ตารางน้ำหนักทารก น้ำหนักเด็กแรกเกิด น้ำหนักส่วนสูงทารกอยู่ในเกณฑ์ไหม

ตารางน้ำหนักทารก น้ำหนักเด็กแรกเกิดและส่วนสูงทารกตามเกณฑ์

17.02.2024

เรื่องของน้ำหนักทารกหลังคลอดนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่ทุกคนควรคำนึงถึง เนื่องจากค่าน้ำหนักของทารกหลังคลอดจะมีผลต่อการเจริญเติบโตและการดูแลสุขภาพทารกของคุณแม่โดยตรง ทีนี้เรามาดูกันว่าเกณฑ์น้ำหนักของทารกหลังคลอดเป็นอย่างไร โดยทั่วไปเกณฑ์น้ำหนักปกติของทารกแรกเกิดจะอยู่ที่ 2.5 กิโลกรัมโดยเฉลี่ย หากน้ำหนักแรกเกิดของทารกไม่ปกติตามเกณฑ์ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุ และแก้ไขปัญหา เนื่องจากปัญหาน้ำหนักของทารกนั้นอาจเกิดมาจากสาเหตุได้หลายประการ

headphones

PLAYING: ตารางน้ำหนักทารก น้ำหนักเด็กแรกเกิดและส่วนสูงทารกตามเกณฑ์

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • น้ำหนักของทารกหลังคลอดมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของทารก ดังนั้นคุณแม่ควรมีการฝากครรภ์และเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจสภาพของทารกในครรภ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันปัญหาน้ำหนักของทารกเกินเกณฑ์ได้
  • ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักแรกเกิดต่ำ (Low Birth Weight) หรือทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักสูง (Macrosomia) จะมีผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงระหว่างการคลอดและการดูแลหลังคลอดได้เช่นกัน คุณแม่ควรเอาใส่ใจใส่ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์จนกระทั่งทารกคลอด เพื่อความสมบูรณ์ของสุขภาพทารกและคุณแม่

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

น้ำหนักเด็กแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ มีความเสี่ยงเรื่องใดบ้าง

เด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ทารกอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการ การหายใจลำบาก (Respiratory Distress Syndrome) หรืออาจจะถึงขั้นหัวใจล้มเหลวได้ ไปจนถึงเกิดความพิการทางสมอง และอื่น ๆ เพราะทารกที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ ร่างกายจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงานไม่เป็นปกติด้วยเช่นกัน และทำให้สุขภาพจิตของคุณแม่แย่ลงเนื่องมาจาก การที่ทารกต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน จะทำให้คุณแม่เกิดความวิตกกังวลและความเครียดสะสมได้

 

น้ำหนักเด็กแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ มีความเสี่ยงเรื่องใดบ้าง

 

น้ำหนักเด็กแรกเกิดเกินเกณฑ์ มีความเสี่ยงเรื่องใดบ้าง

เด็กที่มีน้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์ จะมีปัญหาเริ่มตั้งแต่ช่วงคลอด ซึ่งเมื่อทารกที่มีน้ำหนักมาก ตัวก็จะใหญ่มากเช่นกัน ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาคลอดลำบาก และเส้นประสาทของทารกอาจถูกกระชาก ทำให้หลังคลอดออกมาทารกอาจมีสภาพแขนขาอ่อนแรงได้ และอาจส่งผลต่อการบาดเจ็บช่องคลอดของคุณแม่อีกด้วย การเจริญเติบโตของทารกในอนาคต มีโอกาสที่จะเป็นเด็กที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าเด็กทั่วไป รวมไปถึงมีความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานได้อีกด้วย

 

เกณฑ์การเพิ่มน้ำหนักของเด็ก ที่เหมาะสมตามเกณฑ์

  • 0-3 เดือน โดยน้ำหนักตามเกณฑ์ปกติของเด็กในช่วงอายุ 0-3 เดือน เด็กควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เดือนละ 600-900 กรัม
  • 4-6 เดือน โดยน้ำหนักตามเกณฑ์ปกติของเด็กในช่วงอายุ 4-6 เดือน เด็กควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เดือนละ 450-600 กรัม
  • 7-9 เดือน โดยน้ำหนักตามเกณฑ์ปกติของเด็กในช่วงอายุ 7-9 เดือน เด็กควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เดือนละ 300 กรัม
  • 1 ขวบขึ้นไป โดยน้ำหนักตามเกณฑ์ปกติของเด็กในช่วงอายุ 1 ขวบขึ้นไป เด็กควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เดือนละ 200 กรัม

 

เคล็ดลับการเพิ่มน้ำหนักลูก ที่น้อยกว่าเกณฑ์

หากเด็กมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ คุณแม่ควรเน้นในเรื่องการรับประทารอาหารเป็นหลักเพราะเป็นวิธีเพิ่มน้ำหนักลูกที่ได้ผลมากที่สุด โดยคุณแม่อาจจะเริ่มให้เด็กรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ก่อนเป็นอันดับแรก หากเด็กทานน้อยหรือเบื่ออาหาร คุณแม่อาจจะใช้วิธีรับประทานอาหารพร้อมกันทั้งครอบครัวเพื่อสร้างบรรยากาศให้เด็กอยากรับประทานอาหารมากขึ้น และควรลดขนมขบเคี้ยวหรือของทานเล่นอย่างอื่นที่ไม่ใช่อาหารหลัก เพื่อให้เด็กเกิดความรู้สึกหิวเมื่อถึงเวลามื้ออาหารก็ได้เช่นกัน

 

เคล็ดลับการควบคุมน้ำหนักลูก ที่มากกว่าเกณฑ์

สาเหตุของเด็กที่มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ อาจเกิดมาจากความผิดปกติของฮอร์โมนในเด็ก กรรมพันธุ์ ครอบครัวและสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมการรับประทานอาหาร คุณแม่ควรฝึกให้เด็กรับประทานอาหารให้เป็นเวลาเพื่อลดการทานของว่างหรือขนมจุบจิบระหว่างมื้อและควรเลือกอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันน้อยเป็นหลัก ให้เด็กออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและช่วยให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานได้ดียิ่งขึ้น

 

เคล็ดลับการควบคุมน้ำหนักลูก ที่มากกว่าเกณฑ์

 

น้ำหนักตัวของเด็กเป็นสิ่งสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็กในอนาคต คุณแม่ควรหมั่นสังเกตว่าเด็กมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ หากพบว่าน้ำหนักของเด็กไม่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่แพทย์กำหนด คุณแม่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็ก เช่น การรับประทานอาหารและเลือกอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ ให้แก่ทารก 0-12 เดือน และควรเสริมด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสฟิงโกไมอีลิน และบีแล็กทิส เพื่อช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองและพัฒนาการของร่างกายแก่เด็ก และควรเสริมด้วยนมแม่ เพราะนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม และสฟิงโกไมอีลิน รวมทั้งยังมีสารภูมิคุ้มกันและจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายชนิด เช่น บีแลคทิส นมแม่จึงช่วยให้ลูกน้อยเจริญเติบโตอย่างแข็งแรง อีกทั้งยังสามารถลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย ช่วยต้านทานเชื้อโรคต่างๆ และเสริมสร้างสติปัญญาให้กับทารก การออกกำลังกายเป็นประจำ การพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยให้เด็กมีการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์แข็งแรงต่อไป

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. ทำอย่างไรเมื่อลูกน้ำหนักน้อย, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  2. เด็กแรกเกิดน้ำหนักตัวเกินผิดปกติหรือไม่?, คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  3. การคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ (Estimate fetal weight), ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  4. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในเขตสุขภาพที่5, ศูนย์อนามัยที่ 5 จังหวัดราชบุรี
  5. น้ำหนักตามเกณฑ์ปกติของทารก, Premiere Home Health Care
  6. น้ำหนักลูกขึ้นเดือนละกี่กรัมแม่ต้องเช็ค!!! ลูกตัวเล็ก ลูกตัวใหญ่ เกิดจากอะไรกันแน่, ศูนย์ปฏิบัติการโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด กรมกิจการเด็กและเยาวชน
  7. อาหารสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์, โรงพยาบาลนนทเวช
  8. Lactobacilli and bifidobacteria in human breast milk: influence of antibiotherapy and other host and clinical factors, National Library of Medicine

อ้างอิง ณ วันที่ 7 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

พัฒนาการเด็ก 9 เดือน ทารก 9 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการเด็ก 9 เดือน ทารก 9 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการทารก 9 เดือน ลูกน้อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง คุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการทารก 9 เดือน และส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 9 เดือน ได้อย่างไร ไปดูกัน

พัฒนาการเด็ก 8 เดือน ทารก 8 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการเด็ก 8 เดือน ทารก 8 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการทารก 8 เดือน ลูกน้อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง คุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการทารก 8 เดือน และส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 8 เดือน ได้อย่างไร ไปดูกัน

พัฒนาการเด็ก 7 เดือน ทารก 7 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการเด็ก 7 เดือน ทารก 7 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการทารก 7 เดือน ลูกน้อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง คุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการทารก 7 เดือน และส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 7 เดือน ได้อย่างไร ไปดูกัน

พัฒนาการเด็ก 7 เดือน ทารก 7 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการเด็ก 6 เดือน ทารก 6 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการทารก 6 เดือน ลูกน้อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง คุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการทารก 6 เดือน และส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 6 เดือน ได้อย่างไร ไปดูกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก