ลูกกลับหัวตอนกี่เดือน ทารกในครรภ์ 7 เดือน กลับหัวหรือยัง

ลูกกลับหัวตอนกี่เดือน ท้อง 7 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน

01.04.2024

ทารกในครรภ์จะเริ่มกลับหัวเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 36-37 สัปดาห์ หรือประมาณเดือนที่ 8-9 ของการตั้งครรภ์ โดยศีรษะของทารกจะเข้าไปอยู่ที่อุ้งเชิงกรานเพื่อเตรียมที่จะคลอด คุณแม่สามารถสังเกตอาการได้ เช่น ปัสสาวะบ่อยขึ้นและมีการหายใจได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณที่บอกว่าคุณแม่ใกล้จะคลอดแล้ว โดยหากเป็นคุณแม่ท้องแรก อาจคลอดภายใน 1 เดือนหลังจากมีอาการ ส่วนคุณแม่ท้องที่ 2 เป็นต้นไป อาจคลอดในช่วงไม่กี่วัน นับจากมีอาการ

headphones

PLAYING: ลูกกลับหัวตอนกี่เดือน ท้อง 7 เดือน หัวลูกอยู่ตรงไหน

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • เมื่อทารกมีการกลับหัว นั่นคือสัญญาณที่บอกว่าทารกพร้อมจะคลอดแล้ว หรือถ้าหากทารกมีการกลับหัวเร็วกว่ากำหนด คุณแม่ก็มีโอกาสที่จะคลอดก่อนกำหนดเช่นกัน ดังนั้นเมื่อทราบว่าทารกมีการกลับหัวแล้ว ควรเข้าพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาการดูแลทารกในครรภ์ต่อไป
  • ทารกจะเริ่มกลับหัวเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 36-37 สัปดาห์ หรือประมาณเดือนที่ 8-9 ของการตั้งครรภ์ โดยศีรษะของทารกจะเข้าไปอยู่ที่อุ้งเชิงกรานเพื่อเตรียมที่จะคลอด
  • เด็กอาจมีการกลับหัวเร็วกว่ากำหนดหรือช้ากว่ากำหนด คุณแม่ควรสังเกตอาการของลูกเป็นพิเศษในช่วงนี้ หากพบอาการผิดปกติให้รีบเข้าพบแพทย์ทันที เพื่อความปลอดภัยของเด็กในครรภ์และตัวคุณแม่

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ลูกกลับหัวก่อนคลอด เพราะอะไร

ช่วงเวลาที่ทารกในครรภ์มีการกลับหัว หัวของทารกจะเคลื่อนที่เข้าไปอยู่ที่อุ้งเชิงกรานเพื่อเตรียมที่จะคลอด ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณที่บอกว่าคุณแม่ใกล้จะคลอด แล้ว ดังนั้นคุณแม่ควรเข้าพบแพทย์เพื่อปรึกษาเรื่องการคลอดบุตร เพื่อความปลอดภัยของทารกในครรภ์

 

หลังจากลูกกลับหัวกี่วันถึงจะคลอด

เมื่อคุณแม่พบสัญญาณว่าลูกในครรภ์มีการกลับหัว หากเป็นคุณแม่ท้องแรก อาจคลอดภายใน 1 เดือนหลังจากมีอาการ ส่วนคุณแม่ท้องที่ 2 เป็นต้นไป อาจคลอดในช่วงไม่กี่วันหลังจากมีอาการ

 

ลูกกลับหัวตอนกี่เดือน ลูกกลับหัวเร็ว จะทำให้คลอดก่อนกำหนด

 

จริงไหม? ลูกกลับหัวเร็ว จะทำให้คลอดก่อนกำหนด

เมื่อลูกในครรภ์มีการกลับหัว นั่นหมายถึงคุณแม่อาจใกล้จะคลอดแล้ว ดังนั้นหากลูกกลับหัวเร็วกว่ากำหนด คุณแม่ก็มีโอกาสที่จะคลอดก่อนกำหนด เช่นกัน ซึ่งหากคุณแม่สังเกตพบอาการหรือสงสัยว่าลูกกลับหัวเร็วกว่ากำหนด ควรไปพบแพทย์โดยทันที  ซึ่งแพทย์จะประเมินการดูแลรักษาที่เหมาะสมให้กับคุณแม่ต่อไป



ซึ่งจะช่วยให้ทารกที่จำเป็นต้องคลอดก่อนกำหนดมีโอกาสรอดมากขึ้นอีกด้วย เนื่องจากการคลอดก่อนกำหนด อาจส่งผลอันตรายแก่คุณแม่ และทารกก็อาจพิการหรือเสียชีวิตหลังคลอดได้ ดังนั้นคุณแม่ควรดูแลสุขภาพให้ดีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ และเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ ควรทำการฝากครรภ์และขอคำปรึกษาจากแพทย์โดยทันที ก็จะช่วยลดความเสี่ยงการคลอดก่อนกำหนดได้ และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที หากพบว่าคุณแม่จำเป็นต้องคลอดก่อนกำหนด

 

ทารกในครรภ์ 7 เดือน กลับหัวหรือยัง

เมื่ออายุครรภ์ได้ 7 เดือน  ทารกจะเริ่มขยับกลับหัวลง ปลายคางชิดหัวเข่า เข่าทั้ง 2 ข้างจะงอติดหน้าอก แขนและขาทั้ง 2 ข้าง อยู่ในท่าไขว้กัน เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอดในช่วงใกล้ ๆ นี้ และทารกจะมีน้ำหนักประมาณ 1.9 กิโลกรัม ขนาดลำตัวประมาณ 43 เซนติเมตร ซึ่งการเจริญเติบโตของทารกแต่ละคนอาจมีความแตกต่างกันไป คุณแม่ควรดูแลอย่างใกล้ชิดและหากพบอาการผิดปกติ ควรเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยทันที

 

ลูกกลับหัว จะอยู่ในท่าทางไหนบ้างในท้องของคุณแม่

เมื่อลูกเริ่มกลับหัว จะเริ่มขยับกลับหัวลง ปลายคางชิดหัวเข่า เข่าทั้ง 2 ข้างจะงอติดหน้าอก แขนและขาทั้ง 2 ข้าง อยู่ในท่าไขว้กัน เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดต่อไป

 

ลูกกลับหัว คุณแม่จะมีอาการอะไรบ้าง

เมื่อลูกเริ่มกลับหัว คุณแม่จะมีอาการที่เรียกว่า “ท้องลด” หรือมีการหายใจได้สะดวกและรู้สึกโล่งมากขึ้น มีการปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากหัวของลูกในครรภ์เคลื่อนที่มากดกระเพาะปัสสาวะ

 

ลูกไม่ยอมกลับหัวสักที เป็นอันตรายไหม?

หากเข้าสู่สัปดาห์ที่ 36  ถึง สัปดาห์ที่ 37  แล้วเด็กในครรภ์ยังไม่ยอมกลับหัว หรือเด็กในครรภ์มีการดิ้นเปลี่ยนท่าไม่ซ้ำกันทุกครั้งที่มีการนัดเข้าพบแพทย์ ซึ่งเมื่อถึงกำหนดการคลอด แพทย์จะแนะนำให้ผ่าคลอด มากกว่าให้คุณแม่คลอดตามธรรมชาติ เนื่องมาจากจะไม่สามารถรู้ได้ว่าเมื่อถึงกำหนดคลอดแล้ว เด็กในครรภ์จะกลับหัวลงหรือไม่ บางรายเอาก้นลงหรือเอาขาลง ซึ่งอาจเกิดอาการเจ็บครรภ์และน้ำเดิน อาจเกิดภาวะสายสะดือย้อยซึ่งเป็นอันตรายต่อคุณแม่และเด็กได้

 

แพทย์จะช่วยให้ลูกกลับหัวได้ด้วยวิธีไหน

หากเมื่อถึงเวลาที่ทารกต้องกลับหัวแล้ว แต่ทารกยังไม่ยอมกลับหัว แพทย์จะมีวิธีทางการแพทย์ ในการช่วยให้ทารกกลับหัวทั้งนี้ วิธีดังกล่าวจะต้องทำโดยแพทย์เท่านั้น คุณแม่ห้ามทำเองหรือให้ใครช่วยโดยเด็ดขาด เนื่องจากอาจเกิดอันตรายกับคุณแม่และทารกในครรภ์ได้

 

กรณีไหนบ้างที่แพทย์จะตัดสินใจผ่าคลอดให้แทน

หากแพทย์วินิจฉัยว่า คุณแม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายเมื่อคลอดผ่านช่องคลอด แพทย์จะตัดสินใจให้ผ่าคลอดเมื่อมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีภาวะผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะของทารกและอุ้งเชิงกราน ทำให้ทารกไม่สามารถลอดผ่านเชิงกรานของคุณแม่ออกมาได้
  • ทารกมีภาวะสายสะดือย้อย
  • ทารกมีภาวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ
  • ทารกไม่กลับหัวหรืออยู่ในท่าอื่น เช่น ท่าก้น ท่าขวาง หรือครรภ์แฝด
  • คุณแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวี
  • คุณแม่ที่เคยผ่าคลอดมาก่อน ซึ่งอาจก่อให้เกิดการแตกของมดลูกหากมีการคลอดเองตามธรรมชาติ

 

การผ่าคลอดบุตร โดยปกติแพทย์จะแนะนำให้คลอดปกติเองก่อน ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ส่งเสริมให้เกิดการคลอดเองตามธรรมชาติก่อน เพราะเชื่อว่าเสียเลือดน้อย ฟื้นตัวไว และกลับสู่ภาวะปกติได้เร็ว โอกาสของการคลอดได้เองสูงถึงร้อยละ 80-90 หากมีความจำเป็นจริง ๆ หรือมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ แพทย์จะแนะนำการผ่าคลอดให้กับคุณแม่ต่อไป หรือในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ และความไม่พร้อมทางด้านร่างกายหลายอย่างของสุขภาพคุณแม่ เช่น เชิงกรานแคบ   รกเกาะต่ำ ครรภ์เป็นพิษ ครรภ์แฝด หรือแม้แต่การคลอดในภาวะฉุกเฉิน แพทย์จะแนะนำให้คุณแม่ผ่าคลอดด้วยเช่นกัน

 

เมื่อเด็กมีการกลับหัว นั่นเป็นสัญญาณที่บอกว่าพร้อมจะคลอดแล้ว คุณแม่ควรดูแลเด็กในครรภ์อย่างใกล้ชิดในช่วงนี้ เพราะหากเด็กมีการกลับหัวเร็วกว่ากำหนด คุณแม่ก็มีโอกาสที่จะคลอดก่อนกำหนด หรือถ้าหากเมื่อถึงกำหนดแล้วเด็กยังไม่ยอมกลับหัว ก็อาจส่งผลต่อการคลอดได้ เช่น แพทย์อาจวินิจฉัยให้ทำการผ่าคลอดเนื่องจากท่าของเด็กไม่เหมาะกับการคลอดตามธรรมชาติ และอาจเกิดอันตรายต่อเด็กได้ ซึ่งการเจริญเติบโตของเด็กในครรภ์จะมีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้น เมื่อพบอาการผิดปกติของเด็กในครรภ์ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 


อ้างอิง:

  1. สัญญาณเตือนคุณแม่ใกล้คลอด เตรียมพร้อมได้ทันเวลา, โรงพยาบาลนครธน
  2. พัฒนาการทารกในครรภ์ ตลอด 9 เดือนในท้องแม่, pobpad
  3. สัญญาณเตือนคลอดก่อนกำหนด ที่คุณแม่ต้องระวัง, โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์แนชั่นแนล อ้อมน้อย
  4. ท้อง 7 เดือน กับการเตรียมตัวให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง, pobpad
  5. 35 สัปดาห์แล้ว เด็กยังไม่กลับหัว มีโอกาสกลับหัวไหม, โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 สมุทรปราการ
  6. Fetal Positions for Birth, Cleveland Clinic
  7. When will my baby turn head down?, Dr Gary Sykes
  8. การผ่าตัดคลอดบุตร, ผศ.พญ.อภิรดี จิรัฐติกาลโชติ
  9. ผ่าตัดคลอด VS คลอดปกติ, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  10. ตอบข้อสงสัย คลอดแบบไหนดี คลอดปกติ VS ผ่าคลอด, พญ. สังวาลย์ เตชะพงศธร โรงพยาบาลนครธน

อ้างอิง ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2567

บทความแนะนำ

อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 26 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 26 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 26 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 26 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 25 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 25 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 25 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

อายุครรภ์ 24 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 24 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 24 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 24 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 24 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 24 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 24 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

อายุครรภ์ 23 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 23 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 23 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 23 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 23 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 23 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 23 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก