อาหารแม่หลังคลอดห้ามกิน อาหารหลังคลอดคุณแม่กินอะไรได้บ้าง

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง อาหารคุณแม่หลังผ่าคลอด

หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง อาหารคุณแม่หลังผ่าคลอด

คุณแม่ตั้งครรภ์
บทความ
ก.ค. 10, 2023

อาหารมีความสำคัญต่อคุณแม่หลังผ่าคลอดอย่างมาก คุณแม่หลายคนอาจกำลังสงสัยว่าแม่หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง คนผ่าคลอดห้ามกินอะไรบ้าง โดยคุณแม่หลังผ่าคลอดควรกินอาหารที่เหมาะสมให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง แผลผ่าคลอดสมานรวดเร็ว และยังสามารถช่วยเพิ่มน้ำนมให้กับคุณแม่ที่ต้องการให้นมลูกด้วย ดังนั้น แม่ผ่าคลอดควรเลือกทานอาหารที่หลากหลายและครบถ้วนเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของคุณแม่และซ่อมแซมสุขภาพของคุณแม่หลังผ่าคลอดให้สมบูรณ์

 

สรุป

  • คุณแม่หลังผ่าคลอดควรให้ความสำคัญกับอาหารที่ช่วยฟื้นฟูร่างกายได้อย่างรวดเร็ว และยังช่วยเสริมสร้างน้ำนมให้ลูกน้อย เช่น ฟักทอง กุยช่าย หัวปลีและนม เป็นต้น
  • คุณแม่หลังผ่าคลอดควรหลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง อาหารที่ไม่สุก อาหารทอด อาหารรสจัด และหน่อไม้ เพราะอาหารเหล่านี้อาจทำให้แผลผ่าคลอดหายช้าลงได้
  • หลังจากผ่าคลอดคุณแม่อาจต้องเริ่มจากอาหารเหลวก่อน แล้วค่อยทานอาหารที่ย่อยง่าย เพื่อป้องกันอาการท้องอืด และพยายามอย่าให้แผลโดนน้ำเพราะอาจทำให้แผลติดเชื้อและเกิดการอักเสบขึ้นได้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

อาหารแม่หลังคลอดห้ามกิน คุณแม่หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง

 

คุณแม่หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง

คุณแม่หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง คนผ่าคลอดห้ามกินอะไรบ้าง หนึ่งในหัวใจสำคัญของการดูแลตัวเองของคุณแม่ผ่าคลอด คือ การทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยอาจแบ่งการทานอาหารออกเป็น 3 มื้อหลัก และมีอาหารมื้อว่าง 1-2 มื้อต่อวัน เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เหมาะสม

  1. ผัก และผลไม้หลากสี: คุณแม่หลังผ่าคลอดควรกินผักหลากสีและผลไม้ตามฤดูกาลที่หลากหลาย เพราะจะทำให้คุณแม่ได้รับวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่รวมถึงกากใยที่มีส่วนช่วยในการขับถ่ายได้ดียิ่งขึ้น
  2. มะรุม: เป็นผักที่ให้วิตามินซี วิตามินเอ แคลเซียม และโปรตีนสูง ทั้งยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่ดีสำหรับคุณแม่เพราะมีสรรพคุณในการบำรุงและขับน้ำนม เมนูแม่หลังผ่าคลอดที่แนะนำ เช่น แกงส้มมะรุม ห่อหมกใบมะรุม
  3. ฟักทอง: มีคุณประโยชน์มากมายทั้งช่วยขับน้ำนม เสริมสร้างคอลลาเจน ช่วยให้ท้องลายลดน้อยลง มีวิตามมินเอ วิตามินบี วิตามินซี รวมถึงสารอาหารที่สำคัญสำหรับแม่หลังคลอด ซึ่งเมนูแนะนำสำหรับแม่ผ่าคลอด เช่น แกงบวดฟักทอง ฟักทองนึ่ง ไข่เจียวฟักทอง
  4. กุยช่าย: มีสรรพคุณในการขับน้ำนม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อได้ดี แถมยังอุดมไปด้วยแคลเซียม ธาตุเหล็ก วิตามินซี คาร์โบไฮเดรต และฟอสฟอรัส เมนูที่แนะนำ เช่น กุยช่ายผัดไข่เค็ม ตับผัดกุยช่าย
  5. ตำลึง: เป็นผักที่อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามินบี วิตามินซี และแคลเซียม ที่มีส่วนช่วยในการบำรุงเลือด บำรุงกระดูก บำรุงสายตา และบำรุงน้ำนมของคุณแม่หลังผ่าคลอดได้เป็นอย่างดี เมนูที่อยากแนะนำ เช่น แกงจืดตำลึงหมู ไข่น้ำใบตำลึง
  6. หัวปลี: เป็นผักที่มีแคลเซียมสูง ทั้งยังมีสารอาหารต่าง ๆ เช่น โปรตีน วิตามินซี และ เบต้าแคโรทีน เป็นต้น เมนูยอดนิยมสำหรับคุณแม่หลังผ่าคลอด เช่น ต้มข่าไก่ใส่หัวปลี ยำปลาทูใส่หัวปลี ทอดมันหัวปลี และหัวปลีชุบแป้งทอด
  7. ไข่ และเนื้อสัตว์: เป็นแหล่งของโปรตีนคุณภาพดีที่ช่วยซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ ที่คุณแม่ต้องเสียไปในช่วงของการคลอด คุณแม่หลังผ่าคลอดควรกินเนื้อสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งที่ไม่ติดหนังเป็นประจำ กินไข่วันละ 1 ฟอง เพื่อให้ร่างกายได้รับโปรตีนที่เพียงพอ รวมถึงธาตุเหล็กและวิตามินเอจากไข่ด้วย
  8. ข้าว แป้ง และธัญพืช: คุณแม่ควรได้รับพลังงานที่มากขึ้นจากโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตจากข้าว หรือแป้ง นอกจากนี้ในธัญพืชหรือข้าวซ้อมมือยังอุดมไปด้วยวิตามินบี 1 และกากใยจำนวนมากซึ่งช่วยลดอาการท้องผูกและป้องกันอาการโรคเหน็บชาสำหรับแม่หลังผ่าคลอดได้ดี
  9. น้ำ: คุณแม่หลังคลอดควรดื่มน้ำเปล่าวันละ 8-10 แก้วต่อวันให้เพียงพอกับความต้องการน้ำชดเชยกับปริมาณน้ำนมที่หลั่งออกมา คุณแม่จึงควรกินน้ำให้มากขึ้นเพื่อช่วยในการเรียกน้ำนมโดยเฉพาะคุณแม่ที่ต้องให้นมลูกน้อย
  10. นม: เป็นแหล่งแคลเซียมชั้นดีและมีโปรตีนสูง หากคุณแม่ผ่าคลอดไม่สามารถดื่มนมวัวได้ แนะนำให้ดื่มนมถั่วเหลืองสูตรเสริมแคลเซียมแทนและควรกินอาหารจำพวกไข่ เนื้อสัตว์ หรือถั่วเมล็ดแห้งให้มากขึ้น

 

อาหารแม่หลังคลอดห้ามกิน

 

นอกจากนี้ คุณแม่ผ่าคลอดที่ต้องการกินอาหารเพิ่มน้ำนม แนะนำให้ทานผักจำพวกผักโขม ขิง กระเทียม พริกไทย ใบกระเพรา ใบแมงลัก ขิง และใบมะรุมในมื้ออาหาร นอกจากนี้อาหารจำพวกผัก คุณแม่ยังสามารถเลือกทานเมนูอาหารคนท้อง ช่วยบำรุงคุณแม่ให้แข็งแรง พร้อมทั้งยังสามารถกินผลไม้เสริมในแต่ละมื้อ เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้กับมื้ออาหารของคุณแม่หลังผ่าคลอด

 

อาหารที่คุณแม่หลังผ่าคลอดห้ามกิน

หลังจากผ่าคลอดคุณแม่หลังคลอดควรใส่ใจเรื่องของอาหารการกิน เพราะอาหารบางชนิดอาจจะไปกระตุ้นให้เกิดเลือดไหลออกเยอะขึ้น ทำให้แผลผ่าคลอดของคุณแม่หายช้าลงได้ คุณแม่หลังผ่าคลอดกินอะไรได้บ้าง และห้ามกินอะไร ไปดูอาหารที่คุณแม่หลังผ่าคลอดควรหลีกเลี่ยง ได้แก่

  1. อาหารหมักดอง: อาหารหมักดองส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ไม่สดใหม่ และไม่ค่อยสะอาด ทำให้คุณแม่ผ่าคลอดมีโอกาสได้รับสารพิษจากแบคทีเรียที่ส่งผลให้แผลผ่าคลอดหายช้าขึ้นได้ 
  2. อาหารรสจัด: อาหารทอดมักจะเป็นอาหารที่มีรสเค็มจัดหรือหวานจัด ซึ่งอาหารเหล่านี้มักมีโซเดียมและน้ำตาลสูงที่ส่งผลต่อเลือด เลือดจึงมีความหนืดและข้นกว่าปกติทำให้เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงแผลได้สะดวก จนเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้แผลผ่าคลอดหายช้า 
  3. อาหารทอด: ของทอดมักจะมีความมันและมีไขมันสูงทำให้เกิดการอุดตันในเส้นเลือดได้ เมื่อเลือดไหลเวียนไม่สะดวกและสารต้านอนุมูลอิสระถูกทำลายจะทำให้แผลผ่าคลอดของคุณแม่หายช้าได้
  4. ไม่กินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ: คุณแม่ควรงดทานอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบเพราะอาจทำให้ได้รับเชื้อโรค เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่ผ่าคลอดจึงควรทานอาหารปรุงสุกเสมอ
  5. หลีกเลี่ยงหน่อไม้ดอง และหน่อไม้สุก: คุณแม่หลังผ่าคลอดควรหลีกเลี่ยงการกินหน่อไม้ทั้งแบบดองและแบบสด เพราะอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณแม่ได้ ถ้าคุณแม่ต้องการกินหน่อไม้ แนะนำให้เลือกหน่อไม้ที่สะอาด ปลอดภัย และกินในปริมาณที่เหมาะสมเท่านั้น หากเป็นไปได้ควรแม่ควรงดหน่อไม้จะดีที่สุด

 

10 ข้อห้ามหลังผ่าคลอด ที่คุณแม่ผ่าคลอดต้องรู้

ข้อห้ามหลังผ่าคลอด คุณแม่หลังผ่าคลอดควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำหลังผ่าคลอด ดังนี้ 

  1. ควรงดน้ำหลังผ่าคลอด: ช่วงแรกหลังจากผ่าคลอดคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารและน้ำ จากนั้นค่อย ๆ เริ่มจิบน้ำ หรืออาหารเหลวและอาหารที่ย่อยง่าย เพื่อป้องกันอาการท้องอืดของคุณแม่หลังผ่าคลอด
  2. ไม่ให้แผลเปียกน้ำ: ใน 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าคลอด คุณแม่ต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษและควรดูแลแผลให้แห้งอยู่เสมอจนกว่าแผลจะสมานเข้าด้วยกัน ไม่ควรให้แผลโดนน้ำ หากแผลโดนน้ำให้ใช้ผ้าสะอาดซับน้ำอย่างเบามือ 
  3. ไม่ควรแช่น้ำในอ่างหรือคลอง: คุณแม่ผ่าคลอดควรให้ความสำคัญกับรักษาความสะอาดของแผลเพื่อหลีกเลี่ยงแผลติดเชื้อที่อาจทำให้แผลผ่าคลอดเป็นหนอง แผลไม่ติด และแผลผ่าคลอดหายช้าได้
  4. ห้ามอาบน้ำจนกว่าแผลจะแห้งดี: คุณแม่ผ่าคลอดที่ต้องการทำความสะอาดร่างกายควรใช้วิธีเช็ดตัวเพื่อป้องกันไม่ให้แผลโดนน้ำ หากต้องการอาบน้ำต้องรอจนกว่าจะตัดไหมหรือแผลผ่าคลอดแห้งสนิทแล้ว หากคุณหมอใช้แผ่นปิดแผลกันน้ำคุณแม่สามารถอาบน้ำได้ แต่ควรระวังไม่ให้น้ำซึมเข้าแผล
  5. ไม่ควรทำแผลผ่าคลอดเอง: หากแผลผ่าคลอดของคุณแม่มีเลือดไหลซึมชุ่มทั้งแผ่นปิดแผล หรือมีน้ำเข้าแผล แนะนำให้คุณแม่มาทำแผลก่อนวัดนัดเพื่อป้องกันแผลติดเชื้อซึ่งอาจทำให้แผลผ่าคลอดหายช้าได้
  6. ไม่แกะ หรือเกาแผลผ่าคลอด: หากคุณแม่รู้สึกคันบริเวณแผลผ่าคลอดพยายามอย่าแกะหรือเกาแผลผ่าคลอด เพื่อป้องกันไม่ให้แผลอักเสบ และแผ่นแปะแผลหลุดออก 
  7. ไม่ควรยกของหนัก: เพื่อป้องกันไม่ให้แผลผ่าคลอดปริหรือแตก คุณแม่หลังผ่าคลอดควรหลีกเลี่ยงการยกของหนักหรือทำกิจกรรมที่ใช้แรงมากหรือเกร็งหน้าท้อง โดยเฉพาะในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังผ่าคลอด เพื่อให้แผลหายได้อย่างรวดเร็วและป้องกันแผลอักเสบได้   
  8. ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน: เช่น ยาดอง เหล้า ชา กาแฟ และเครื่องดื่มชูกำลัง
  9. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์: คุณแม่ที่ผ่าคลอดควรงดมีเพศสัมพันธ์จนกว่าแผลทั้งด้านในและด้านนอกแห้งสนิท น้ำคาวปลาหมด และมดลูกเริ่มเข้าอู่แล้ว ซึ่งอาจใช้เวลาถึงประมาณ 6 สัปดาห์กว่าแผลจะหายสนิท 
  10. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่เป็นสมุนไพร: หากคุณแม่ต้องการทานยาหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของสมุนไพรบางชนิด ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนทุกครั้ง เพราะสมุนไพรบางชนิด เช่น ไพล อาจทำให้คุณแม่หลังคลอดเกิดการตกเลือดได้

 

ในกรณีที่แผลผ่าคลอดมีเลือดออก มีน้ำเหลืองหรือน้ำหนองซึม ๆ ขอบแผลบวมแดง กดแล้วเจ็บ รู้สึกปวดแผลอยู่บ่อย ๆ รวมถึงเป็นไข้ ตัวร้อน คุณแม่สามารถศึกษาวิธีดูแลแผลหลังผ่าคลอดได้ด้วยตัวเอง หากอาการยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้คุณแม่ไปพบแพทย์ และควรไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งเพื่อให้คุณหมอได้ติดตามดูแผลหลังผ่าคลอดเพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่หลังผ่าคลอด

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด

 

 

อ้างอิง

  1. การดูแลหลังผ่าคลอด แบบผ่าตัดทางหน้าท้อง, โรงพยาบาลสมิติเวช
  2. อาหารสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร, โรงพยาบาลนนทเวช
  3. คู่มือมารดาหลังคลอดหรือการดูแลทารก, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

อ้างอิง ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 6 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นกับแม่บ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 6 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นกับแม่บ้าง

อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 6 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นกับแม่บ้าง

อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 6 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกในครรภ์ตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 14 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 14 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 14 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 14 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 14 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 14 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อายุครรภ์ 21 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 21 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 21 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 21 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 21 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 21 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 21 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 21 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 21 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 29 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 29 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 29 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 29 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 37 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
บทความ
อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 37 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 37 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 37 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 37 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

View details อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 2 โภชนาการสำหรับแม่ท้อง
บทความ
อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 2 โภชนาการสำหรับแม่ท้อง

อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 2 โภชนาการสำหรับแม่ท้อง

อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 2 คุณแม่ตั้งครรภ์ควรกินอะไรให้ลูกแข็งแรงและมีโภชนาการที่ดี อาหารบํารุงครรภ์ไตรมาส 2 มีเมนูไหนเหมาะกับคุณแม่ท้องบ้าง ไปดูกัน

 

View details ฤกษ์ผ่าคลอด ฤกษ์คลอด 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก
บทความ
ฤกษ์ผ่าคลอด ฤกษ์คลอด 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก

ฤกษ์ผ่าคลอด ฤกษ์คลอด 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก

View details ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนมีนาคม 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก
บทความ
ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนมีนาคม 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนมีนาคม 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนมีนาคม 2568 วันมงคล วันดี สำหรับคุณแม่ใกล้คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนมีนาคม 2568 มีวันไหนมงคล เวลาดี เหมาะสำหรับคุณแม่ใกล้คลอดบ้าง ไปดูกัน

9นาที อ่าน

View details ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนพฤศจิกายน 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก
บทความ
ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนพฤศจิกายน 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนพฤศจิกายน 2568 วันมงคล เวลาดี สำหรับลูกรัก

ฤกษ์คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนพฤศจิกายน 2568 วันมงคล วันดี สำหรับคุณแม่ใกล้คลอด ฤกษ์ผ่าคลอด เดือนพฤศจิกายน 2568 มีวันไหนมงคล เวลาดี เหมาะสำหรับคุณแม่ใกล้คลอดบ้าง ไปดูกัน

8นาที อ่าน

View details คุณแม่ท้อง 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ
บทความ
คุณแม่ท้อง 1 เดือน อาการตั้งครรภ์ 1 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน เป็นแบบไหน พร้อมวิธีรับมือ

คุณแม่ท้อง 1 เดือน อายุครรภ์ 1 เดือน มีอาการแบบไหน ลูกอยู่ตรงไหน มีพัฒนาการอย่างไร เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ 1 เดือน พร้อมวิธีรับมือและวิธีดูแลทารกในครรภ์

9นาที อ่าน

View details อาการคนท้องไม่รู้ตัว สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีตรวจครรภ์
บทความ
อาการคนท้องไม่รู้ตัว สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีตรวจครรภ์

อาการคนท้องไม่รู้ตัว สังเกตได้อย่างไร พร้อมวิธีตรวจครรภ์

อาการท้องไม่รู้ตัวของคุณแม่ท้องแรก เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ อาการท้องไม่รู้ตัว สังเกตได้อย่างไร จะรู้ได้ยังไงว่าท้องแล้ว

5นาที อ่าน

View details ตั้งครรภ์มีเลือดออกไม่ปวดท้อง เสี่ยงภาวะแท้งคุกคามไหม
บทความ
ตั้งครรภ์มีเลือดออกไม่ปวดท้อง เสี่ยงภาวะแท้งคุกคามไหม

ตั้งครรภ์มีเลือดออกไม่ปวดท้อง เสี่ยงภาวะแท้งคุกคามไหม

คุณแม่ตั้งครรภ์มีเลือดออกไม่ปวดท้อง มีมูกเลือดออกทางช่องคลอดแต่ไม่ปวดท้อง เกิดจากสาเหตุอะไร มีเลือดออกสีน้ำตาลและสีแดงสด อันตรายกับแม่แค่ไหน

5นาที อ่าน

View details อาหารบํารุงมดลูกก่อนตั้งครรภ์ ช่วยบำรุงว่าที่คุณแม่ให้มีลูกง่ายขึ้น
บทความ
อาหารบํารุงมดลูกก่อนตั้งครรภ์ ช่วยบำรุงว่าที่คุณแม่ให้มีลูกง่ายขึ้น

อาหารบํารุงมดลูกก่อนตั้งครรภ์ ช่วยบำรุงว่าที่คุณแม่ให้มีลูกง่ายขึ้น

อาหารบํารุงมดลูกก่อนตั้งครรภ์ ช่วยบำรุงว่าที่คุณแม่ให้มดลูกแข็งแรง เพิ่มโอกาสการมีลูกให้ง่ายมากขึ้น อาหารบํารุงมดลูกก่อนตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง ไปดูกัน

9นาที อ่าน

View details คลอดก่อนกำหนด ภาวะที่คุณแม่มือใหม่ไม่ควรมองข้าม
บทความ
คลอดก่อนกำหนด ภาวะที่คุณแม่มือใหม่ไม่ควรมองข้าม

คลอดก่อนกำหนด ภาวะที่คุณแม่มือใหม่ไม่ควรมองข้าม

ทำความเข้าใจ ทารกคลอดก่อนกำหนด เกิดจากอะไร สัญญาณเตือนทารกคลอดก่อนกำหนดที่แม่ใกล้คลอดควรรู้มีอะไรบ้าง พร้อมวิธีดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด

8นาที อ่าน

View details คนท้องฉี่สีอะไร สีปัสสาวะคนท้องบอกอะไรคุณแม่ได้บ้าง
บทความ
คนท้องฉี่สีอะไร สีปัสสาวะคนท้องบอกอะไรคุณแม่ได้บ้าง

คนท้องฉี่สีอะไร สีปัสสาวะคนท้องบอกอะไรคุณแม่ได้บ้าง

อาการคนท้องฉี่สีอะไร ต่างจากคนที่ไม่ได้ท้องไหม สีปัสสาวะคนท้องแต่ละสีบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพของอย่างไร มีวิธีสังเกตสีปัสสาวะคนท้องยังไงบ้าง ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details คลอดธรรมชาติ ปลอดภัยไหม คลอดลูกแบบธรรมชาติ มีขั้นตอนยังไง
บทความ
คลอดธรรมชาติ ปลอดภัยไหม คลอดลูกแบบธรรมชาติ มีขั้นตอนยังไง

คลอดธรรมชาติ ปลอดภัยไหม คลอดลูกแบบธรรมชาติ มีขั้นตอนยังไง

คลอดลูกธรรมชาติ มีขั้นตอนอย่างไร คุณแม่มือใหม่ควรคลอดแบบธรรมชาติหรือผ่าคลอดดีกว่า แบบไหนเหมาะกับคุณแม่ที่สุด พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังแม่คลอด

7นาที อ่าน

View details ตรวจครรภ์ตอนไหนชัวร์สุด เช้าหรือเย็น ให้ผลแม่นยำกว่ากัน
บทความ
ตรวจครรภ์ตอนไหนชัวร์สุด เช้าหรือเย็น ให้ผลแม่นยำกว่ากัน

ตรวจครรภ์ตอนไหนชัวร์สุด เช้าหรือเย็น ให้ผลแม่นยำกว่ากัน

ตรวจครรภ์ตอนไหนชัวร์สุด เลือกตรวจตอนเช้าหรือตอนเย็นดี ควรตรวจซ้ำกี่ครั้งถึงจะมั่นใจว่าตั้งครรภ์แล้ว พร้อมวิธีสังเกตตัวเองว่ากำลังตั้งครรภ์อยู่หรือเปล่า

10นาที อ่าน

View details อาการเจ็บท้องคลอดของคุณแม่ แบบไหนเจ็บจริงหรือเจ็บหลอก
บทความ
อาการเจ็บท้องคลอดของคุณแม่ แบบไหนเจ็บจริงหรือเจ็บหลอก

อาการเจ็บท้องคลอดของคุณแม่ แบบไหนเจ็บจริงหรือเจ็บหลอก

เจ็บท้องเตือนกี่วันคลอด คุณแม่เจ็บท้องคลอดแบบไหนควรไปหาหมอ อาการเจ็บท้องเตือนอันตรายไหม คุณแม่เจ็บท้องคลอดแบบไหนที่ควรรีบไปโรงพยาบาล

7นาที อ่าน

View details BPD คืออะไร ทำไมคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรรู้
บทความ
BPD คืออะไร ทำไมคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรรู้

BPD คืออะไร ทำไมคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรรู้

BPD คือ การวัดขนาดกะโหลกศีรษะของทารกในครรภ์ ช่วยให้แพทย์ประเมินพัฒนาการของทารกได้ BPD คืออะไร ทำไมคุณแม่ควรศึกษาก่อนไปอัลตราซาวด์ท้อง ไปดูกัน

7นาที อ่าน