คนท้องนอนไม่หลับ ส่งผลต่อทารกอย่างไร พร้อมวิธีทำให้หลับง่ายขึ้น

คนท้องนอนไม่หลับ ส่งผลต่อทารกอย่างไร พร้อมวิธีทำให้หลับง่ายขึ้น

31.03.2024

การนอนหลับของแม่ตั้งครรภ์คงนอนหลับไม่สะดวกสบายเหมือนช่วงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะขนาดท้องที่ใหญ่ขึ้น ท่าทางการนอน การปรับสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้เหมาะสม อุณหภูมิห้องนอนไม่ให้ร้อนหรือหนาวจนเกินไป สวมใส่เสื้อผ้าที่สบาย รวมถึงการรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ช่วยให้แม่ท้องนอนหลับง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามการนอนไม่หลับบ่อย ๆ หรือนอนหลับไม่เพียงพอยังส่งผลต่อตัวแม่ท้องและทารกในครรภ์ 
 

headphones

PLAYING: คนท้องนอนไม่หลับ ส่งผลต่อทารกอย่างไร พร้อมวิธีทำให้หลับง่ายขึ้น

อ่าน 6 นาที

สรุป

  • คนท้องนอนไม่หลับ คนท้องนอนหลับไม่สนิทเกิดขึ้นได้ทุกไตรมาสของการตั้งครรภ์แต่มักจะมีอาการนอนไม่หลับหรือนอนไม่สบายในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสที่ 3 เกิดจากช่วงแรกยังมีอาการแพ้ท้อง เวียนหัว อาเจียน สำหรับไตรมาสที่ 3 ท้องของคุณแม่ขยายใหญ่ขึ้นมาก ทำให้ท่านอนไม่สะดวกสบายและมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เจ็บครรภ์หลอก เจ็บท้องเตือน อาการเหน็บชา ปวดหลัง ปวดขา ยิ่งทำให้การนอนหลับยากขึ้น
  • คนท้องที่เล่นโทรศัพท์มือถือก่อนนอน ทำให้นอนไม่หลับ ในช่วงกลางคืนสมองหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินเพื่อให้ร่างกายนอนหลับพักผ่อน แต่แสงสีฟ้าในโทรศัพท์มือถือหลอกสมองว่าเป็นเวลากลางวัน ทำให้แม่ท้องที่เล่นโทรศัพท์มือถือก่อนนอนยิ่งนอนหลับยาก
  • คนท้องจะนอนหลับสบายขึ้น หากมีอุปกรณ์ช่วยอย่างหมอนหนุนบริเวณลำตัว บริเวณขา เพื่อพยุงครรภ์ทำให้คุณแม่ผ่อนคลายและช่วยลดอาการกรดไหลย้อนได้อีกด้วย

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

คนท้องนอนไม่หลับ เกิดขึ้นจากอะไรได้บ้าง

ปกติแล้วคนท้องจะนอนหลับยากกว่าปกติ สภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละเดือน ร่วมกับอาการต่าง ๆ ที่พบในแม่ตั้งครรภ์ มาดูกันว่าสาเหตุที่ทำให้แม่ท้องนอนไม่หลับมีอะไรบ้าง

  • ระดับฮอร์โมน ฮอร์โมนในร่างกายคนท้องที่ผันผวนเปลี่ยนแปลง
  • อาการแพ้ท้อง อาการคลื่นไส้อาเจียนในช่วงไตรมาสแรกทำให้คนท้องนอนหลับยาก
  • ทารกในครรภ์เจริญเติบโตมากขึ้น ส่งผลทำให้มดลูกขยายใหญ่ขึ้น ท่าทางการนอนไม่สะดวกสบาย ทำให้แม่ตั้งครรภ์หลับยากขึ้น
  • ปัสสาวะบ่อย เนื่องจากมดลูกขยายใหญ่กดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ต้องลุกเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ
  • อาการต่าง ๆ ช่วงตั้งครรภ์ เช่น ตะคริว ปวดหลัง ปวดขา
  • กรดไหลย้อน (GERD) เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้บ่อยสำหรับแม่ท้อง การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนและระบบภายในร่างกาย มดลูกที่ขยายใหญ่ทำให้กดเบียดกระเพาะอาหารส่งผลให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้ง่าย
  • อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น แม่ตั้งครรภ์จะมีอุณหภูมิในร่างกายสูงกว่าปกติ บางคนจะมีอาการตัวรุม ๆ คล้ายจะเป็นไข้ สาเหตุเกิดจากภายในร่างกายมีการสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้น

 

คนท้องนอนไม่หลับ เกิดขึ้นช่วงไหนของการตั้งครรภ์

ปัญหาการนอนหลับยาก ปัญหาการนอนไม่หลับสำหรับแม่ท้องเป็นปัญหาที่พบได้ทุกคน การนอนไม่หลับในช่วงกลางคืนส่งผลให้แม่ตั้งครรภ์รู้สึกเหนื่อยล้าในช่วงกลางวัน และอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น ความเครียด วิตกกังวลง่าย คนท้องนอนไม่หลับเกิดขึ้นได้ในทุกไตรมาสของการตั้งครรภ์ ซึ่งแนวโน้มที่พบได้บ่อยจะเป็นช่วงไตรมาสแรก ที่มักจะมีอาการแพ้ท้อง อาเจียน และช่วงไตรมาสที่ 3 ทารกในครรภ์เจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ขนาดของมดลูกขยายใหญ่ขึ้นไปกดเบียดอวัยวะต่าง ๆ กระเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะ ทำให้มีอาการปวดหลัง ปวดขา คัดเต้านม ตะคริว ปัสสาวะบ่อย กรดไหลย้อน ทำให้หายใจไม่อิ่ม มีอาการแสบร้อนทรวงอก เจ็บครรภ์เตือน อาการเหล่านี้ล้วนส่งผลให้แม่ท้องนอนหลับยากทั้งสิ้น

 

แสงสีฟ้าจากมือถือ ก็ทำให้คนท้องนอนไม่หลับได้เหมือนกัน

คนท้องมักจะนอนหลับยาก เนื่องจากสภาพร่างกายและอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ อาการนอนหลับยากมักจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสสุดท้าย นอกจากนี้มีอีกสาเหตุหนึ่งที่แม่ท้องบางคนนอนหลับยาก ก็คือแสงสีฟ้าจากโทรศัพท์มือถือ สาเหตุที่แสงสีฟ้าจากโทรศัพท์มือถือทำให้นอนหลับยาก มีดังนี้

  • แสงสีฟ้าจากโทรศัพท์มือถือกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัว
  • แสงสีฟ้าทำให้ความสมดุลของฮอร์โมนเมลาโทนิน (melatonin) ลดลง 70 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เสียสมดุลในการนอนหลับ
  • แสงสีฟ้าเพิ่มการสร้างคอร์ติซอล (cortisol) ส่งผลกระทบต่อแม่ท้องทำให้นอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิท

 

แสงสีฟ้าส่งผลให้คนท้องนอนไม่หลับ

 

แม่ตั้งครรภ์นอนไม่หลับส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์อย่างไร

แม่ท้องนอนไม่หลับ แม่ท้องนอนหลับยาก นอกจากจะส่งผลต่อตัวแม่ท้องเอง ยังส่งผลต่อทารกน้อยในครรภ์ได้ เพราะการนอนไม่หลับในตอนกลางคืน ส่งผลให้ในช่วงเวลากลางวันแม่ท้องจะรู้สึกอ่อนเพลียง่าย รวมถึงเกิดภาวะเครียด วิตกกังวลได้ง่าย ความเครียดส่งผลต่อสุขภาพของแม่ท้อง เช่น ทำให้อ่อนเพลีย หลอดเลือดตีบ ปวดหัวเฉียบพลัน ไม่อยากอาหาร ความดันในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดต่ำ มือสั่น ชา ภูมิต้านทานลดลง ซึ่งแม่ท้องที่มีความเครียดระหว่างตั้งครรภ์ จะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์โดยตรง นอกจากนี้ ความเครียดยังส่งผลต่อทารกในครรภ์ ดังนี้

  • เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายของทารกยังทำงานไม่เต็มที่
  • ทารกน้ำหนักตัวน้อย
  • เสี่ยงเป็นออทิสติกหรือมีความบกพร่องทางภาษา
  • เสี่ยงพัฒนาการทารกล่าช้ากว่าปกติ

 

รวมเคล็ดลับช่วยให้คนท้องนอนหลับง่ายขึ้น

แม่ท้องนอนหลับยากเกิดจากหลายสาเหตุทั้งด้านร่างกาย อาการของแม่ตั้งครรภ์ ด้านจิตใจ จากความเครียด ความวิตกกังวล การนอนหลับสำคัญต่อสุขภาพแม่ท้องและทารกในครรภ์ วิธีการที่ช่วยให้แม่ท้องผ่อนคลายและนอนหลับได้ง่ายขึ้น ทำได้ดังนี้

  • ควรนอนก่อนเวลา 22.00 น. ระยะเวลานอน 7-9 ชั่วโมงต่อคืน เพื่อให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone) เพื่อซ่อมแซมกล้ามเนื้อ และร่างกายสึกหรอจากการใช้งานระหว่างวัน
  • ท่านอนหงาย เป็นท่านอนที่ทำให้แม่ตั้งครรภ์ที่มีขนาดครรภ์ใหญ่นอนหลับยาก เพราะช่วงตั้งครรภ์กล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะอาหารจะหย่อนตัว เกิดภาวะกรดไหลย้อนได้ง่าย มดลูกที่โตขึ้นจะกดทับเส้นเลือดใหญ่ทำให้เลือดไหลกลับไปยังหัวใจไม่ดี ทำให้เกิดอาการขาบวม
  • ท่านอนตะแคง คือ ท่านอนที่เหมาะสมกับแม่ท้อง โดยเฉพาะการนอนตะแคงซ้ายจะช่วยลดการกดทับหลอดเลือดใหญ่ ทำให้เลือดสูบฉีดและนำสารอาหารไปสู่รกและทารกได้สะดวก
  • หากแม่ท้องมีอาการขาบวม ให้นอนหงายแล้วยกเท้าพาดเก้าอี้ หมอน หรือผนัง โดยให้เท้าอยู่สูงกว่าศีรษะ ประมาณ 10 นาที เพื่อให้เลือดไหลเวียนกลับไปยังหัวใจได้สะดวกขึ้น
  • ปรับอุณหภูมิในห้องนอนให้สบาย ไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป เงียบสงบ มีความมืด เพื่อให้นอนหลับสนิทและหลับสบาย
  • ใช้หมอนรองครรภ์ในท่านอนตะแคง โดยสอดหมอนไว้ใต้ท้องและระหว่างเข่าทั้ง 2 ข้าง ช่วยรองรับหลังและท้อง ทำให้แม่ตั้งครรภ์นอนหลับได้ง่ายขึ้น
  • ใส่ชุดนอนที่เนื้อผ้าเบาสบาย หากคุณแม่อึดอัดเต้านมที่เริ่มคัดตึง แม่ตั้งครรภ์สามารถใส่เสื้อชั้นในสำหรับคนท้องเพื่อช่วยพยุงทรงทำให้สวมใส่สบายและเหมาะสมกับแม่ตั้งครรภ์

 

อาหารที่ช่วยให้คนท้องนอนหลับง่ายขึ้น

คนท้องนอนหลับยาก การรับประทานอาหารมีส่วนช่วยให้คนท้องหลับสบายขึ้น การรับประทานอาหารที่ช่วยให้แม่ตั้งครรภ์นอนหลับง่ายขึ้น มีดังนี้

  • แม่ท้องควรรับประทานอาหารมื้อเย็นให้เร็วกว่าเดิม ค่อย ๆ รับประทาน และไม่ควรนอนทันทีหลังจากรับประทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ ควรรอให้อาหารย่อย เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดกรดไหลย้อน อาการแสบร้อนกลางทรวงอก
  • รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อปลา อกไก่ ไข่ ช่วยให้ลดระดับน้ำตาลในเลือดให้คงตัวตลอดคืน และป้องกันอาการปวดหัว ร้อนวูบวาบ
  • งดดื่มน้ำก่อนเข้านอนสัก 2-3 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้ปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน
  • งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ชาและกาแฟ ทำให้แม่ตั้งครรภ์นอนไม่หลับ เพิ่มความเสี่ยงให้ทารกในครรภ์น้ำหนักตัวน้อยอีกด้วย

 

แม่ท้องนอนหลับยากส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่และส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ มีวิธีการต่าง ๆ ที่ช่วยให้คุณแม่นอนหลับง่ายขึ้น เช่น ใช้หมอนรองครรภ์ ปรับท่านอนให้เหมาะสม โดยเฉพาะแม่ท้องนอนตะแคงจะทำให้นอนหลับสบายขึ้น ปรับสภาพแวดล้อมในห้องนอน สวมเสื้อผ้าที่สบายตัว รับประทานอาหารมีส่วนช่วยให้แม่ท้องหลับสบายขึ้น หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ ทำให้นอนหลับยาก

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. ปัญหาการนอนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ แก้ไขอย่างไรได้บ้าง, hellokhunmor
  2. ไม่ดีแน่… ถ้าปล่อยให้คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องสู้กับ “กรดไหลย้อน”, โรงพยาบาลเปาโล
  3. อาการคนท้องเดือนแรก สัญญาณว่าเริ่มต้นว่ากำลังตั้งครรภ์, โรงพยาบาลศิครินทร์
  4. คนท้องนอนไม่หลับกับวิธีการรับมือง่าย ๆ, pobpad
  5. อันตรายของแสงสีฟ้าต่อดวงตา, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  6. Work form home ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน อาจเสี่ยงจอประสาทตาเสื่อม, โรงพยาบาลสมิติเวช
  7. เทคนิคการดูแลตนเองระหว่างตั้งครรภ์อย่างมีสุขภาพดีทั้งแม่และเด็กในครรภ์, โรงพยาบาลนครธน
  8. การนอนหลับสำหรับหญิงตั้งครรภ์, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

อ้างอิง ณ วันที่ 31 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

คนท้องไปงานศพได้ไหม เพราะอะไร ทำไมคนท้องไปงานศพไม่ได้

คนท้องไปงานศพได้ไหม เพราะอะไร ทำไมคนท้องไปงานศพไม่ได้

คนท้องไปงานศพได้ไหม เพราะอะไรคนท้องถึงไปงานศพไม่ได้ หากคนท้องไปงานศพจะเกิดอะไรขึ้น ทำไมถึงมีความเชื่อว่าคนท้องไม่ควรไปงานศพ ไปทำความเข้าใจพร้อมกัน

อารมณ์คนท้องระยะแรกเป็นแบบไหน คนท้องอารมณ์ขึ้น ๆ ลงๆ รับมืออย่างไร

อารมณ์คนท้องระยะแรกเป็นแบบไหน คนท้องอารมณ์ขึ้น ๆ ลงๆ รับมืออย่างไร

อารมณ์คนท้องระยะแรกเป็นแบบไหน คุณแม่ท้องอารมณ์ขึ้นๆ ลง เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณพ่อมือใหม่มีวิธีรับมือกับอารมณ์คนท้องระยะแรกของคุณแม่ได้อย่างไร ไปดูกัน

คลอดก่อนกําหนด 7 เดือน คลอดก่อนกำหนด 32 สัปดาห์ อันตรายไหม

คลอดก่อนกําหนด 7 เดือน คลอดก่อนกำหนด 32 สัปดาห์ อันตรายไหม

คลอดก่อนกําหนด 7 เดือน เกิดจากอะไร คุณแม่คลอดก่อนกำหนด 32 สัปดาห์ ลูกมีโอกาสรอดแค่ไหน อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า พร้อมสัญญาณเตือนการคลอดก่อนกำหนด

ทําหมันเจ็บไหม ผู้หญิงผ่าคลอดทำหมันกี่วันหาย เตรียมตัวแบบไหนดี

ทําหมันเจ็บไหม ผู้หญิงผ่าคลอดทำหมันกี่วันหาย เตรียมตัวแบบไหนดี

ทําหมันเจ็บไหม ผู้หญิงผ่าคลอดทําหมันกี่วันหาย คุณแม่ทำหมันทันทีเลยได้ไหม ต้องเตรียมตัวอย่างไร ให้คุณแม่เจ็บน้อยที่สุด พร้อมข้อดีและข้อเสียการทำหมัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก