เด็กตั้งไข่กี่เดือน ฝึกลูกตั้งไข่ตอนไหน ลูกตั้งไข่แล้วล้มผิดปกติไหม

เด็กตั้งไข่กี่เดือน ตั้งไข่แล้วล้มผิดปกติไหม ฝึกลูกตั้งไข่ตอนไหนดี

07.09.2024

เมื่อลูกเริ่มเกาะยืนและฝึกตั้งไข่ อาจมีการล้มบ้างซึ่งเป็นเรื่องปกติและสำคัญต่อการเรียนรู้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรกังวลหรือเร่งรัด แต่ควรสนับสนุนการพัฒนาของลูกอย่างใจเย็น โดยช่วยในการฝึกฝนทักษะการทรงตัวและการเคลื่อนไหวให้ดี เพื่อให้ลูกพร้อมยืนและก้าวเดินต่อไปได้อย่างมั่นใจ

headphones

PLAYING: เด็กตั้งไข่กี่เดือน ตั้งไข่แล้วล้มผิดปกติไหม ฝึกลูกตั้งไข่ตอนไหนดี

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • เด็กแต่ละคนจะมีพัฒนาการที่ช้าเร็วแตกต่างกัน ในเด็กบางคนอาจเริ่มตั้งไข่ ยืนได้เร็ว ตั้งแต่ 9 เดือน บางคนอาจยืนตั้งไข่ในช่วง 10-11 เดือน หรือในเด็กบางคนอาจยืนได้ช้า ประมาณ  12 เดือน ขึ้นอยู่กับทักษะการทรงตัว และควบคุมกล้ามเนื้อขา สะโพก และลำตัวของเด็กแต่ละคน
  • เด็กอาจมีความกระฉับกระเฉง หรือความแข็งแรงของแกนลำตัว กล้ามเนื้อขา และสะโพกที่ไม่เท่ากัน ช่วงแรกอาจยืนตั้งไข่ได้เพียงไม่กี่วินาที แล้วล้มลง พอล้มแล้วจะทำให้ลูกเรียนรู้ที่จะยืน เริ่มทรงตัว ยืนด้วยตัวเองได้ดี และนานขึ้น
  • หากลูกมีพัฒนาการล่าช้าผิดปกติจากเด็กวัยเดียวกัน มีปัญหาทางกายภาพ เคลื่อนไหวทรงตัวไม่ได้ ควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจประเมิน และวางแผนการรักษาต่อไป

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

พ่อแม่จะรู้ได้ยังไงว่าลูกเริ่มตั้งไข่แล้ว

เมื่อเริ่มตั้งไข่ ลูกจะมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวอย่างเห็นได้ชัด พัฒนาการจะเริ่มจากการลุกนั่งเองและดันตัวขึ้นยืนโดยไม่ต้องพยุง ลูกจะเริ่มไขว่คว้าหาที่เกาะ เช่น โต๊ะหรือเก้าอี้ เพื่อช่วยให้ยืนได้ เด็กบางคนอาจเริ่มตั้งไข่ได้ตั้งแต่เด็กอายุ 9 เดือน ขณะที่บางคนอาจเริ่มได้เมื่อเด็กอายุ 12 เดือน  ขึ้นอยู่กับทักษะการทรงตัวและการควบคุมกล้ามเนื้อขา สะโพก และลำตัว

 

ในช่วงแรก ลูกอาจยืนได้เพียงไม่กี่วินาทีแล้วล้มลง การล้มช่วยให้ลูกเรียนรู้การทรงตัวและการยืนได้ดีขึ้น และสามารถยืนด้วยตัวเองได้นานขึ้น

 

เด็กเริ่มตั้งไข่ตอนตอนอายุเท่าไหร่

เด็กแต่ละคนจะมีพัฒนาการในการยืนที่ช้าเร็วต่างกัน เมื่อลูกน้อยเข้าสู่วัย 6 เดือน ก็เริ่มมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวร่างกายที่มากขึ้น ลูกจะเริ่มขยับตัวไปรอบ ๆ พลิกตัวได้ทั้งสองด้าน ใช้ขาถีบพื้นเมื่อเท้าอยู่บนพื้นแข็ง ๆ พอเริ่มเข้าเดือนที่ 9-10 ลูกน้อยพยายามดันตัวขึ้นนั่งโดยไม่ต้องช่วยพยุง ไขว่คว้ายึดโต๊ะ เก้าอี้ เพื่อเหนี่ยวดึงตัวเองให้ลุกขึ้นยืน และเริ่มหัดยืน ตั้งไข่ เมื่ออายุ 11 เดือน เด็กบางคนยืนได้ตั้งแต่ 9 เดือน หรือบางคนอาจยืนได้เมื่อ 11-12 เดือน

 

เด็กตั้งไข่กี่เดือน ถึงจะเริ่มเดินได้

เมื่อลูกอายุ 11 เดือน มีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวร่างกายที่ก้าวหน้าขึ้น มีทักษะการทรงตัว และควบคุมกล้ามเนื้อขา สะโพก และลำตัว ทำให้ยืนตั้งไข่ได้แล้ว และจะเริ่มก้าวเดินได้เองทีละ 1-2 ก้าวในช่วงอายุ 12 เดือน หรือ 1 ขวบ

 

ลูกตั้งไข่ช้า เกิดจากอะไรได้บ้าง

เด็กแต่ละคนจะมีพัฒนาการที่ช้าเร็วแตกต่างกัน ซึ่งความแตกต่างของเด็กนี้อาจทำให้เด็กบางคนตั้งไข่ได้ตั้งแต่ 9 เดือน หรือบางคนอาจตั้งไข่ได้เมื่ออายุ 1 ขวบ ทั้งนี้เกิดจากเด็กแต่ละคนอาจมีความกระฉับกระเฉง หรือความแข็งแรงของแกนลำตัว  กล้ามเนื้อขา และสะโพกที่ไม่เท่ากัน คุณพ่อคุณแม่ สามารถเสริมความแข็งแรง กระตุ้นกล้ามเนื้อในส่วนของการเคลื่อนไหวนี้ให้ลูกได้ ลูกตั้งไข่ช้า

 

อีกหนึ่งสาเหตุ อาจเป็นเพราะเกิดจากเด็กพัฒนาการล่าช้า  มีพัฒนาการไม่สมวัยโดยเฉพาะในด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ที่จะส่งผลให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น นั่ง ยืน เดิน เมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตพัฒนาการของลูกได้ เช่น ลูกสามารถลุกยืน ตั้งไข่ และเริ่มหัดเดิน  ได้คงที่ไหม เคลื่อนไหวลำบากหรือไม่ แขนขามีลักษณะเกร็ง หรืออ่อนปวกเปียกผิดปกติหรือเปล่า สามารถควบคุมลำตัวเพื่อทรงตัวได้ไหม หากลูกมีพัฒนาการล่าช้าผิดปกติจากเด็กวัยเดียวกัน มีปัญหาทางกายภาพ เคลื่อนไหวทรงตัวไม่ได้ ควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจประเมิน และการวางแผนรักษาต่อไป

 

ลูกตั้งไข่ช้าแค่ไหน ควรปรึกษาแพทย์

เมื่อลูกเข้าช่วงวัย 10-12 เดือนแล้ว หากลูกน้อยไม่คลาน หรือใช้ลำตัวข้างใดข้างหนึ่งไถขณะที่คลาน หรือ ไม่เกาะยืนเอง ไม่ตั้งไข่ แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้เลี้ยงช่วยให้ยืน ซึ่งการมีพัฒนาการล่าช้านี้ อาจเป็นการส่งสัญญาณแสดงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับพัฒนาการของลูก คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้เลี้ยงดูควรรีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กพัฒนาการ และรับการรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป

 

เด็กตั้งไข่กี่เดือน ลูกตั้งไข่ช้าแค่ไหน ควรปรึกษาแพทย์

 

เคล็ดลับฝึกลูกตั้งไข่ อย่างไรให้ปลอดภัย

เมื่อลูกเริ่มฝึกตั้งไข่และยืน อาจมีการล้มบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องปกติ คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยให้การฝึกตั้งไข่เป็นไปอย่างปลอดภัยและสนุกสนาน ด้วยเคล็ดลับดังนี้:

  • เล่นกับเพื่อนวัยเดียวกัน: พาลูกไปเล่นกับเด็กที่อายุใกล้เคียงเพื่อให้เห็นและเลียนแบบการตั้งไข่และการเกาะยืน
  • กระตุ้นการเคลื่อนไหว: ใช้ของเล่นหรือของโปรดของลูกวางไว้ที่ใกล้ ๆ ดึงความสนใจให้ลูกต้องยืนเพื่อหยิบมา
  • ถือของเล่นขนาดเล็ก: ให้ลูกถือของเล่นขนาดเล็กในมือขณะยืน เพื่อให้รู้สึกมีสิ่งของให้ยึด
  • ใช้หมอนช่วยฝึก: วางหมอนใกล้ ๆ ให้ลูกปีนป่ายข้ามหมอนเพื่อฝึกกล้ามเนื้อและการทรงตัว
  • พูดคุยหรือร้องเพลง: ชวนลูกพูดคุยหรือร้องเพลงขณะยืน เพื่อลดความกังวลและทำให้ยืนได้นานขึ้น
  • อยู่ใกล้ ๆ ลูก: คุกเข่าหรือยืนใกล้ ๆ ลูกเพื่อให้รู้สึกปลอดภัย
  • ชมเชยและปรบมือ: เมื่อลูกพยายามยืนหรือตั้งไข่ ให้ปรบมือและชมเชยทุกครั้ง
  • ฝึกการเคลื่อนไหวบนพื้นเรียบ: ให้ลูกขยับแขนขาและคลานบนพื้นเรียบเพื่อเสริมทักษะการเคลื่อนไหว
  • วางเฟอร์นิเจอร์มั่นคง: วางโต๊ะหรือเก้าอี้ที่แข็งแรงใกล้ลูกเพื่อให้ยึดเกาะและยืนได้
  • จัดพื้นที่ให้ปลอดภัย: ทำความสะอาดพื้น อย่าให้มีน้ำหก และวางที่กั้นมุมหรือลงยางกันกระแทกที่ขอบมุม
  • ช่วยพยุงเมื่อลูกโอนเอน: ยื่นมือช่วยเหลือเมื่อลูกยืนแล้วโอนเอน
  • ฝึกยืนด้วยเท้าเปล่า: ให้ลูกฝึกยืนด้วยเท้าเปล่าเพื่อป้องกันการลื่นและสะดุด

 

พ่อแม่มือใหม่ ควรเริ่มฝึกลูกตั้งไข่ตอนไหน

เมื่อลูกเข้าสู่วัย 11 เดือน จะมีทักษะการทรงตัว และควบคุมกล้ามเนื้อขา สะโพกและลำตัว มีความพร้อมในการเริ่มตั้งไข่ ช่วงเวลานี้จึงเป็นช่วงที่ดีที่คุณพ่อคุณแม่จะช่วยลูกเริ่มฝึกฝนได้ การฝึกทักษะพัฒนาการให้ลูก ควรเลือกฝึกในช่วงที่ลูกนอนเต็มอิ่ม สดใส ไม่งอแง ไม่ง่วงนอน หรือคุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตช่วงเวลาของลูก ให้เป็นช่วงเวลาที่ลูกพร้อมเปิดรับการฝึก การเรียนรู้ หากลูกอารมณ์ไม่ดีอย่าเพิ่งเริ่มฝึก

 

ข้อดีของการฝึกลูกตั้งไข่

การฝึกลูกตั้งไข่นั้น มักเป็นธรรมดาที่ลูกน้อยจะล้มลงได้ เมื่อลูกล้มจะเป็นการเรียนรู้ที่จะทำให้ลูกลุกขึ้นยืน การช่วยให้ลูกฝึกตั้งไข่นี้ เป็นสิ่งที่คุณพ่อไม่ควรละเลย ยังเป็นการฝึกความสมดุลให้กับร่างกายของลูกเพื่อเตรียมพร้อมที่จะเดินเมื่อถึงวัยที่พร้อม เมื่อฝึกตั้งไข่บ่อย ๆ  ลูกจะรู้จักเรียนรู้ที่จะพัฒนาทักษะการทรงตัว สมองก็จะเรียนรู้ที่จะควบคุมกล้ามเนื้อ ขา สะโพก และลำตัว ทำให้ทรงตัวได้ดี ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับลูก และช่วยลดการล้มได้

 

อย่างไรก็ตาม ในทุกช่วงอายุของลูกจะมีพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงในทุกด้านไปเรื่อย ๆ ความรัก ความเข้าใจ และการให้กำลังใจจากคุณพ่อคุณแม่ และผู้เลี้ยงดู คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้ลูกเรียนนรู้ พัฒนาตัวเองในทักษะต่าง ๆ ให้เป็นไปได้ตามวัยอย่างดี หากสังเกตเห็นสัญญาณผิดปกติทางด้านพัฒนาการเกิดขึ้นกับลูก ไม่ควรนิ่งนอนใจ ให้รีบพาลูกไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจเช็ก และรับการรักษาอย่างเหมาะสม

 

บทความแนะนำสำหรับพัฒนาการลูกน้อย

 


อ้างอิง:

  1. พัฒนาการของลูกน้อยเมื่ออายุ 6 เดือน, UNICEF Thailand
  2. พัฒนาการของลูกน้อยเมื่ออายุ 9 เดือน, UNICEF Thailand
  3. เช็คพัฒนาการเจ้าตัวน้อยวัยแรกเกิด, โรงพยาบาลนนทเวช
  4. Take a Stand! When Do Babies Stand on Their Own, Pathways
  5. Learning to stand, NHS
  6. 4 สิ่งผิดปกติบ่งบอกว่าลูกรักเป็น “เด็กพัฒนาการล้าช้า”, โรงพยาบาลพญาไท
  7. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพัฒนาการทารกแต่ละช่วงวัย, podpad
  8. พัฒนาการของลูกน้อยเมื่ออายุ 1 ปี, UNICEF Thailand
  9. When Do Babies First Start Standing Up?, what to expect
  10. Benefits of ‘Tummy Time’ and How To Do It Safely, Cleveland Clinic

อ้างอิง ณ วันที่ 5 สิงหาคม 2567
 

บทความแนะนำ

เด็กพัฒนาการช้าเป็นยังไง พร้อมวิธีสังเกตเมื่อเด็กมีพัฒนาการล่าช้า

เด็กพัฒนาการช้าเป็นยังไง พร้อมวิธีสังเกตเมื่อเด็กมีพัฒนาการล่าช้า

เด็กพัฒนาการช้าจะสังเกตเห็นได้ยังไง ลูกพัฒนาการล่าช้าเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง เด็กพัฒนาการล่าช้า มีวิธีป้องกันไหม และพ่อแม่สามารถช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้ลูกได้ยังไงบ้าง

เด็กเรียนรู้ช้า ไอคิวต่ำ มีลักษณะอย่างไร พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูก

เด็กเรียนรู้ช้า ไอคิวต่ำ มีลักษณะอย่างไร พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูก

ลูกไอคิวต่ำ เกิดจากสาเหตุอะไร เด็กเรียนรู้ช้าจะส่งผลเสียอะไรกับลูกบ้าง คุณพ่อคุณแม่จะรู้ได้ยังไงว่าเด็กไอคิวต่ำ พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อย

อาการออทิสติกเทียม ลูกไม่สบตาเรียกไม่หัน เสี่ยงออทิสติกหรือเปล่า

อาการออทิสติกเทียม ลูกไม่สบตาเรียกไม่หัน เสี่ยงออทิสติกหรือเปล่า

ออทิสติกเทียม คืออะไร ลูกไม่สบตาเรียกไม่หัน อาการแบบนี้เสี่ยงเป็นออทิสติกเทียมหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลูกน้อยอย่างไร พร้อมวิธีรับมือเบื้องต้น

เด็กสมาธิสั้น ลูกอยู่ไม่นิ่ง พร้อมวิธีรับมือที่พ่อแม่ควรรู้

เด็กสมาธิสั้น ลูกอยู่ไม่นิ่ง พร้อมวิธีรับมือที่พ่อแม่ควรรู้

เด็กสมาธิสั้น เกิดจากสาเหตุอะไร ลูกอยู่ไม่นิ่งและซนมาก คืออาการของเด็กสมาธิสั้นหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่มีวิธีสังเกตอาการของลูกได้อย่างไร พร้อมวิธีรับมือ

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก