วิธีชงนมที่ถูกต้อง พร้อมขั้นตอนการเตรียมน้ำชงนม สำหรับแม่มือใหม่

วิธีชงนมผงให้ลูก พร้อมขั้นตอนเตรียมน้ำชงนมที่ถูกต้อง

06.02.2024

องค์การอนามัยโลกแนะนำให้คุณแม่ให้นมลูกในช่วง 6 เดือนแรก จนถึงอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น ควบคู่กับอาหารตามวัยที่เหมาะสม สำหรับเด็กวัย 1 ปีขึ้นไป ถ้ามีความจำเป็นต้องกินนมผสมหรือนมผงคุณแม่ควรขอคำปรึกษาจากคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม รวมถึงควรเตรียมนมให้ลูกน้อยอย่างถูกวิธี ใช้นมผสมที่เหมาะกับช่วงวัย และอุปกรณ์ที่ใช้ต้องสะอาดถูกหลักอนามัย เพื่อสุขภาพที่ดีและร่างกายที่แข็งแรงสมวัยของลูกรัก

headphones

PLAYING: วิธีชงนมผงให้ลูก พร้อมขั้นตอนเตรียมน้ำชงนมที่ถูกต้อง

อ่าน 4 นาที

 

สรุป

  • หลักการชงนมที่ดีให้ลูกน้อยต้องมีความสะอาดและปลอดภัย โดยก่อนที่คุณแม่จะชงนมให้ลูกน้อยควรล้างมือให้สะอาดก่อนทุกครั้งและควรทำความสะอาดฆ่าเชื้อขวดนมและอุปกรณ์ชงนมอยู่เสมอ
  • นมที่ชงแล้วสามารถวางไว้ในอุณภูมิห้องได้ไม่เกิน 2 ชั่วโมง หากเกินกว่านี้แนะนำให้คุณแม่เททิ้งทันทีเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อยท้องเสีย

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ขั้นตอนการเตรียมนมและวิธีชงนมให้ลูกน้อย

การเตรียมนมให้ลูกน้อยสิ่งสำคัญคือต้องสะอาดปลอดภัย และควรปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

 

ขั้นตอนที่ 1: วิธีชงนมที่ดี สุขอนามัยต้องสะอาด

  1. ล้างมือให้สะอาดก่อนเตรียมนมทุกครั้ง
  2. เลือกภาชนะใส่นมที่สะอาด หากมีนมเหลือจากขวดนมให้ล้างทำความสะอาดก่อน
  3. นำภาชนะใส่นมไปฆ่าเชื้อด้วยการต้มหรือการนึ่งทุกชิ้น
  4. พักภาชนะใส่นมจนแห้งสนิท

 

ขั้นตอนที่ 2: วิธีชงนมที่ดี ต้องใช้น้ำร้อนผสมน้ำต้มสุกที่ทิ้งไว้ให้เย็นจนเท่าอุณหภูมิห้อง

หลังจากเตรียมภาชนะใส่นมให้ลูกน้อยแล้วต่อมาคุณแม่ควรเตรียมน้ำสำหรับผสมนมผง โดยน้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำต้มเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการชงนมให้ลูกน้อย จากนั้นปล่อยให้อุณภูมิน้ำลดลงจนเป็นน้ำอุ่นอยู่ที่ประมาณ 40 องศาเซลเซียส แล้วค่อยนำน้ำมาชงให้ลูกน้อยกิน และควรชงนมในปริมาณที่พอดีกับลูกน้อยแต่ละครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้มีนมผงที่เหลือทิ้งมากเกินไป

 

ขั้นตอนที่ 3: วิธีชงนม การเตรียม และการตวงนม

  1. ล้างมือให้สะอาดก่อนเริ่มเตรียมนมผงให้ลูกน้อย
  2. นำขวดนมที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วมาใช้
  3. ก่อนเตรียมนมควรตรวจสอบสัดส่วนของน้ำและนมผงที่ถูกต้อง ตามคำแนะนำบนฉลากของนมผงแต่ละสูตร
  4. เติมน้ำอุ่นที่เตรียมไว้ใส่ขวดนมตามปริมาณที่กำหนด คุณแม่ควรเติมน้ำก่อนใส่นมผงทุกครั้ง
  5. ใช้ช้อนตวงตักนมผงให้เต็ม แล้วเคาะเอาฟองอากาศออกก่อน จากนั้นปาดช้อนตวงให้เรียบ แล้วใส่นมผงตามสัดส่วนที่กำหนดไว้บนฉลาก
  6. ใส่จุกนมและปิดฝาขวดนมให้แน่นสนิท

 

ขั้นตอนที่ 4: วิธีชงนมให้นมผงละลาย

หลังจากที่คุณแม่เตรียมนมให้ลูกน้อยเรียบร้อยแล้ว ให้ค่อย ๆ เขย่าขวดนมเบา ๆ หรือหมุนขวดนมเป็นวงกลมจนกว่านมผงจะละลายโดยที่คุณแม่ไม่จำเป็นต้องเขย่านมแรงจนเกินไป ก่อนให้นมลูกน้อยคุณแม่ควรตรวจสอบดูว่านมร้อนเกินไปหรือไม่ โดยการหยดนมลงหลังมือเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกน้อย

 

วิธีเก็บรักษานมที่ชงแล้ว

  • นมที่ชงและกินแล้ว: คุณแม่ควรให้ทานนมให้หมดในครั้งเดียว ในกรณีน้ำนมที่เหลือจากการป้อนนมลูก หากต้องการเก็บไว้ป้อนลูกอีก แนะนำให้ใช้ภายใน 1-2 ชั่วโมง
  • นมที่ชงแต่ยังไม่ได้กินและนำไปแช่เย็น: นมที่ชงไว้แล้วแต่ลูกน้อยยังไม่ทันได้กิน คุณแม่สามารถนำนมไปเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาได้หลังจากที่นมเย็นตัวลงแล้วสามารถเก็บได้ 24 ชั่วโมงเช่นเดียวกัน คุณแม่ไม่ควรนำนมไปเก็บไว้ในช่องแช่แข็งเพราะอาจทำให้นมลดคุณภาพลงไปได้ หากเก็บนมไว้เกิน 24 ชั่วโมงคุณแม่ควรเทนมทิ้งทันทีแล้วชงนมให้ลูกน้อยใหม่
  • นมที่ชงแต่ยังไม่ได้กินและไม่ได้นำไปแช่เย็น: นมที่ชงแล้วคุณแม่ควรปิดฝาให้สนิทสามารถวางไว้ในอุณหภูมิห้องประมาณ 1-2 ชั่วโมงในที่ร่ม พยายามไม่ให้โดนความร้อนและไว้กลางแจ้ง ในกรณีที่ลูกน้อย กินนมชงไม่หมดให้คุณแม่เททิ้งหลังจากวางทิ้งไว้ 1 ชั่วโมงในอุณหภูมิห้อง ห้ามนำมาป้อนให้กับลูกน้อยเพราะอาจทำให้ลูกน้อยท้องเสียได้

 

ในกรณีที่คุณแม่ต้องการอุ่นนมให้ลูกน้อย แนะนำให้นำออกมาจากตู้เย็นแล้วนำไปวางลงในภาชนะสำหรับอุ่นนม โดยที่ต้องระมัดระวังไม่ให้น้ำสัมผัสกับฝาขวดนมหรือจุกนม และควรหมุนนมให้นมอุ่นเท่า ๆ กัน กรณีที่คุณแม่ใช้เครื่องอุ่นนมควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด และห้ามนำนมไปอุ่นโดยใช้ไมโครเวฟเป็นอันขาด เพราะความร้อนที่ใช้ไม่เท่ากัน และไม่ควรอุ่นนมนานกว่า 10 นาที

 

4 ขั้นตอนเก็บนมผงที่ถูกต้อง

  1. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ที่ใช้เก็บนมผงต้องสะอาด
  2. หลีกเลี่ยงการเทนมผงลงภาชนะและควรพับปิดปากถุงนมให้สนิท
  3. ควรเก็บนมผงไว้ในที่แห้งให้ห่างจากความร้อนหรือความชื้น
  4. นมผงที่เปิดปากถุงแล้วสามารถอยู่ได้นานประมาณ 1 เดือน หรือตามคำแนะนำข้างฉลาก คุณแม่ควรเขียนวันที่กำกับไว้

 

ทำไมไม่ควรใช้น้ำร้อนชงนมเด็ก

น้ำที่ใช้สำหรับชงนมควรเป็นน้ำต้มเดือดเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการชงนมให้ลูกน้อย จากนั้นปล่อยให้อุณหภูมิน้ำค่อย ๆ ลดลงจนเป็นน้ำอุ่นอยู่ที่ประมาณ 40 องศาเซลเซียส แล้วค่อยนำน้ำมาชงให้ลูกน้อยกิน  ซึ่งเป็นอุณภูมิที่เหมาะกับการชงนมเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยและคุณภาพของน้ำนม

 

ใช้น้ำอุณหภูมิห้องชงนมเด็กได้หรือไม่

ไม่แนะนำให้คุณแม่ชงนมให้ลูกน้อยด้วยน้ำอุณหภูมิห้องแต่ควรชงนมด้วยน้ำต้มเดือด จากนั้นปล่อยให้อุณหภูมิน้ำลดลงจนเป็นน้ำอุ่นอยู่ที่ประมาณ 40 องศาเซลเซียส เสร็จแล้วควรทิ้งไว้ในอุณภูมิห้องก่อนให้ลูกน้อยกินเพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีของเด็ก

 

เทคนิคการเขย่าขวดนมให้เกิดฟองน้อย

คุณแม่ไม่ควรเขย่าขวดนมแรงเกินไป เพราะจะทำให้เกิดฟองอากาศมาก ซึ่งเป็นสาเหตุให้ลูกน้อยท้องอืดได้ คุณแม่ควรผสมนมโดยการแกว่งขวดนมไปมา หรือการพลิกขวดนมขึ้นลงแค่ไม่กี่ครั้งให้นมผสมเป็นเนื้อเดียวกับน้ำ สำหรับเด็กวัย 1 ปีขึ้นไป ถ้ามีความจำเป็นต้องกินนมผสมหรือนมผงสำหรับเด็ก คุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง:

  1. การเตรียมการให้นมผงและการฆ่าเชื้อขวดนม, NSW Government
  2. ชงนมอย่างไรจึงจะปลอดภัยจาก…จุลินทรีย์ เอนเทอโรแบคเตอร์ ซาซากิ, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  3. แนวทางการให้นมเด็กจากขวด, Family Health Service Department of Health Hong Kong
  4. คำแนะนำการดูแลทารกเมื่อกลับบ้าน, โรงพยาบาลพญาไท
  5. นมชงอยู่ได้กี่ชั่วโมง ควรชงนมและเก็บรักษาอย่างไร, HelloKhunmor
  6. Marburg Hemorrhagic Fever, จุลสารสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย

อ้างอิง ณ วันที่ 6 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

สังเกตอาการลูกน้อย ภูมิแพ้ในเด็ก ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19

สังเกตอาการลูกน้อย ภูมิแพ้ในเด็ก ลูกคัดจมูกหรืออาการโควิด 19

อาการลูกคัดจมูก ลูกเป็นหวัดง่าย ไม่สบายบ่อย พบได้บ่อยในเด็กเป็นภูมิแพ้และอาจเกิดจากการติดเชื้อ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการลูกน้อย พร้อมวิธีป้องกันภูมิแพ้ในเด็ก

สังเกตภูมิแพ้ในเด็ก อาการภูมิแพ้อากาศ พร้อมวิธีให้ลูกห่างจากอาการแพ้

สังเกตภูมิแพ้ในเด็ก อาการภูมิแพ้อากาศ พร้อมวิธีให้ลูกห่างจากอาการแพ้

ภูมิแพ้ในเด็กหรือเด็กแก้อากาศในวัยบอบบางเสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้ได้ง่าย พ่อแม่สามารถรับมือและคัดกรองความเสี่ยงให้ลูกห่างจากอาการแพ้อากาศ พร้อมเสริมสร้างเกราะคุ้มกัน

อาการภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ คุณแม่ป้องกันได้แค่ไหน

อาการภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ คุณแม่ป้องกันได้แค่ไหน

ภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ เกิดจากหลายปัจจัยอะไรบ้าง คุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการภูมิแพ้ในเด็กของลูกน้อย พร้อมวิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงสารกระตุ้นภูมิแพ้

อาการภูมิแพ้ในเด็ก สาเหตุ อาการ พร้อมวิธีดูแลรักษาภูมิแพ้ในเด็ก

โรคภูมิแพ้ในเด็ก อาการ สาเหตุ พร้อมวิธีดูแลอาการภูมิแพ้ในเด็ก

ทำความรู้จักโรคภูมิแพ้ในเด็ก สาเหตุ อาการ และ 3 ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการภูมิแพ้ในเด็กที่เกิดขึ้นกับลูก ภูมิแพ้ในเด็กเกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลลูกน้อยเบื้องต้น

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก