คนท้องกินเผือกได้ไหม กินมากเกินไป อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
เผือก เป็นพืชชนิดหัวที่มีรสชาติหวาน สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนูทั้งคาวและหวาน เผือกเป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรตและใยอาหารสูง มีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายหลากหลายชนิด จึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพคุณแม่และลูกน้อยในท้อง คนท้องต้องกินเผือกยังไงเพื่อไม่ให้เกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพ รวมถึงมีข้อควรระวังอะไรบ้างที่คุณแม่ควรรู้ก่อนกินเผือก บทความนี้มีคำตอบในทุกข้อสงสัยที่คุณแม่อยากรู้
PLAYING: คนท้องกินเผือกได้ไหม กินมากเกินไป อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
สรุป
- คนท้องกินเผือกได้ไหม คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถกินเผือกได้
- เผือกมีประโยชน์กับคุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากเผือกอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญหลายชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย อาทิเช่น วิตามินซี การกินเผือกเป็นประจำจะช่วยเพิ่มระดับวิตามินซีในร่างกาย และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง
- การกินเผือกในปริมาณที่แนะนำต่อวัน ½-1 ถ้วยตวงก็เพียงพอแล้ว หากกินเผือกในปริมาณที่มากไปอาจส่งผลต่อการทำงานของม้าม และทำให้ระบบเลือดในร่างกายไหลเวียนได้ไม่ดี
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- คนท้องกินเผือกได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
- เผือก มีสารอาหารอะไรที่ดีกับคุณแม่ตั้งครรภ์บ้าง
- ประโยชน์ของเผือก สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
- คุณแม่ท้องกินเผือกได้แค่ไหน ปริมาณเท่าไหร่ถึงพอดี
- คนท้องกินเผือกได้ไหม คุณแม่ควรระวังอะไรบ้าง
- คนท้องกินเผือกได้ไหม คุณแม่แพ้เผือก จะมีอาการอย่างไร
- คำแนะนำสำหรับคุณแม่ท้องอยากกินเผือก
คนท้องกินเผือกได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
หากสงสัยว่า คนท้องกินเผือกได้ไหม คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถกินเผือกได้ เพราะเผือกมีสารอาหารมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ แต่ควรกินในปริมาณที่พอเหมาะ และมีข้อแนะนำในการกินเผือกให้กับคุณแม่ดังนี้
- ช่วงไตรมาสแรก: ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรลดการกินอาหารกลุ่มแป้งให้น้อยลง อย่างเช่น เผือก เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดเบาหวานแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์
- ช่วงไตรมาสสอง: เผือกอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานแก่ร่างกายของคุณแม่ท้อง คุณแม่สามารถกินเพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ได้ในปริมาณพอเหมาะ
เผือก มีสารอาหารอะไรที่ดีกับคุณแม่ตั้งครรภ์บ้าง
คนท้องกินเผือกได้ไหม กินเผือกแล้วได้คุณค่าทางโภชนาการอะไรบ้าง ในเผือกปริมาณ 132 กรัม จะให้พลังงานแก่ร่างกาย 187 กิโลแคลอรี นอกจากนี้ก็ยังให้สารอาหารอีกหลากหลายชนิด ได้แก่
- คาร์โบไฮเดรต 39 กรัม
- โปรตีน 1 กรัม
- น้ำตาล 1 กรัม
- ไขมัน 0.1 กรัม
- ไฟเบอร์ 7 กรัม
- วิตามินอี 19 เปอร์เซ็นต์
- วิตามินซี 11 เปอร์เซ็นต์
- วิตามิน 6 22 เปอร์เซ็นต์
นอกจากนี้ในเผือกยังมีวิตามินและแร่ธาตุอย่าง แคลเซียม โพแทสเซียม แมงกานีส ฟอสฟอรัส วิตามินบี 1 ธาตุเหล็ก และฟลูออไรด์สูงที่ช่วยป้องกันไม่ให้ฟันผุอีกด้วย
ประโยชน์ของเผือก สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
เผือกมีประโยชน์กับคุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากเผือกอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญหลายชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย การกินเผือกในปริมาณที่พอเหมาะจะดีต่อสุขภาพในหลาย ๆ เรื่อง ได้แก่
1. เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
เผือกอุดมด้วยวิตามินซี ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้เป็นอย่างดี การกินเผือกมีส่วนช่วยเพิ่มระดับวิตามินซีในร่างกาย และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น ไข้หวัด
2. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
เผือกเป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดตรชนิดดี การกินเผือกในปริมาณที่พอเหมาะสามารถช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
3. อาจลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง
เควอเซทิน (Quercetin) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในเผือก มีหน้าที่ในการปกป้องเซลล์ไม่ให้ถูกทำลายจากอนุมูลอิสระจนเกิดการอักเสบ ช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคมะเร็ง
4. ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
เผือกอุดมด้วยโพแทสเซียมในปริมาณมาก และมีใยอาหารสูง ซึ่งสามารถช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ช่วยให้หัวใจทำงานไม่หนักมากไป ช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคหัวใจ
5. บำรุงลำไส้
คาร์โบไฮเดรตจากเผือกเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดดี ที่ทนต่อการย่อยจากเอนไซม์ ช่วยบำรุงลำไส้ และยังอาจช่วยป้องกันอาการคนท้องท้องเสีย
6. บำรุงกระดูกและฟัน
เผือกอุดมด้วยแคลเซียมสูง และฟูลออไรด์สูง ช่วยเสริมให้กระดูกและฟันแข็งแรง ฟันไม่ผุ และป้องกันการเกิดกระดูกพรุน
คุณแม่ท้องกินเผือกได้แค่ไหน ปริมาณเท่าไหร่ถึงพอดี
เผือกมีรสชาติอร่อย และก็มีสารอาหาร แร่ธาตุ วิตามินหลากหลายที่จำเป็นและดีต่อร่างกาย แต่การกินเผือก แนะนำให้กินปริมาณต่อวันแค่ ½-1 ถ้วยตวงก็เพียงพอแล้ว เนื่องจากถ้ากินเผือกในปริมาณที่มากไปกว่านี้ อาจส่งผลต่อการทำงานของม้าม และอาจทำให้ระบบเลือดในร่างกายไหลเวียนได้ไม่ดี
คนท้องกินเผือกได้ไหม คุณแม่ควรระวังอะไรบ้าง
คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถกินเผือกได้ แต่ต้องให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ และต้องนำเผือกมาปรุงให้สุกก่อน ไม่แนะนำให้กินเผือกดิบ เพราะมีกรดออกซาลิกสูง เสี่ยงทำให้เกิดโรคนิ่วในไตและโรคเก๊าท์ได้ นอกจากนี้ยังเกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพที่สามารถทำให้เกิดอาการคัน แสบร้อน ระคายเคืองในช่องปาก
คนท้องกินเผือกได้ไหม คุณแม่แพ้เผือก จะมีอาการอย่างไร
คุณแม่ท้องกินเผือกแล้วมีอาการแพ้ อาจมีสาเหตุมาจากสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ คือ แคลเซียมออกซาเลต (Calcium oxalate) ที่เป็นลักษณะรูปแบบของผลึกรูปเข็ม และสารยูราซิล (Uracil) กับสารไกลคอล-โปรตีนทาโรเลคติน (Glycol-protein Taro Lectin) ที่อยู่ในเผือกดิบ
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ท้องอยากกินเผือก
1. สวมถุงมือ
สวมถุงมือทุกครั้งหากใช้เผือกเป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหาร ทั้งขั้นตอนการปอกเปลือก การล้างทำความสะอาด และการปรุงอาหาร เพื่อช่วยลดการเกิดการแพ้ระคาย และคันที่มือ
2. ปรุงให้สุก
เพื่อลดความเข้มข้นของแคลเซียมออกซาเลต และลดโอกาสการเกิดอาการคันและอาการแพ้จากการกินเผือก แนะนำให้ปรุงเผือกให้สุกเท่านั้น คุณแม่สามารถนำเผือกที่ทำความสะอาดอย่างดีแล้วมา ต้ม นึ่ง แกง ผัด ทอด ได้หลากหลายเมนู
เผือกเป็นอาหารที่ดีต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากเป็นแหล่งของสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย ถึงแม้ว่าเผือกจะมีประโยชน์อย่างมาก แต่ในคุณแม่ตั้งครรภ์ควรบริโภคเผือกในปริมาณที่พอเหมาะ และปรุงให้สุกอย่างถูกวิธี เพื่อให้ได้ประโยชน์แก่ร่างกาย และลดโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการกินเผือกที่มากเกินไป
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่
- Health check แบบประเมินสุขภาพของคุณแม่และพัฒนาการของลูกน้อย
- 12 เมนูอาหารคนท้อง คนท้องกินอะไรได้บ้าง ดีต่อสุขภาพครรภ์
- ผ่าคลอดกินข้าวเหนียวได้ไหม แผลจะหายช้าหรือเปล่า
- คนท้องกินชาเย็นได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
- คนท้องกินโซดาได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
- คนท้องกินทุเรียนได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
- คนท้องกินโกโก้ได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
- คนท้องกินน้ำมะพร้าวได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
- คนท้องกินสับปะรดได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า
- คนท้องกินหน่อไม้ได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
- คนท้องกินชาเขียวได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า
อ้างอิง:
- เผือก พืชสารพัดประโยชน์และเคล็ดลับในการกินอย่างปลอดภัย, Pobpad
- “กินเผือกติดใจ”, สำโรงการแพทย์
- Is Taro Safe During Pregnancy? Tea, Root, Leaves, and More, Pregnancy Food Checker
- คุณแม่ตั้งครรภ์กับความเสี่ยงในไตรมาสแรก, โรงพยาบาลสมิติเวช
- อาหารที่เหมาะสมกับหญิงตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2, โรงพยาบาลบีเอ็นเอช
- เผือก ประโยชน์และข้อควรระวังในการบริโภค, Hellohunmor
- Health Benefits of Taro Root (Arbi) And Its Side Effects, Lybrate
อ้างอิง ณ วันที่ 6 กันยายน 2567
แชร์ได้เลย
บทความแนะนำ
คลอดลูก คุณแม่ควรเตรียมตัวให้พร้อม...แบบที่ใช่
เพราะยิ่งช่วงเวลาใกล้ คลอดลูก น้อย สำหรับว่าที่คุณแม่หลายท่าน ส่วนใหญ่จะมีความกังวลในหลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการคลอดลูกสุขภาพ และการเตรียมของไปคลอดลูกที่โรงพยาบาล ซึ่งไม่รู้จะเริ่มตรงไหน ควรเตรียมอะไรก่อนหรือหลัง และทำอะไรก่อนดี หากคุณเป็นหนึ่งในนั้นก็ไม่ต้องเครียดไป นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรเตรียมก่อน คลอดลูก เตรียมร่างกายให้พร้อม..!!