อาการคันของคนท้อง เกิดจากอะไร ผื่นแพ้ฮอร์โมนตั้งครรภ์ อันตรายไหม

อาการคันของคนท้อง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้คันท้องคนท้อง

23.08.2024

เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ ผิวหนังอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องมาจากฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ผิวพรรณของคุณแม่อาจจะหมองคล้ำลง ผิวแตกลาย ผิวแห้งขาดน้ำ มีสิวขึ้น หรือปัญหาอาการคันคนท้อง หรือผื่นแพ้ฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ คุณแม่จึงควรเตรียมรับมือกับอาการต่าง ๆ ไว้เป็นอย่างดี

headphones

PLAYING: อาการคันของคนท้อง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้คันท้องคนท้อง

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • ผื่นแพ้ฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ หรือบางครั้งอาจเกิดจากการที่ผิวหนังหน้าท้องมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว
  • ผื่นแพ้ฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ มักเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ครั้งแรกหรือท้องแรก โดยส่วนใหญ่จะพบมากในระหว่างอายุครรภ์ประมาณ 36 สัปดาห์ หรือการตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสที่ 3 บางครั้งอาจพบได้ทั้งไตรมาสที่ 1 และ 2 แต่ไม่บ่อยนัก รวมถึงอาจเกิดผื่นแพ้ฮอร์โมนในช่วงหลังคลอดได้เช่นกัน
  • วิธีช่วยบรรเทาอาการคันคนท้อง เช่น การประคบเย็นบริเวณที่คัน ประมาณ 5-10 นาที หลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อนหรืออุ่นจัด สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี บำรุงผิวด้วยครีมหรือโลชั่นที่เป็นสูตรอ่อนโยนและธรรมชาติ ดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอ

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

อาการคันของคนท้องเป็นแบบไหน

คุณแม่ตั้งครรภ์อาจรู้สึกคันตามร่างกาย ซึ่งอาจมีอาการบ่อยครั้ง โดยจะคันที่บริเวณหน้าท้อง หน้าอก และคันหัวนม ซึ่งจะทำให้คุณแม่รู้สึกหงุดหงิดรำคาญ และไม่สบายตัวได้ รวมถึงเพิ่มความเครียดวิตกกังวลว่าจะส่งผลอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์หรือไม่

 

ซึ่งหากมีอาการคันอยู่ในระดับที่พอรับได้ ก็จะไม่ส่งผลกระทบที่รุนแรงแต่อย่างใด แต่หากมีผื่นขึ้นที่เป็นวงกว้างมากขึ้น หรือมีลักษณะเป็นตุ่มใสกระจายทั่วตัว จนดูผิดปกติ คุณแม่ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ให้รีบปรึกษาคุณหมอเพื่อจะได้รักษาอย่างถูกวิธี ไม่ให้เกิดการทิ้งร่องรอยที่ผิวหนังไว้ได้

 

ผื่นแพ้ฮอร์โมนตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร

ผื่นแพ้ฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ ทำให้เกิดอาการคันในระหว่างตั้งครรภ์นั้น ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ หรือบางครั้งอาจเกิดจากการที่ผิวหนังหน้าท้องมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จึงเป็นการทำลายเนื้อเยื่อของผิวหนัง ทำให้ไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จนเกิดผื่นที่มีลักษณะนูนแดงคล้ายลมพิษ บางครั้งอาจเป็นลักษณะตุ่มใส ตรงบริเวณรอยแตกลายที่หน้าท้อง ต้นขา หรือที่ก้น และมีอาการคันร่วมด้วย

 

ผื่นแพ้ฮอร์โมนตั้งครรภ์ เกิดขึ้นช่วงไตรมาสไหน

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่พบผื่นแพ้ฮอร์โมนตั้งครรภ์ส่วนใหญ่แล้ว มักเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ครั้งแรกหรือตั้งครรภ์ท้องแรก โดยส่วนใหญ่ จะพบมากในระหว่างอายุครรภ์ประมาณ 36 สัปดาห์ หรือการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 3 เนื่องจากขนาดของท้องที่เริ่มโตมากขึ้น และส่งผลให้ผิวหนังมีการขยายมากขึ้น บางครั้งอาจพบได้ทั้งการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1 และ 2 แต่ไม่บ่อยนัก รวมถึงอาจเกิดผื่นแพ้ฮอร์โมนในช่วงหลังคลอดได้เช่นกัน โดยมีสาเหตุยังไม่แน่ชัด
 

ผื่นแพ้ฮอร์โมนตั้งครรภ์ หายเองได้ไหม

เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วอาการคันที่เกิดจากผื่นแพ้ฮอร์โมนตั้งครรภ์ จะค่อย ๆ หายเป็นปกติหลังคลอดลูกภายใน 2-6 สัปดาห์ แต่อาการคันในระหว่างตั้งครรภ์ก็สร้างความหงุดหงิดรำคาญใจให้แก่คุณแม่หลายท่านอยู่ไม่น้อย คุณแม่จึงควรศึกษาวิธีดูแลตนเองให้ลดอาการคันลง ช่วยให้มีความสบายตัวมากขึ้น และหลีกเลี่ยงการเกาบริเวณที่คันเพราะอาจทำให้เกิดแผลหรือติดเชื้อได้ หากมีอาการคันรุนแรงควรรีบปรึกษาคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป

 

อาการคันของคนท้อง ซื้อยากินเองได้ไหม

 

คนท้องมีอาการคัน ซื้อยากินเองได้ไหม

คุณแม่ตั้งครรภ์ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเองเด็ดขาด หากมีอาการคันระหว่างตั้งครรภ์ หรือมีผื่นแพ้ฮอร์โมนตั้งครรภ์ ควรหาวิธีช่วยบรรเทาอาการคันดังกล่าว เช่น การประคบเย็นบริเวณที่คัน ประมาณ 5-10 นาที หลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อนหรืออุ่นจัด สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี ถ้าอยากบำรุงผิวด้วยครีมหรือโลชั่นที่เป็นสูตรอ่อนโยนควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน ควรดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอ ทั้งนี้หากอาการคันมีความรุนแรง จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมาก ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยหาสาเหตุและรักษาอย่างถูกวิธี

 

อาการคันของคนท้อง แบบไหนอันตราย

อาการคันของคนท้องที่มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือการขยายตัวของผิวหนังอย่างรวดเร็ว โดยทั่วไปแล้วจะไม่ส่งผลอันตรายต่อทั้งลูกในครรภ์และตัวคุณแม่เอง แต่หากคุณแม่สังเกตพบอาการที่ผิดปกติเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที

  1. มีอาการคันรุนแรงมาก โดยเฉพาะบริเวณมือและเท้า
  2. มีรอยสะเก็ด และอาการคันตามแขน ขา และบริเวณหน้าท้อง
  3. มีอาการคันที่ช่องคลอด
  4. ผิวหนังและดวงตามีสีเหลือง
  5. ปัสสาวะคนท้องมีสีเข้มหรืออุจจาระมีสีอ่อน
  6. เบื่ออาหาร และมีอาการคลื่นไส้

 

วิธีบรรเทาอาการคันของคนท้อง เมื่อคนท้องมีผื่นแพ้ฮอร์โมนตั้งครรภ์

ปัญหาผิวหนังกับคุณแม่ตั้งครรภ์ ถือเป็นสิ่งที่มักเกิดพร้อม ๆ กันกับการตั้งครรภ์เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการคันระหว่างท้องร่วมด้วย จะสร้างความทรมาน หงุดหงิด รวมถึงก่อให้เกิดความกังวลต่าง ๆ ตามมา คุณแม่สามารถลดอาการคันลงได้ ด้วยวิธีดังนี้

  • ควรหมั่นทาครีมบำรุงให้ผิวชุ่มชื้นอยู่เสมอ โดยควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีความอ่อนโยนและเป็นธรรมชาติ ไม่มีน้ำหอมหรือสารเคมี และควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูกน้อย
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่เบาสบาย ไม่รัดแน่น ระบายอากาศได้เป็นอย่างดี จะช่วยให้ร่างกายไม่รู้สึกอับชื้น
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อน เพราะอาจทำให้กระตุ้นความคันได้
  • หลีกเลี่ยงการเกาแรง ๆ จนเกิดแผล เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองและติดเชื้อได้
  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่น หรือร้อนจัด เพราะจะทำให้ผิวแห้ง ขาดความชุ่มชื้น
  • ทายาแก้คัน ตามแพทย์สั่งเพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัยต่อลูกน้อยและคุณแม่เอง

 

การตั้งครรภ์ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและฮอร์โมนของคุณแม่เป็นอย่างมาก รวมไปถึงปัญหาผิวหนังซึ่งเป็นสิ่งที่คู่กันกับการตั้งครรภ์เสมอ แต่ทั้งนี้คุณแม่ไม่ต้องกังวลใจมากเกินไป เพราะผื่นแพ้ฮอร์โมนตั้งครรภ์ หรืออาการคันคนท้อง ส่วนใหญ่แล้วไม่ส่งผลอันตรายต่อการตั้งครรภ์ แต่อาจทำให้เกิดความไม่สบายตัวในการใช้ชีวิตประจำวัน และอาการจะค่อย ๆ หายดีขึ้นได้เองภายหลังคลอดลูก ดังนั้น หากคุณแม่รู้วิธีการรับมือเมื่อเกิดอาการดังกล่าวขึ้นจะเป็นการดีที่สุด และที่สำคัญหากสังเกตพบความผิดปกติมากขึ้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยหาสาเหตุและรักษาอย่างถูกวิธี

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 


อ้างอิง:

  1. 6 ปัญหาผิวช่วงตั้งครรภ์ ที่คุณแม่ต้องรับมือ, โรงพยาบาลบางปะกอก
  2. อาการคันของคนท้อง ปัญหากวนใจของคุณแม่ที่แก้ไขได้, PobPad
  3. โรคผิวหนังในสตรีตั้งครรภ์ (Skin diseases in pregnancy), ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  4. Dermatoses of Pregnancy, ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อ้างอิง ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2567

บทความแนะนำ

อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 26 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 26 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 26 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 26 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 26 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 25 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 25 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 25 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 25 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

อายุครรภ์ 24 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 24 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 24 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 24 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 24 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 24 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 24 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

อายุครรภ์ 23 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 23 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 23 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 23 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 23 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 23 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง ลูกตัวใหญ่แค่ไหน สัญญาณอะไรที่บอกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 23 สัปดาห์แล้ว พร้อมวิธีดูแลครรภ์

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก