คนท้องกินหอยแครงได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินหอยแครงได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

12.11.2024

การตั้งครรภ์คือช่วงเวลาสำคัญที่คุณแม่ต้องใส่ใจเรื่องอาหารการกินเป็นพิเศษ หอยแครง เป็นอาหารทะเลที่หลายคนชื่นชอบ แต่คนท้องกินหอยแครงได้ไหม? กินแล้วอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์หรือเปล่า บทความนี้จะพาคุณแม่ไปรู้จักกับข้อควรระวังในการรับประทานหอยแครง และเคล็ดลับในการปรุงหอยแครงที่เป็นอาหารทะเลลดเสี่ยงเชื้อโรค เพื่อให้คุณแม่ได้อิ่มอร่อยแบบไร้กังวล และปลอดภัยจากเชื้อโรค

headphones

PLAYING: คนท้องกินหอยแครงได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

อ่าน 5 นาที

สรุป

  • หอยแครงก่อนนำมารับประทานต้องล้างให้สะอาด และต้องปรุงให้สุก เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่ปนเปื้อนติดมากับหอยแครง ได้แก่ เชื้อวิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส และเชื้อวิบริโอ วัลนิฟิคัส
  • การรับประทานหอยแครงควรทำให้สุกด้วยการลวกในน้ำเดือดประมาณ 1-2 นาที หรือปรุงด้วยการอบและนึ่ง ให้นานประมาณ 5-7 นาที ถึงจะทำลายเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับหอยแครงได้
  • การรับประทานหอยแครงที่ไม่สะอาด และไม่สุก มีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมาในอาหารทะเล ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว มีไข้หนาวสั่น และอาจทำให้เป็นตะคริวในช่องท้องได้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

คนท้องกินหอยแครงได้ไหม

คนท้องสามารถกินหอยแครงได้ แต่ควรระมัดระวังเรื่องความสะอาดและการปรุงสุก สำหรับหอยแครงต้องปรุงให้สุกก่อนกิน เพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้อจากแบคทีเรียหรือปรสิตที่อาจมีอยู่ในอาหารทะเลดิบ หากไม่แน่ใจ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อความปลอดภัยของแม่และทารกในครรภ์

 

การรับประทานหอยแครงในคนท้อง เพื่อความปลอดภัยต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ แนะนำก่อนรับประทานหอยแครงให้ล้างทำความสะอาดเอาดินโคลนที่ติดมากับหอยแครงออกให้หมด จากนั้นปรุงให้สุกด้วยการลวกในน้ำเดือดประมาณ 1-2 นาที ถ้าปรุงด้วยการอบและนึ่ง ต้องให้นานประมาณ 5-7 นาที ถึงจะทำลายเชื้อโรคได้หมด สำหรับเชื้อโรคที่ปนเปื้อนติดมากับหอยแครงก็คือ เชื้อวิบริโอ พาราฮิโมไลติคัส และเชื้อวิบริโอ วัลนิฟิคัส ซึ่งเป็นเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะส่งผลกระทบต่อกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ ทำให้เกิดอาการท้องเสียขณะตั้งครรภ์ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว มีไข้หนาวสั่น และอาจทำให้เป็นตะคริวในช่องท้องได้ด้วย

 

ทำไมคนท้อง ถึงไม่ควรกินหอยแครงเยอะเกินไป

ไม่ได้มีข้อห้ามทางการแพทย์ว่าคนท้องห้ามกินหอยแครง แต่มีข้อควรระวังในการรับประทานทั่วไป เนื่องจากอาจได้รับอันตรายต่อสุขภาพ หากหอยแครงที่นำมารับประทานไม่สะอาด และปรุงไม่สุก ได้แก่

1. เสี่ยงเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

หอยแครงดิบ หรือการปรุงหอยแครงที่มีลักษณะกึ่งสุกกึ่งดิบ เมื่อรับประทานเข้าไปอาจได้รับตัวอ่อนพยาธิที่อยู่ในหอยแครงเข้าไปด้วย ซึ่งถ้าพยาธิเข้าสู่กระแสเลือดและไปที่สมอง อาจเสี่ยงทำให้เกิดการอักเสบในเยื่อหุ้มสมอง

 

2. เสี่ยงเกิดโรคระบบทางเดินอาหาร

หอยแครงที่ไม่สะอาด และปรุงไม่สุกอาจได้รับเชื้อโรคตามธรรมชาติที่อยู่ในน้ำทะเลอย่างเชื้อวิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส และเชื้อวิบริโอ วัลนิฟิคัส เป็นเชื้อโรคที่ก่ออันตรายต่อสุขภาพ เสี่ยงเกิดโรคระบบทางเดินอาหาร ลำไส้อักเสบ เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว คนท้องมีไข้หนาวสั่น และอาจทำให้เป็นตะคริวในช่องท้องได้ด้วย

 

วิธีเลือกหอยแครง สำหรับคุณแม่ท้อง

คนท้องกินหอยแครงได้ไหม ระหว่างตั้งครรภ์หากคุณแม่อยากรับประทานหอยแครง เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ มีคำแนะนำในการทำให้หอยแครงปลอดภัยก่อนนำมารับประทาน ดังนี้

  1. ควรเลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้
  2. แช่และล้างด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง
  3. ขัดให้สะอาดด้วยเกลือ
  4. ต้มหอยแครงจนสุกเท่านั้น

 

การเลือกหอยแครงที่ดี ควรเลือกจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และควรต้มสุกทุกครั้ง เพื่อป้องกันเชื้อโรค พยาธิที่ปนเปื้อนมากับหอยแครง ก่อนนำมารับประทานแนะนำให้ล้างให้สะอาดจนดินโคลนหลุดออกจนหมด จากนั้นให้ทำให้สุก ไม่ควรกินแบบกึ่งดิบกึ่งสุก การทำหอยแครงให้สุกมีวิธีการปรุง เช่น การลวกในน้ำเดือดประมาณ 1-2 นาที หรือการอบและนึ่ง ต้องให้นานประมาณ 5-7 นาที

 

ประโยชน์ของหอยแครง ที่คุณแม่ท้องควรรู้

 

ประโยชน์ของหอยแครง ที่คุณแม่ท้องควรรู้

หอยแครงมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย คือ โปรตีน และกรดอะมิโนหลากหลายที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น สังกะสี ซีลีเนียม เหล็ก ฟอสฟอรัส และแคลเซียม

1. บำรุงเลือด

เนื้อหอยแครงอุดมด้วย โปรตีนสูง ธาตุเหล็ก และฟอสฟอรัส ช่วยในการบำรุงเลือด ป้องกันคนท้องโลหิตจาง

 

2. บำรุงกระดูกและฟัน

เนื้อหอยแครงอุดมด้วยแคลเซียม ซึ่งแคลเซียมมีส่วนสำคัญในการเพิ่มความหนาของมวลกระดูก ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง

 

3. ป้องกันการเกิดสิว

เนื้อหอยแครงอุดมด้วยสังกะสี ช่วยป้องกันการเกิดสิว และในคนที่เป็นสิว จะช่วยให้หายจากสิวเร็วขึ้น

 

4. ชะลอการเสื่อมสภาพของผิว

เนื้อหอยแครงยังมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนให้กับชั้นผิว ทำให้ผิวพรรณมีความเปล่งปลั่ง

 

5. ช่วยขับลม

การรับประทานหอยแครงตามตำราแพทย์แผนไทย ยังช่วยในการขับลม ล้างลำไส้ ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว เป็นต้น

 

รวมเมนูอาหารทะเล ที่คุณแม่สามารถทานได้

นอกจากหอยแครง ยังมีอาหารทะเลอีกหลายชนิดที่คุณแม่ท้องสามารถรับประทานได้ อาทิเช่น สาหร่ายทะเล ปลาหมึก ฯลฯ โดยให้เลือกรับประทานอาหารทะเล ที่ไม่มีสารปรอทปนเปื้อนมากเกินไป และคุณแม่ไม่ได้มีการแพ้มาตั้งแต่แรกเป็นสำคัญ แนะนำให้เลือกอาหารทะเลที่สดใหม่ สะอาด และก่อนนำมารับประทานต้องทำให้สะอาดและปรุงให้สุกเท่านั้น

 

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ แม้ว่าหอยแครงจะเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากก็จริง แต่หอยแครงก็อาจปนเปื้อนเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ หากรับประทานเข้าไปอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย หรือติดเชื้ออื่น ๆ แนะนำให้เลือกซื้อจากแหล่งที่สดและสะอาด ทำความสะอาดและปรุงให้สุกก่อนรับประทาน เพื่อลดเสี่ยงเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายคุณแม่ขณะตั้งครรภ์

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 

 

อ้างอิง:

  1. หอยที่เป็นอาหาร, มูลนิธิสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
  2. แนะนำอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เพื่อป้องกันเลือดจาง, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  3. อาหารที่คนท้องห้ามกิน เพื่อสุขภาพของลูกน้อยในครรภ์, POBPAD
  4. เชื้อโรคในหอยแครงลวก, สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม
  5. กรมอนามัย เตือน กินหอย ต้องลวกสุกในน้ำเดือด หรืออบ – นึ่งนาน 7 นาที ลดเสี่ยงเชื้อโรค, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  6. รวมมิตร พิษภัยหอย...ดิบ, กองสุขาภิบาลอาหาร กรุงเทพมหานคร
  7. ผลิตภัณฑ์พร้อมบริโภคจากหอยแครง, กรมประมง
  8. “หอยแครง” ประโยชน์บำรุงเลือด สุขภาพดีถ้วนหน้า, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตสมุทรสงคราม
  9. แคลเซียมกับโรคกระดูกพรุน, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  10. หอยแครง ก็มีประโยชน์, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  11. คนท้องห้ามกินอะไรบ้าง, โรงพยาบาลเพชรเวช

อ้างอิง ณ วันที่ 21 สิงหาคม 2567
 

บทความแนะนำ

ออกกําลังกายหลังคลอด ตัวช่วยกระชับหุ่นสุขภาพดี สำหรับคุณแม่หลังผ่าคลอด

ออกกําลังกายหลังคลอด ตัวช่วยกระชับหุ่นสุขภาพดี สำหรับคุณแม่หลังผ่าคลอด

คุณแม่ควรออกกำลังกายหลังคลอด อย่างน้อย 6 สัปดาห์หลังผ่าคลอด ออกกำลังกายหลังผ่าตัดคลอด ตัวช่วยกระชับหุ่นให้ฟิตเฟิร์ม ท่าออกกำลังกายหลังคลอดท่าไหนดีกับคุณแม่ ไปดูกัน

คุณแม่ผ่าคลอดได้กี่ครั้ง ผ่าคลอดมีลูกได้กี่คน ผ่าคลอดบ่่อยอันตรายไหม

คุณแม่ผ่าคลอดได้กี่ครั้ง ผ่าคลอดมีลูกได้กี่คน ผ่าคลอดบ่อยอันตรายไหม

คุณแม่ผ่าคลอดได้กี่ครั้ง ผ่าคลอดมีลูกได้กี่คน คุณแม่ผ่าคลอดครั้งที่ 3 อันตรายไหม ส่งผลร้ายต่อร่างกายของคุณแม่หรือเปล่า ไปดูข้อควรรู้การผ่าคลอดกัน

บล็อกหลังผ่าคลอด คืออะไร เรื่องที่คุณแม่ต้องรู้ เกี่ยวกับการบล็อกหลัง

บล็อกหลัง คืออะไร การผ่าคลอดบล็อกหลังที่คุณแม่ควรรู้

บล็อกหลัง คืออะไร บล็อกหลังคลอดธรรมชาติและผ่าคลอดบล็อกหลังช่วยให้คุณแม่เจ็บปวดน้อยลงแค่ไหน พร้อมข้อดี-ข้อเสียและวิธีรับมือเมื่อต้องบล็อกหลัง

อายุครรภ์ 15 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 15 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

ผ่าคลอดกี่สัปดาห์ ท้องกี่สัปดาห์คลอดถึงปลอดภัยสำหรับลูกน้อย

คุณแม่ผ่าคลอดกี่สัปดาห์ ท้องกี่สัปดาห์คลอดถึงปลอดภัยกับลูกน้อย เพราะสัปดาห์ที่ 37-40 เป็นช่วงเวลาที่ลูกน้อยมีอวัยวะครบแล้ว พร้อมสำหรับการผ่าคลอด

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก