วัยทอง 2 ขวบ ลูกร้องไห้เอาแต่ใจ พร้อมวิธีรับมือวัยทองเด็ก 2 ขวบ

วัยทอง 2 ขวบ ลูกดื้อมาก รับมือวัยทองเด็ก 2 ขวบ ยังไงดี

16.02.2020

Terrible two หรือ วัยทอง 2 ขวบ ที่คุณพ่อคุณแม่คงได้ยินบ่อย ๆ ในการเตรียมรับมือกับอารมณ์ขึ้นลงสุด ๆ ดื้อแบบไม่มีเหตุผลของลูกน้อย จริง ๆ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางพัฒนาการด้านจิตใจและอารมณ์ที่ชัดเจนขึ้นมากสำหรับลูกน้อยในวัยนี้ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องอาศัยการเลี้ยงดูที่มีความเข้าใจ หมั่นสังเกตพฤติกรรม และเตรียมศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้

headphones

PLAYING: วัยทอง 2 ขวบ ลูกดื้อมาก รับมือวัยทองเด็ก 2 ขวบ ยังไงดี

อ่าน 8 นาที

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

วัยทอง 2 ขวบ (Terrible two) คืออะไร

Terrible two หรือ วัยทอง 2 ขวบ ที่คุณพ่อคุณแม่คงได้ยินบ่อย ๆ ในการเตรียมรับมือกับอารมณ์ขึ้นลงสุด ๆ แบบไม่มีเหตุผลของลูกน้อย จริง ๆ แล้ว คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และพฤติกรรม ของเด็กวัยนี้ อย่างชัดเจน เด็กในวัยนี้ส่วนใหญ่จะพัฒนาความรู้สึกของตนเอง มีความเป็นตัวของตัวเองในการริเริ่มอยากทำอะไรต่าง ๆ ซึ่งบางครั้งไม่ได้สอดคล้องกับความสามารถของตัวเอง ดังนั้น เด็กจะเกิดความไม่พอใจและแสดงออกด้วยพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยพฤติกรรมจะเป็นไปตามสรีรวิทยาของสมอง ในช่วงนี้สมองในด้านของอารมณ์จะเติบโตได้ดีกว่าสมองส่วนเหตุผล ทำให้ลูกน้อยจะแสดงออกทางอารมณ์ทันที ทั้ง ดีใจ เสียใจ หรือโกรธ โดยที่ยังไม่มีเหตุผล

 

วัยทอง 2 ขวบ แค่เข้าใจก็รับมือได้

ในช่วงวัยนี้ปัจจัยที่มีผลต่ออุปนิสัยของลูกน้อยมี 2 ส่วนหลัก คือ

  1. พื้นอารมณ์ของเด็ก (Temperament) หรืออุปนิสัยตามธรรมชาติของเด็กแต่ละคนที่มีมาตั้งแต่เกิด ซึ่งเด็กที่มีอุปนิสัยพื้นฐานเป็นคนใจร้อน ย่อมแสดงออกชัดเจนกว่าเด็กอื่น ๆ ในวัยเดียวกัน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจวัยทองเด็กในจุดนี้ และเตรียมพร้อมมือกับการปรับพฤติกรรมต่าง ๆ ของลูก 2 ขวบ ดื้อมาก
  2. สภาพแวดล้อม หรือครอบครัวที่เลี้ยงดูเด็ก เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยปรับพฤติกรรมของลูกน้อยที่มีนิสัย เหวี่ยงวีน เอาแต่ใจได้ โดยการเลี้ยงดูของคนในครอบครัวที่เข้าใจต่อพฤติกรรมในวัยนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถเลี้ยงลูกให้ฉลาด รู้จักจัดการอารมณ์ของตัวเอง โดยช่วยกันปรับเปลี่ยนนิสัยที่ก้าวร้าวให้ดีขึ้น เมื่อลูกน้อยโตขึ้น เด็กจะสามารถควบคุมอารมณ์ไปในทางที่ดีได้
    • การรับมือในช่วงวัยทองเด็กหรือเมื่อลูก 2 ขวบ ดื้อมากนี้ เด็กอาจจะยังไม่เข้าใจอารมณ์ของตนเอง คุณพ่อคุณแม่ต้องทำให้เค้ารู้ว่าตอนนี้เค้ารู้สึกอย่างไร เช่น บอกให้รู้ว่าเค้ากำลังอยู่ในอารมณ์โกรธ และบอกว่าอะไรที่สามารถทำได้หรือไม่ได้ โดยใช้คำพูดสั้น ๆ ไม่ต้องเป็นประโยคยาวมากนัก เช่น “แม่รู้ว่าหนูกำลังโกรธ แต่ตีแม่ไม่ได้ หรือปาของไม่ได้นะคะ”
    • ในเด็กบางคน การกอดหรือการปลอบประโลมเป็นตัวช่วยสำคัญที่ลดอารมณ์เกรี้ยวกราดลงได้ โดยในระหว่างกอดเค้า คุณแม่ควรจับมือไว้ด้วย เพื่อที่เค้าจะได้รู้ว่าทำแบบนั้นไม่ได้ ห้ามปาของหรือตีด้วยมือนี้ หรือห้ามทำร้ายตัวเอง รวมไปถึงคุณแม่ควรปล่อยให้เค้าร้องไห้ แล้วถึงพูดคุยด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยนต่อลูกน้อย เพื่อช่วยปรับอารมณ์ให้เย็นลงได้ ที่สำคัญห้ามลงโทษด้วยความรุนแรงนะคะ คุณพ่อคุณแม่ต้องฝึกควบคุมอารมณ์ของตนเองด้วยเช่นกัน เพื่อป้องกันพฤติกรรมการเลียนแบบ ที่อาจส่งผลต่อพฤติกรรมเชิงลบในอนาคตของลูกน้อยได้

 

วัยทอง 2 ขวบ ลูก 2 ขวบ ดื้อมาก แค่เข้าใจก็รับมือได้

 

สาเหตุที่ลูกวัยทอง 2 ขวบหงุดหงิดง่าย

  1. เมื่อเริ่มเข้าสู่วัย 2 ขวบหรือวัยทองเด็ก นอกจากพัฒนาการทางร่างกายที่เติบโตขึ้นอย่างมากแล้ว พัฒนาการทางอารมณ์ก็พัฒนาแบบก้าวกระโดดเช่นกัน ซึ่งเด็กวัยนี้จะเริ่มเป็นตัวของตัวเอง รู้จักตัวเองมากขึ้น มีการแสดงอารมณ์และท่าทีไม่พอใจอย่างชัดเจน เมื่อถูกบังคับหรือห้ามไม่ให้ทำอะไร เพราะสมองที่ควบคุมด้านเหตุผลยังพัฒนาไม่ทันสมองที่ควบคุมอารมณ์ โดยในเด็กบางคนที่มีพื้นฐานอารมณ์ร้อน หรือถูกการเลี้ยงดูแบบเอาใจอาจจะแสดงปฏิกิริยาต่อต้าน เรียกร้องความสนใจ อาจมีการกรีดร้อง หรืออาละวาด ทำร้ายตนเองและผู้อื่นเมื่อโกรธหรือไม่พอใจ
  2. ปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เด็กน้อยมีพฤติกรรมไม่น่ารัก อาละวาด หรือก้าวร้าวได้ เช่น ข้อจำกัดเรื่องพัฒนาการทางภาษาที่ยังไม่เข้าใจสิ่งที่พ่อแม่พูดหรือถามได้ทั้งหมด ไม่รู้จะบอกความรู้สึกของตนเองอย่างไร หรือข้อจำกัดเรื่องสังคม การเรียกร้องความสนใจ ในครอบครัวที่มีพี่และน้อง พี่อาจมีความอิจฉาน้อง หรือข้อจำกัดทางกายภาพ การเคลื่อนไหวที่อาจจะยังไม่ดีพอต่อความต้องการที่จะลงมือกระทำบางสิ่ง ทำให้แสดงออกด้วยความไม่พอใจ เป็นต้น
  3. ปรับพฤติกรรมวัยทอง 2 ขวบด้วยความเข้าใจ คุณพ่อคุณแม่สามารถปรับพฤติกรรมลูกน้อยได้ด้วยความเข้าใจ ใจเย็นให้มากที่สุด และหลีกเลี่ยงการออกคำสั่ง หรือเบี่ยงเบนความสนใจจนมากเกินไป แต่ควรให้เด็กค่อย ๆ เข้าใจอารมณ์ตนเอง รวมถึงอธิบายด้วยเหตุและผลทุกครั้ง

 

ทำไมลูกวัย 2 ขวบ ดื้อมากเฉพาะตอนอยู่กับพ่อแม่

ด้วยพฤติกรรมและอาการวัยทองเด็ก 2 ขวบ อาจทำให้เขาไม่เชื่อใจคนอื่น แต่จะออกฤทธิ์การทดสอบขีดจำกัดของตัวเองทันทีเมื่ออยู่กับพ่อแม่ เพราะรู้ว่า ยังไงพ่อแม่หรือคนใกล้ชิดจะช่วยเขาทันทีเมื่อมีปัญหา เช่น เมื่อคุณต้องปล่อยให้ลูกอยู่กับพี่เลี้ยงเด็ก ลูกอาจโกรธและอาละวาดเมื่อต้องแยกกับคุณ หรือลูกอาจครวญครางหรือทําสะอึกสะอื้นเกาะคุณไม่ปล่อย หรือลูกอาจแค่ข่มอารมณ์และเงียบไป สำคัญที่สุด เมื่อลูก 2 ขวบ เอาแต่ใจร้องไห้หรือมีอาการวัยทอง 2 ขวบ คุณพ่อคุณแม่ควรใจเย็น ไม่ว่าพฤติกรรมของลูกเป็นอย่างไรก็ตาม ให้คุณพยายามไม่แสดงออกโดยการดุหรือลงโทษลูกนะคะ

 

7 วิธีรับมือลูก วัยทอง 2 ขวบ

การเลี้ยงลูกไม่ได้มีทฤษฎีหรือสูตรเฉพาะตายตัว แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมลูกน้อย แล้วนำวิธีการต่าง ๆ มาปรับใช้อย่างเหมาะสม โดยมี 7 วิธีง่าย ๆ สำหรับรับมือกับลูกน้อยที่ย่างเข้าสู่วัยทอง 2 ขวบ ดังนี้ค่ะ

1. ใจเย็น เข้าใจความต้องการของลูก

ในช่วงวัยนี้ว่าเป็นวัยที่เริ่มมีความคิดเป็นของตนเอง อยากทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง แต่ยังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดีมากพอ

 

2. เปลี่ยนจากคำสั่ง เป็นขอความร่วมมือ

เสนอทางเลือกให้กับลูก ลองให้เค้าได้เลือกเอง เวลาที่ไม่ถูกต้องจะได้ค่อย ๆ อธิบายถึงเหตุและผลต่อสิ่งที่เค้าได้เลือกเอง

 

3. เอาใจใส่ ชมเชยในสิ่งที่ลูกทำได้ดี

เป็นการสื่อสารในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกมากขึ้น

 

4. อ่านนิทาน สร้างเหตุการณ์สมมุติ

หากิจวัตรประจำวันที่ทำร่วมกันระหว่างลูกและคุณพ่อคุณแม่ เป็นการกระชับความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว

 

5. เข้าใจความต้องการของลูก

รับฟังทุกครั้งที่เค้ามาเล่าให้ฟัง ให้ความสำคัญกับทุก ๆ เรื่องราวที่ลูกต้องการสื่อสาร ถึงแม้บางครั้งลูกน้อยอาจจะยังสื่อสารไม่เป็นประโยคก็ตาม

 

6. ชวนลูกเล่น เบี่ยงเบนความสนใจ

คุณพ่อคุณแม่สามารถหาของเล่นเสริมพัฒนาการเด็กและอาจจะต้องสังเกตว่าสิ่งไหนที่จะทำให้ลูกเริ่มหงุดหงิด อารมณ์เสีย เราอาจหลีกเลี่ยงก่อนเพื่อไม่ให้เค้าแสดงออกถึงพฤติกรรมเชิงลบ

 

7. การหากิจกรรมให้ลูกได้ปล่อยพลังอย่างเต็มที่

โดยอาจพาลูกออกไปนั่งรถเข็น เดินเล่น เล่นนอกบ้าน เพื่อให้เค้ารู้สึกผ่อนคลายและปรับอารมณ์ให้ดียิ่งขึ้น

 

ไขข้อข้องใจวัยทอง 2 ขวบ

คำถามยอดฮิตสำหรับการเตรียมตัวรับมือพฤติกรรมต่าง ๆ ของลูกน้อยวัยทอง 2 ขวบ สำหรับคุณพ่อคุณแม่

 

อารมณ์ จะมีผลกระทบหรือติดเป็นนิสัย ตอนเด็กโตขึ้นหรือไม่

การเลี้ยงดูและความใส่ใจในการปรับพฤติกรรมในทิศทางที่เหมาะสมของครอบครัว จะช่วยปรับพฤติกรรมเชิงลบ ในเด็กที่มีนิสัยใจร้อน เอาแต่ใจได้ เมื่อโตขึ้นก็จะไม่ได้มีนิสัยหรืออารมณ์ที่รุนแรงเท่าตอนวัยทอง 2 ขวบ แต่จะสามารถควบคุมอารมณ์ไปในทางที่ดีขึ้นได้

 

วัยทอง 2 ขวบ รับมือได้ด้วยวิธีปรับอารมณ์และพฤติกรรมให้เด็ก

ในวัยนี้เด็กยังควบคุมอารมณ์ได้ไม่ดีนัก เพราะไม่รู้ใจตนเองว่ากำลังรู้สึกอย่างไร และไม่เข้าใจว่าสิ่งไหนทำได้หรือไม่ ดังนั้น คุณพ่อและคุณแม่ต้องให้คำจำกัดความของลูกให้ถูก ว่าอารมณ์ที่เขากำลังรู้สึกอยู่นั้นคืออะไร และบอกว่าอะไรทำได้อะไรทำไม่ได้ จะต้องใช้วิธีการบอกสั้น ๆ ไม่ต้องยาว แต่ต้องหนักแน่น เพราะเด็กเล็กยังไม่เข้าใจในภาษาได้มากนัก ความรักความอบอุ่นก็เป็นสิ่งสำคัญ การแสดงออกเมื่อยามลูกน้อยมีอารมณ์ฉุนเฉียว ด้วยการกอด เป็นวิธีที่ช่วยให้ลูกอารมณ์เย็นลง และรู้สึกปลอดภัย โดยคุณพ่อคุณแม่อาจจับมือของเขาไว้เป็นการบ่งบอกถึงการห้ามไม่ให้เด็ก ปาของใส่ ตี หรือการทำร้ายร่างกายตัวเอง

 

ลูกอารมณ์ร้อน ลูกดื้อ เอาแต่ใจ ควรลงโทษหรือไม่

คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรลงโทษลูก ขณะที่ลูกมีอารมณ์โกรธ ฉุนเฉียว หรือกำลังร้องอาละวาด เพราะอาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เด็กเก็บความคับข้องใจและมีปัญหาทางอารมณ์ต่อไป ควรตอบสนองกับพฤติกรรมเชิงลบของลูกอย่างสงบและเข้าใจให้มากที่สุด พึงนึกเสมอว่าลูกพร้อมทดสอบกฎกติกาของพ่อแม่เสมอ และเมื่อเด็กโตขึ้นเขาจะเรียนรู้วิธีจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ดียิ่งขึ้น

 

วัยทอง 2 ขวบ นานแค่ไหนที่ลูกจะหายอารมณ์ร้อน

พฤติกรรมวัยทอง 2 ขวบ เป็นไปตามธรรมชาติของวัยของลูก เด็กแต่ละคนจะมีอารมณ์มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานนิสัยและสภาพแวดล้อมการเลี้ยงดู เมื่อเด็กเริ่มเข้าสู่วัยเข้าโรงเรียน เริ่มมีการเข้าสังคมมากขึ้น พฤติกรรมและอารมณ์เชิงลบต่าง ๆ เหล่านี้ จะค่อย ๆ ดีขึ้น เพราะเด็กจะเริ่มเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกับคนอื่น เริ่มเคารพกฎ กติกาของคุณครู เขาจะต้องควบคุมพฤติกรรม ควบคุมอารมณ์ของตัวเองอย่างไร เพื่อให้อยู่ร่วมกับเพื่อน และคุณครูได้อย่างมีความสุข ทั้งนี้ แนะนำว่า คุณพ่อคุณแม่อาจปรึกษาแพทย์ เมื่อเด็กมีการทำร้ายตนเองหรือคนอื่นมากขึ้น หรือพฤติกรรมแย่ลงหลังอายุ 4 ปี เพื่อดูว่าเด็กมีปัญหาทางกายภาพหรือจิตใจแอบแฝงอยู่หรือไม่

 

เมื่อคุณแม่มือใหม่ต้องรับมือกับวัยทองเด็ก หรือ ลูก 2 ขวบ ดื้อมาก ความรัก ความเข้าใจของคุณพ่อคุณแม่ และสมาชิกภายในครอบครัว เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะรับมือกับวัยทอง 2 ขวบ พร้อมช่วยให้เด็กมีพัฒนาการตามวัยที่ดี เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 

 

 

บทความแนะนำ

ส่งเสริมพัฒนาการตามวัย 1-4 ปีแรก พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการ

ส่งเสริมพัฒนาการตามวัย 1-4 ปีแรก พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการ

ส่งเสริมพัฒนาการตามวัยของลูกน้อย 1-4 ปีแรก ด้วยวิธีกระตุ้นพัฒนาการทางด้านร่างกาย เสริมทักษะด้วยการเล่นของเล่นที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการตามวัยเพิ่มการเรียนรู้ให้ลูกน้อย

นม UHT เด็กกล่องแรก เลือกนมกล่องเด็กแบบไหนให้ดีกับลูก

นม UHT เด็กกล่องแรก เลือกนมกล่องเด็กแบบไหนให้ดีกับลูก

นมกล่องเด็ก UHT นมสำหรับเด็ก 1 ขวบขึ้นไป คุณแม่ควรเลือกนมกล่องเด็กแบบไหนที่มีสารอาหารสำคัญกับลูก ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการสมองที่ดี ไปดูนมกล่องที่เหมาะกับลูกน้อยกัน

โภชนาการลูกวัย 1-2 ขวบ ลูกวัยนี้ต้องอาหารอะไรนะ

โภชนาการลูกวัย 1-2 ขวบ ลูกวัยนี้ต้องอาหารอะไรนะ

เมื่อลูกเข้าสู่วัย 1 ขวบเป็นต้นไปแล้ว ถือว่าลูกได้เข้าสู่ช่วงวัยเตาะแตะอย่างเต็มตัว โภชนาการของลูกในวัยนี้สำคัญมาก เพราะลูกต้องการสารอาหารต่าง ๆ เพื่อการเจริญเติบโตและเสริมพัฒนาการในด้านต่าง ๆ และคุณพ่อคุณแม่ควรคำนึง

 โภชนาการลูก วัย 2 - 3 ขวบ

โภชนาการลูก วัย 2 - 3 ขวบ เด็กวัยนี้ต้องกินอะไรให้ฉลาดและแข็งแรง

หนึ่งในหลายปัญหาที่พ่อแม่ต้องเผชิญเมื่อลูกรักเข้าสู่วัย 2 – 3 ปี คือ ปัญหาด้านโภชนาการ เด็กวัยนี้เริ่มมีความเป็นตัวเองมากขึ้น รู้ว่าตัวเองชอบหรือไม่ชอบอะไร จึงค่อนข้างเลือกกิน และกินยาก ทำเอาพ่อแม่ต่างเป็นกังวลว่า ลูกจะกลายเป็นเด็กตัวเล็ก รูปร่างแคระแกร็น น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญาด้อยกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน