ตารางน้ำหนักทารก น้ำหนักเด็กแรกเกิด น้ำหนักส่วนสูงทารกอยู่ในเกณฑ์ไหม

ตารางน้ำหนักทารก น้ำหนักเด็กแรกเกิดและส่วนสูงทารกตามเกณฑ์

17.02.2024

เรื่องของน้ำหนักทารกหลังคลอดนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่ทุกคนควรคำนึงถึง เนื่องจากค่าน้ำหนักของทารกหลังคลอดจะมีผลต่อการเจริญเติบโตและการดูแลสุขภาพทารกของคุณแม่โดยตรง ทีนี้เรามาดูกันว่าเกณฑ์น้ำหนักของทารกหลังคลอดเป็นอย่างไร โดยทั่วไปเกณฑ์น้ำหนักปกติของทารกแรกเกิดจะอยู่ที่ 2.5 กิโลกรัมโดยเฉลี่ย หากน้ำหนักแรกเกิดของทารกไม่ปกติตามเกณฑ์ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุ และแก้ไขปัญหา เนื่องจากปัญหาน้ำหนักของทารกนั้นอาจเกิดมาจากสาเหตุได้หลายประการ

headphones

PLAYING: ตารางน้ำหนักทารก น้ำหนักเด็กแรกเกิดและส่วนสูงทารกตามเกณฑ์

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • น้ำหนักของทารกหลังคลอดมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของทารก ดังนั้นคุณแม่ควรมีการฝากครรภ์และเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจสภาพของทารกในครรภ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันปัญหาน้ำหนักของทารกเกินเกณฑ์ได้
  • ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักแรกเกิดต่ำ (Low Birth Weight) หรือทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักสูง (Macrosomia) จะมีผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงระหว่างการคลอดและการดูแลหลังคลอดได้เช่นกัน คุณแม่ควรเอาใส่ใจใส่ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์จนกระทั่งทารกคลอด เพื่อความสมบูรณ์ของสุขภาพทารกและคุณแม่

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

น้ำหนักเด็กแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ มีความเสี่ยงเรื่องใดบ้าง

เด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ทารกอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการ การหายใจลำบาก (Respiratory Distress Syndrome) หรืออาจจะถึงขั้นหัวใจล้มเหลวได้ ไปจนถึงเกิดความพิการทางสมอง และอื่น ๆ เพราะทารกที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ ร่างกายจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงานไม่เป็นปกติด้วยเช่นกัน และทำให้สุขภาพจิตของคุณแม่แย่ลงเนื่องมาจาก การที่ทารกต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน จะทำให้คุณแม่เกิดความวิตกกังวลและความเครียดสะสมได้

 

น้ำหนักเด็กแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ มีความเสี่ยงเรื่องใดบ้าง

 

น้ำหนักเด็กแรกเกิดเกินเกณฑ์ มีความเสี่ยงเรื่องใดบ้าง

เด็กที่มีน้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์ จะมีปัญหาเริ่มตั้งแต่ช่วงคลอด ซึ่งเมื่อทารกที่มีน้ำหนักมาก ตัวก็จะใหญ่มากเช่นกัน ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาคลอดลำบาก และเส้นประสาทของทารกอาจถูกกระชาก ทำให้หลังคลอดออกมาทารกอาจมีสภาพแขนขาอ่อนแรงได้ และอาจส่งผลต่อการบาดเจ็บช่องคลอดของคุณแม่อีกด้วย การเจริญเติบโตของทารกในอนาคต มีโอกาสที่จะเป็นเด็กที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าเด็กทั่วไป รวมไปถึงมีความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานได้อีกด้วย

 

เกณฑ์การเพิ่มน้ำหนักของเด็ก ที่เหมาะสมตามเกณฑ์

  • 0-3 เดือน โดยน้ำหนักตามเกณฑ์ปกติของเด็กในช่วงอายุ 0-3 เดือน เด็กควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เดือนละ 600-900 กรัม
  • 4-6 เดือน โดยน้ำหนักตามเกณฑ์ปกติของเด็กในช่วงอายุ 4-6 เดือน เด็กควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เดือนละ 450-600 กรัม
  • 7-9 เดือน โดยน้ำหนักตามเกณฑ์ปกติของเด็กในช่วงอายุ 7-9 เดือน เด็กควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เดือนละ 300 กรัม
  • 1 ขวบขึ้นไป โดยน้ำหนักตามเกณฑ์ปกติของเด็กในช่วงอายุ 1 ขวบขึ้นไป เด็กควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เดือนละ 200 กรัม

 

เคล็ดลับการเพิ่มน้ำหนักลูก ที่น้อยกว่าเกณฑ์

หากเด็กมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ คุณแม่ควรเน้นในเรื่องการรับประทารอาหารเป็นหลักเพราะเป็นวิธีเพิ่มน้ำหนักลูกที่ได้ผลมากที่สุด โดยคุณแม่อาจจะเริ่มให้เด็กรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ก่อนเป็นอันดับแรก หากเด็กทานน้อยหรือเบื่ออาหาร คุณแม่อาจจะใช้วิธีรับประทานอาหารพร้อมกันทั้งครอบครัวเพื่อสร้างบรรยากาศให้เด็กอยากรับประทานอาหารมากขึ้น และควรลดขนมขบเคี้ยวหรือของทานเล่นอย่างอื่นที่ไม่ใช่อาหารหลัก เพื่อให้เด็กเกิดความรู้สึกหิวเมื่อถึงเวลามื้ออาหารก็ได้เช่นกัน

 

เคล็ดลับการควบคุมน้ำหนักลูก ที่มากกว่าเกณฑ์

สาเหตุของเด็กที่มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ อาจเกิดมาจากความผิดปกติของฮอร์โมนในเด็ก กรรมพันธุ์ ครอบครัวและสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมการรับประทานอาหาร คุณแม่ควรฝึกให้เด็กรับประทานอาหารให้เป็นเวลาเพื่อลดการทานของว่างหรือขนมจุบจิบระหว่างมื้อและควรเลือกอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันน้อยเป็นหลัก ให้เด็กออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและช่วยให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานได้ดียิ่งขึ้น

 

เคล็ดลับการควบคุมน้ำหนักลูก ที่มากกว่าเกณฑ์

 

น้ำหนักตัวของเด็กเป็นสิ่งสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็กในอนาคต คุณแม่ควรหมั่นสังเกตว่าเด็กมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ หากพบว่าน้ำหนักของเด็กไม่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่แพทย์กำหนด คุณแม่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็ก เช่น การรับประทานอาหารและเลือกอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ ให้แก่ทารก 0-12 เดือน และควรเสริมด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสฟิงโกไมอีลิน และบีแล็กทิส เพื่อช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองและพัฒนาการของร่างกายแก่เด็ก และควรเสริมด้วยนมแม่ เพราะนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม และสฟิงโกไมอีลิน รวมทั้งยังมีสารภูมิคุ้มกันและจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายชนิด เช่น บีแลคทิส นมแม่จึงช่วยให้ลูกน้อยเจริญเติบโตอย่างแข็งแรง อีกทั้งยังสามารถลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย ช่วยต้านทานเชื้อโรคต่างๆ และเสริมสร้างสติปัญญาให้กับทารก การออกกำลังกายเป็นประจำ การพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยให้เด็กมีการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์แข็งแรงต่อไป

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. ทำอย่างไรเมื่อลูกน้ำหนักน้อย, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  2. เด็กแรกเกิดน้ำหนักตัวเกินผิดปกติหรือไม่?, คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  3. การคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ (Estimate fetal weight), ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  4. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในเขตสุขภาพที่5, ศูนย์อนามัยที่ 5 จังหวัดราชบุรี
  5. น้ำหนักตามเกณฑ์ปกติของทารก, Premiere Home Health Care
  6. น้ำหนักลูกขึ้นเดือนละกี่กรัมแม่ต้องเช็ค!!! ลูกตัวเล็ก ลูกตัวใหญ่ เกิดจากอะไรกันแน่, ศูนย์ปฏิบัติการโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด กรมกิจการเด็กและเยาวชน
  7. อาหารสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์, โรงพยาบาลนนทเวช
  8. Lactobacilli and bifidobacteria in human breast milk: influence of antibiotherapy and other host and clinical factors, National Library of Medicine

อ้างอิง ณ วันที่ 7 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

รู้ทันโรคภูมิแพ้ในเด็ก เด็กแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้อาหาร ที่แม่ป้องกันได้

รู้ทันโรคภูมิแพ้ในเด็ก เด็กแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้อาหาร ที่แม่ป้องกันได้

โรคภูมิแพ้ในเด็ก เกิดจากอะไร ลูกเป็นภูมิแพ้ฝุ่น ขนสัตว์หรือเด็กแพ้อาหาร คุณแม่ควรสังเกตสารก่อภูมิแพ้ในเด็ก พร้อมวิธีป้องกันอาการเด็กแพ้ฝุ่นและเด็กแพ้อาหาร

แพ้แลคโตส คืออะไร อาการแพ้แลคโตสทารก ที่แม่ต้องรู้

แพ้แลคโตส คืออะไร อาการแพ้แลคโตสทารก ที่แม่ต้องรู้

ลูกแพ้แลคโตส คืออะไร อาการแพ้แลคโตสทารก เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่มีวิธีรับมือกับอาการแพ้แลคโตสทารกอย่างไร พร้อมวิธีป้องกันเมื่อลูกแพ้แลคโตสในนม

 เด็กแพ้นมวัว มีอาการอย่างไร พร้อมวิธีสังเกตลูกน้อย

เด็กแพ้นมวัว มีอาการอย่างไร พร้อมวิธีสังเกตลูกน้อย

เด็กแพ้นมวัว เกิดจากอะไร อาการเด็กแพ้นมวัวเป็นแบบไหน ลูกแพ้นมวัวจะมีผื่นแพ้นมวัวหรือเปล่า พร้อมวิธีสังเกตว่าเด็กแพ้อาหารทั่วไปหรือเด็กแพ้นมวัว

ผื่นแพ้อาหารทารก พร้อมวิธีป้องกันผื่นแพ้อาหารทารก

ลักษณะผื่นแพ้อาหารทารก พร้อมวิธีป้องกันผื่นแพ้ในเด็ก

ลักษณะผื่นแพ้อาหารทารกเป็นอย่างไร ผื่นแพ้อาหารทารก หนึ่งในอาการของภูมิแพ้ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม ไปดูวิธีสังเกตทารกแพ้อาหาร พร้อมวิธีป้องกันผื่นแพ้

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก