สังเกตอาการลูกน้อย ภูมิแพ้ในเด็ก ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19

ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19 ภูมิแพ้ในเด็ก ที่แม่ควรสังเกต

09.05.2024

เชื้อไวรัสโควิด-19 ได้สร้างความตระหนกกับคุณแม่ มาทำความรู้จักกับอาการภูมิแพ้-ไข้หวัด หรือเชื้อไวรัสโควิด-19 เพื่อสังเกตอาการของลูกน้อย คุณแม่ควรรู้ วิธีสังเกตอาการของลูกน้อยระหว่าง อาการภูมิแพ้ในเด็ก กับ อาการโควิด 19 ต่างกันอย่างไร

headphones

PLAYING: ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19 ภูมิแพ้ในเด็ก ที่แม่ควรสังเกต

อ่าน 8 นาที

 

สรุป

  • คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาความแตกต่างของอาการไข้หวัดธรรมดา, อาการภูมิแพ้ในเด็ก และอาการเชื้อไวรัสโควิด-19 เพื่อให้เตรียมรับมือเมื่อลูกน้อยเริ่มมีอาการป่วยในลักษณะต่าง ๆ และลดความเสี่ยงต่อการเป็นพาหะไปสู่ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในครอบครัวได้
  • การดูแลตัวเองและลูกน้อยสำหรับเด็กเป็นภูมิแพ้ ด้วยการหลีกเลี่ยงการเดินทางโดยไม่จำเป็น รับประทานอาหารปรุงสุก สดใหม่ รวมถึงล้างมือด้วยน้ำสบู่อย่างน้อย 20 วินาที และดูแลสุขอนามัยในบ้านให้ดี
  • คุณแม่ได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังสามารถให้นมแม่ได้ตามปกติ เนื่องจากเชื้อโควิด-19 ไม่สามารถแพร่ผ่านน้ำนมได้ แต่ต้องใส่ใจในเรื่องการรักษาความสะอาดให้มากยิ่งขึ้นโดยการใส่หน้ากากอนามัย ป้องกันการไอ จาม น้ำลาย สารคัดหลั่งไปสัมผัสลูก

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

อาการภูมิแพ้ในเด็ก ลูกคัดจมูก กับ อาการโควิด 19 ต่างกันอย่างไร

 

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับคนทั่วโลกจำนวนไม่น้อย เนื่องจากเป็นไวรัสชนิดใหม่ ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย เช่น ระบบทางเดินหายใจ และปอดเป็นหลัก อาการของโรคในเบื้องต้นอาจมีความคล้ายกับอาการไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หรืออาการภูมิแพ้

 

ซึ่งในประเทศไทยนั้นยังคงมีจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสสูงขึ้นและสร้างความวิตกกังวลให้กับทุกคน โดยเฉพาะครอบครัวที่มีเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ถึงแม้จะเคยได้ยินว่าเด็กเล็กไม่ได้เป็นกลุ่มเสี่ยงหลัก และมีอันตรายน้อยกว่าผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ แต่คุณแม่ก็ยังคงเป็นห่วงและไม่วางใจกับความเสี่ยงนี้อย่างแน่นอน เพราะเด็กที่ติดเชื้อสามารถเป็นพาหะไปสู่ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในครอบครัวได้

 

ความแตกต่างของอาการไข้หวัดธรรมดา, อาการภูมิแพ้ในเด็ก และ อาการเชื้อไวรัสโควิด-19 เพื่อให้คุณแม่เตรียมรับมือเมื่อลูกน้อยเริ่มมีอาการ

อาการของโรค #ภูมิแพ้ในเด็กอาการของโรค #ไข้หวัดธรรมดาอาการของโรค #เชื้อไวรัสโควิด 19
- มีน้ำมูก คัน และคัดจมูก  - คัดจมูก น้ำมูกไหลลักษณะใส  - บางคนอาจมีอาการไม่รุนแรง มีลักษณะเหมือนไข้หวัดทั่วไป ขณะที่บางคนมีอาการรุนแรงมากทำให้เกิดปอดอักเสบได้
- ไอจามหายใจลำบาก  - ไอมีเสมหะ จาม    - จะเริ่มจากอาการไข้ รู้สึกเมื่อยล้า
- แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก    - เจ็บคอ เสียงแหบ - มีอาการไอแห้ง ๆ
- มีผดผื่นคัน ขึ้นตามร่างกาย    - อาจมีอาการไข้ต่ำ ๆ ปวดศีรษะเล็กน้อย

- หายใจได้ลำบาก

- บางครั้งอาจมีอาการเจ็บคอ

ที่มา :
https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30283

 

4 เทคนิคดูแลตัวเองและลูกน้อยสำหรับเด็กเป็นภูมิแพ้ ให้อยู่บ้านอย่างปลอดภัย

 

4 เทคนิคดูแลตัวเองและลูกน้อยสำหรับเด็กเป็นภูมิแพ้ ให้อยู่บ้านอย่างปลอดภัย

1. ก่อนอื่นคุณแม่อาจพิจารณาว่า “จำเป็นต้องเดินทางไหม?”

ในช่วงที่มีโรคระบาด หากจำเป็นต้องเดินทาง ควรพิจารณาว่ามีความจำเป็นจริงหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางเพื่อท่องเที่ยว ทำงาน หรือการประชุม เพราะหากไม่เดินทาง ก็ย่อมจะไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อบางครั้งผู้จัดงานหรือจัดการประชุม อาจประกาศยกเลิกหรือเลื่อนออกไปเรียบร้อยแล้วในช่วงที่มีโรคระบาด ดังนั้นเช็คให้ดีก่อนการเดินทาง

 

สอนลูกให้รักษาความสะอาด โดยการล้างมือ ป้องกันภูมิแพ้ในเด็ก

 

2. สอนลูกเรื่องการดูแลตัวเองแบบง่าย ๆ "กินร้อน ช้อนกลางส่วนตัว ล้างมือ"

ทานอาหารโดยใช้ช้อนกลางส่วนตัว และปรุงสุก สดใหม่ ไม่ทานอาหารดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ และฝึกให้ลูกล้างมืออย่างถูกต้อง ทั้งการล้างมือด้วยน้ำสบู่อย่างน้อย 20 วินาที และการใช้แอลกอฮอล์เจลล้างมือ โดยเฉพาะก่อนสัมผัสใบหน้า ตา จมูก ปาก ก่อนทานอาหาร และหลังจากเข้าห้องน้ำ รวมถึงการใส่หน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีป้องกันภูมิแพ้ในเด็กและลดการติดเชื้อ

 

สอนลูกให้ดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี ป้องกันอาการลูกคัดจมูก

 

3. สอนลูกให้ดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี ป้องกันอาการลูกคัดจมูก

ปิดปากและจมูกขณะไอหรือจาม และสอนลูกให้ไอหรือจามอย่างถูกวิธี ด้วยการไอหรือจามใส่ข้อพับแขนด้านในหรือบนกระดาษทิชชู แล้วล้างมือให้สะอาด

 

4. ชวนลูกดูแลสุขอนามัยในบ้าน

ใช้เวลาอยู่บ้านให้เกิดประโยชน์ โดยชวนลูกทำความสะอาดบ้าน จัดบ้านให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีอากาศถ่ายเทสะดวก สะอาด ห่างไกลเชื้อโรค เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้ไกลตัวมากที่สุด หมั่นทำความสะอาดอยู่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะห้องน้ำ ห้องนั่งเล่น ห้องครัว เพราะเป็นห้องที่ทุกคนในบ้านใช้ร่วมกัน ดังนั้นควรเน้นการทำความสะอาดเป็นพิเศษ

 

5. คุณแม่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถให้นมลูกน้อยได้

การให้นมแม่ ถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการลดความเสี่ยงภูมิแพ้ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ลูก เพราะนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด และยังมีคุณสมบัติเป็น Hypo-Allergenic หรือ H.A. ที่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคภูมิแพ้ได้ และโปรตีนในนมแม่บางส่วน ได้ถูกย่อยให้มีขนาดเล็กลง หรือที่เรียกว่า PHP (Partially Hydrolyzed Proteins ) ซึ่งง่ายต่อการดูดซึมเข้าร่างกายของลูกน้อย มีพรีไบโอติกโอลิโกแซคคาไรด์ใยอาหารหลักที่สำคัญ ที่ช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อต่าง ๆ ซึ่งโอลิโกแซคคาไรด์ ประกอบด้วย ใยอาหารหลากหลายชนิด ซึ่ง 5 ใยอาหารหลัก (5 Oligosaccharide หรือ 5 HMO เช่น 2’FL, DFL, LNT, 6’SL และ 3’SL) มีช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันในเด็ก และมี โพรไบโอติกหลายชนิด เช่น B.lactis (บีแล็กทิส) ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ ซึ่งหากคุณแม่ได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 ก็ไม่ต้องตกใจไปนะคะ เพราะคุณแม่ยังสามารถให้นมแม่ได้ตามปกติ เนื่องจากเชื้อโควิด-19 ไม่สามารถแพร่ผ่านน้ำนมได้ แต่ต้องใส่ใจในเรื่องการรักษาความสะอาดให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงใส่หน้ากากอนามัย 2 ชั้น หรือใส่ Face shield เพื่อป้องกันการไอ จาม น้ำลาย สารคัดหลั่งไปสัมผัสลูก หากคุณแม่รับประทานฟ้าทะลายโจรอยู่ จะไม่สามารถให้นมลูกได้ ต้องหยุดกินก่อนอย่างน้อย 48 ชั่วโมง (หรือ 2 วัน) แล้วจึงสามารถให้นมได้ เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย

 

ชวนลูกดูแลสุขอนามัยในบ้าน ป้องกันภูมิแพ้ในเด็ก ลูกคัดจมูก

 

1. สิ่งของที่ใช้ทุกวันและจับบ่อย ๆ เช่น มือถือ คอมพิวเตอร์ หูฟัง

เพื่อป้องกันลูกคัดจมูกและอาการภูมิแพ้ในเด็ก ควรทำความสะอาดสม่ำเสมอ ทุกครั้งที่ใช้งาน โดยเช็ดแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นมากกว่า 70% แล้วเอาผ้าแห้งมาเช็ดซ้ำอีกรอบ

 

2. พื้นผิวที่สัมผัสบ่อย เช่น สวิตช์ไฟ โต๊ะ เก้าอี้ ราวจับบันได รีโมท

แนะนำให้ทำความสะอาดทุกวัน เพราะเป็นสิ่งที่เราต้องใช้มือสัมผัสโดยตรง ดังนั้นให้เช็ดด้วยแอลกฮอล์ที่มากกว่า 70% ในการทำความสะอาด ช่วยป้องกันภูมิแพ้ในเด็ก

 

3. อุปกรณ์ภายในห้องน้ำ เช่น อ่างล้างมือ โถชักโครก อ่างอาบน้ำ

เนื่องจากห้องน้ำมีความชื้นอยู่ และเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคมากกว่าที่อื่น ดังนั้น ควรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ 1 ฝา/น้ำครึ่งลิตร ในการทำความสะอาดเช่นกัน

 

4. พื้นผิวโลหะ เช่น ลูกบิดประตู ก๊อกน้ำ

เป็นพื้นผิวที่เราสัมผัสบ่อย ๆ แต่เราอาจจะละเลยไป แนะนำให้เช็ดด้วยแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 70% แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง * ห้ามใช้น้ำยาฟอกผ้าขาว เพราะมีฤทธิ์กร่อนโลหะ

 

5. พวกผ้าต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู

เวลากลับบ้านให้รีบเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที โดยเราสามารถซักผ้าได้ตามปกติเลย (ใช้ผงซักฟอก) หรือจะแช่น้ำร้อนสูง 60-90 องศาก็ได้
 

หลีกเลี่ยงการพาเด็กเป็นภูมิแพ้ออกไปสถานที่ที่คนเยอะ

 

6. หลีกเลี่ยงการพาลูกออกไปสถานที่ที่คนเยอะหากไม่จำเป็น

เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากเชื้อไวรัสโควิด-19 และภูมิแพ้ในเด็ก แบบง่าย ๆ ด้วยการหลีกเลี่ยงไปสถานที่คนเยอะ ๆ หรือถ้าจำเป็นควรป้องกันโดยการสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะการเดินระหว่างผู้อื่น ทั้งหน้าและหลัง เลือกที่นั่งให้ห่างจากผู้อื่น ไม่อยู่ใกล้ชิด โดยอย่างน้อยควรห่าง 2 เมตรขึ้นไป

 

เนื่องจากอาการไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่เคยเกิดขึ้นแล้ว และร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันในระดับหนึ่ง แต่ เชื้อไวรัสโควิด 19 ที่ร่างกายยังไม่มีภูมิคุ้มกัน เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ในระบบทางเดินหายใจ เชื้อโรคจะลามเข้าไปสู่ปอด ส่งผลให้เกิดอาการปอดบวม ปอดอักเสบ ได้มากกว่าอาการไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่

 

สิ่งสำคัญที่สุดของสุขอนามัยทุกคนในครอบครัวคือการป้องกัน เช่น ล้างมือบ่อย ๆ ไม่เอามือไปสัมผัสหน้าตา, หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย, หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีคนแออัดในช่วงที่มีการระบาด เว้นระยะห่าง (Social Distancing) 2 เมตร และเด็กควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ปีละ 1 ครั้ง เพื่อความปลอดภัยและห่างไกลโรค

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 

 

อ้างอิง:

  1. ภูมิแพ้-หวัด-ไข้หวัดใหญ่-โควิด-19 ตระหนักแยกอาการอย่าตระหนก, กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
  2. แยกอาการให้ชัด 'ภูมิแพ้ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โควิด-19' ต่างกันอย่างไร?, กรุงเทพธุรกิจ
  3. 5 ข้อต้องรู้เพื่อดูแลเด็กเล็กให้ห่างไกล COVID-19, Dataxet
  4. 5 ข้อต้องรู้เพื่อดูแลเด็กเล็กให้ห่างไกล COVID-19, posttoday
  5. ภูมิแพ้-หวัด-ไข้หวัดใหญ่-โควิด-19 ตระหนักแยกอาการอย่าตระหนก, thaipost
  6. แม่ติดเชื้อโควิด-19 กับการให้นมลูก, โรงพยาบาลสมิติเวช

อ้างอิง ณ วันที่ 3 มีนาคม 2567
 

บทความแนะนำ

เด็กติดโทรศัพท์ ลูกติดจอก่อนวัยแก้ยังไงดี พร้อมวิธีรับมือ

เด็กติดโทรศัพท์ ลูกติดจอก่อนวัยแก้ยังไงดี พร้อมวิธีรับมือ

เด็กติดโทรศัพท์อันตรายไหม เด็กติดจอหนักมาก จะมีผลต่อพัฒนาการสมองระยะยาวของลูกน้อยหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกอย่างไร พร้อมวิธีป้องกันเด็กติดจอ

เด็กพัฒนาการช้าเป็นยังไง พร้อมวิธีสังเกตเมื่อเด็กมีพัฒนาการล่าช้า

เด็กพัฒนาการช้าเป็นยังไง พร้อมวิธีสังเกตเมื่อเด็กมีพัฒนาการล่าช้า

เด็กพัฒนาการช้าจะสังเกตเห็นได้ยังไง ลูกพัฒนาการล่าช้าเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง เด็กพัฒนาการล่าช้า มีวิธีป้องกันไหม และพ่อแม่สามารถช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้ลูกได้ยังไงบ้าง

เด็กเรียนรู้ช้า ไอคิวต่ำ มีลักษณะอย่างไร พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูก

เด็กเรียนรู้ช้า ไอคิวต่ำ มีลักษณะอย่างไร พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูก

ลูกไอคิวต่ำ เกิดจากสาเหตุอะไร เด็กเรียนรู้ช้าจะส่งผลเสียอะไรกับลูกบ้าง คุณพ่อคุณแม่จะรู้ได้ยังไงว่าเด็กไอคิวต่ำ พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อย

อาการออทิสติกเทียม ลูกไม่สบตาเรียกไม่หัน เสี่ยงออทิสติกหรือเปล่า

อาการออทิสติกเทียม ลูกไม่สบตาเรียกไม่หัน เสี่ยงออทิสติกหรือเปล่า

ออทิสติกเทียม คืออะไร ลูกไม่สบตาเรียกไม่หัน อาการแบบนี้เสี่ยงเป็นออทิสติกเทียมหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลูกน้อยอย่างไร พร้อมวิธีรับมือเบื้องต้น

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก