อาการท้องแข็งบ่อย ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายหรือไม่ ทำไมคุณแม่ต้องรู้

ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม

17.02.2024

เมื่อการตั้งครรภ์เข้าสู่ไตรมาสที่ 3 อาการที่คุณแม่อาจจะรู้สึกได้บางครั้ง คือ อาการท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ โดยในบางครั้งคุณแม่ตั้งครรภ์อาจแยกอาการท้องแข็ง หรือภาวะลูกโก่งตัวได้ยาก แต่หากขณะท้องแข็งแล้วมีอาการเลือดออกทางช่องคลอดร่วมด้วย แนะนำให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์โดยทันที

headphones

PLAYING: ท้องแข็งบ่อยขณะตั้งครรภ์ ลูกโก่งตัวบ่อย อันตรายไหม

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • ภาวะลูกโก่งตัวเกิดขึ้นได้ในช่วงอายุครรภ์เดือนที่ 7-9 เกิดจากทารกในครรภ์เคลื่อนที่ไปชนกับผนังมดลูก ทำให้มดลูกบีบตัว โดยสังเกตจากที่ท้องจะมีจุดนูนแข็งเป็นบางจุด และส่วนที่เหลือยังเป็นผิวนิ่มตามปกติ อาการนี้จะหายไปเอง ถือว่าปกติของการดิ้นของทารกในครรภ์
  • หากเกิดภาวะท้องแข็งบ่อย โดยรู้สึกตึงแข็งทั่วท้อง และมีอาการต่อเนื่องติดต่อกันหลายครั้ง โดยอาการไม่หายไป และถี่ขึ้นเรื่อย ๆ มีอาการหายใจไม่สะดวกร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที เพราะอาจทำให้คุณแม่มีภาวะคลอดก่อนกำหนดได้
  • ในช่วงอายุครรภ์ไตรมาสสุดท้าย ร่างกายของคุณแม่มีความต้องการโปรตีนสูงที่สุด โดยเน้นรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่ โดยเน้นสารอาหารจำพวก โปรตีน, โอเมก้า 3 6 9 DHA, แคลเซียม, ธาตุเหล็ก, วิตามินซี และโฟเลต ซึ่งสามารถรับประทานได้จาก เนื้อสัตว์ เนื้อปลา ไข่ เต้าหู้ ผักใบเขียว ถั่วต่าง ๆ ผลไม้รสเปรี้ยว ตับ และธัญพืช

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ภาวะลูกโก่งตัวจนทำให้คุณแม่รู้สึกท้องแข็ง เกิดขึ้นได้บ่อยในช่วงครรภ์ประมาณเดือนที่ 7-9 ซึ่งเกิดจากการที่ลูกมีการเคลื่อนไหว่ไปมาในครรภ์ หรือดิ้นไปชนผนังมดลูก ทำให้เกิดการบีบตัวของมดลูก บางครั้งท้องอาจนนูนขึ้นมาจากศีรษะเด็กไปเบียด หรือหัวไหล่ ศอก ทำให้มีอาการท้องแข็งเป็นจุด ๆ และอาการจะหายไปเอง ซึ่งถือเป็นภาวะปกติของการตั้งครรภ์

 

ลักษณะท้องแข็ง เมื่อมีภาวะลูกโก่งตัว

เมื่อเกิดอาการท้องแข็ง คุณแม่ตั้งครรภ์จะสามารถสังเกตง่าย ๆ ว่าเป็นภาวะลูกโก่งตัว คือ จะมีท้องส่วนที่นูนแข็ง และบางส่วนยังคงนิ่มตามปกติ จึงถือเป็นภาวะตั้งครรภ์ปกติ

 

ลูกจะเริ่มดิ้น หรือโก่งตัว ในเดือนไหน

ทารกในครรภ์จะเริ่มขยับตัวเล็กน้อยตั้งแต่ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ และจะมีการขยับตัวไปมามากขึ้นในช่วงอายุครรภ์ 4-6 เดือน ซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะเริ่มรู้สึกการดิ้นของลูกได้ในช่วงเวลานี้ และในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ทารกจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและเคลื่อนที่ไปมามากยิ่งขึ้นจนอาจทำให้เกิดภาวะโก่งตัวของลูกน้อยได้

 

ลูกโก่งตัว เป็นสัญญาณบอกอะไรคุณแม่ได้บ้าง?

  • ลูกดิ้น หากทารกในครรภ์ดิ้นมากจะถือว่าปกติ ซึ่งเมื่อขนาดของทารกใหญ่ขึ้นอาจทำให้เกิดอาการท้องแข็งบ่อย ที่เรียกเป็นภาวะลูกโก่งตัวได้
  • ภาวะใกล้คลอด คุณแม่ตั้งครรภ์จะสามารถแยกอาการเจ็บท้องใกล้คลอด กับเจ็บท้องเตือนได้ โดยสังเกตจากมีมูกเลือดออกบริเวณช่องคลอด มีน้ำเดินหรือถุงน้ำคร่ำแตก หรือมีอาการเจ็บท้องสม่ำเสมอและถี่ขึ้น
  • ความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด การที่ปากมดลูกเปิดก่อนอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ ซึ่งเกิดจากการบีบตัวของมดลูก โดยการคลอดก่อนกำหนดอาจส่งผลกระทบต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกได้

 

อาการท้องแข็ง ลูกโก่งตัว เป็นสัญญาณบอกอะไรคุณแม่ได้บ้าง?

 

ลูกโก่งตัว กับภาวะท้องแข็ง ต่างกันอย่างไร

ภาวะลูกโก่งตัว เป็นอาการท้องแข็งสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่พบบ่อยที่สุด โดยปกติท้องขณะตั้งครรภ์จะเป็นเนื้อนิ่มเหมือนผิวหนังบริเวณท้องทั่วไป แต่เมื่อมีอาการท้องแข็ง จะมีความรู้สึกตึงบริเวณท้องมากขึ้น ซึ่งข้อแตกต่างระหว่างลูกโก่งตัวกับท้องแข็งทั่วไปคือ บริเวณที่รู้สึกตึง หากท้องมีบางจุดแข็งและนูนขึ้น บางส่วนยังนิ่มปกติ จะเรียกว่าเป็น “ภาวะลูกโก่งตัว” แต่หากท้องแข็งทั่วท้องซึ่งอาจเกิดจากมดลูกบีบรัดตัว เรียกว่า “ภาวะท้องแข็ง”

 

ท้องแข็งขณะตั้งครรภ์แบบไหน ควรไปพบแพทย์

หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการท้องแข็งบ่อย โดยรู้สึกตึงแข็งทั่วท้อง และมีอาการต่อเนื่องติดต่อกันหลายครั้ง โดยอาการไม่หายไป มากกว่า 4-5 ครั้ง และแต่ละครั้งท้องแข็งประมาณ 10 นาที และเริ่มมีอาการถี่ขึ้น ซึ่งหากขณะนั้นอายุครรภ์ยังไม่ถึง 37 สัปดาห์ และอาจมีอาการหายใจไม่สะดวกร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที เพราะอาจทำให้คุณแม่มีภาวะคลอดก่อนกำหนดได้

 

อาหารบำรุงครรภ์ในช่วงไตรมาสสุดท้าย

ในช่วงอายุครรภ์ไตรมาสสุดท้าย หรือประมาณ 7-9 เดือนนี้ ร่างกายของคุณแม่มีความต้องการโปรตีนสูงที่สุด และต้องการพลังงานเพิ่มอีกวันละประมาณ 300 กิโลแคลอรี่ และควรรับประทานอาหารที่สุก สะอาด ปลอดภัย และมีสารอาหารครบ 5 หมู่ โดยเน้นสารอาหาร โปรตีน, โอเมก้า 3 6 9 DHA, แคลเซียม, ธาตุเหล็ก, วิตามินซี และโฟเลต ซึ่งสามารถรับประทานได้จาก เนื้อสัตว์ เนื้อปลา ไข่ เต้าหู้ ผักใบเขียว ถั่วต่าง ๆ ผลไม้รสเปรี้ยว ตับ และธัญพืช รวมถึงควบคุมการรับประทานอาหารที่มีรสหวาน เพราะอาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากเกินไป และเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ด้วย

 

อาหารบำรุงครรภ์ในช่วงไตรมาสสุดท้าย

 

ภาวะลูกโก่งตัวสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อการตั้งครรภ์เข้าสู่ไตรมาสสุดท้าย เนื่องจากทารกในครรภ์มีการเคลื่อนไหวไปมาจนไปชนกับผนังมดลูก และอาจกระตุ้นให้เกิดการบีบตัวของมดลูก อาการนี้จะหายไปเอง ซึ่งคุณแม่ไม่ต้องกังวลเนื่องจากเป็นอาการปกติที่สามารถพบได้บ่อย แต่ควรหมั่นสังเกตว่าเป็นภาวะท้องแข็งบ่อยหรือไม่ และมีอาการหายใจไม่สะดวก มีเลือดออกทางช่องคลอด ร่วมด้วยหรือไม่ โดยหากมีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์โดยทันที

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. ท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ เสี่ยงอันตรายแค่ไหน, โรงพยาบาลพญาไท
  2. การดิ้นของทารกในครรภ์ สัญญาณที่คุณแม่ควรรู้, โรงพยาบาลบางปะกอก
  3. สัญญาณเตือนคุณแม่ใกล้คลอด เตรียมพร้อมได้ทันเวลา, โรงพยาบาลนครธน
  4. คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้! สัญญาณเตือนแบบไหน..ที่เสี่ยง ‘คลอดก่อนกำหนด’, โรงพยาบาลพญาไท
  5. ทานอย่างไรให้ได้ประโยชน์ ทั้งแม่และลูกเมื่อเข้าสู่อายุครรภ์ 40 สัปดาห์, โรงพยาบาลบางปะกอก 3

อ้างอิง ณ วันที่ 4 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

คนท้องกินชีสได้ไหม ชีสชนิดไหนปลอดภัย อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินชีสได้ไหม ชีสชนิดไหนปลอดภัย อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินชีสได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินชีส เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ ชีสชนิดไหนกินได้ ดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

คนท้องกินทับทิมได้ไหม มีประโยชน์ยังไง อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินทับทิมได้ไหม มีประโยชน์ยังไง อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินทับทิมได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินทับทิม เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ ทับทิมดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

คนท้องกินพิซซ่าได้ไหม เท่าไหร่ถึงพอดี อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินพิซซ่าได้ไหม เท่าไหร่ถึงพอดี อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินพิซซ่าได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินพิซซ่า เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ พิซซ่าดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

คนท้องกินมังคุดได้ไหม มีประโยชน์ยังไง อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินมังคุดได้ไหม มีประโยชน์ยังไง อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินมังคุดได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินมังคุด เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ มังคุดดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก