครธน
  2. ฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด เพื่อสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์, โรงพยาบาลพญาไท
  3. รับมือกับร่างกายที่เปลี่ยนแปลงของว่าที่คุณแม่, โรงพยาบาลเปาโล
  4. ฝากครรภ์ครั้งแรกต้องทำอย่างไร ตอบข้อสงสัยคุณแม่มือใหม่, โรงพยาบาลนครธน
  5. 9 เดือน กับพัฒนาการของทารกในครรภ์, โรงพยาบาลเปาโล
  6. พุงคนท้องระยะแรก มีลักษณะอย่างไร, helloคุณหมอ
  7. หน้าท้องของคนท้อง ถ้าใช้นิ้วกดไปแล้วจะรู้สึกแข็ง ไม่สามารถยุบลงได้ ที่กี่สัปดาห์, POBPAD
  8. การดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์และพัฒนาการทารกในครรภ์, โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
  9. ท้อง 5 เดือน สิ่งที่คุณแม่ต้องเผชิญกับวิธีการรับมือ, POBPAD
  10. การตั้งครรภ์เดือนที่ 6, Siamhealth
  11. พัฒนาการของทารก สุขภาพของคุณ และเรื่องน่ารู้ในช่วงท้อง 8 เดือน, POBPAD
  12. คุณแม่ท้อง 9 เดือน กับการเปลี่ยนแปลงช่วงใกล้คลอด, POBPAD
  13. สารอาหารสำคัญ คุณแม่ตั้งครรภ์ห้ามพลาด, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  14. คุณแม่ตั้งครรภ์ รับประทานอะไรดี, โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

อ้างอิง ณ วันที่ 21 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

มดลูกหย่อนอันตรายไหม คุณแม่ควรรับมือยังไง เมื่อมดลูกหย่อน

มดลูกหย่อน คืออะไร อาการมดลูกหย่อนเป็นแบบไหน มีทั้งหมดกี่ระยะ เกิดขึ้นกับช่วงวัยไหนบ้าง รักษาให้หายขาดได้ไหม พร้อมวิธีป้องกันมดลูกหย่อนในผู้หญิง

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมดีไหม ได้ผลกี่เปอร์เซ็นต์ ฝังยาคุมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ฝังยาคุมเพื่อคุมกำเนิดได้ผลดีแค่ไหน การฝังยาคุมกำเนิด เหมาะกับใคร มีข้อดีข้อเสียยังไง ฝังยาคุมอยู่ได้นานกี่ปี ปลอดภัยไหม มีผลข้างเคียงหรือเปล่า

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด คุณแม่มือเท้าบวม รับมือยังไงดี

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด คุณแม่มือเท้าบวม รับมือยังไงดี

คนท้องเท้าบวมหลังคลอด อาการมือเท้าบวมหลังคลอด เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง คุณแม่เท้าบวมหายเองได้ไหม หากหายช้าจะเป็นอันตรายหรือเปล่า พร้อมวิธีรับมือ

ตกเลือดหลังคลอด คืออะไร อาการตกเลือดหลังคลอดอันตรายมากไหม

ตกเลือดหลังคลอด คืออะไร อาการตกเลือดหลังคลอดอันตรายมากไหม

ตกเลือดหลังคลอด คืออะไร อาการตกเลือดหลังคลอดของคุณแม่ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง หากเลือดออกเยอะและไม่หยุดไหล จะอันตรายกับคุณแม่แค่ไหน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก