ผื่นลมพิษในเด็ก ผื่นลมพิษเด็ก พร้อมวิธีป้องกัน

ผื่นลมพิษในเด็ก ผื่นลมพิษเด็ก พร้อมวิธีป้องกัน

09.05.2024

อาการลมพิษในเด็ก ผื่นแดงนูนที่ขึ้นตามร่างกายของลูกน้อยอาจเป็นสัญญาณของโรคลมพิษ (Urticaria) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาของผิวหนังที่เกิดจากการตอบสนองต่อสารกระตุ้นต่าง ๆ โรคลมพิษสามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกวัย โดยมักมีอาการที่แตกต่างกันไป มาทำความเข้าใจอาการ สาเหตุ และวิธีการดูแลลูกน้อยเมื่อเกิดผื่นลมพิษกัน

headphones

PLAYING: ผื่นลมพิษในเด็ก ผื่นลมพิษเด็ก พร้อมวิธีป้องกัน

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • ลมพิษในเด็ก (Hives หรือ Urticaria) คือ โรคทางผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ทุกวัย เกิดเป็นผื่นแดง บวม นูน และคันบนผิวหนังตามร่างกาย ก่อให้เกิดความไม่สบายตัวและรำคาญ โดยลมพิษนั้นเกิดได้หลายสาเหตุ แต่ลมพิษในเด็กส่วนใหญ่มักเกิดจากการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ ทำให้เด็กที่เป็นภูมิแพ้อยู่แล้วเสี่ยงต่อการเกิดลมพิษมากกว่าเด็กปกติ
  • ผื่นลมพิษเด็ก มักจะมีผื่นแดง คัน บวม นูน เกิดจากการแพ้อาหาร ยา หรือการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียก็ได้ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาแก้แพ้ทุกครั้ง และ หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น ดูแลผิวให้ชุ่มชื้น ปรึกษาแพทย์
  • การดูแลเด็กเป็นลมพิษ คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ และนอกจากนี้คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาแก้คันทุกครั้ง/ยาแก้คัน ประคบเย็น อาบน้ำเย็น ใส่เสื้อผ้าระบายอากาศ ตัดเล็บ ห้ามเกา
  • วิธีแก้ผื่นลมพิษหรือการป้องกันลมพิษในเด็ก คุณพ่อคุณแม่สามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย ด้วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทานอาหารดี ออกกำลังกาย พักผ่อนและสังเกตอาการแพ้ หากมีอาการรุนแรงควรรีบไปพบแพทย์

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ผื่นลมพิษในเด็ก คืออะไร

โรคลมพิษในเด็ก (Hives หรือ Urticaria) คือโรคทางผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ทุกวัย โดยเกิดผื่นแดง บวม นูน และคันขึ้นมาบนผิวหนังตามร่างกาย ก่อให้เกิดความไม่สบายตัวและรำคาญได้ โดยลมพิษนั้นเกิดได้หลายสาเหตุ แต่ลมพิษในเด็กส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่เด็กแพ้อาหาร ยา การติดเชื้อทั้งไวรัสและแบคทีเรีย รวมถึงการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้

 

เด็กเป็นลมพิษ เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง

ลมพิษในเด็กมักเกี่ยวข้องกับอาการแพ้ โดยมีสารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อย ได้แก่

1. แพ้อาหาร

  • นม: นมวัวเป็นหนึ่งในสารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อยในทารกและเด็กเล็ก
  • ไข่: การแพ้ไข่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในไข่ขาวและไข่แดง
  • ถั่วเหลือง: ถั่วเหลืองมักเป็นส่วนประกอบในอาหารเด็กและอาจก่อให้เกิดการแพ้
  • แป้งสาลี: การแพ้กลูเตนจากแป้งสาลีสามารถทำให้เกิดอาการลมพิษได้
  • อาหารทะเล: เช่น กุ้ง ปู และปลา ซึ่งมีโอกาสก่อให้เกิดการแพ้สูง
  • วัตถุเจือปนในอาหาร: สารกันบูดหรือวัตถุแต่งกลิ่นและสีในอาหาร

 

2. แพ้ยา

  • ยาเพนิซิลลิน: ยานี้มักเป็นที่รู้จักในเรื่องของการแพ้
  • ยาแอสไพริน: อาจทำให้เกิดการแพ้ในเด็กบางคน
  • ยาลดไข้สูง: บางครั้งอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้

 

3. แพ้เกสรดอกไม้

เกสรจากดอกไม้ต่าง ๆ อาจกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ในเด็กที่มีแนวโน้มต่อภูมิแพ้

 

4. แพ้สัตว์และแมลงกัดต่อย

  • ขนสัตว์จากสัตว์เลี้ยง เช่น แมวหรือสุนัข สามารถทำให้เกิดการแพ้ได้
  • การถูกแมลงกัดต่อย เช่น ยุง หรือผึ้ง อาจทำให้เกิดอาการลมพิษในเด็ก

 

นอกจากนั้นยังในบางกรณี ลมพิษในเด็กยังเกิดขึ้นได้โดยไม่เกี่ยวกับภูมิแพ้ มีสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ การออกกำลังกาย ภาวะเครียด แสงอาทิตย์ สารเคมี และการกดทับผิวหนังอย่างรุนแรง

 

อาการลมพิษในเด็ก มีลักษณะอย่างไร

อาการผื่นลมพิษในเด็ก มีความคล้ายคลึงกับลมพิษในผู้ใหญ่ คือมีผื่นขึ้นเป็นกลุ่ม ตามบริเวณต่าง ๆ เช่น แผ่นหลัง หน้า แขน ขา หรือลำคอ ลักษณะผื่นนูนแดงบวม มองเห็นขอบเขตได้ชัดเจน ผื่นที่ขึ้นมักทำให้เกิดอาการคัน จึงอาจทำให้เด็กไม่สบายตัวและร้องไห้งอแงได้ โดยผื่นลมพิษในเด็กมักจะเป็นและหายภายได้เองใน 24 ชั่วโมงและอาจมีการย้ายไปขึ้นที่ใหม่อีก มักเป็นอยู่ 1-2 วัน แต่ในบางกรณีก็อาจนานกว่านั้น เราจึงสามารถแบ่งโรคลมพิษในเด็กตามระยะเวลาของโรคได้เป็น 2 ชนิด ดังนี้

1. ลมพิษแบบเฉียบพลัน (acute urticaria)

ผื่นลมพิษในเด็กแบบเฉียบพลัน เมื่อเป็นแล้วจะหายได้ภายในเวลา 3-6 สัปดาห์ เป็นผื่นลมพิษในเด็กและผู้ใหญ่ที่พบได้ทั่วไปกว่า 15-20% ของประชากร ส่วนมากเกิดจากการได้รับสารก่อภูมิแพ้หรือสารกระตุ้น เช่น แพ้อาหาร ยา ฝุ่น เกสรดอกไม้ หรือการติดเชื้อ เป็นต้น

 

2. ลมพิษแบบเรื้อรัง (chronic urticaria)

ผื่นลมพิษในเด็กแบบเรื้อรัง เมื่อเป็นแล้วจะเกิดขึ้นซ้ำอีกอย่างน้อยอาทิตย์ละ 2 ครั้ง และเป็นติดต่อกันนานเกิน 6 สัปดาห์ บางรายอาจใช้ระยะเวลารักษาหลายปี แต่พบในเด็กได้น้อยมากและมักไม่ทราบสาเหตุ

 

การดูแลลมพิษในเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

การวินิจฉัยโรคลมพิษในเด็ก หากคุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปหาหมอซึ่ง คุณหมอมักจะทราบว่านี่คือลมพิษในเด็กตั้งแต่เมื่อเห็นลักษณะของผื่น แต่ในการที่จะหาว่าอะไรคือสาเหตุหรือสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการนั้น ต้องอาศัยการซักประวัติของลูกน้อยเพิ่มเติม เช่น โรคประจำตัว ยาที่ใช้ การสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ กิจกรรมที่ทำ เป็นต้น


นอกจากนั้น ในบางกรณีคุณหมออาจให้คุณพ่อคุณแม่ช่วยจดรายการอาหารที่กิน กิจวัตรประจำวันที่ทำ หรือข้อมูลอื่น ๆ ของลูกน้อยที่อาจเชื่อมโยงกับการเกิดลมพิษได้ และอาจมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจเลือด หรือ ทดสอบภูมิแพ้ เพิ่มเติมด้วย

 

วิธีแก้ผื่นลมพิษในเด็ก พร้อมวิธีป้องกัน

วิธีดูแลลูกน้อย เมื่อลูกเป็นโรคลมพิษในเด็กแต่ละคนนั้นอาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค อายุ และสุขภาไพโดยรวมของผู้ป่วย บางกรณีผื่นลมพิษในเด็กอาจหายได้เองโดยไม่ต้องพึ่งยา โดยหนึ่งในขั้นตอนการดูแล ที่สำคัญที่สุดคือการให้ลูกน้อยหลีกเลี่ยงอาหารที่ต้องสงสัย ลดการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้หรือสิ่งกระตุ้น และควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง

 

นอกจากนั้น พยายามอย่าให้ลูกน้อยเกาหรือสัมผัสบริเวณที่เป็นผื่นลมพิษบ่อย ๆ เนื่องจากอาจทำให้ผิวหนังอักเสบได้ และพยายามปลอบลูกน้อยให้ไม่เครียดและวิตกกังวล เพราะความเครียดอาจเป็นปัจจัยกระตุ้นอาการลมพิษในเด็กได้เช่นกัน

 

อาการลมพิษในเด็กแบบไหน ที่ต้องระวัง

โดยทั่วไปอาการของโรคลมพิษมักไม่อันตราย มักจะหายภายใน 24 ชั่วโมง แต่หากมีอาการรุนแรงขึ้น ควรพาลูกน้อยไปหาคุณหมอ นอกจากนั้นลมพิษในเด็กยังเป็นหนึ่งในสัญญาณของภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน (Anaphylaxis) ซึ่งอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นหากพบว่าเด็กที่เป็นลมพิษมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วยต้องรีบนำไปพบแพทย์ทันที

  • หายใจลำบาก แน่นหน้าอก
  • เกิดการบวมที่หน้า ตา ปาก ลิ้น คอ
  • ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
  • หายใจมีเสียงหวีด รู้สึกเหมือนมีสิ่งอุดตันในลำคอ กลืนลำบาก
  • ชีพจรอ่อน หัวใจเต้นเร็ว
  • ไอ จาม น้ำมูกไหล

 

ผื่นลมพิษในเด็ก ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

วิธีป้องกันเมื่อเด็กเป็นลมพิษที่สำคัญที่สุดคือการให้ลูกน้อยอยู่ห่างไกลจากปัจจัยกระตุ้นหรือสารก่อภูมิแพ้ในเด็ก รอบตัว โดยเฉพาะอาหาร ยา หรือสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ และสอนให้ลูกน้อยรู้จักหลีกเลียงสิ่งกระตุ้นนั้น ๆ ด้วยตนเอง นอกจากนั้นอย่าลืมรักษาสุขภาพของลูกน้อยให้แข็งแรง เพื่อเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะในเด็กที่เป็นภูมิแพ้หรือมีความเสี่ยงของโรคภูมิแพ้อยู่แล้ว

 

การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่ลูกน้อยเริ่มต้นได้ตั้งแต่แรกเกิดผ่านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยนมแม่นั้นมีคุณสมบัติ Hypo-Allergenic (H.A.) ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภูมิแพ้ในเด็กได้ นอกจากนั้นยังประกอบไปด้วยสารอาหารกว่า 200 ชนิด และโปรตีนในนมแม่บางส่วน ได้ถูกย่อยให้มีขนาดเล็กลง หรือที่เรียกว่า PHP (Partially Hydrolyzed Proteins ) ซึ่งง่ายต่อการดูดซึมเข้าร่างกายของลูกน้อย 

 

อีกทั้งนมแม่ยังมีพรีไบโอติกโอลิโกแซคคาไรด์ใยอาหารหลักที่สำคัญ ที่ช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อต่าง ๆ ซึ่งโอลิโกแซคคาไรด์ ประกอบด้วยใยอาหารหลากหลายชนิด ซึ่ง 5 ใยอาหารหลัก (5 Oligosaccharide หรือ 5 HMO เช่น 2’FL , DFL, LNT, 6’SL และ 3’SL ) มีช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อต่าง ๆ เราจึงสนับสนุนให้ทารกได้รับนมแม่อย่างเดียว ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน และควรกินต่อเนื่องไปจนลูกอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น ควบคู่กับอาหารตามวัยที่เหมาะสม

 

หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการทราบว่าลูกน้อยมีความเสี่ยงต่อการเป็นลมพิษจากภูมิแพ้หรือไม่สามารถตรวจสอบความเสี่ยงภูมิแพ้เบื้องต้นได้ที่ S-MomClub

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 


อ้างอิง:

  1. What Are Hives?, kidshealth
  2. โรคลมพิษ!, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  3. ‘โรคลมพิษ’ ผื่นแดงบนผิวหนังที่ไม่ควรมองข้าม, โรงพยาบาลศิครินทร์
  4. ภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิต, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  5. โรคผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก, โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์
  6. โรค “ลมพิษ” สาเหตุและอาการที่ไม่ควรมองข้าม, โรงพยาบาลพญาไท
  7. โรคลมพิษ, สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

อ้างอิง ณ วันที่ 2 มีนาคม 2567
 

บทความแนะนำ

วิธีเตรียมของใช้เด็กแรกเกิดก่อนคลอด คุณแม่ต้องเตรียมอะไรบ้าง

ของใช้เด็กแรกเกิดก่อนคลอดเจ้าตัวเล็ก คุณแม่ต้องเตรียมอะไรบ้าง

ของใช้เด็กแรกเกิดก่อนคลอด คุณแม่ควรเตรียมอะไรก่อนคลอดบ้าง ไปดูกันว่าของใช้เด็กแรกเกิดแบบไหนที่จำเป็นและควรเตรียมไว้ก่อนคุณแม่คลอดเจ้าตัวเล็ก

พรีไบโอติกส์ สำหรับเด็ก สารอาหารสำคัญ ดีต่อสุขภาพลูกน้อย

พรีไบโอติกสำหรับเด็ก สารอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ดีต่อสุขภาพลูกน้อย

พรีไบโอติกส์ สำหรับเด็ก คือ ส่วนประกอบในอาหารที่สำคัญพรีไบโอติกส์เด็กมีอยู่ในอาหารหลายชนิด มีอะไรบ้าง ไปดูกัน

ภาวะตัวเหลือง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกตัวเหลือง

ทารกตัวเหลือง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกตัวเหลือง

วิธีดูแลทารกตัวเหลืองหลังคลอด คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตภาวะตัวเหลืองในทารก พร้อมวิธีดูแลทารกตัวเหลืองได้เองที่บ้าน ไปดูวิธีดูแลทารกตัวเหลืองกัน

ล้างจมูกทารก แบบไหนปลอดภัย ล้างยังไงไม่ให้ลูกกลัว

ล้างจมูกทารก แบบไหนปลอดภัย ล้างยังไงไม่ให้ลูกกลัว

ล้างจมูกทารก ปลอดภัยสำหรับลูกแค่ไหน ล้างจมูกทารกได้ตั้งแต่กี่เดือน ทำไมคุณพ่อคุณแม่ควรรู้วิธีล้างจมูกทารกเมื่อลูกเป็นหวัด คัดจมูก หรือหายใจไม่ออก

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก