นมสำหรับเด็กผ่าคลอด จำเป็นหรือไม่สำหรับเด็กผ่าคลอด

นมสำหรับเด็กผ่าคลอด จำเป็นกับลูกน้อยจริงไหม

25.03.2024

เชื่อว่าคุณแม่หลายคนก่อนผ่าคลอดคงหาข้อมูล เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียก่อนตัดสินใจผ่าคลอดมานับไม่ถ้วน แต่คุณแม่หลายคนอาจไม่ทราบถึงโอกาสเสี่ยงในการพัฒนาภูมิคุ้มกันเริ่มต้นที่อาจช้ากว่าและโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้ที่สูงขึ้นในกลุ่มเด็กผ่าคลอด เราจะดูแลและช่วยพัฒนาระบบกระตุ้นภูมิคุ้มกันของเด็กผ่าคลอด ด้วยนมแม่ซึ่งเป็นโภชนาการที่ดีที่สุดสำหรับเด็กผ่าคลอดกันค่ะ

headphones

PLAYING: นมสำหรับเด็กผ่าคลอด จำเป็นกับลูกน้อยจริงไหม

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • เด็กที่คลอดธรรมชาติจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันเริ่มต้นได้เร็วกว่าเด็กผ่าคลอด เนื่องจากเด็กที่คลอดธรรมชาติจะได้รับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์จากช่องคลอด ที่จะเข้าไปตั้งรกรากในลำไส้ร่วมกันกับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ชนิดอื่น ๆ ที่ได้จากนมแม่เพิ่มเติมไปสู่ลำไส้ของเด็ก
  • จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลาย ๆ ชนิดที่พบได้ในนมแม่ (เช่น B. lactis) รวมถึงอาหารต่าง ๆ ของแบคทีเรียเหล่านั้น (เช่น 2'FL) ที่สามารถพบได้ในนมแม่เช่นกัน จะช่วยพัฒนาและเสริมสร้างระบบคุ้มกันของลูกน้อยให้สามารถป้องกันและต่อต้านเชื้อโรคต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในเด็กผ่าคลอด

 

ในนมแม่ยังมีสารอาหารอื่น ๆ มากกว่า 200 ชนิด เช่น โปรตีน แคลเซียม ดีเอชเอ รวมทั้งสฟิงโกไมอีลิน (Sphingomyelin) ที่ช่วยในการสร้างปลอกไมอีลิน (Myelination) ที่ช่วยให้การเชื่อมโยงการทำงานของระบบประสาทมีประสิทธิภาพ

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ความแตกต่างของเด็กผ่าคลอดและเด็กคลอดธรรมชาติ

เด็กที่คลอดธรรมชาติจะได้รับแบคทีเรียชนิดดีในระหว่างคลอดผ่านทางช่องคลอด เนื่องจากลูกน้อยจะกลืนเอาจุลินทรีย์ดีที่อยู่บริเวณช่องคลอด ซึ่งจุลินทรีย์ที่ดีในบริเวณนี้มีความสามารถในการช่วยพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันของทารก ปกป้องลูกน้อย จากเชื้อโรค หรือ โรคติดเชื้อต่าง ๆ ในขณะที่เด็กที่ผ่าคลอดกจะไม่ได้รับจุลินทรีย์ที่ดีเหล่านี้ ซึ่งอาจส่งผลต่อการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกัน จึงมีโอกาสที่ลูกน้อยจะเจ็บป่วยได้มากกว่า ดังนั้นเด็กผ่าคลอดควรได้รับนมแม่ ซึ่งเป็นแหล่งของจุลินทรีย์สุขภาพที่หลากหลาย

 

การผ่าคลอด ทำให้เด็กเสี่ยงต่อการมีระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติไป และมีโอกาสเป็นโรคติดเชื้อและโรคภูมิแพ้ง่ายขึ้น แม้ว่าจะไม่มีประวัติทางกรรมพันธุ์หรือไม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ก็ตาม แต่ยังพบว่าเด็กผ่าคลอดเป็นโรคติดเชื้อและภูมิแพ้กันมากมาย

 

นอกจากนี้ สมองของเด็กผ่าคลอด กับเด็กที่คลอดธรรมชาติยังมีความแตกต่างกัน จากการศึกษาภาพสแกนสมองของ Deoni S.C. et al., 2019 พบว่า สมองของเด็กผ่าคลอดที่มีอายุ 2 สัปดาห์ มีการเชื่อมโยงการทำงานที่น้อยกว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติ และยังพบว่ามีเด็กผ่าคลอดมีการสร้างไมอีลินในสมองได้น้อยกว่า ดังนั้น เด็กผ่าคลอดอาจมีการพัฒนาสมองแตกต่างจากเด็กที่คลอดธรรมชาติ

 

จุลินทรีย์ชนิดดี บริเวณช่องคลอดของแม่ มีผลดีต่อลูกอย่างไร

ลูกน้อยได้รับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ผ่านทางช่องคลอด ซึ่งจะเข้าไปรวมกันกับจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ ที่ได้รับผ่านนมแม่ บริเวณภายในลำไส้ ซึ่งมีหน้าที่ช่วยในการย่อยอาหาร สังเคราะห์วิตามิน และป้องกันลูกน้อยจากเชื้อโรคในลำไส้ให้ลูกแข็งแรง ทั้งยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดภูมิแพ้ในทารกให้น้อยลงด้วย

 

จริงหรือไม่ ที่เด็กผ่าคลอดต้องกินนมสำหรับเด็กผ่าคลอด

 

ทำไมเด็กผ่าคลอด ควรได้รับนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด

คุณแม่ที่ผ่าคลอดทางหน้าท้องควรพยายามให้ลูกน้อยเริ่มกินนมแม่ให้เร็วที่สุด โดยเฉพาะใน 1-3 วันแรกหลังคลอด เพราะในนมแม่ช่วงนี้จะเป็นน้ำนมเหลือง หรือที่เรียกว่า “คอลอสตรัม (Colostrum)” เป็นน้ำนมที่อุดมไปด้วยสารอาหารคุณประโยชน์สูงมากมาย เช่น แคลเซียม วิตามิน ที่ช่วยให้ร่างกายเติบโตสมวัย มีสฟิงโกไมอีลิน (Sphingomyelin) ที่ช่วยเสริมสร้างสมองให้เกิดการเชื่อมโยงการทำงานที่รวดเร็วของเซลล์สมองและระบบประสาท และยังมีสารภูมิคุ้มกันจากแม่ที่จะส่งผ่านไปยังลูกน้อย เพื่อปกป้องลูกจากเชื้อโรคหรือโรคติดเชื้อหลาย ๆ ชนิด ลูกน้อยจึงมีสุขภาพที่ดี

 

โภชนาการ สารอาหารและสิ่งมีประโยชน์ในนมแม่ที่เด็กผ่าคลอดควรได้รับ

นมแม่อุดมไปด้วยสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ แคลเซียม วิตามิน และสารอาหารอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ล้วนเป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างร่างกาย รวมถึงช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มและเสริมสร้างสมองให้มีการทำงานที่ไวขึ้น ซึ่งสารอาหารสำคัญในนมแม่ เช่น

  • สฟิงโกไมอีลิน (Sphingomyelin): เป็นหนึ่งในไขมันที่พบได้ในนมแม่ที่ช่วยกระตุ้นการสร้างปลอกไมอีลิน (Myelination) ในสมองให้เพิ่มปริมาณมากขึ้น ทำให้สมองของลูกน้อยเกิดการเชื่อมโยงการทำงานของระบบประสาทที่มีประสิทธิภาพ เด็กจึงเกิดพัฒนาการทางสมองที่ดี
  • จุลินทรีย์สุขภาพ เช่น บีแล็กทิส (B. lactis): เป็นจุลินทรีย์สุขภาพที่พบในนมแม่ทำหน้าที่ในการผลิตกรดแลคติก มีส่วนช่วยย่อยอาหาร ดูดซึมสารอาหาร และต่อต้านเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคได้ ทั้งยังช่วยบรรเทาอาการท้องผูก ลดอาการลำไส้แปรปรวน และลดการร้องไห้งอแงในเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวข้องกับอาการไม่สบายท้องได้
  • 2′-Fucosyllactose (2′-FL): เป็นพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) พบมากในนมแม่ที่ช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ลำไส้ ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อก่อโรคจับที่ผิวเยื่อบุลำไส้ และป้องกันการติดเชื้อ จึงช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันเด็กได้ดี ซึ่ง 2'FL เป็นโอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่ (HMOs)

 

สารอาหารในนมแม่ที่เด็กผ่าคลอดควรได้รับ

 

ภูมิคุ้มกันเด็กผ่าคลอด เริ่มได้ตั้งแต่ลูกแรกเกิด

เด็กผ่าคลอดกับเด็กที่คลอดธรรมชาติจะมีรูปแบบของจุลินทรีย์ในลำไส้ที่แตกต่างกัน มีการศึกษาหลายชิ้นระบุว่า เด็กผ่าคลอดจะมีการตั้งต้นของจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ที่ช้ากว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติ อีกทั้งยังพบว่า จุลินทรีย์สกุลบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของทารกยังสามารถเชื่อมโยงการทำงานกับสมองได้ เพราะสามารถผลิตสารสื่อประสาทที่มีผลในการทำงานของระบบประสาทและสมอง จึงส่งผลต่อพัฒนาการระบบประสาทของเด็ก

 

ดังนั้น แม่ผ่าคลอดจะต้องเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยด้วยนมแม่ เพราะในนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด รวมถึงจุลินทรีย์สุขภาพ เช่น บีแล็กทิส (B. lactis) ที่เป็นโพรไบโอติกส์ (Probiotic) ช่วยลดจำนวนเชื้อก่อโรคในเด็ก ช่วยลดระยะเวลาหรือความรุนแรงของอาการท้องเสียในทารก ช่วยลดความรุนแรงของการติดเชื้อในทางเดินอาหาร บรรเทาอาการท้องผูก และยังช่วยเพิ่มจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้ของเด็กด้วย

 

นอกจากนี้ ในนมแม่ยังมี 2′-Fucosyllactose (2′-FL) ซึ่งเป็นโอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่ (HMOs) ที่เป็นพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) มาช่วยเสริมการเติบโตของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร และช่วยดักจับเชื้อก่อโรคให้ขับออกไปผ่านทางอุจจาระด้วย เด็กผ่าคลอดเสี่ยงต่อการมีระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติไปและมีโอกาสเป็นโรคติดเชื้อและโรคภูมิแพ้ง่ายกว่า รวมถึงอาจมีการพัฒนาสมองแตกต่างจากเด็กที่คลอดธรรมชาติ

 

นมแม่ ” จึงเป็นโภชนาการที่ดีที่สุดสำหรับเด็กผ่าคลอด ด้วยสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด ทั้งโปรตีน ดีเอชเอ แคลเซียม วิตามิน และแร่ธาตุแล้ว ยังมีโพรไบโอติกส์ (Probiotic) อย่างบีแล็กทิส (B. lactis) และ 2′-FL ที่เป็นพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) ซึ่งเป็นโอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่ (HMOs) ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ และลดความรุนแรงของการเกิดอาการท้องเสียในเด็กได้ และมีสฟิงโกไมอีลิน (Sphingomyelin) หนึ่งในไขมันที่พบได้ในนมแม่ที่ช่วยสร้างปลอกไมอีลินขึ้นมา เมื่อลูกน้อยกินนมแม่จึงทำให้มีปริมาณไมอีลินที่เพิ่มขึ้น เด็กจึงมีพัฒนาการสมองที่ดี เกิดการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์ประสาทที่มีประสิทธิภาพ เด็กผ่าคลอดจึงเกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็วพร้อมกับมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

อ้างอิง:

  1. 10 Benefits Of Normal Delivery, medicover hospitals
  2. Supporting your newborn's health: Intestinal colonization after elective cesarean section, Harvard Medical School
  3. Breastfeeding and the Microbiome Mother's milk provides health benefits that last a lifetime, The Moore Institute School of Medicine
  4. Benefits for mother and unborn child by choosing Normal delivery, pranaam hospitals
  5. Microbiome: The first 1,000 days, Harvard Medical School
  6. น้ำนมแม่ ภูมิต้านทานที่ดี ช่วยลดโอกาสเจ็บป่วยให้กับลูก, โรงพยาบาลบางปะกอก
  7. Bifidobacterium Animalis Subsp. Lactis - Uses, Side Effects, and More, webmd
  8. Role of Bifidobacteria on Infant Health, pubmed
  9. ผ่าคลอด... ลูกเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้ !, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  10. Grönlund MM, et al. Clin Exp Allergy. 2007 Dec;37(12):1764-72.
  11. Sprenger N, et al. Eur J Nutr. 2017 Apr;56(3):1293-1301
  12. Gueimonde M, et al. Neonatology 2007;92:64–66

อ้างอิง ณ วันที่ 23 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

ลูกไม่กินนม กินนมน้อย ปัญหาลูกไม่ยอมกินนมที่คุณแม่แก้ไขได้

ลูกไม่กินนม กินนมน้อย ปัญหาลูกไม่ยอมกินนมที่คุณแม่แก้ไขได้

ลูกไม่กินนม ลูกกินนมน้อย คุณแม่มือใหม่แก้ปัญหาลูกไม่ยอมกินนมยังไงดี ไปดูสาเหตุที่ลูกไม่ยอมกินนมแม่ พร้อมวิธีที่จะช่วยให้ลูกกินนมคุณแม่ได้มากขึ้น

น้ำนมแม่เสริมภูมิต้านทาน พร้อมข้อดีและประโยชน์ของนมแม่สู่ลูกน้อย

น้ำนมแม่เสริมภูมิต้านทาน พร้อมประโยชน์ของนมแม่สู่ลูกน้อย

น้ำนมแม่ดีกับลูกน้อยอย่างไร ประโยชน์ของนมแม่มีอะไรบ้าง ทำไมคุณแม่ถึงควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้นานที่สุดในช่วง 6 เดือนแรก ไปดูประโยชน์ของนมแม่กัน

วิธีปลุกลูกกินนม คุณแม่ควรปลุกลูกกินนมแม่เวลาไหนบ้าง

วิธีปลุกลูกกินนม คุณแม่ควรปลุกลูกกินนมแม่เวลาไหนบ้าง

รวมวิธีปลุกลูกกินนม คุณแม่มือใหม่ปลุกลูกกินนมดีมั้ย ช่วงเวลาไหนบ้างที่ควรปลุกลูกกินนมหลังคลอด ให้ลูกไม่ร้องไห้งอแง พร้อมคำแนะนำสำหรับคุณแม่เมื่อต้องปลุกลูกกินนม

คุณแม่มือใหม่ต้องรู้ ผัก 5 ชนิด สร้างน้ำนม

คุณแม่มือใหม่ต้องรู้ ผัก 5 ชนิด สร้างน้ำนม

การปฏิบัติตามวิธีการเตรียมนมและเทคนิคการจัดเก็บนมแม่อย่างปลอดภัยนั้น จะช่วยให้คุณแม่ให้นมบุตรและพี่เลี้ยงเด็กสามารถรักษาคุณภาพของนมแม่ที่ปั๊มออกมาเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงของลูกน้อยค่ะ

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก