การติดเชื้อในช่องหูของทารก สาเหตุ อาการ ที่แม่ควรรู้
หูชั้นกลางอักเสบ เป็นหนึ่งในการติดเชื้อที่พบบ่อยที่สุดในเด็กอายุระหว่าง 6 เดือน – 2 ปี คือการติดเชื้อในช่องหูส่วนกลาง หรือที่เรียกกันว่า หูชั้นกลางอักเสบ (otitis media)
การติดเชื้อไวรัสอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กทารกมีการติดเชื้อในช่องหู
หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน (acute otitis media) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แต่ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้ การอักเสบจะไปกีดขวางท่อยูสเตเชียน และขัดขวางทางเดินอากาศที่ไหลผ่านท่อ ของเหลวเหนียวที่สะสมอยู่ในช่องหูส่วนกลางจะกลายเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ของแบคทีเรียและทำให้เกิดการติดเชื้อในช่องหูส่วนกลาง ของเหลวที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ความดันภายในหูสูงขึ้นและทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรง มีหลายสัญญาณและอาการที่แสดงว่าลูกอาจมีการติดเชื้อในช่องหู
อาการของการติดเชื้อในช่องหู
มีหลายสัญญาณและอาการที่แสดงว่าลูกอาจมีการติดเชื้อในช่องหู ถ้าคุณคิดว่าลูกอาจมีการติดเชื้อในช่องหู ก็ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ อาการด้านล่างอาจเป็นตัวบ่งชี้ว่าลูกมีการติดเชื้อในช่องหู
• ดึงใบหู – ถ้าลูกดึงหรือจับใบหูบ่อยๆ อาจเป็นสัญญาณว่ามีปัญหาที่หู แต่ก็ไม่เสมอไป มันอาจแค่การแสดงว่าเขารู้สึกหงุดหงิด
• กลิ่นเหม็น ของเหลวที่ไหลออกมาจากหูอาจมีกลิ่นเหม็น ของเหลวที่ไหลออกมานี้จะแตกต่างจากขี้หูปกติ มันอาจมีสีส้มเหลือง หรือสีน้ำตาลแดง
• มีไข้และหนาว ถ้าลูกของคุณมีไข้และรู้สึกหนาวพร้อมกับมีปัญหาในการได้ยิน และนอนหลับไม่เป็นสุข พวกเขาอาจไม่สบายจากการติดเชื้อในช่องหู ในบางกรณีก็มีความอยากอาหารลดลงได้
การรักษาและการป้องกัน
การติดเชื้อในช่องหูมักหายได้เองโดยไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา ของเหลวจะไหลออกมาจากช่องหูและลูกมักรู้สึกดีขึ้นหลังจากนั้น หูชั้นกลางอักเสบที่ของเหลวในช่องหูมีลักษณะเป็นมูกข้น (glue ear) อาจพบได้เมื่อมีของเหลวค้างอยู่ในช่องหู การที่ช่องหูถูกขวางกั้นอาจเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาในการฟัง และพูดช้า ทำให้หู จมูก และช่องคอสะอาด รักษาสุขอนามัยที่ดีของหู การทำให้จมูกและช่องคอของลูกสะอาดอยู่เสมอเมื่อลูกเป็นไข้หวัดก็อาจช่วยได้ การใช้เครื่องทำความชื้น และใช้น้ำเกลือล้างโพรงจมูก และการดื่มน้ำให้มากๆ ก็สามารถช่วยได้สุขอนามัยของหู การติดเชื้อในช่องหูอาจป้องกันได้ด้วยการรักษาสุขอนามัยของช่องหู การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจช่วยได้ เพราะช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งช่วยป้องกันการติดเชื้อในช่องหูได้ ปรึกษาแพทย์ เพื่อให้มั่นใจว่ามีการดูแลและรักษาอย่างถูกต้อง ถ้าคุณสงสัยว่าลูกมีการติดเชื้อในช่องหู
ไม่จำเป็นต้องกังวลถ้าลูกติดเชื้อในช่องหู เพราะส่วนใหญ่จะหายได้เองเมื่อมีการดูแลให้มีสุขอนามัยที่ดี แต่บางครั้งมันก็อาจไปทำให้แก้วหูถูกทำลาย หรือมีผลต่อความบกพร่องทางการได้ยินในระยะยาว เนื่องจากสภาวะที่เรียก หูชั้นกลางอักเสบ ที่ของเหลวในช่องหูมีลักษณะเป็นมูกข้น (glue ear)