เมื่อคำพูดติดปากของลูกคือ “ไม่”
ลูกน้อยวัยนี้จะเริ่มท้าทายคุณแม่ ซึ่งพอได้ทำแล้วจะยิ่งมีความสนุกและอาจได้ใจยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเวลาที่คุณแม่รู้สึกทึ่ง ตกใจกับการกระทำบางอย่างของเขา
วิธีจัดการกับคำว่า “ไม่”
ฉันไม่อยากจะเชื่อเลยว่า เมื่อ 2-3 วันก่อนนี้ ลูกตัวน้อยของฉันที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มที่สดใสจะพูดแต่คำว่า “ไม่” ให้กับทุกสิ่ง และมักร้องอาละวาดเมื่อฉันบอกว่า “ไม่” นี่ลูกเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นเร็วไปหรือไม่ และฉันควรทำอย่างไร เมื่อลูกน้อยเริ่มเดินเตาะแตะได้ และพร้อมเดินไปทำหรือเล่นในสิ่งที่ลูกต้องการ หรือแม้การเริ่มพูด (ถึงแม้ว่าลูกจะใช้คำหรือภาษาแปลกๆ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็พอจะทำความเข้าใจได้) จริงๆแล้วลูกน้อยแค่ต้องการให้คุณแม่ทราบว่าเขาต้องการอะไรและสิ่งไหนที่เขาไม่ชอบ ลูกจะมีความภูมิใจเวลามีเรื่องมาทำให้คุณแม่แปลกใจได้เรื่อยๆ และอยากได้รับคำชื่นชมตอบ แต่ลูกน้อยวัยนี้ก็อาจจะเริ่มท้าทายคุณแม่เช่นเดียวกัน ซึ่งพอได้ทำแล้วจะยิ่งมีความสนุกและอาจได้ใจ ยิ่งโดยเวลาที่คุณแม่รู้สึกทึ่ง ตกใจกับการกระทำบางอย่างของลูก ดังนั้น คุณแม่จึงต้องยิ่งพยายามสงบสติและใจเย็นในการรับมือกับลูกน้อยในวัยนี้
ทำไมลูกน้อยพูดแต่คำว่า “ไม่” ตลอดเวลา
ตอนนี้ลูกน้อยที่น่ารักของคุณแม่สามารถพูดได้มากขึ้น “หมี” “เอาอีก” “หม่าม๊า” เขารู้จักเรียกชื่อสิ่งของ ชื่อคน หรือเรียนรู้จากสถานการณ์บางอย่างได้ ในช่วงวัย 18-24 เดือนนี้ การพูดว่า “ไม่” เป็นการแสดงออกถึงความสามารถของการใช้ภาษา และเริ่มเข้าใจในวิธีการต่อรอง ซึ่งสำหรับลูกน้อยแล้วถือว่าเป็นก้าวใหญ่แห่งการเรียนรู้ทีเดียว ลูกน้อยสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วว่า คำพูดใหม่นี้เป็นวิธีการทดสอบอำนาจการปกครองของคุณแม่ และสามารถใช้ประโยชน์ได้ในบางสถานการณ์ ช่วงเวลานี้จะผ่านไปได้ด้วยดี ถ้าคุณแม่สร้างจุดยืนด้วยความหนักแน่นว่า “ไม่” และ “นี่แม่นะ” ที่จะเป็นผู้ควบคุมสถานการณ์ต่างๆ การหัดเดิน การฝึกขับถ่าย และคำพูดแรก แสดงถึงการที่ลูกน้อยสามารถเริ่มพึ่งพาตนเองได้ และพร้อมที่จะสำรวจโลกในมุมมองใหม่ๆ ในขณะเดียวกัน คุณแม่จะเห็นลักษณะนิสัยของลูกน้อยได้ชัดขึ้น และคำว่า “ไม่” จะถูกใช้ในการโต้ตอบบ่อยขึ้น พร้อมๆ กับคำว่า “หนูจะทำเอง” “แม่ไม่ต้อง” และอาการร้องอาละวาด
คุณแม่อาจรู้สึกแปลกใจกับพฤติกรรมนี้ และอาจเข้าใจว่าพูดกับลูกไปก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร แต่การใช้คำว่า “ไม่” นี้ จริงๆ แล้วเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับลูกน้อย เพราะการบอกว่า “ไม่” เปรียบเสมือนการบอกว่า “นี่หนูเองนะ” ซึ่งมันเป็นวิธีการยืนยันความต้องการของตัวเอง และช่วยสร้างลักษณะนิสัย สร้างตัวตนของลูก ดังนั้น เขาจึงพยายามทำสิ่งที่แตกต่างจากคุณพ่อคุณแม่ ลูกน้อยจะทดสอบขีดจำกัดของตัวเองกับคุณแม่ แต่พออยู่กับคุณย่าคุณยาย หรือพี่เลี้ยงเขาจะเงียบและเชื่อฟังราวกับลูกแกะตัวน้อยๆ ซึ่งมันอาจเป็นพฤติกรรมที่คุณแม่ยอมรับได้ยาก แต่ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ถูกปลูกฝังมาตามธรรมชาติ
คำว่า “ไม่” ที่หมายถึง “ใช่”
คุณแม่ที่มีไหวพริบจะรู้ดีว่า คำว่า “ไม่” มีความหมายซับซ้อนซ่อนอยู่ การทำความเข้าใจคำพูดของลูกน้อยเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง
การแยกความแตกต่างนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย
● “ไม่” ที่พูดด้วยความเคยชิน (เช่น พูดในด้วยความรู้สึกเขินหรือลังเล เมื่อคุณแม่เสนอขนมให้ลูกน้อย)
● “ไม่” ที่พูดด้วยความโกรธ (เช่น เมื่อลูกน้อยไม่อยากกกลับมานั่งในรถเข็น เพราะคุณแม่หยุดช่วงเวลาการเล่นชิงช้าของลูกน้อย)
● “ไม่” ที่พูดด้วยความเหนื่อย (เช่น ในขณะที่ร้องอาละวาด)
● แต่คำว่า “ไม่” ก็อาจหมายถึง “ใช่” ได้ (เช่น เมื่อลูกน้อยพูดว่าไม่ พร้อมกับพยักหน้า)
● อย่าลืมยืนยันความหมายของคำว่า “ไม่” ของลูกน้อย เมื่อคุณแม่อยากให้ลองอาหารใหม่ๆ (เช่น การมีอาหารใหม่ๆ ให้ลูกกิน ในช่วงที่ลูกกลัวการลองกินอาหาร)
สำหรับสถานการณ์นี้ จริงๆแล้วลูกน้อยพยายามทำให้คุณแม่เข้าใจว่า การที่เขาทำตามที่คุณแม่บอกนั้นเป็นเพราะเขาเป็นคนตัดสินใจที่จะทำเอง คุณแม่อาจจะสงสัยว่าโตไปจะยังเป็นอย่างนี้ไหมนะ
คุณแม่ต้องเป็นผู้คุมสถานการณ์
แล้วจะมีวิธีอย่างไร ในเมื่อหลักๆแล้วคุณแม่ยังเป็นแค่คนที่คอยทำตามสิ่งที่ลูกต้องการ วิธีที่ดีที่สุดคือ การเบี่ยงเบนความสนใจ ลองนึกถึงคุณพ่อคุณแม่ที่พยายามเบี่ยงเบนความสนใจลูกในขณะที่นั่งรถไฟหรือเครื่องบิน ซึ่งสามารถช่วยหลีกเลี่ยงการร้องอาละวาด และการพูดคำว่า “ไม่” รัวๆ ของลูกน้อย
ความยากของการจัดการกับลูกน้อยอยู่ที่การหาจุดสมดุลที่เหมาะสม ไม่เคร่งครัดเกินไปจนทำให้ลูกไม่กล้าแสดงความเป็นตัวตนของตนเอง แต่ในขณะเดียวกัน ต้องเปิดโอกาสให้ลูกเติมเต็มศักยภาพของตนเองด้วย และอีกส่วนคือ อย่ายอมลูกมากจนเกินไปหรือปล่อยให้ลูกเป็นผู้กำหนดกฏเกณฑ์หรือขอบเขตของการทำสิ่งต่างๆ หากลูกน้อยพูดคำว่า “ไม่” แค่ไม่กี่ครั้ง ก็ไม่เป็นปัญหาใดๆ พยายามสงบจิตใจและมีความหนักแน่นโดยไม่พาตัวเองเข้าไปเผชิญหน้าจังๆกับลูกน้อย
กุญแจสำคัญคือ คุณแม่ต้องทำให้ลูกเข้าใจบ่อยๆ ว่า คุณแม่คือผู้ที่จะตัดสินใจในสิ่งต่างๆ (ไม่ว่าจะปล่อยให้ลูกพูดว่า ”ไม่” หรือไม่) คุณแม่ต้องไม่ให้ลูกเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ แต่คุณแม่ต้องเป็นคนตั้งข้อกำหนดต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับลูกน้อย (โดยไม่ขัดแย้งกับคุณพ่อ)