วิธีห่อตัวทารก การห่อตัวทารกให้ลูกสบายตัว คล้ายอยู่ในท้องแม่

วิธีห่อตัวทารกที่ถูกต้อง ให้ลูกน้อยสบายตัว เหมือนอยู่ในท้องแม่

08.04.2024

ตลอดระยะเวลาที่ทารกน้อยอยู่ในครรภ์ เจ้าตัวเล็กได้รับการปกป้องดูแลอย่างดีภายในร่างกายของคุณแม่ ทารกจะอยู่ในถุงน้ำคร่ำที่มีอุณหภูมิเหมาะสม ทำให้ทารกรู้สึกสบาย และเมื่อเจ้าตัวเล็กลืมตาดูโลก เราก็มีเคล็ดลับที่ทำให้เขาอุ่นสบายคล้ายภาวะที่อยู่ในถุงน้ำคร่ำ อย่างการห่อตัวมาฝากกัน

headphones

PLAYING: วิธีห่อตัวทารกที่ถูกต้อง ให้ลูกน้อยสบายตัว เหมือนอยู่ในท้องแม่

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • "การห่อตัว" ลูกน้อยเป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยให้ลูกได้ค่อย ๆ ปรับตัวจากสภาพแวดล้อมในท้องคุณแม่มาสู่โลกกว้าง
  • ระยะเวลาในการห่อตัวลูกน้อยนั้นไม่มีกําหนดที่แน่ชัด คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ตั้งแต่ 3 วันหลังคลอดจนถึง 1 เดือน หรือหากลูกเริ่มพลิกกลับตัวได้เองแล้วก็ควรเลิกห่อตัว
  • ประโยชน์ของการห่อตัวลูก คือช่วยให้ทารกนอนหลับได้ง่าย กระชับแขนขา ลดอาการสะดุ้งตกใจจากเสียงดังและแรงสั่นสะเทือน ช่วยรักษาอุณหภูมิในกรณีอากาศเย็น
  • การห่อตัวควรใช้ผ้าที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติที่อ่อนโยนต่อผิวลูกและระบายอากาศได้ดี
  • การห่อตัวมีทั้งแบบคลุมศีรษะที่เหมาะกับการออกนอกบ้านและแบบเปิดศีรษะ หรือเปิดไหล่ที่เหมาะกับการห่อตัวอยู่บ้าน

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ชวนคุณพ่อคุณแม่มาห่อตัวลูกน้อยกัน เพื่อค่อย ๆ ให้ลูกได้เตรียมตัวสู่โลกใบใหม่ หลังจากอยู่ในท้องคุณแม่มา 9 เดือน เรามีวิธีการห่อตัวลูกน้อยที่ง่าย และได้ประโยชน์มาฝากกัน รวมถึงข้อควรระวังจากการห่อตัวลูกแบบผิด ๆ อีกด้วย รับรองว่าทำตามได้ง่าย ๆ เลย

 

ทำไมคุณพ่อคุณแม่ต้องเรียนรู้วิธีห่อตัวทารก

"การห่อตัว" ลูกน้อยนั้นเป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยให้ลูกได้ค่อย ๆ ปรับตัวจากสภาพแวดล้อมในท้องคุณแม่มาสู่โลกกว้าง การห่อตัวนั้นคุณพ่อคุณแม่สามารถทำเองได้ง่าย ๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์มากมาย มีเพียงผ้าสาลูหรือผ้าฝ้ายเนื้อละเอียดก็สามารถห่อตัวให้ลูกน้อยได้แล้ว และการห่อตัวนั้นก็ไม่ได้มีขั้นตอนที่ซับซ้อน สามารถเลือกวิธีการห่อตัวให้ลูกให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้น ๆ เช่น หากต้องการพาลูกไปโรงพยาบาล หรือนอกบ้านควรห่อแบบคลุมศีรษะ หรือหากอยู่ในบ้านควรห่อแบบเปิดไหล่ เป็นต้น

 

สารพัดประโยชน์ของการห่อตัวทารก

การห่อตัวลูกน้อยถือเป็นหนทางที่ดีในการปลอบโยนทารกแรกคลอด เป็นการช่วยทารกในการปรับตัวให้คุ้นชินกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงหลังคลอด ช่วยให้ลูกนอนหลับได้ง่าย กระชับแขนขา ลดอาการสะดุ้งตกใจจากเสียงดังและแรงสั่นสะเทือน ช่วยให้ร่างกายอุ่นในช่วงอากาศเย็น อีกทั้งการใช้ผ้าห่อที่ถูกวิธีจะช่วยให้ลูกนอนหลับได้นานขึ้นอีกด้วย

 

ควรห่อตัวให้ลูกไปจนถึงอายุกี่เดือน

ส่วนใหญ่แล้วระยะเวลาในการห่อตัวลูกน้อยนั้นไม่มีข้อกำหนดที่แน่ชัด คือตั้งแต่ 3 วันหลังคลอดจนถึง 1 เดือน หรือบางครั้งอาจเลิกห่อตัวเมื่อทารกเริ่มพลิกกลับตัวได้เอง เพราะหากลูกพลิกตัวนอนคว่ำและถูกห่อตัวอยู่ อาจเสี่ยงกับการเกิดภาวะหยุดหายใจได้

 

เคล็ดลับการเลือกผ้าสำหรับห่อตัวทารก

หากในวันที่มีอากาศร้อนควรเลือกใช้ผ้าเนื้อเบาบาง ที่ระบายอากาศได้ดี ส่วนในวันที่มีอากาศเย็นควรเลือกผ้าที่หนาพอจะรักษาความอบอุ่นให้ลูกน้อยได้ ไม่แนะนำใช้ผ้านาโน ซึ่งนอกจากจะอมฝุ่นแล้วยังระบายความร้อนได้ยากอีกด้วย โดยผ้าห่อตัวลูกน้อยที่แนะนำ คือ ผ้าที่เป็นเส้นใยธรรมชาติ เบาบาง และอ่อนนุ่มต่อผิว เช่น คอตตอน ลินิน หรือใยไผ่ เนื่องจากระบายความร้อนได้ดีมาก

 

เคล็ดลับการเลือกผ้าสำหรับห่อตัวทารก

 

การห่อตัวทารกแบบต่าง ๆ คุณพ่อคุณแม่ทำตามได้ไม่ยาก

1. การห่อตัวแบบคลุมศีรษะ เปิดหน้า จะใช้เวลาพาลูกออกนอกบ้าน

  • พับผ้าให้เป็นสามเหลี่ยม วางศีรษะลูกให้ห่างจากขอบผ้าเล็กน้อย
  • จับชายผ้าขึ้นมาคลุมบริเวณศีรษะ ใช้มือกดผ้าให้แนบหน้าผาก
  • จับแขนลูกหนึ่งข้างให้แนบไปกับลำตัว จับชายผ้าพาดมาอีกฝั่ง ให้อยู่ใต้รักแร้อีกข้างหนึ่ง
  • จับแขนอีกข้างทับผ้าไว้ ดึงผ้าให้ตึง พาดผ้ามาอีกฟากของลำตัว
  • พับชายผ้าขึ้น สอดใต้ลำตัวลูก จับชายผ้าที่เหลือด้านล่างมัดเก็บให้เรียบร้อย

 

2. การห่อตัวแบบเปิดศีรษะ ใช้เมื่อพาลูกกลับจากโรงพยาบาล หรือห่อตัวเมื่ออยู่บ้าน

  • พับผ้าให้เป็นสามเหลี่ยม วางลูกในระดับที่ชายผ้าอยู่บริเวณไหล่
  • จับแขนลูกข้างหนึ่งให้แนบลำตัว แล้วพาดผ้ามาอีกฝั่งหนึ่ง
  • จับแขนอีกข้างทับผ้าไว้ ดึงชายผ้าพาดมาปีกฝั่งหนึ่ง ดึงชายผ้าขึ้น
  • สอดผ้าใต้ลำตัวลูก แล้วจับชายผ้าที่เหลือด้านล่างมัดเก็บให้เรียบร้อย

 

3. ห่อตัวเปิดไหล่หนึ่งข้าง

  • พับผ้าให้เป็นสามเหลี่ยม วางลูกในระดับที่ชายผ้าอยู่บริเวณไหล่
  • จับแขนลูกข้างหนึ่งให้แนบลำตัว แล้วพาดผ้ามาอีกฝั่งหนึ่งให้อยู่ใต้รักแร้พอดี
  • จับแขนลูกอีกข้างให้ทับผ้าไว้ แล้วดึงชายผ้าอีกข้างหนึ่งสอดใต้ไหล่พาดลำตัวมาฝั่งตรงข้าม
  • สอดผ้าใต้ลำตัวลูก แล้วจับชายผ้าที่เหลือด้านล่างมัดเก็บให้เรียบร้อย

 

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวัง ในการห่อตัวทารก

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการห่อตัวทารกจะมีประโยชน์ แต่ก็มีเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องระวังอยู่ด้วย เพราะอาจจะก่อให้เกิดโรคไหลตายในทารกหรือ sudden infant death syndrome (SIDS) ได้ เพราะมีการศึกษาในต่างประเทศพบว่า เมื่อเราห่อตัวลูกน้อยในตอนที่เขาหลับ แล้วเจ้าตัวเล็กถูกกระตุ้นเด้วยเสียงดัง เขาจะมีอัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่าตอนที่ไม่ได้ห่อตัว และหากว่าลูกมีความบกพร่องในการควบคุมการทำงานของหัวใจและไม่สามารถปลุกให้ตื่น อาจจะนำไปสู่การตอบสนองของหัวใจและระบบไหลเวียนเลือดที่ลดลง ซึ่งเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดโรคไหลตายในเด็กได้ โดยข้อควรระวังอื่น ๆ มีดังนี้

  1. ระวังลูกหายใจไม่ออก ไม่ควรให้ผ้าปิดหน้า ปิดจมูกลูก: หากเป็นวันที่มีอากาศหนาว หรือลมแรง ใช้เพียงแต่ผ้าคลุมศีรษะลูกก็เพียงพอ
  2. ค่อย ๆ เลิกห่อตัวให้ลูก เมื่อลูกเริ่มขยับตัวได้แล้ว: เพื่อลดความเสี่ยงที่ลูกจะขาดอากาศหายใจ เพราะเมื่อลูกสามารถเริ่มพลิกตัวนอนคว่ำในขณะที่ถูกห่อตัวอยู่ อาจทำให้ขาดอากาศหายใจเนื่องจากการคว่ำหน้าลงบนที่นอน ลูกน้อยจะไม่สามารถพลิกตัวกลับมานอนหงายได้เอง เนื่องจากแขนขาถูกห่อไว้
  3. ไม่จำเป็นต้องห่อตัวทารกในสภาพอากาศร้อน: ยิ่งวันที่มีแดดแรงและอบอ้าว ให้คุณพ่อคุณแม่ใช้เพียงผ้าคลุมตัวบาง ๆ เพื่อกันลม กันแดดและกันฝุ่น หรือใส่เสื้อผ้าบาง ๆ ก็เพียงพอ เนื่องจาก 1-2 เดือนแรกนั้น ระบบการควบคุมอุณหภูมิในร่างกายของเจ้าตัวเล็กยังทำงานได้ไม่ดีเท่าผู้ใหญ่ จึงทำให้อุณหภูมิร่างกายของลูกเปลี่ยนแปลงได้ง่าย การห่อตัวลูกด้วยผ้าที่หนาเกินไป จึงอาจทำให้ลูกตัวร้อนจนอาจจะเป็นไข้ได้

 

การดูแลเด็กทารกแรกเกิด รวมถึงการห่อตัวให้ลูกน้อยนั้นทำได้ง่ายและมีข้อดีมากก็จริง แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ควรทำด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ที่อาจจะต้องสังเกตลูกน้อยขณะหลับด้วย เพื่อป้องกันการเกิดเหตุร้ายได้อย่างทันท่วงที และศึกษาขั้นตอนการห่อตัวให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้ผ้ารัดแน่นเกินไป หรือห่อตัวหนาเกินไป ซึ่งอาจจะเป็นการทำให้ลูกน้อยป่วยได้

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง:

  1. ห่อตัวทารกอย่างไร ให้ปลอดภัยจากฮีทสโตรก, โรงพยาบาลรวมแพทย์ฉะเชิงเทรา
  2. ห่อตัวทารกอย่างไร ปลอดภัยจากโรคไหลตาย, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  3. วิธีห่อตัวเด็กทารกแรกเกิด, โรงพยาบาลซีจีเอช

อ้างอิง ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567

บทความแนะนำ

เด็กทารกผิวลอกปกติไหม พร้อมวิธีดูแลเด็กทารกผิวลอก

เด็กทารกผิวลอกปกติไหม พร้อมวิธีดูแลเด็กทารกผิวลอก

เด็กทารกผิวลอกปกติไหม ทารกผิวลอก เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง เด็กทารกผิวลอกสามารถหายเองได้ไหม ผิวทารกลอกแบบไหนอันตราย พร้อมวิธีดูแลผิวเด็กทารกให้ปลอดภัย

เด็กนอนกัดฟัน เกิดจากอะไร ลูกนอนกัดฟัน อันตรายกับสุขภาพฟันไหม

เด็กนอนกัดฟัน เกิดจากอะไร ลูกนอนกัดฟัน อันตรายกับสุขภาพฟันไหม

เด็กนอนกัดฟัน เกิดจากอะไร ลูกนอนกัดฟันทุกคืน อันตรายต่อสุขภาพฟันของลูกน้อยไหม ลูกนอนกัดฟันบ่อย คุณแม่ดูแลลูกน้อยยังไงดี พร้อมวิธีป้องกันที่คุณแม่ควรรู้

ทารกแรกเกิดควรใส่เสื้อผ้าแบบไหน เลือกเสื้อผ้าเด็กทารกยังไงดี

ทารกแรกเกิดควรใส่เสื้อผ้าแบบไหน เลือกเสื้อผ้าเด็กทารกยังไงดี

ทารกแรกเกิดควรใส่เสื้อผ้าแบบไหน การเลือกเสื้อผ้าให้ทารกแรกเกิดสำคัญอย่างไร เลือกเสื้อผ้าแบบไหนให้ลูกรู้สึกสบายตัวและปลอดภัยกับผิวของเด็กทารก ไปดูกัน

วิธีกล่อมลูกนอน ช่วยให้ลูกนอนหลับสนิทตลอดทั้งคืน

วิธีกล่อมลูกนอน ช่วยให้ลูกนอนหลับสนิทตลอดทั้งคืน

รวมวิธีกล่อมลูกนอน ช่วยให้ลูกน้อยนอนหลับสนิทตลอดทั้งคืนและไม่สะดุ้งตื่นกลางดึก ดีต่อพัฒนาการของลูกน้อย วิธีไหนบ้างที่ช่วยกล่อมลูกนอนได้สำเร็จ ไปดูกัน

เด็กทารกเล่นน้ำลาย คุณแม่ควรห้ามไหม มีผลต่อพัฒนาการอย่างไร

เด็กทารกเล่นน้ำลาย คุณแม่ควรห้ามไหม มีผลต่อพัฒนาการอย่างไร

เด็กทารกเล่นน้ำลาย เกิดจากอะไร เด็กเล่นน้ำลายบ่อย ผิดปกติไหม จะมีผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร เมื่อลูกชอบเล่นน้ำลาย

เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

เด็กขาโก่ง เกิดจากอะไร ภาวะขาโก่งในเด็ก อันตรายไหม ลูกน้อยขาโก่ง คุณแม่ต้องดัดขาลูกทุกวันหรือเปล่า ลูกขาโก่งดูยังไง ไปดูวิธีสังเกตเด็กขาโก่งและวิธีแก้ไขกัน

เด็กพัฒนาการเร็ว ลูกฉลาดเกินวัย มีสัญญาณแบบไหนบ้าง

เด็กพัฒนาการเร็ว ลูกฉลาดเกินวัย มีสัญญาณแบบไหนบ้าง

เด็กพัฒนาการเร็วเป็นอย่างไร ลูกฉลาดเกินวัย เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง เด็กมีพัฒนาการที่เร็วกว่าเด็กปกติคือเด็กอัจฉริยะหรือเปล่า พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก