เด็กกัดเล็บตัวเองปกติไหม เสี่ยงติดเชื้อหรือเปล่า

เด็กกัดเล็บตัวเองปกติไหม เสี่ยงติดเชื้อหรือเปล่า

20.11.2024

เด็กกัดเล็บ เป็นพฤติกรรมที่พบได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 3-4 ไปขึ้นไป เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุส่วนใหญ่มีพฤติกรรมดูดนิ้วร่วมด้วย คุณพ่อคุณแม่หลายท่านคงกังวลใจเพราะเห็นลูกชอบกัดเล็บบ่อย ๆ กลัวว่าจะติดเป็นนิสัยทำให้เสียบุคลิก และมีความกังวลเรื่องของสุขภาพอื่น ๆ ตามมา แล้วอาการเด็กชอบกัดเล็บจะหายเป็นปกติไหม มีแนวทางแก้ไขพฤติกรรมเด็กกัดเล็บยังไงบ้าง เพื่อให้ลูกน้อยหยุดพฤติกรรมเป็นเด็กที่ชอบกัดเล็บตั้งแต่เนิ่น ๆ

headphones

PLAYING: เด็กกัดเล็บตัวเองปกติไหม เสี่ยงติดเชื้อหรือเปล่า

อ่าน 4 นาที

 

สรุป

  • พฤติกรรมเด็กชอบกัดเล็บ เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ได้แก่ ลูกน้อยรู้สึกเบื่อ อยากเรียกร้องความสนใจ การเลียนแบบ พันธุกรรม ติดนิสัยดูดนิ้วมาตั้งแต่ยังเป็นทารก และความเครียด
  • หากพ่อแม่ปล่อยให้เด็กกัดเล็บบ่อย ๆ อาจทำให้ฟันผิดรูป เล็บมือและนิ้วมือผิดปกติไป และอาจส่งผลต่อสุขภาพและเสียบุคลิกภาพได้
  • ลูกน้อยที่มีพฤติกรรมกัดเล็บบ่อย ๆ พ่อแม่อย่าชะล่าใจเพราะอาจเป็นสัญญาณของภาวะทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า มีความวิตกกังวล โรคสมาธิสั้น หรือโรคกัดเล็บเรื้อรัง เป็นต้น คุณแม่ต้องคอยสังเกตลูกน้อย และปรึกษาแพทย์หากเด็กมีพฤติกรรมที่รุนแรงขึ้น

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

เด็กชอบกัดเล็บตัวเอง เกิดจากอะไร

พฤติกรรมเด็กชอบกัดเล็บ เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุที่อาจเกิดขึ้นมาจากสภาวะทางจิตใจของเด็ก หรือเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองโดยไม่รู้ตัวของลูกน้อย เช่น

1. รู้สึกเบื่อ ไม่มีกิจกรรมที่น่าสนใจ

เด็กหลายคนแก้อาการเบื่อ ด้วยการกัดเล็บซึ่งเป็นอาการเบื่อหน่ายทางจิตใจทำให้เด็กแสดงออกด้วยการกัดเล็บ

 

2. เรียกร้องความสนใจ

การแสดงออกของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน เด็กบางคนอาจแสดงความรู้สึกไม่พอใจหรือมีพฤติกรรมก้าวร้าว โดยการเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ด้วยการกัดเล็บขึ้นมาได้

 

3. เลียนแบบพฤติกรรมคนในครอบครัว

เด็กที่อยู่ในวัยเรียนรู้มักจะชอบเลียนแบบพฤติกรรมของคนในครอบครัว หากลูกน้อยเห็นมีใครกัดเล็บอาจทำให้เด็กชอบกัดเล็บตามไปด้วย

 

4. พันธุกรรม

มีการศึกษาพบว่า เด็กที่ชอบกัดเล็บร้อยละ 36.8 มักมีคนในครอบครัวอย่างน้อยหนึ่งคนกัดเล็บด้วย ปัญหาเด็กกัดเล็บจึงอาจมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม

 

5. ติดการดูดนิ้วตอนเป็นทารก

เด็กไทยหลายคนมักติดการดูดนิ้วมาตั้งแต่ยังเล็ก ทำให้หลายคนมีพฤติกรรมกัดเล็บร่วมด้วย

 

6. ความเครียด

ในเด็กบางคนที่มีภาวะกดดันตัวเองพอเจอกับความเครียด หรือวิตกกังวลไม่รู้จะจัดการกับอารมณ์อย่างไรดี จึงอาจมีการแสดงพฤติกรรมเผลอกัดเล็บขึ้นมาเพื่อให้ตัวเองได้รู้สึกคลายความเครียดลงมาบ้าง

 

ลูกชอบกัดเล็บ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพลูกได้

พฤติกรรมเด็กกัดเล็บเป็นสิ่งที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะไม่เพียงแต่เกิดผลเสียทางด้านบุคลิกภาพแต่ยังส่งผลต่อสุขภาพของลูกน้อยได้ ได้แก่

  • ฟันผิดรูป: เด็กที่ชอบกัดเล็บมักใช้ฟันหน้าซ้ำ ๆ ซึ่งการกระทำแบบนี้บ่อย ๆ จะทำให้การสบฟันของฟันหน้าผิดปกติหรือผิดรูป นอกจากนี้ยังเสี่ยงทำให้ฟันหน้าแตกหรือบิ่นจนทำให้เกิดการอักเสบร่วมด้วย
  • เล็บและนิ้วผิดรูป: เด็กที่กัดเล็บเป็นเวลานาน คุณแม่จะสังเกตเห็นว่าเล็บมักจะสั้นอยู่ตลอดเวลาจนอาจทำให้รูปร่างของเล็บผิดปกติ และอาจส่งผลให้ปลายเล็บไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้
  • เสียบุคลิก: เด็กที่มีนิสัยกัดเล็บทั้งที่ตั้งใจกัดเล็บและเผลอกัดเล็บไม่รู้ตัวอาจส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพที่จะติดนิสัยไปจนโตได้
  • ติดเชื้อโรค: เชื้อโรคมักจะติดอยู่ที่ปลายเล็บ เมื่อลูกน้อยกัดเล็บบ่อย ๆ อาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคเริมที่นิ้วและริมฝีปาก หูดที่นิ้ว ยังอาจทำให้เกิดเชื้อราขึ้นที่บริเวณเล็บอีกด้วย

 

เด็กกัดเล็บบ่อย อาจเสี่ยงสภาวะทางจิต

 

เด็กกัดเล็บบ่อย อาจเสี่ยงสภาวะทางจิต

อาการเด็กกัดเล็บอาจเกิดขึ้นได้ในเด็กที่เข้าข่ายเสี่ยงต่อภาวะทางจิต เช่น เกิดภาวะวิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคเด็กสมาธิสั้น หรือโรคกัดเล็บเรื้อรัง เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้จาก

1. แสดงอาการอื่นร่วมด้วย

เด็กบางคนนอกจากชอบกัดเล็บแล้วยังมีอาการเหม่อลอย ดึงผมตัวเอง ชอบเกาผิวหนัง เผลอกัดริมฝีปาก หรือมักเขย่าขาตลอดเวลา อาจเป็นสัญญาณของภาวะเสี่ยงทางจิตได้

 

2. กัดเล็บไม่รู้ตัว

เด็กบางคนมักเผลอกัดเล็บไม่รู้ตัวเมื่อมีอาการเหม่อลอย หรือกำลังจดจ่ออยู่กับบางสิ่งบางอย่างมากจนเกินไป ซึ่งเป็นอาการที่เสี่ยงต่อภาวะทางจิต

 

3. กัดเล็บจนเล็บผิดรูป

คนที่มีภาวะเครียดหรือกดดันตัวเองมาก ๆ อาจแสดงออกด้วยการกัดเล็บจนเกิดแผล หรือเล็บผิดรูป

 

4. หลีกเลี่ยงไม่ให้ผู้อื่นเห็นเล็บ

หากคุณแม่พบว่าลูกน้อยมีพฤติกรรมซ่อนมือและเล็บ ไม่ยอมให้ผู้อื่นเห็น อาจเป็นหนึ่งของสัญญาณของเด็กที่มีภาวะทางจิต เพราะมีความรู้สึกอายมือและเล็บที่อาจเต็มไปด้วยแผลหรือเล็บผิดรูป

 

5. ทะเลาะกับพ่อแม่บ่อย

ลูกน้อยมักแสดงท่าทีโวยวายและทะเลาะกับพ่อแม่บ่อย ๆ เพียงเพราะถูกห้ามไม่ให้กัดเล็บ

 

วิธีรับมือและป้องกันเด็กกัดเล็บ

เมื่อพ่อแม่เห็นลูกมีพฤติกรรมชอบกัดเล็บอย่างนิ่งนอนใจ ให้รีบจัดการปรับพฤติกรรมลูกกัดเล็บ ก่อนที่จะกลายเป็นนิสัยติดตัวจนโตเป็นผู้ใหญ่ โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้

1. หมั่นตัดเล็บลูกให้สั้น

คุณแม่ควรตัดเล็บลูกน้อยให้สั้นอยู่เสมอ เพื่อป้องกันเด็กกัดเล็ก ในเด็กที่โตขึ้นมาหน่อยสามารถตัดเล็บเองได้ คุณแม่ควรหากรรไกรตัดเล็บส่วนตัวให้ลูกเพื่อที่เด็กจะได้หยิบมาใช้ได้ตลอดเวลา

 

2. พูดคุยและให้กำลังใจลูก

คุณแม่อาจใช้วิธีอธิบายอย่างใจเย็นให้ลูกฟังว่าทำไมลูกไม่ควรกัดเล็บ การที่เด็กกัดเล็บมีผลเสียอะไรบ้าง และแนะนำให้ลูกเลิกกัดเล็บไปด้วยกัน

 

3. ห้ามดุลูก

คุณแม่ไม่ควรใช้การข่มขู่ ดุด่าด้วยถ้อยคำที่รุนแรง กระชากมือ หรือตีมือลูกน้อย เพราะอาจทำให้เด็กรู้สึกวิตกกังวลมากขึ้น และกัดเล็บบ่อยมากขึ้นได้

 

4. ใช้สารที่ไม่ปลอดภัยแต่มีรสไม่พึงประสงค์ทาเล็บ

คุณแม่อาจเลือกใช้บอระเพ็ดทาที่นิ้วเพื่อเป็นการเตือนว่าถ้าลูกเผลอกัดเล็บ ลูกจะได้รสขมของบอระเพ็ดแทน เด็กจะได้รู้ตัวว่าไม่ควรกัดเล็บ และควรพูดชื่นชมลูกเมื่อลูกเอานิ้วออก ลูกน้อยจะได้มีกำลังใจในความพยายามที่จะหยุดพฤติกรรมกัดเล็บ

 

5. ใช้กิจกรรมเบี่ยงเบนความสนใจ

พาไปทำกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น การวิ่งเล่นนอกบ้าน หรือให้ลูกทำกิจกรรมเสริมพัฒนาการ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของลูกน้อย

 

6. ปรึกษาแพทย์

เมื่อลูกน้อยมีปัญหาชอบกัดเล็บ คุณแม่สามารถขอคำแนะนำจากกุมารแพทย์เพื่อที่คุณหมอจะได้ให้แนวทางในการปรับพฤติกรรมของลูกน้อย โดยคุณหมออาจใช้วิธีทั้งแบบที่ใช้ยาและไม่ใช้ยาในการหยุดพฤติกรรมการกัดเล็บของเด็ก

 

พฤติกรรมเด็กกัดเล็บ เป็นพฤติกรรมที่สามารถปรับแก้ได้หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเจอตั้งแต่เนิ่น ๆ ในกรณีที่เด็กกัดเล็บบ่อยพร้อมกับมีพฤติกรรมอื่น ๆ ที่เข้าข่ายว่าอาจมีภาวะทางจิตใจ เช่น เหม่อลอย ทะเลาะกับผู้อื่นบ่อย ๆ ไม่ชอบให้ใครเห็นมือ ชอบดึงผมตัวเอง ให้คุณแม่พาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการประเมินอาการและขอคำแนะนำแนวทางในการรักษาอาการของลูกน้อยต่อไป

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 

 

อ้างอิง:

  1. พฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาพฟันและช่องปำกที่พบได้บ่อย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. พฤติกรรมการกัดเล็บ ปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่พ่อแม่ต้องใส่ใจ, โรงพยาบาลบางปะกอก
  3. 6 เคล็ดลับให้ลูกเลิกกัดเล็บ, โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์
  4. กัดเล็บตัวเอง เสี่ยงป่วยทางจิตเวชจริงหรือ ?, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

อ้างอิง ณ วันที่ 5 กันยายน 2567
 

บทความแนะนำ

เด็กทารกนอนอ้าปาก ลูกนอนหายใจทางปาก อันตรายไหม

เด็กทารกนอนอ้าปาก ลูกนอนหายใจทางปาก อันตรายไหม

เด็กทารกนอนอ้าปากปกติไหม ลูกนอนหายใจทางปาก เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง คุณแม่ควรสังเกตอาการลูกน้อยอย่างไร เมื่อเด็กทารกนอนอ้าปากบ่อย พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

ลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว คุณแม่ดูแลลูกลิ้นขาวอย่างไรให้ถูกวิธี

ลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว คุณแม่ดูแลลูกลิ้นขาวอย่างไรให้ถูกวิธี

ลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว เกิดจากอะไร ลูกลิ้นขาวผิดปกติไหม อาการลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว คือเชื้อราในปากเด็กหรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย เมื่อลิ้นลูกเป็นฝ้าขาว

สิวทารกแรกเกิด เป็นแบบไหน พร้อมวิธีดูแลทารกเป็นสิวที่หน้า

สิวทารกแรกเกิด เป็นแบบไหน พร้อมวิธีดูแลทารกเป็นสิวที่หน้า

สิวทารกเป็นยังไง เกิดจากอะไร สิวทารกแรกเกิดอันตรายไหม จะหายเองได้หรือเปล่า หรือว่าต้องทายาอะไรให้หายเร็ว คุณแม่ต้องดูแลลูกน้อยอย่างไร มีอะไรต้องระวังเป็นพิเศษไหม

ทารกจามบ่อยผิดปกติไหม ลูกจามบ่อย เป็นภูมิแพ้หรือเปล่า

ทารกจามบ่อยผิดปกติไหม ลูกจามบ่อย เป็นภูมิแพ้หรือเปล่า

เด็กทารกจามบ่อย เกิดจากอะไร ลูกจามบ่อยปกติไหม อาการแบบนี้ คือสัญญาณของภูมิแพ้ในเด็กหรือเปล่า คุณแม่ควรสังเกตอาการลูกน้อยอย่างไร เมื่อทารกจามบ่อยขึ้น

วิธีฝึกลูกนอนยาว ฝึกลูกนอนเอง ช่วยให้หลับสบายตลอดคืน

วิธีฝึกลูกนอนยาว ฝึกลูกนอนเอง ช่วยให้หลับสบายตลอดคืน

รวมวิธีฝึกลูกนอนยาว สอนลูกน้อยให้นอนหลับเองได้ ช่วยให้ลูกหลับสนิทตลอดคืน พร้อมเสริมพัฒนาการทางร่างกายและสมอง ช่วยเพิ่มเวลาพักผ่อนให้คุณพ่อคุณแม่

ขี้เทาทารก คืออะไร ภาวะอุจจาระแรกของทารก ที่พ่อแม่ควรรู้

ขี้เทาทารก คืออะไร ภาวะอุจจาระแรกของทารก ที่พ่อแม่ควรรู้

ขี้เทาทารก คืออะไร อุจจาระแรกของทารกหลังคลอดสำคัญไหม หากลูกกินขี้เทาทารกเข้าไปจะเป็นอันตรายกับลูกหรือเปล่า พร้อมวิธีสังเกตขี้เทาทารก ที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้

กระหม่อมทารกปิดเมื่อไหร่ ทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน

กระหม่อมทารกปิดเมื่อไหร่ ทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน

กระหม่อมทารก คืออะไร เด็กทารกแรกเกิดกระหม่อมหลังปิดกี่เดือน กระหม่อมทารกบุ๋ม อันตรายไหม คุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างไรให้ปลอดภัย พร้อมวิธีสังเกตกระหม่อมทารก

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก