นับวันไข่ตก อาการไข่ตก วันตกไข่ คืออะไร นับอย่างไรให้แม่นยำ

ไข่ตก คืออะไร นับวันไข่ตกยังไงให้แม่นยำ พร้อมอาการไข่ตกที่ควรรู้

09.05.2023

สำหรับผู้ญิงหรือว่าที่คุณแม่ที่กำลังวางแผนการตั้งครรภ์ การทำความเข้าใจเรื่องวันตกไข่หรือวิธีนับวันไข่ตกรวมถึงวงจรของวันไข่ตกในแต่ละรอบเดือน การนับวันตกไข่จึงมีความสำคัญ เพราะทำให้ผู้หญิงสามารถคาดการณ์ช่วงวันที่ไข่ตกที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้

headphones

PLAYING: ไข่ตก คืออะไร นับวันไข่ตกยังไงให้แม่นยำ พร้อมอาการไข่ตกที่ควรรู้

อ่าน 7 นาที

สรุป

  • นับวันไข่ตก หรือวันไข่ตก คืออะไร วันที่ไข่ในรังไข่สุกหรือโตเต็มแล้วตกลงสู่ปลายท่อนำไข่เพื่อรอการปฏิสนธิ เมื่อถึงวันไข่ตก ไข่จะอยู่ในท่อนำไข่เป็นระยะเวลา 12-24 ชั่วโมง โดยผู้หญิงทุกคนจะมีวันไข่ตกได้เพียง 1 ครั้งต่อรอบเดือน  
  • ผู้หญิงส่วนใหญ่มีรอบเดือนอยู่ที่รอบละ 28-35 วัน ในกรณีที่ผู้หญิงมีระยะห่างของรอบเดือนทุก 28 วันอย่างสม่ำเสมอ ไข่จะตกในช่วงวันที่ 14 ของรอบเดือน หากไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิเยื่อบุมดลูกจะหลุดออกไปและกลายเป็นประจำเดือน
  • วิธีการนับวันไข่ตก สามารถทำได้โดยการจดบันทึกรอบเดือนของตัวเอง หรือใช้เครื่องมือในการช่วยคำนวณวันไข่ตกเพื่อความสะดวกและความแม่นยำในการเพิ่มโอกาสของการตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้น
  • อาการไข่ตกของผู้หญิงมีตั้งแต่มีมูกใสมากกว่าปกติ ปวดท้องข้างใดข้างหนึ่ง เต้านมนิ่ม มีอารมณ์ทางเพศเพิ่มขึ้น ท้องอืด และอุณหภูมิของร่างกายที่เพิ่มขึ้น โดยอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นกับผู้หญิงบางคนและบางอาการเท่านั้น

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ทำความเข้าใจเรื่องวันไข่ตก

วันไข่ตกเป็นกระบวนการธรรมชาติในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง ผู้หญิงทุกคนจะมีวันไข่ตกได้เพียง 1 ครั้งต่อรอบเดือน โดยใช้เวลารอบละ 28-35 วัน จนกว่าจะถึงช่วงวัยหมดประจำเดือน รอบเดือนของผู้หญิงแต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน ซึ่งวิธีการนับวันตกไข่ให้เริ่มนับจากวันแรกของการมีประจำเดือน  เมื่อถึงวันไข่ตกไข่จะอยู่ในท่อนำไข่เป็นระยะเวลา 12-24 ชั่วโมง เพื่อรอให้อสุจิมาผสม หากคุณแม่ต้องการวางแผนการตั้งครรภ์ควรทำความเข้าใจเรื่องวันไข่ตกเพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

 

วันไข่ตก คืออะไร

วันไข่ตก คือวันที่ไข่ในรังไข่สุกแล้วตกลงสู่ปลายท่อนำไข่เพื่อรอการผสมจากอสุจิ โดยผู้หญิงแต่ละคนจะมีวันไข่ตกที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับรอบของประจำเดือน ถ้าหลังจากไข่ตกแล้วไม่มีอสุจิมาผสมหรือผสมไม่สำเร็จ อีก 14 วัน ผู้หญิงจะกลับมามีรอบเดือนอีกครั้ง

 

เข้าใจวงจรวันไข่ตก

วงจรวันไข่ตกของผู้หญิงแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป ในแต่ละรอบเดือนของผู้หญิงจะมีวันไข่ตกเดือนละ 1 ครั้ง ส่วนใหญ่ไข่จะตกช่วง 2 สัปดาห์ก่อนประจำเดือนรอบใหม่จะมา โดยจะมีช่วงที่ไข่รอผสมกับอสุจิอยู่ที่ท่อนำไข่เพียง 12-24 ชั่วโมงเท่านั้น ถ้าผู้หญิงมีรอบเดือนตรงสม่ำเสมอทุก ๆ 28 วัน ไข่จะตกในช่วงวันที่ 14 ของรอบเดือน เมื่ออสุจิมาเจอกับไข่ที่รออยู่แล้วเกิดการปฏิสนธิขึ้น ไข่จะเข้าไปฝังตัวที่เยื่อบุผนังมดลูกแล้วกลายเป็นตัวอ่อนทำให้เกิดการตั้งครรภ์ขึ้นในที่สุด หากผู้หญิงมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลานี้จะมีโอกาสตั้งครรภ์สูงที่สุด

 

อาการไข่ตก จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่

วงจรการเกิดไข่ตกจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงแต่ละคนโดยใช่รอบละ 28-35 วัน แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 

  • ระยะก่อนไข่ตก:  โดยนับวันที่ประจำเดือนมาวันแรกเป็นวันที่ 1 ของรอบเดือน
  • ระยะไข่ตก: ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงวันที่ 14 ของรอบเดือน ในช่วงที่เกิดไข่ตก รังไข่ข้างใดข้างหนึ่งจะปล่อยไข่ใบที่โตเต็มที่หรือไข่ที่สุกแล้วออกไปยังท่อนำไข่ท่อใดท่อใดท่อหนึ่งเพื่อรอให้อสุจิมาปฏิสนธิ ในช่วงเวลานี้เยื่อบุมดลูกของคุณก็จะหนาขึ้นเช่นกันเพื่อเตรียมมดลูกสำหรับการฝังไข่ที่มีการปฏิสนธิ
  • ระยะหลังไข่ตก: หากไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิ หรือไข่ไม่มีการฝังตัวเข้าไปในมดลูก เยื่อบุมดลูกจะหลุดออกไปและประจำเดือนจะมา

 

ไข่ตกเกิดขึ้นนานแค่ไหน ไข่ตกอยู่ได้กี่วัน

ในแต่ละรอบของช่วงไข่ตกจะมีระยะเวลาอยู่ในท่อนำไข่เพียง 12-24 ชั่วโมง หรือมีวันไข่ตกอยู่ที่ประมาณ 1 วัน แต่สิ่งที่คุณควรทราบคือ อสุจิสามารถอยู่ในมดลูกได้ 48-72 ชั่วโมง หากคุณมีเพศสัมพันธ์ก่อนวันไข่ตก 1-2 วัน ก็มีโอกาสตั้งครรภ์ได้

 

การนับวันตกไข่ สำคัญอย่างไร

วันไข่ตกเป็นช่วงเวลาที่ไข่พร้อมในการปฏิสนธิมากที่สุด หากผู้หญิงมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลานี้มีแนวโน้มว่าจะเกิดการตั้งครรภ์มากที่สุด เพื่อโอกาสที่ดีที่สุดในการตั้งครรภ์ คุณควรมีเพศสัมพันธ์ทุกวันหรือวันเว้นวันในระหว่าง 5 วันก่อนที่จะมีการตกไข่ วันที่ไข่ตก และวันหลังจากไข่ตก 1 วัน รวมแล้วประมาณ 7 วัน

 

วิธีนับวันไข่ตก สำหรับว่าที่คุณแม่ มีอะไรบ้าง

 

วิธีนับวันตกไข่ สำหรับว่าที่คุณแม่ มีอะไรบ้าง

นับวันไข่ตกหรือการนับรอบเดือนของผู้หญิงควรเริ่มนับจากวันแรกของการมีประจำเดือนในรอบปัจจุบันไปจนถึงวันวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งถัดไป จึงจะได้ระยะห่างของรอบเดือนหรือความยาวของรอบเดือนแต่ละรอบ จากนั้นมาหาวิธีนับไข่ตก ดังนี้

 

1. จดบันทึกรอบเดือนของตัวเอง

การจดบันทึกรอบเดือนของตัวเองจะช่วยให้ผู้หญิงคาดการณ์วันไข่ตกได้ คือ

  • ในผู้หญิงที่มีรอบเดือนสม่ำเสมอ อาจใช้การจดบันทึกรอบเดือนและควรจดอย่างน้อย 2 รอบเดือน วิธีคำนวณวันไข่ตก ให้นำระยะห่างระหว่างรอบเดือน – 14 เช่น เดือนก่อนหน้านี้ประจำเดือนมาวันแรก คือ วันที่ 6 เม.ย. เดือนล่าสุด มีประจำเดือนวันแรก คือ วันที่ 7 พ.ค. แสดงว่า รอบเดือนห่างกัน 32 วัน ดังนั้น ให้นำ 32-14 จะได้ 18 หมายความว่า จะมีช่วงที่ไข่ตกในอีก 18 วันของรอบเดือนถัดไป หรือก็คือวันที่ 24 มิ.ย. นั่นเอง
  • ในกรณีที่ผู้หญิงที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ แนะนำให้มีการจดบันทึกรอบเดือนให้นานกว่านั้น โดยจดตั้งแต่วันแรกที่เริ่มมีประจำเดือนจนถึงวันสุดท้ายของรอบเดือน เพื่อดูความยาวของรอบเดือน โดยว่าที่คุณแม่สามารถนับอายุครรภ์ได้ด้วยตัวเอง หรือใช้ วิธีคำนวณวันไข่ตก ดังนี้
    1. ให้นำระยะห่างระหว่างรอบเดือนที่สั้นที่สุด หรือวันแรกที่พร้อมตั้งครรภ์ – 18 ส่วนระยะห่างระหว่างรอบเดือนที่ยาวที่สุด - 11 เช่น รอบเดือนที่สั้นที่สุด คือ 28 วัน – 18 จะได้วันที่ 10
    2. ส่วนรอบเดือนที่ยาวที่สุด หรือ วันสุดท้ายที่พร้อมตั้งครรภ์ คือ 32 วัน - 11 จะได้วันที่ 21
    3. ดังนั้นช่วงวันไข่ตกจะอยู่ระหว่างวันที่ 10 ถึงวันที่ 21 ในรอบเดือนถัดไป

 

2. ใช้เครื่องมือคํานวณวันไข่ตก

  • ใช้ที่ตรวจไข่ตก : ชุดตรวจไข่ตก (LH ovulation test) เป็นการตรวจหาฮอร์โมนกระตุ้นการตกไข่ในปัสสาวะ ปกติร่างกายของผู้หญิงจะมีการหลั่งฮอร์โมนชนิดอยู่แล้วในปริมาณเล็กน้อย เมื่อถึงช่วงไข่ตกร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน LH เพิ่มขึ้น เมื่อใช้ชุดตรวจไข่ตกจะขึ้นผลเป็นบวกหรือขึ้น 2 ขีด โดยช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการตรวจไข่ตก คือ ช่วงบ่าย 2 เพราะเป็นช่วงเวลาที่ฮอร์โมน LH ในร่างกายสูงที่สุด
  • ใช้ตัวช่วยนับวันตกไข่ เช่น แอปพลิเคชัน หรือ โปรแกรมคำนวณวันไข่ตก: เพื่อความสะดวกและความแม่นยำคุณสามารถเลือกใช้การจดบันทึกรอบเดือนโดยใช้แอปนับวันตกไข่ได้ เพราะแอปส่วนใหญ่จะช่วยวิเคราะห์และคาดการณ์วันไข่ตกได้อย่างแม่นยำ บางแอปอาจมีการแจ้งเตือนวันที่ไข่ตกได้ด้วย นอกจากนี้ว่าที่คุณแม่ยังสามารถใช้ตัวช่วยที่มีอยู่ในเว็บไซต์ของเราอย่างโปรแกรมคำนวณวันไข่ตกได้อีกด้วย

 

อาการไข่ตก ช่วงที่มีไข่ตก ผู้หญิงจะมีอาการอย่างไร

อาการไข่ตกเป็นสัญญาณที่บอกว่าไข่กำลังสุกเต็มที่พร้อมเคลื่อนตัวไปยังท่อนำไข่เพื่อรอการปฏิสนธิกับอสุจิแล้ว ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าถึงเวลาสำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ ในช่วงไข่ตกนี้ร่างกายของผู้หญิงจึงมีการแสดงอาการต่าง ๆ คือ

  1. อุณภูมิร่างกายจะสูงขึ้น: ก่อนไข่ตกอุณหภูมิในร่างกายของผู้หญิงอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย เมื่อวันที่ไข่ตกอุณภูมิจะสูงขึ้น ผู้หญิงบางคนอาจจะไม่ทันสังเกตการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ 
  2. เกิดมูกใสบริเวณปากมดลูก: ในวันที่ไข่ตกผู้หญิงจะมีมูกใสออกมาในปริมาณมากบริเวณที่ปากมดลูก คล้ายไข่ขาวดิบ ทั้งยังมีลักษณะยืดยาวและเหนียวข้นที่มากกว่าปกติ เพื่อให้อสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกผ่านมูกที่ยืดยาวได้ง่ายขึ้น 
  3. อารมณ์ทางเพศที่เพิ่มสูงขึ้น: ช่วงไข่ตกจะเกิดการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของเพศหญิงร่างกายจึงมีการสูบฉีดเลือดที่มากขึ้นโดยเฉพาะบริเวณช่องคลอดที่จะมีมากเป็นพิเศษส่งผลให้ผู้หญิงมีอารมณ์ทางเพศที่มากขึ้นและยังทำให้ดูมีน้ำมีนวลมากขึ้นด้วย
  4. เต้านมนิ่มขึ้น คัดตึงเต้านม: อาการนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่มีปริมาณสูงกว่าปกติส่งผลให้กรดไขมันกาโมลีนิก (Gamolenic Acid) ลดลง ในช่วงวันไข่ตกของผู้หญิงจึงมีอาการคัดตึงเต้านม
  5. ปวดท้องข้างเดียว หรือปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน: อาการปวดท้องเพียงข้างใดข้างหนึ่งจากไข่ตก เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนจึงส่งผลให้ผนังรังไข่บวมและตึงขึ้น หรืออาจเกิดจากท่อนำไข่บีบรัดตัว ทำให้หลาย ๆ คนจึงรู้สึกปวดท้องหรืออุ้งเชิงกราน ขึ้นมา
  6. ท้องอืดหรือท้องผูก: ช่วงที่เกิดการตกไข่อาจทำให้เกิดอาการท้องอืดหรือท้องผูกขึ้นได้ เพราะฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ประสิทธิภาพของระบบย่อยอาหารทำงานได้ต่ำลง

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

บทความแนะนำ

9 ของใช้เตรียมคลอด ที่คุณแม่มือใหม่ควรเตรียมของไปคลอด

ของใช้เตรียมคลอดก่อนไปคลอด เตรียมของไปคลอดยังไงให้ครบ

รวมของใช้เตรียมคลอด คุณแม่เตรียมของไปคลอดอย่างไรให้ครบ อะไรที่คุณแม่ควรพกไปด้วยบ้าง ไปดูสิ่งที่ต้องเตรียมก่อนคลอดที่คุณแม่ควรเตรียมให้พร้อมกัน

พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์ ลูกน้อยมีพัฒนาการยังไงบ้าง

พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์ ลูกน้อยมีพัฒนาการยังไงบ้าง

พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์ ลูกในครรภ์มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ในช่วง 9 เดือน ลูกโตขึ้นแค่ใน เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์กับพัฒนาการลูกน้อย

โปรแกรมคำนวณน้ำหนักคนท้อง แต่ละไตรมาสน้ำหนักคุณแม่ควรเพิ่มเท่าไหร่

โปรแกรมคำนวณน้ำหนักคนท้อง แต่ละไตรมาสน้ำหนักคุณแม่ควรเพิ่มเท่าไหร่

โปรแกรมคำนวณน้ำหนักคนท้อง แต่ละไตรมาส คุณแม่ควรน้ำหนักเท่าไหร่ คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักให้พอเหมาะกับแต่ละไตรมาส เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่และลูกน้อยจนกว่าจะถึงกำหนดคลอด