อายุครรภ์ 15 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 15 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

ผ่าคลอดกี่สัปดาห์ ท้องกี่สัปดาห์คลอด ปลอดภัยกับคุณแม่

16.01.2024

การคลอดลูกมีอยู่ 2 รูปแบบคือการคลอดธรรมชาติ และการผ่าตัดคลอด ในคุณแม่ที่ต้องผ่าคลอด แพทย์จะวินิจฉัยจากความพร้อมทางสุขภาพของคุณแม่ก่อน หากระหว่างตั้งครรภ์มีภาวะแทรกซ้อนทำให้ไม่สามารถคลอดลูกด้วยวิธีธรรมชาติได้ แพทย์ก็จะวางแผนการคลอดให้คุณแม่ด้วยวิธีการผ่าตัดคลอด

headphones

PLAYING: ผ่าคลอดกี่สัปดาห์ ท้องกี่สัปดาห์คลอด ปลอดภัยกับคุณแม่

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • การผ่าคลอดที่ปลอดภัยต่อลูกน้อยในครรภ์ จำเป็นต้องดูที่ความพร้อมของคุณแม่และความแข็งแรงของทารกในครรภ์ แพทย์จะแนะนำให้คุณแม่สามารถผ่าคลอดได้ที่อายุครรภ์ 38 สัปดาห์ขึ้นไป
  • ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการผ่าคลอดก่อนกำหนด ได้แก่ การตั้งครรภ์แฝด มีภาวะครรภ์เป็นพิษ มีโรคความดันโลหิตสูง การติดเชื้อและการอักเสบ หรือการเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น
  • เพื่อป้องกันไม่ให้แผลผ่าคลอดเกิดการอักเสบ ติดเชื้อ ในหนึ่งสัปดาห์แรกหลังผ่าคลอด ต้องระวังไม่ให้แผลโดนน้ำ

 

ทางการแพทย์กำหนดการคลอดที่ปลอดภัยต่อตัวคุณแม่ และทารกในครรภ์มีการพัฒนาร่างกาย อวัยวะต่าง ๆ แข็งแรงสมบูรณ์แล้วอยู่ที่ 38 สัปดาห์ขึ้นไป สามารถที่จะผ่าคลอด หรือคลอดธรรมชาติได้

 

  • การผ่าคลอดในคุณแม่ครรภ์แรก คือการผ่าคลอดที่เรียกว่า (Primary Caesarean Section)
  • การผ่าคลอดในคุณแม่ครรภ์คลอดซ้ำครั้งที่สอง คือการผ่าคลอดที่เรียกว่า (Repeat Caesarean Section)

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ผ่าคลอดกี่สัปดาห์ อายุครรภ์กี่สัปดาห์เหมาะกับการผ่าคลอด

อายุครรภ์ที่เหมาะสมสำหรับการคลอดลูกน้อย คือคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ระหว่าง 37-40 สัปดาห์ ส่วนจะเป็นการคลอดธรรมชาติหรือการผ่าคลอดนั้น จะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ หากคุณแม่เป็นคนที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และทารกในครรภ์ไม่ได้มีขนาดใหญ่จนเกินไป แพทย์จะแนะนำให้คุณแม่คลอดแบบธรรมชาติมากกว่าผ่าคลอด เพราะดีต่อการฟื้นตัวของลูกน้อย และทารกจะได้รับสารภูมิคุ้มกันธรรมชาติจากช่องคลอดของแม่

 

คุณแม่ผ่าคลอดได้ตั้งแต่กี่สัปดาห์

โดยทั่วไปแล้ว แพทย์จะพยายามยื้อให้ทารกอยู่ในครรภ์ของคุณแม่ให้นานที่สุด เพื่อให้ระบบต่างๆ ในร่างกายของทารกพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์มากที่สุด และรอจนกำหนดคลอดที่เหมาะสม คือ ระหว่างอายุครรภ์ 37-40 สัปดาห์

 

คุณแม่ผ่าคลอด กี่สัปดาห์ดีที่สุด

การคลอดที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่ใกล้คลอด ไม่ว่าจะเป็นการคลอดธรรมชาติหรือการผ่าคลอด ช่วงเวลาที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับการคลอด คือช่วงระหว่างอายุครรภ์ 37-40 สัปดาห์ เพราะทารกได้อยู่ในครรภ์จนครบกำหนดการตั้งครรภ์ มีระบบอวัยวะและพัฒนาการที่สมบูรณ์ พร้อมออกมาเจอโลกกว้าง

 

ปัจจัยที่ทำให้คุณแม่ต้องผ่าคลอดก่อนกำหนด

การผ่าคลอดก่อนกำหนดมีเกิดได้จากหลายปัจจัยที่เกิดจากตัวคุณแม่ และทารกในครรภ์

  • คุณแม่มีโรคประจำตัวก่อนการตั้งครรภ์ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
  • มีประวัติการคลอดลูกก่อนกำหนดจากครรภ์แรก
  • การตั้งครรภ์แฝด
  • มีปัญหาช่องปาก เช่น ฟันผุ เหงือกอักเสบ
  • ภาวะครรภ์เป็นพิษ
  • การติดเชื้อและการอักเสบ เช่น กระเพาะปัสสาวะติดเชื้อ ระบบทางเดินหายใจติดเชื้อ
  • การเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ
  • ความเครียด

 

ผ่าคลอด กี่สัปดาห์ ท้องกี่สัปดาห์คลอด วางแผนอย่างไรให้ปลอดภัยกับลูกน้อยที่สุด

 

การผ่าคลอด มีข้อดีอย่างไร

การคลอดลูกด้วยวิธีผ่าคลอดที่อยู่ในการดูแลจากทีมแพทย์ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวแต่อย่างใด ซึ่งการผ่าคลอดก็มีข้อดี ได้แก่

  • คุณแม่สามารถที่จะกำหนดฤกษ์ วัน เวลาคลอดได้
  • ไม่เจ็บครรภ์คลอด
  • ไม่มีภาวะสายสะดือกดทับในระหว่างการคลอด
  • สามารถเตรียมตัวล่วงหน้าสำหรับการคลอดได้
  • หลังคลอดสามารถทำหมันได้ทันที
  • ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้
  • มีปัญหาทางเพศสัมพันธ์หลังคลอดค่อนข้างน้อย

 

การบล็อกหลัง ช่วยอะไรคุณแม่ผ่าคลอดได้บ้าง

การบล็อกหลังก่อนการผ่าคลอด จะช่วยให้คุณแม่ไม่รู้สึกเจ็บปวดขณะผ่าคลอด และคุณแม่ยังได้พบหน้าลูกน้อยหลังคลอดในทันทีที่ผ่าคลอดเสร็จการบล็อกหลัง เป็นการฉีดยาชาระงับความรู้สึกเฉพาะจุดให้กับคุณแม่ โดยที่วิสัญญีแพทย์จะเป็นผู้ฉีดยาชาให้ตรงบริเวณหลังเข้าไปที่ช่องไขสันหลัง เมื่อยาชาออกฤทธิ์จะทำให้ร่างกายตั้งแต่ช่วงกลางลำตัวไปจนถึงขาทั้งสองข้างของคุณแม่ไม่มีความรู้สึก ซึ่งในขณะที่ผ่าคลอดจะไม่รู้สึกได้ถึงความเจ็บปวดแต่อย่างใด

  • ช่วยในการระงับปวดได้ภายใน 1-2 นาที
  • จะมีอาการปวดแผลหลังผ่าตัดน้อยกว่า และยังคงรู้สึกตัว สามารถพูดคุย โต้ตอบได้

 

การเตรียมตัวสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด

เพื่อให้การคลอดปลอดภัยที่สุดกับคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ คุณแม่ที่ต้องผ่าคลอดจำเป็นต้องเตรียมพร้อมในเรื่องดังต่อไปนี้

  • เก็บกระเป๋าเตรียมไปคลอด: เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ไตรมาสสาม คุณแม่สามารถเริ่มเตรียมเก็บกระเป๋าของใช้เตรียมคลอด สำหรับเตรียมไปคลอดได้ เสื้อผ้า ของใช้ส่วนตัว และเอกสารที่ต้องใช้ในการคลอดลูก ควรมีพร้อมไว้ในกระเป๋า
  • งดอาหาร งดน้ำ: ก่อนวันนัดหมายเพื่อการคลอด คุณแม่จะได้รับการแนะนำให้งดอาหาร และน้ำมาก่อนผ่าตัดประมาณ 8 ชั่วโมง
  • ตรวจเลือด: เมื่อมาถึงโรงพยาบาล คุณแม่จะได้รับการเจาะเลือดเพื่อนำไปตรวจดูสุขภาพของเลือด ว่าไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด ความเข้มข้นของเลือด
  • เจาะเส้นเลือด: ก่อนเข้าห้องคลอด เจ้าหน้าที่พยาบาลจะมาเจาะหาเส้นเลือดดำที่หลังมือ เพื่อให้สารน้ำกับคุณแม่
  • สวนอุจจาระ: ก่อนการผ่าตัด เจ้าหน้าที่พยาบาลจะสวนอุจจาระให้กับคุณแม่
  • โกนขน: ก่อนการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง เจ้าหน้าที่พยาบาลจะโกนขนตรงบริเวณหัวหน่าว และทำความสะอาด
  • ใส่สายสวนปัสสาวะ: ระหว่างผ่าตัดคุณแม่อาจปัสสาวะออกมา ก่อนการผ่าตัดจึงจำเป็นต้องได้รับการใส่สายสวนปัสสาวะ

 

การผ่าตัดคลอดคุณแม่ไม่ต้องรอให้ปากมดลูกเปิดเหมือนกับการคลอดธรรมชาติ ดังนั้นเมื่อถึงเวลานัดหมายในการคลอด แพทย์ก็จะเข้าสู่กระบวนการผ่าคลอดให้คุณแม่ได้ทันที ซึ่งจะใช้เวลาผ่าคลอดอยู่ที่ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง

 

แผลผ่าคลอด ต้องดูแลอย่างไร

หลังจากคุณแม่ผ่าคลอดเสร็จ จะอยู่พักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 3-4 วัน เพื่อที่แพทย์จะได้ติดตามอาการหลังผ่าคลอดอย่างใกล้ชิด และหากไม่พบความผิดปกติใด ๆ ที่แทรกซ้อนขึ้นมา ก็จะอนุญาตให้คุณแม่กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้าน

 

แผลผ่าคลอดจะยาวประมาณ 4-6 นิ้ว แผลผ่าคลอดจะใช้เวลาในการสมานกันที่ตรงผิวชั้นนอกใช้เวลา 1 สัปดาห์ และแผลผ่าตัดตรงบริเวณผิวชั้นในจะสมานกันดีใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์

  • ระวังไม่ให้แผลโดนน้ำ: หลังผ่าคลอด สัปดาห์แรกคุณแม่ต้องระวังไม่ให้แผลผ่าตัดโดนน้ำ เพื่อจะได้ไม่มีการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด
  • ทำความสะอาดแผล: แผลผ่าตัดหากสมานดีแล้ว ก็สามารถโดนน้ำได้ แต่คุณแม่ต้องเช็ดทำความสะอาดแผลผ่าตัด 2-3 ครั้งต่อวันด้วยน้ำเกลือ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์: การสมานแผลผ่าคลอดให้หายเร็ว และฟื้นฟูร่างกายหลังคลอด คุณแม่ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารกลุ่มโปรตีน และควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทหมักดอง แอลกอฮอล์
  • ทาบำรุงผิว: แผลผ่าตัดที่สมานผิวแห้งดีแล้ว คุณแม่สามารถทาบำรุงผิวรอบแผลผ่าตัดด้วยโลชั่น หรือออยล์ทาผิว เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว

 

น้ำนมแม่ มีประโยชน์กับลูกที่ผ่าคลอด นมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด ที่ครบถ้วนทั้งสารอาหารพัฒนาการเจริญเติบโต สารอาหารพัฒนาสมอง ในนมแม่มีสฟิงโกไมอีลิน ดีเอชเอ และโพรไบโอติกซึ่งช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน แนะนำคุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่แรกคลอดจนให้ได้อย่างน้อย 6 เดือน

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  • 5 ข้อดีของการ “ผ่าคลอด” ที่คุณแม่ควรทราบ, โรงพยาบาลเปาโล
  • สิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้เกี่ยวกับการผ่าคลอด, โรงพยาบาลสมิติเวช
  • คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้! สัญญาณเตือนแบบไหน..ที่เสี่ยง ‘คลอดก่อนกำหนด’, โรงพยาพบาลพญาไท
  • คลอดเองหรือผ่าคลอด...วิธีไหนดี?, โรงพยาบาลพญาไท
  • ตอบข้อสงสัย คลอดแบบไหนดี คลอดปกติ VS ผ่าคลอด, โรงพยาบาลนครธน
  • ข้อแตกต่างของการผ่าคลอดและการคลอดตามธรรมชาติ, โรงพยาบาลเมดพาร์ค
  • ผ่าคลอด! ดมยาสลบหรือบล็อกหลังดี?, โรงพยาบาลศิครินทร์
  • การเตรียมพร้อมก่อนรับการฉีดยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่เข้าช่องน้ำไขสันหลัง (Spinal anesthesia), โรงพยาบาลวิภาวดี
  • สิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้เกี่ยวกับการผ่าคลอด, โรงพยาบาลสมิติเวช
  • 8 เคล็ดลับดูแลแผลผ่าคลอดให้แผลสวย หายไว ฟื้นตัวเร็ว, โรงพยาบาลวิมุต
  • คุณแม่ตั้งครรภ์กับการทำฟัน ช่วงเวลาไหนเหมาะสมที่สุด, โรงพยาบาลนครธน

อ้างอิง ณ วันที่ 24 ธันวาคม 2566

บทความแนะนำ

คนท้องกินชีสได้ไหม ชีสชนิดไหนปลอดภัย อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินชีสได้ไหม ชีสชนิดไหนปลอดภัย อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินชีสได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินชีส เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ ชีสชนิดไหนกินได้ ดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

คนท้องกินทับทิมได้ไหม มีประโยชน์ยังไง อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินทับทิมได้ไหม มีประโยชน์ยังไง อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินทับทิมได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินทับทิม เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ ทับทิมดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

คนท้องกินพิซซ่าได้ไหม เท่าไหร่ถึงพอดี อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินพิซซ่าได้ไหม เท่าไหร่ถึงพอดี อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินพิซซ่าได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินพิซซ่า เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ พิซซ่าดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

คนท้องกินมังคุดได้ไหม มีประโยชน์ยังไง อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินมังคุดได้ไหม มีประโยชน์ยังไง อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินมังคุดได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินมังคุด เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ มังคุดดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก