พรีไบโอติกส์ สำหรับเด็ก สารอาหารสำคัญ ดีต่อสุขภาพลูกน้อย

พรีไบโอติกสำหรับเด็ก สารอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ดีต่อสุขภาพลูกน้อย

23.04.2024

พรีไบโอติก เป็นส่วนประกอบในอาหารที่ร่างกายไม่ได้ย่อยและดูดซึมในลำไส้เล็ก แต่ถูกย่อยโดยจุลินทรีย์มีประโยชน์ หรือ โพรไบโอติก (Probiotics) ในลำไส้ใหญ่ ทำให้จุลินทรีย์มีประโยชน์ในร่างกายเจริญเติบโตได้ดี และช่วยเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย โดยส่วนมากจะเป็นสารในกลุ่มไฟเบอร์บางชนิด ที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมได้ หรือเป็นส่วนประกอบในอาหารบางชนิดพรีไบโอติกที่มีมากเพียงพอมีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตและทำงานของจุลินทรีย์มีประโยชน์ในร่างกาย ส่งผลให้การทำงานของร่างกายดีขึ้น รวมไปถึงการส่งเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย หรือปรับสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายอีกด้วย

headphones

PLAYING: พรีไบโอติกสำหรับเด็ก สารอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ดีต่อสุขภาพลูกน้อย

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • พรีไบโอติก เป็นส่วนประกอบในอาหารบางชนิดที่สามารถผ่านกระบวนการย่อยโดยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่
  • ประโยชน์ของ พรีไบโอติก ต่อร่างกายมีมากมายโดยนอกจากจะมีผลต่อสุขภาพของคนทั่วไปแล้ว สำหรับในเด็กเล็ก หรือทารกแรกเกิดเอง พรีไบโอติก เช่น 2’-FL (2’- ฟูโคซิลแลคโตส, 2’-Fucosyllactose) ที่มีมากในนมแม่ มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และทำให้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในลำไส้ใหญ่เจริญเติบโตได้ดี และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อในลำไส้ได้
  • อาหารที่มีพรีไบโอติกสูง เช่น ถั่ว มะเขือเทศ ต้นหอมและหัวหอม กระเทียม ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี และแน่นอน นมแม่ก็มีมากเช่นกัน

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

พรีไบโอติก (Prebiotics) คืออะไร

พรีไบโอติก เป็นส่วนประกอบของอาหารที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถย่อยหรือดูดซึมได้เอง ส่วนใหญ่แล้วเป็นสารประเภทไฟเบอร์หลายชนิด ซึ่งเป็นส่วนประกอบในอาหารที่สำคัญที่ช่วยให้จุลินทรีย์มีประโยชน์ (โพรไบโอติก) ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ของคนเราเจริญเติบโตได้ดี ถึงร่างกายของเราจะไม่สามารถย่อยและดูดซึมพรีไบโอติกได้ แต่สำหรับจุลินทรีย์มีประโยชน์ในร่างกายแล้ว นี่คืออาหารที่จะทำให้พวกมันเจริญเติบโตทำให้จุลินทรีย์ก่อโรคไม่สามารถเติบโตแข่งได้ดี ร่างกายของเราจึงมีสมดุลจุลินทรีย์ที่ดีและแข็งแรงตามไปด้วย

 

ความแตกต่างของ พรีไบโอติก และ โพรไบโอติก

พรีไบโอติก จากที่กล่าวมาข้างต้นและเป็นส่วนประกอบในอาหาร แต่โพรไบโอติกคือเหล่าจุลินทรีย์ที่เจริญเติบโตอยู่ภายในลำไส้ใหญ่และทางเดินอาหารในร่างกายของเรา ซึ่งถือว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ให้คุณต่อร่างกายของเรา โดยหากร่างกายของเรามีโพรไบโอติกมากกว่าจุลินทรีย์ก่อโรค ก็จะมีส่วนช่วยทำให้เราเจ็บป่วยด้วยการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารได้ยากขึ้น อีกทั้งโพรไบโอติกบางชนิด สามารถกระตุ้นระบบย่อยอาหารให้ทำงานได้ดีขึ้นได้อีกด้วย

 

ความสำคัญของ พรีไบโอติก สำหรับลูกน้อย

สำหรับในกลุ่มเด็กเล็กหรือทารกแรกคลอด พรีไบโอติกเองก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าส่วนประกอบในอาหารอื่น ๆ เนื่องด้วยในเด็กเล็กนั้น แม้จะได้รับโพรไบโอติกจากนมแม่อยู่แล้ว แต่เด็กแรกเกิดไม่สามารถรับประทานอาหารที่มีพรีไบโอติกจำนวนมาก เช่น ถั่ว ผักชนิดต่าง ๆ โดยเด็กแรกเกิดควรกินนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน โดยในนมแม่นั้นมี พรีไบโอติกตามธรรมชาติ ที่เรียกว่า HMOs (Human Milk Oligosaccharides) และหนึ่งในสารกลุ่มนี้คือ 2’- FL หรือ 2’- ฟูโคซิลแลคโตส ซึ่งพบว่าสามารถเป็นอาหารให้กับโพรไบโอติกตามธรรมชาติในร่างกายของเด็กทารก ทำให้เด็กทารกมีสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกายดีขึ้น ลดความเสี่ยงการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารในวัยแรกเกิดได้อีกด้วย

 

พรีไบโอติกในนมแม่

จากหัวข้อข้างต้นได้อธิบายไว้คร่าว ๆ แล้วว่า ในน้ำนมแม่โดยเฉพาะในช่วงแรกคลอดนั้น นอกจากจะมีสารอาหารจำเป็นที่ร่างกายลูกน้อยต้องการอย่างเพียงพอ ยังมีภูมิคุ้มกันแรกเกิด และ HMOs บางชนิดที่เป็นพรีไบโอติก ตามธรรมชาติที่ถูกสร้างให้เจ้าตัวน้อยอีกด้วย เพื่อชดเชยในช่วงที่ทารกยังไม่สามารถทานอาหารอื่น ๆ นอกจากนมแม่ รวมถึงผักผลไม้ที่อุดมไปด้วยพรีไบโอติก เด็กทารกก็จะได้รับสารอาหารเหล่านี้ผ่านทางนมแม่แทน

 

นมแม่ นอกจากมีพรีไบโอติกแล้ว ยังช่วยพัฒนาสมองทารก

นมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น วิตามิน แคลเซียม และ สฟิงโกไมอีลิน รวมทั้ง 2'-FL ซึ่งจากการศึกษาทางการแพทย์ พบว่า ทารกได้รับนมแม่ที่มี 2'-FL ในช่วงหนึ่งเดือนแรก สัมพันธ์กับสติปัญญาที่ดีกว่าเมื่อเด็กอายุได้ 2 ปี
2' -FL จึงมีผลต่อการพัฒนาสติปัญญาและการเรียนรู้ที่ดีของเด็กเล็ก นอกเหนือจากการพัฒนาสมองแล้ว 2'-FL ยังช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้เด็กแข็งแรงอีกด้วย นอกจากนั้น สฟิงโกไมอีลิน ยังเป็นสารอาหารอีกตัวหนึ่งที่พบได้ในนมแม่ และมีส่วนช่วยในการพัฒนาสมองในเด็กเล็ก เพราะสารนี้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการสร้างโครงสร้างของเซลล์ประสาท ซึ่งในวัยแรกเกิดนั้นร่างกายมีการพัฒนาเครือข่ายเส้นประสาทจำนวนมาก ส่งผลถึงการพัฒนาของสมองอีกด้วย

 

พรีไบโอติกส์ มีอยู่ในอาหารแบบไหนบ้าง

 

พรีไบโอติก มีอยู่ในอาหารแบบไหนบ้าง

พรีไบโอติก เป็นอาหารสำคัญสำหรับจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้ พบมากในอาหารประเภทผัก ธัญพืช อาทิ

  • ข้าวโอ๊ต, ข้าวสาลี, ข้าวบาร์เลย์
  • ถั่ว
  • กล้วย
  • หัวหอมและต้นหอม
  • มะเขือเทศ
  • น้ำผึ้ง
  • นมวัว
  • กระเทียม

 

หากจะกล่าวง่าย ๆ พรีไบโอติก คือ อาหารของโพรไบโอติก ซึ่งถ้าร่างกายได้รับอย่างเพียงพอ จะช่วยให้จุลินทรีย์สุขภาพในร่างกายทำงานได้ดียิ่งขึ้น เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน การกินนมแม่จึงสำคัญ เพราะเด็กทารก จะได้รับ พรีไบโอติก ในกลุ่ม HMOs เช่น 2’-FL รวมถึงสารอาหารสำคัญอื่น ๆ จากนมแม่ ช่วยให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารครบถ้วน เพื่อพัฒนาการที่ดี พร้อมต่อยอดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องสำหรับอนาคต

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

อ้างอิง:

  1. You’ve Heard of Probiotics — But What Are Prebiotics? All You Need to Know, healthline
  2. โพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ ต่างกันอย่างไร?, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  3. Foods High in Prebiotics, WebMD
  4. 2’-FL คืออะไร? รู้จัก 2’-FL โอลิโกแซคคาไรด์ในนมแม่ (HMOs), S-mom club
  5. โพรไบโอติกส์ (Probiotics) และพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) คืออะไร และต่างกันยังไงนะ, โรงพยาบาลกรุงเทพสิริโรจน์

อ้างอิง ณ วันที่ 25 มกราคม 2567 
 

บทความแนะนำ

เด็กคว่ำกี่เดือน เด็กนอนคว่ำได้ตอนไหน พร้อมวิธีฝึกเด็กนอนคว่ำ

เด็กคว่ำกี่เดือน เด็กนอนคว่ำได้ตอนไหน พร้อมวิธีฝึกเด็กนอนคว่ำ

เด็กคว่ำกี่เดือน เด็กนอนคว่ำได้ตอนไหน ลูกนอนคว่ำช้าจะเป็นอะไรหรือเปล่า ส่งผลกับพัฒนาการลูกอย่างไรบ้าง พร้อมวิธีฝึกเด็กนอนคว่ำที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

คันแผลผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าคลอด

คันแผลผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าคลอด

คันแผลผ่าคลอดทำยังไงดี คุณแม่มีอาการคันแผลผ่าคลอดหลังคลอดลูก มีวิธีบรรเทาอาการคันหลังคลอดยังไงบ้าง พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าคลอดที่แม่ควรรู้

ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย แผลผ่าคลอดไหมละลายตอนไหน

ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย แผลผ่าคลอดไหมละลายตอนไหน

ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย ใช้เวลานานแค่ไหนกว่าแผลผ่าคลอดไหมจะละลาย ข้อดีของไหมละลายมีอะไรบ้าง คุณแม่ผ่าคลอดต้องกลับมาตัดไหมด้วยหรือเปล่า ไปดูกัน

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าตัดขับรถได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าตัดขับรถได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าคลอดเริ่มขับรถได้เลยไหม ถ้าเริ่มขับทันทีหลังคลอด จะอันตรายกับคุณแม่ผ่าคลอดแค่ไหน หากคุณแม่ต้องขับรถ ไปดูกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก