คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าตัดขับรถได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าตัดขับรถได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

22.08.2024

แม้ว่าหลังคลอด ภาระกิจของคุณแม่ที่สำคัญคือการดูแลลูกน้อย แต่การเคลื่อนไหวร่างกาย การเปลี่ยนอิริยาบถต่าง ๆ กิจกรรมที่เคยทำในชีวิตประจำวันในช่วงก่อนตั้งครรภ์ เช่น การออกกำลังกาย การขับรถที่คุณแม่หลายคนสงสัยว่าหลังผ่าคลอดขับรถได้ไหม ทางที่ดีที่สุดคือคุณแม่หลังคลอดควรต้องรอระยะเวลาในการพักผ่อน เพื่อฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรงดีก่อน จึงค่อยทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ และลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บ การอักเสบของแผลผ่าคลอด

headphones

PLAYING: ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าตัดขับรถได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • หลังผ่าคลอด คุณแม่ควรปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำ เพื่อฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรง ระมัดระวังไม่ทำให้แผลผ่าคลอดอักเสบหรือติดเชื้อ
  • คุณแม่ควรงดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เสี่ยงจะทำให้แผลเกิดแรงดันหรือแรงกดทับ เกิดปัญหา แผลปริแตก
  • หลังผ่าคลอด 6 สัปดาห์ คุณแม่สามารถกลับมาทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ดังเดิม เช่น การออกกำลังกาย การขับรถ
  • หลังผ่าคลอด คุณแม่ควรไปตรวจแผลตรงตามเวลาที่แพทย์นัด หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เช่น แผลอักเสบ บวมแดง แผลฉีกขาด มีไข้ มีหนอง ให้รีบไปพบแพทย์

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

คุณแม่หลังผ่าตัดคลอด ขับรถได้เลยไหม?

คุณแม่หลายคนอาจมีคำถามว่า หลังผ่าคลอดกี่วันขับรถได้หรือหลังผ่าตัดขับรถได้ไหม หลังผ่าคลอดร่างกายของคุณแม่จะเปลี่ยนแปลง คุณแม่ควรพักผ่อน ระมัดระวังในทุกอิริยาบถต่าง ๆ ให้ดี ปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อฟื้นฟูร่างกายหลังคลอดให้กลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม การขับรถอาจทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนที่อาจทำให้เลือดออก การขับรถมีการคาดเข็มขัดนิรภัย อาจทำให้สัมผัสโดนแผลผ่าคลอดได้

 

คุณแม่ผ่าคลอด ควรรอกี่วันถึงขับรถได้

คุณแม่ผ่าคลอดสามารถกลับมาทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ปกติ เช่น การขับรถ หลังจากการผ่าคลอดลูกแล้ว 6 สัปดาห์ คุณแม่ผ่าคลอดควรพักฟื้น เพื่อให้แผลผ่าคลอดสมานตัว หลีกเลี่ยงการเกิดแรงดันหรือแรงกดทับ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาแผลผ่าคลอดอักเสบข้างใน

 

ทำไมคุณแม่ผ่าตัดคลอดถึงไม่ควรขับรถทันที

เพราะร่างกายหลังผ่าตัดคลอดของคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งยังอ่อนเพลียจากการคลอด มีบาดแผลจากการผ่าคลอด จึงต้องการการพักผ่อน เพื่อร่างกายจะได้ฟื้นตัวจากการคลอดลูกได้เร็วขึ้น ฉะนั้นเพื่อลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดปัญหาแผลปริ เพื่อให้แผลผ่าคลอดสมานตัวได้ดี คุณแม่ควรที่จะงดการออกแรง หรือขยับตัวที่จะทำให้เกิดแรงกดทับแผลผ่าคลอด การขับรถอาจทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนที่ทำให้แผลมีเลือดออกได้

 

หลังผ่าคลอด คุณแม่ทำงานบ้านได้ไหม

หลังผ่าคลอด 6 สัปดาห์ คุณแม่ผ่าคลอดที่พักฟื้น ร่างกายเริ่มแข็งแรงกลับมาเป็นปกติแล้ว สามารถทำงานบ้าน ทำอาหาร ทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่ต้องออกแรงมากในชีวิตประจำวันได้ แต่ไม่ควรทำงานที่ต้องออกแรงใช้กำลังกล้ามเนื้อหน้าท้องมาก ๆ หรือยกของหนัก ๆ เพราะอาจทำให้มดลูกเคลื่อนต่ำลง และจะทำให้เจ็บแผลผ่าคลอดได้ อีกทั้งควรระวังเรื่องการขยับตัวไปมา อาจเกิดการหน้ามืด ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

 

ผ่าคลอดกับคลอดธรรมชาติ ขับรถได้ทันทีเลยไหม

 

ผ่าคลอดกับคลอดธรรมชาติ ขับรถได้ทันทีเลยไหม

คุณแม่คลอดธรรมชาติ จะมีแผลฝีเย็บซึ่งแพทย์จะเย็บแผลด้วยไหมละลาย แผลจะหายภายในประมาณ 1 สัปดาห์ คุณแม่อาจรู้สึกเจ็บแผลไปจนกระทั่ง 2 สัปดาห์ ดังนั้นการเคลื่อนไหวร่างกายต่าง ๆ ต้องระมัดระวังในการกระทบกระเทือน กิจกรรมที่ไม่ควรทำในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังคลอดคือ การขับรถ การออกกำลังกายหนัก ๆ ยกของที่มีน้ำหนักมากกว่าทารก และไม่ควรเดินขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ

 

สำหรับคุณแม่ผ่าคลอดควรกลับมาขับรถหลังผ่าคลอด 6 สัปดาห์เช่นกัน เพื่อลดการโดนสัมผัสแผลจากการคาดเข็มขัดนิรภัย และแรงสั่นสะเทือนในตอนขับรถที่อาจทำให้เลือดออกได้ หลังผ่าคลอด คุณแม่ควรพักผ่อน ระมัดระวังในทุกการขยับเปลี่ยนท่าทาง ปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำ เพื่อฟื้นฟูร่างกายหลังคลอดให้กลับมาฟื้นตัวโดยเร็ว

 

วิธีดูแลแผลผ่าตัดหลังผ่าคลอดไม่ให้แผลอักเสบ

  1. ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  2. ลุก นั่ง เดิน ยืน เปลี่ยนท่าทางต่าง ๆ อย่างระมัดระวัง ไม่เร่งรีบ เพื่อไม่ให้แผลผ่าตัดตึงเกินไป
  3. ห้ามไม่ให้แผลโดนน้ำ ไม่แกะ ไม่เกาแผล
  4. ใส่ผ้ารัดหน้าท้อง เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บให้ลดลง ไม่ให้แผลถูกดึงรั้ง
  5. พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ยกของหนัก งดการออกกำลังกายหนัก ๆ งดเว้นกิจกรรมที่ทำให้เกิดการเจ็บแผล เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง
  6. คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่ งดอาหารที่มีรสจัดและไม่ดื่มแอลกอฮอล์
  7. ตรวจแผลตามที่แพทย์นัด หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เช่น มีหนอง มีกลิ่นเหม็น บวมแดง แผลฉีกขาด อักเสบ
  8. หากคุณแม่ได้รับยาจากแพทย์ ควรทานให้จนครบตามที่แพทย์สั่ง ห้ามหยุดยาเองโดยเด็ดขาด
  9. ล้างแผล ทำความสะอาดแผลอย่างสม่ำเสมอ
  10. ไม่ทาครีมที่แผลผ่าคลอด
  11. หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป

 

กิจกรรมต่าง ๆ ที่เคยทำในชีวิตประจำวันก่อนคลอด เช่น การออกกำลังกายหลังคลอด การทำงานบ้าน การขับรถ ถึงแม้มีความจำเป็น แต่ในช่วงหลังคลอดนั้น ร่างกายของคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลง ควรพักผ่อน และประเมินร่างกายของตนเองให้ดี เชื่อฟังตามที่แพทย์แนะนำ เพื่อให้ร่างกายกลับมาฟื้นฟูแข็งแรงได้โดยเร็ว ไม่ควรทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการทำให้บาดแผลผ่าคลอดเจ็บ ปริแตก หรือสมานตัวช้า เพราะอาจทำให้แผลผ่าคลอดนั้นอักเสบ หรือติดเชื้อได้

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด

 

 

อ้างอิง:

  1. สิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้ เกี่ยวกับการผ่าคลอด, โรงพยาบาลสมิติเวช
  2. แผลผ่าคลอดปริ เกิดจากอะไร คุณแม่ควรดูแลแผลอย่างไร, HelloKhunmor
  3. 6 คำแนะนำหลังคลอดบุตร, โรงพยาบาลพญาไท
  4. การดูแลตัวเองหลังคลอดที่คุณแม่ต้องรู้, โรงพยาบาลเปาโล
  5. แผลผ่าคลอด ควรดูแลอย่างไร, pobpad
  6. คำถามยอดฮิตที่คุณแม่ผ่าคลอดอยากรู้, โรงพยาบาลศิครินทร์
  7. การดูแลตนเองหลังคลอด (Postpartum Self-Care), โรงพยาบาลMedPark

อ้างอิง ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2567
 

บทความแนะนำ

อาหารบำรุงน้ำนม เมนูเพิ่มน้ำนม กระตุ้นน้ำนมแม่ให้มีคุณภาพ

อาหารบำรุงน้ำนม เมนูเพิ่มน้ำนม กระตุ้นน้ำนมแม่ให้มีคุณภาพ

รวมอาหารบำรุงน้ำนม เมนูเพิ่มน้ำนมแม่ ช่วยกระตุ้นน้ำนมคุณแม่ให้ไหลดีและมีคุณภาพ ไปดูเมนูอาหารเพิ่มน้ำนมและเมนูเรียกน้ำนม สำหรับคุณแม่หลังคลอดกัน

8 วิธีแม่ให้นมลูก การให้นมลูกช่วยกระตุ้นน้ำนมแม่ตั้งแต่แรกคลอด

วิธีให้นมลูกสำหรับคุณแม่มือใหม่ การให้นมลูกหลังคลอดที่ถูกต้อง

รวมวิธีให้นมลูกสำหรับคุณแม่มือใหม่ พร้อมการให้นมลูกหลังคลอดที่ถูกต้อง ด้วยการเข้าเต้า 3 ดูด ช่วยกระตุ้นน้ำนมแม่ให้เพียงพอ ไปดูวิธีให้นมลูกที่ถูกต้องกัน

สุดยอดนมแม่! ช่วยลูกฉลาด สมองไว รู้จักสารอาหารในนมแม่ ช่วยพัฒนาสมองลูก

สุดยอด 3 สารอาหารในนมแม่ ช่วยลูกฉลาด สมองไว พัฒนาสมองลูก

สารอาหารสำคัญในน้ำนมแม่ มีประโยชน์กับลูกน้อย ช่วยให้ลูกสมองไว ฉลาด และแข็งแรง และมีพัฒนาการสมองที่ดี ไปดูกันว่าในน้ำนมแม่ มีสารอาหารอะไรที่ดีกับลูกน้อยบ้าง

ลูกไม่กินนม กินนมน้อย ปัญหาลูกไม่ยอมกินนมที่คุณแม่แก้ไขได้

ลูกไม่กินนม กินนมน้อย ปัญหาลูกไม่ยอมกินนมที่คุณแม่แก้ไขได้

ลูกไม่กินนม ลูกกินนมน้อย คุณแม่มือใหม่แก้ปัญหาลูกไม่ยอมกินนมยังไงดี ไปดูสาเหตุที่ลูกไม่ยอมกินนมแม่ พร้อมวิธีที่จะช่วยให้ลูกกินนมคุณแม่ได้มากขึ้น

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก