ลูกในท้องสะอึกบอกอะไร ต่างจากลูกดิ้นไหม พร้อมวิธีหยุดทารกในครรภ์สะอึก

ลูกในท้องสะอึกอันตรายไหม ลูกในท้องกระตุกเป็นจังหวะ บอกอะไร

17.02.2024

คุณแม่ตั้งครรภ์มีความรู้สึกว่าลูกในท้องกระตุก และเกิดความกังวลว่าจะเป็นอันตรายอะไรหรือไม่กับลูกน้อย สำหรับการกระตุกของทารกในครรภ์ที่คุณแม่รู้สึกได้นั้นความจริงแล้วคือ ลูกในท้องสะอึก (hiccups) ซึ่งจะมีการกระตุกเป็นจังหวะ แต่เพราะเหตุใดทารกในครรภ์จึงมีอาการสะอึกเกิดขึ้น ไปหาคำตอบพร้อมกันค่ะ

headphones

PLAYING: ลูกในท้องสะอึกอันตรายไหม ลูกในท้องกระตุกเป็นจังหวะ บอกอะไร

อ่าน 4 นาที

 

สรุป

  • อาการสะอึกของทารกในครรภ์ จะเริ่มขึ้นในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 16-20 สัปดาห์เป็นต้นไป ลูกในท้องสะอึกไม่เป็นอันตรายทั้งกับคุณแม่และลูกในท้อง
  • อาการสะอึกของทารกในครรภ์ จะเป็นจังหวะสม่ำเสมอเหมือนกับการสะอึกของคุณแม่ และบ่งบอกถึงทารกในครรภ์มีพัฒนาการที่ดี
  • การที่ทารกในครรภ์สะอึกเป็นเรื่องปกติมาก ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนตัวของกะบังลมทารก คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ก็รู้สึกได้
  • ลูกน้อยอาจเริ่มสะอึกได้ตั้งแต่ช่วงเดือนที่สามหรือสี่ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ และอาการดังกล่าวยังสามารถสังเกตพบได้จากการตรวจอัลตราซาวด์

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

สาเหตุที่ลูกในท้องสะอึก

ในระหว่างอายุ 16 สัปดาห์ ถึง 20 สัปดาห์ คุณแม่สามารถรู้สึกได้ถึงการกระตุกที่เป็นจังหวะสม่ำเสมอของลูกในท้อง สำหรับการกระตุกที่เกิดขึ้นคืออาการสะอึก การที่ลูกในท้องสะอึกมีสาเหตุมาจากการที่ปอดกำลังพัฒนาและมีของเหลวไหลเข้า ไหลออก จนทำให้เกิดการหดตัวอย่างฉับพลันขึ้นของกล้ามเนื้อกะบังลม

  • ระบบทางเดินหายใจ: การสะอึกของทารกในครรภ์มาจากการที่กำลังฝึกการหายใจเข้า หายใจออก ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีที่บอกถึงว่ากะบังลมของทารกมีการพัฒนาการขึ้นอย่างดีและจะสมบูรณ์มากขึ้นไปจนกว่าทารกจะคลอด
  • ระบบประสาท: การสะอึกของทารกในครรภ์มาจากระบบเส้นประสาทที่ควบคุมกะบังลมกำลังพัฒนาขึ้นอย่างดี รวมถึงสมองและไขสันหลังของทารกยังสามารถทำงานได้อย่างปกติ
  • การตอบสนองของทารก: การหายใจ การดูดนิ้วหัวแม่มือ และการหาว จะส่งผลให้ทารกในครรภ์มีอาการสะอึกออกมา

 

ลูกในท้องสะอึก จะทำให้คุณแม่รู้สึกอย่างไร

การดิ้นของลูกในท้อง

เมื่ออายุครรภ์เริ่มเข้า 16-20 สัปดาห์ คุณแม่จะรู้สึกได้ถึงการเคลื่อนไหวของลูกในท้อง ที่บางครั้งจะเหมือนกับว่าลูกกำลังกระทุ้ง เตะ ต่อย และขยับเคลื่อนไหวพลิกหมุนกลิ้งตัวไปรอบ ๆ ภายในท้องของคุณแม่ ซึ่งการเคลื่อนไหวทั้งหมดนี้เป็นการดิ้นของลูกในท้อง ลูกจะเพิ่มระดับการดิ้นแรงขึ้นจนทำให้คุณแม่รู้สึกจุกและเจ็บได้ในบางครั้ง ลูกจะดิ้นแรงไปจนถึงอายุครรภ์ได้ 32 สัปดาห์ จากนั้นระดับการดิ้นของลูกจะอยู่ในระดับปกติ

 

การสะอึกของลูกในท้อง

ลักษณะการสะอึกของลูกในท้องจะไม่เหมือนกับเวลาลูกดิ้น การดิ้นจะมีจังหวะที่ไม่สม่ำเสมอ ขณะที่ลูกสะอึกคุณแม่จะรู้สึกได้ถึงการกระตุกภายในครรภ์ที่เป็นจังหวะสม่ำเสมอ ซึ่งจังหวะของการกระตุกก็จะเหมือนกับเวลาที่คุณแม่สะอึกนั่นเอง

 

รู้หรือไม่ การสะอึกของลูกในท้อง เป็นการส่งสัญญาณดี

  • ในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่รู้สึกได้ถึงการสะอึกของทารกในครรภ์ และมีความกังวลว่าจะเป็นอันตราย สำหรับการสะอึกของทารกในครรภ์ที่เกิดขึ้น ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่บอกถึงพัฒนาการต่าง ๆ ของทารกมีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดี ได้แก่ การทำงานของกะบังลมที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ การทำงานของระบบประสาทและไขสันหลัง และการทำงานของปอด ดังนั้นอาการสะอึกของทารกในครรภ์ จึงไม่ส่งผลอันตรายต่อทั้งตัวคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์
  • การสะอึกของทารกในครรภ์บอกถึงการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่ดี นอกจากการสะอึกแล้ว ลูกน้อยยังสามารถเตะ กระทุ้ง หมุนและกลิ้งตัวไปมา สามารถดมกลิ่น มองเห็น และได้ยินตั้งแต่ที่อยู่ในครรภ์ พัฒนาการทั้งหมดนี้จะค่อย ๆ มีการพัฒนาการขึ้นอย่างสมบูรณ์ไปจนกว่าลูกน้อยจะคลอด

 

การสะอึกแบบไหนของลูก ที่ควรไปปรึกษาแพทย์

การสะอึกถือเป็นสัญญาณที่ดีและเป็นส่วนหนึ่งของการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามในคุณแม่ตั้งครรภ์บางท่านอาการสะอึกของทารกในครรภ์อาจบ่งบอกถึงปัญหาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ หรือสุขภาพทารกในครรภ์ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยให้คุณแม่สังเกตการสะอึกของทารกในครรภ์ โดยที่หลังจากอายุครรภ์ผ่านไป 32 สัปดาห์ หากคุณแม่ยังรู้สึกได้ถึงการสะอึกของทารกในครรภ์ทุกวัน แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพและพัฒนาการของทารกในครรภ์โดยละเอียด

 

ช่วงไตรมาสไหน ที่ลูกในครรภ์จะสะอึกบ่อยที่สุด

ลูกในท้องสะอึกจะเกิดขึ้นช่วงอายุครรภ์คุณแม่เข้าสู่การตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 การสะอึกของทารกในครรภ์บอกถึงพัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับระบบการหายใจของทารก เพราะทารกจะมีการกลืนน้ำคร่ำ ทำให้เกิดการสำลัก ส่งผลให้เกิดอาการสะอึกขึ้น

 

วิธีหยุดสะอึก ที่คุณแม่ทำได้ง่ายๆ

อาการสะอึกของทารกในครรภ์ไม่ได้ทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บปวด แต่การที่ลูกในท้องสะอึกก็ไม่ควรนานเกิน 15 นาที ดังนั้นเพื่อช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลายลงจากอาการสะอึกของทารกในครรภ์ คุณแม่สามารถทำได้ตามวิธีนี้ ได้แก่

  1. นอนตะแคงซ้าย
  2. ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  3. นอนพักงีบระหว่างวัน
  4. ใช้หมอนรองตรงบริเวณกระดูกสันหลังของคุณแม่ เพื่อช่วยลดแรงกดที่เกิดขึ้นจากการสะอึกของทารก
  5. รับประทานอาหารสำหรับคนท้องที่หลากหลายและมีคุณค่าทางโภชนาการ
  6. ออกกำลังกายเบา ๆ ที่เหมาะกับการตั้งครรภ์และปลอดภัยต่อทารกในครรภ์

 

การดิ้นของทารกในครรภ์จะเกิดขึ้นไปจนกว่าคุณแม่จะคลอด ซึ่งหากระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่รู้สึกได้ว่าทารกในครรภ์มีการดิ้นที่น้อยลงหรือหยุดดิ้น ควรรีบไปพบแพทย์ทันที การที่ทารกในครรภ์สะอึกเป็นเรื่องปกติมาก ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนตัวของกะบังลมทารก คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ก็รู้สึกได้ และอาการดังกล่าวยังสามารถสังเกตพบได้จากการตรวจอัลตราซาวด์ ลูกน้อยอาจเริ่มสะอึกได้ตั้งแต่ช่วงเดือนที่สามหรือสี่ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ แต่ตอนนั้นคุณแม่อาจยังแยกแยะไม่ออกว่านั่นคือการสะอึกหรือการเตะถีบของลูกกันแน่ เพราะจะออกมาเป็นอาการกระตุกเบาๆ คล้ายกัน แต่ถ้าสังเกตดีๆจะพบว่าทารกสะอึกจะเป็นจังหวะมากกว่าการเตะถีบ นอกจากนี้ ทารกแรกเกิดก็สะอึกได้เช่นกัน ดังนั้นคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจหากลูกน้อยสะอึกบ้างเป็นครั้งคราว

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. ลูกในครรภ์สะอึก, โรงพยาบาลศรีสวรรค์
  2. Fetal Hiccups: Why Do Babies Get Hiccups in the Womb?, theBUMP
  3. การดิ้นของทารกในครรภ์ สัญญาณที่คุณแม่ควรรู้, โรงพยาบาลบางปะกอก
  4. What causes hiccups in babies in the womb?, MedicalNewsToday
  5. ทารกในครรภ์สะอึก ผิดปกติหรือไม่, กองบรรณาธิการ HD

อ้างอิง ณ วันที่ 1 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ อยากมีลูกหัวปีท้ายปี แบบไหนปลอดภัย

หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ อยากมีลูกหัวปีท้ายปี แบบไหนปลอดภัย

หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้ ประจำเดือนหลังคลอดมา ๆ หาย ๆ สามารถตั้งครรภ์ได้อีกหรือไม่ คุณแม่อยากมีลูกหัวปีท้ายปี ต้องทำอย่างไร แบบไหนไม่อันตราย ไปดูกัน

ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่มแม่นยำแค่ไหน วิธีตรวจครรภ์แบบจุ่มที่แม่ต้องรู้

ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่มแม่นยำแค่ไหน วิธีตรวจครรภ์แบบจุ่มที่แม่ต้องรู้

ที่ตรวจครรภ์แบบจุ่มใช้งานยังไง มีความแม่นยำแค่ไหนสำหรับตรวจการตั้งครรภ์ครั้งแรก ไปดูวิธีตรวจครรภ์แบบจุ่มที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้ พร้อมวิธีเลือกซื้อที่ตรวจครรภ์

7 วิธีลดหน้าท้องหลังคลอดอย่างปลอดภัย ให้คุณแม่กลับมาเฟิร์มอีกครั้ง

7 วิธีลดหน้าท้องหลังคลอดอย่างปลอดภัย ให้คุณแม่กลับมาเฟิร์มอีกครั้ง

รวมวิธีลดหน้าท้องหลังคลอดอย่างปลอดภัย คุณแม่ทำได้เลยที่บ้านหลังคลอด ช่วยลดไขมันให้คุณแม่กลับมาหุ่นสวยอีกครั้ง พร้อมอาหารไขมันดี เหมาะสำหรับแม่หลังคลอด

หลังคลอดธรรมชาตินอนท่าไหน วิธีดูแลตัวเองของคุณแม่คลอดธรรมชาติ

หลังคลอดธรรมชาตินอนท่าไหน วิธีดูแลตัวเองของคุณแม่คลอดธรรมชาติ

หลังคลอดธรรมชาตินอนท่าไหน คุณแม่หลังคลอดธรรมชาตินอนท่าไหนดีที่สุด พร้อมวิธีดูแลตัวเองของคุณแม่ไม่ให้กระทบกับแผลฝีเย็บ ไปดูท่านอนที่คุณแม่หลังคลอดธรรมชาติควรนอนกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก