ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เป็นเพราะอะไร คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลแบบไหน

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เพราะอะไร อาการแบบนี้ปกติไหม

24.05.2024

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการนอนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน โดยเฉพาะเด็กทารก ถ้าลูกน้อยนอนหลับสนิทก็จะส่งผลดีต่อพัฒนาการ แต่ถ้าหลับไม่ดี นอนดิ้น นอนบิดตัวไปมาก็จะสร้างความกังวลใจให้กับพ่อแม่ไม่ใช่น้อย ว่าจะส่งผลกระทบทั้งเรื่องปัญหาสุขภาพ และพัฒนาการของลูกหรือไม่ มาดูกันว่ามีสาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท

headphones

PLAYING: ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เพราะอะไร อาการแบบนี้ปกติไหม

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • อาการนอนบิดตัวของเด็กทารกในวัยแรกเกิดเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากลูกน้อยกำลังปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่
  • เด็กทารกควรนอนอย่างน้อยวันละ 14-16 ชั่วโมง ตามช่วงวัย การนอนไม่เพียงพอส่งผลต่อการพัฒนาร่างกายและสมองของลูกน้อย
  • สาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยนอนหลับไม่สนิทมีตั้งแต่มีแสงสว่างมากไป เสียงดัง หิวเกินไป อิ่มเกินไป นอนกลางวันมากไป อาการเจ็บป่วย หรืออยู่ในช่วงที่กำลังปรับเวลานอน

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

การที่ลูกน้อยโดยเฉพาะในช่วงแรกคลอดนอนหลับยาก มีอาการบิดตัวไปมา นอนหลับไม่สนิทเป็นปัญหาที่สร้างความกังวลให้กับคุณพ่อคุณแม่ไม่น้อยเลยทีเดียว อาการนอนบิดตัว นอนหลับไม่สนิทนั้นมีสาเหตุจากหลากหลายปัจจัย มีทั้งที่เป็นอาการโดยทั่วไปและอาการที่ต้องเฝ้าระวังค่ะ

 

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เกิดจากสาเหตุไหนบ้าง

การบิดตัวของเด็กทารกอาจเป็นเรื่องปกติ ในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ซึ่งอาการนอนบิดตัวนี้จะค่อย ๆ หายไปเองเมื่อลูกน้อยโตขึ้น การที่ลูกน้อยพลิกตัวไปมา นอนหลับไม่สนิท อาจมีสาเหตุจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

1. สภาพแวดล้อม

แม้เป็นผู้ใหญ่หากสภาพแวดล้อมในการนอนไม่ดีก็ทำให้นอนหลับยาก เด็กทารกก็ไม่ต่างกันค่ะ ไม่ว่าจะเรื่องแสงสว่างภายในห้องนอนที่มากเกินไป เนื่องจากคุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจจะอยากเปิดไฟนอนเพื่อที่จะได้ตื่นมาแล้วเห็นลูกได้เลย ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกนอนหลับไม่สนิท นอกจากนี้การเปิดไฟนอนยังทำให้ลูกน้อยไม่รู้ว่าเป็นตอนกลางวันหรือกลางคืนอีกด้วย ถ้ากลัวว่าตอนกลางคืนจะตื่นมาแล้วมองไม่เห็นลูก คุณพ่อคุณแม่สามารถติดตั้งไฟหรี่หรือเปิดไฟจากโคมไฟหัวเตียงแทนก็ได้ อีกสาเหตุหนึ่งคือ เสียงรบกวน ซึ่งอาจจะเป็นเสียงของคน สัตว์เลี้ยง เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ หรือเสียงต่าง ๆ ที่จะมารบกวนลูกน้อยของเรา ถ้าเป็นไปได้ควรจัดห้องนอนของลูกให้อยู่ห่างจากเสียงรบกวนให้ได้มากที่สุด

 

2. ความหิว

ถ้าลูกน้อยที่อยู่ในช่วงวัยทารกมักจะหิวบ่อย โดยมีสาเหตุมาจากกระเพาะอาหารของลูกมีขนาดเล็ก จึงทำให้จุอาหารได้ปริมาณจำกัด ย่อยอาหารได้เร็ว ทำให้หิวเร็วตามไปด้วย เมื่อลูกรู้สึกหิว จะทำให้ลูกนอนหลับยาก นอนหลับไม่สนิท หรือตื่นมากลางดึก แต่ในทางกลับกันหากลูกกินนมมากเกินไป แล้วมีอาการท้องอืดก็จะทำให้ลูกน้อยนอนไม่สบายด้วยเช่นกัน คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้ลูกน้อยกินนมแต่พอดีและควรอุ้มลูกน้อยหลังอาหารจนเขาเรอเพื่อป้องกันอาการท้องอืด

 

3. นอนกลางวันมากเกินไป

คุณพ่อคุณแม่ที่ชอบให้ลูกนอนกลางวันเยอะ ๆ อาจจะทำให้ลูกน้อยไม่รู้สึกง่วงนอนตอนกลางคืน ยังไม่รู้สึกเหนื่อย และทำให้หลับยาก หรืออาจนอนพลิกตัวไปมาจนทำให้หลับไม่สนิทได้ค่ะ

 

4. อาการเจ็บป่วย

ถ้าอยู่ ๆ ลูกน้อยเกิดตื่นขึ้นมากลางดึก หรือนอนกระสับกระส่ายไปมา ไม่สบายตัว อาจเกิดจากอาการของโรคต่าง ๆ ได้ค่ะ คุณพ่อคุณแม่ควรเช็กอุณหภูมิร่างกาย การถ่ายท้อง น้ำมูก หรืออาการอื่น ๆ ประกอบด้วย หากไม่มั่นใจควรพาลูกไปพบแพทย์

 

5. ลูกอยู่ในช่วงปรับเวลานอน

ในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพรอบตัวอาจทำให้ลูกน้อยยังปรับตัวไม่ทัน ยังนอนไม่เป็นเวลา ตื่นไม่เป็นเวลา และทำให้ยังไม่รู้ช่วงเวลานอนที่เหมาะสม คุณพ่อคุณแม่จึงต้องค่อย ๆ ให้เวลาเขาได้ปรับตัว แล้วก็ค่อย ๆ เสริมสร้างการนอนที่ดีให้กับลูกน้อยต่อไป

 

เด็กทารกควรนอนวันละกี่ชั่วโมง

ในช่วงแรกเกิดเด็กทารกจะมีลักษณะการนอนแบบหลับ ๆ ตื่น ๆ เป็นแบบนี้ทั้งวัน โดยนับรวมกันได้ประมาณวันละ 18 ชั่วโมง โดยจะมีวงจรในการนอนสั้น คือน้อยกว่า 1 ชั่วโมงในแต่ละครั้ง จนเมื่ออายุประมาณ 1 เดือน การนอนแบบหลับ ๆ ตื่น ๆ จะน้อยลง ทำให้การนอนในแต่ละครั้งนานขึ้น จนถึงวัยประมาณ 6 เดือน การนอนจะเริ่มมีรูปแบบมากขึ้น สามารถนอนตอนกลางคืนได้นานขึ้น โดยในแต่ละช่วงวัยเด็กทารกควรนอนให้ได้ตามนี้ค่ะ

  • ทารกแรกเกิด ควรนอนให้ได้วันละ 16 ชั่วโมง แบ่งเป็นนอนช่วงกลางวัน 8 ชั่วโมง นอนช่วงกลางคืน 8 ชั่วโมง
  • ทารกอายุ 1 เดือน ควรนอนให้ได้วันละ 15 ชั่วโมง แบ่งเป็นนอนช่วงกลางวัน 7 ชั่วโมง นอนช่วงกลางคืน 8-9 ชั่วโมง
  • ทารกอายุ 3 เดือน ควรนอนให้ได้วันละ 15 ชั่วโมง แบ่งเป็นนอนช่วงกลางวัน 4-5 ชั่วโมง นอนช่วงกลางคืน 9-10 ชั่วโมง
  • ทารกอายุ 6 เดือน ควรนอนให้ได้วันละ 14 ชั่วโมง แบ่งเป็นนอนช่วงกลางวัน 4 ชั่วโมง นอนช่วงกลางคืน 10 ชั่วโมง
  • ทารกอายุ 9 เดือน ควรนอนให้ได้วันละ 14 ชั่วโมง แบ่งเป็นนอนช่วงกลางวัน 3 ชั่วโมง นอนช่วงกลางคืน 11 ชั่วโมง
  • ทารกอายุ 1 ปี ควรนอนให้ได้วันละ 14 ชั่วโมง แบ่งเป็นนอนช่วงกลางวัน 3 ชั่วโมง นอนช่วงกลางคืน 11 ชั่วโมง

 

เด็กทารกนอนไม่พอ ส่งผลร้ายแรงอะไรบ้าง

การนอนหลับให้เพียงพอเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ของเด็กทารก เพราะการนอนหลับที่เพียงพอจะช่วยส่งเสริมสมอง ด้านการตอบสนอง ด้านความจำและการเรียนรู้ และยังจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารกทางด้านร่างกายด้วย หากทารกนอนไม่เพียงพอจะส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางสมองได้ค่ะ โดยการตอบสนองต่อสิ่งเร้า พัฒนาการด้านความจำและการเรียนรู้อาจจะช้ากว่าปกติ นอกจากนี้การนอนหลับไม่เพียงพอยังส่งผลโดยตรงต่อ Growth Hormone ที่จะทำงานระหว่างลูกน้อยนอนหลับ อาจทำให้กระทบต่อการพัฒนาการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย การสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อ เซลล์ และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ภายในร่างกายได้

 

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท รับมือแบบไหนดี

คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลูกน้อยให้หลับสนิท ไม่นอนบิดพลิกตัวไปมาได้หลากหลายวิธีเลยค่ะ ตั้งแต่การอาบน้ำทำให้ลูกน้อยรู้สึกสบายตัวก่อนเข้านอน ให้ลูกน้อยกินนมให้อิ่มพอเหมาะจะทำให้นอนหลับได้นานขึ้น อ่านนิทาน ร้องเพลงหรือเปิดเพลงกล่อมเด็กเบา ๆ ขณะที่อุ้ม หาตุ๊กตา ผ้าห่ม หมอนนุ่ม ๆ มาวางไว้รอบตัวเด็ก เพื่อให้เขารู้สึกเหมือนมีคนอยู่รอบ ๆ หรือรู้สึกว่ากำลังถูกอุ้มอยู่ ลูกจะรู้สึกปลอดภัย อีกทั้งยังช่วยกันไม่ให้ลูกดิ้นไปชนกับขอบเตียงได้ด้วย แต่ไม่ควรวางสิ่งของเหล่านั้นบริเวณหน้าของลูกน้อย เพราะมีโอกาสที่ลูกน้อยพลิกตัวมาแล้วอุดจมูกอุดหน้า ทำให้ลูกน้อยหายใจไม่ออกได้ นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้ลูกน้อยนอนเป็นเวลา พยายามอย่าให้ลูกนอนกลางวันมากจนเกินไป ควรใช้เวลาตอนกลางวันในการเล่นกับลูกให้เต็มที่ กล่อมให้เข้านอนตอนกลางคืนเพื่อให้ลูกสามารถจดจำเวลานอนได้ และอย่าลืมจูบราตรีสวัสดิ์ก่อนนอนด้วยนะคะ

 

ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท ดิ้นไปมา ปกติหรือไม่ แบบไหนอันตราย

 

ลูกหลับไม่สนิทดิ้นไปมา แบบไหนอันตราย

แม้ว่าอาการลูกนอนดิ้นไปมาจะเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าขณะที่นอนดิ้นอยู่นั้น ลูกมีอาการหายใจเสียงดัง หายใจติดขัด อาจจะเป็นสัญญาณของการหยุดหายใจขณะหลับได้ค่ะ หรือการดิ้นนั้นมีความรุนแรงและแสดงให้เห็นบ่อยครั้ง หรือมีอาการกระตุกแขนขา โยกศีรษะอย่างรุนแรง ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

 

ทารกนอนหลับไม่สนิทบิดตัวไปมา แบบไหนเป็นเรื่องปกติ

การที่ลูกน้อยมีอาการบิดตัวหรือขยับแขนขาเปลือกตาหรือแก้มขณะหลับนั้นอาจเป็นเรื่องปกติ เพราะลูกน้อยกำลังอยู่ในช่วงการหลับแบบตื้น หรือ REM (Rapid Eye Movement Sleep) ที่ลูกน้อยจะมีการเคลื่อนไหวลูกตาและกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

 

ในช่วงแรกคลอดปัญหาการนอนหลับของลูกน้อยอาจจะทำให้คุณพ่อคุณแม่เหนื่อยหน่อย คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องตื่นมากลางดึกเพราะลูกน้อยอยู่บ่อยครั้ง แต่อาการนอนยาก นอนไม่เป็นเวลาของลูกจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น เพียงแค่คุณพ่อคุณแม่คอยช่วยกันเฝ้าดูแลและเอาใจใส่ ลูกก็สามารถเติบโต มีพัฒนาการที่แข็งแรงสมบูรณ์ได้แล้วค่ะ

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 

 

อ้างอิง:

  1. ทารกหลับไม่สนิท ตื่นกลางคืนบ่อย ๆ เกิดจากอะไร, HelloKhunmor
  2. ทารกไม่ยอมนอน สาเหตุและวิธีแก้ไข, HelloKhunmor
  3. ภาวะปกติ ที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด, โรงพยาบาลศิครินทร์
  4. What Causes Night Seizures in Toddlers?, Happiest Baby
  5. การนอนในวัยต่าง ๆ (ตอนที่ 1), คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

อ้างอิง ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567
 

บทความแนะนำ

11 วิธีการเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน ที่พ่อแม่มือใหม่ต้องรู้

11 วิธีการเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน ที่พ่อแม่มือใหม่ต้องรู้

การเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน พ่อแม่มือใหม่ควรรู้อะไรบ้าง ไปดูวิธีดูแลทารกแรกเกิดและการเลี้ยงทารกแรกเกิด - 1 เดือน ที่ช่วยให้การเลี้ยงลูกง่ายขึ้นกัน

แจ้งเกิดภายในกี่วัน เอกสารแจ้งเกิดมีอะไรบ้าง รวมทุกคำตอบที่ควรรู้

แจ้งเกิดภายในกี่วัน เอกสารแจ้งเกิดมีอะไรบ้าง รวมทุกคำตอบที่ควรรู้

แจ้งเกิดภายในกี่วัน เอกสารแจ้งเกิดต้องมีอะไรบ้าง พ่อแม่มือใหม่ควรเตรียมตัวอย่างไร เมื่อต้องเดินทางไปแจ้งเกิดลูกน้อย รวมทุกคำตอบเกี่ยวกับเอกสารแจ้งเกิดที่ควรรู้

รวมแคปชั่นลูกสาว แคปชั่นรักลูกสาว อวดลูกในโซเชียล

รวมแคปชั่นลูกสาว แคปชั่นรักลูกสาว อวดลูกในโซเชียล

ไอเดียแคปชั่นลูกสาว โพสอวดลูกสาวได้ไม่ซ้ำวัน แคปชั่นลูกสาวโดนใจ ให้คุณแม่เลือกใช้ได้ง่าย ๆ แคปชั่นรักลูกสาวบอกรักลูก ช่วยเรียกเสียงหัวเราะในโซเชียลให้ลูกรัก

พัฒนาการเด็ก 11 เดือน ทารก 11 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการเด็ก 11 เดือน ทารก 11 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการทารก 11 เดือน ลูกน้อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง คุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการเด็ก 11 เดือน และเสริมพัฒนาการเด็ก 11 เดือน ได้อย่างไร ไปดูกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก