ประจำเดือนหลังคลอดจะเริ่มมาเมื่อไหร่ ประจำเดือนหลังคลอดมากี่วัน

ประจำเดือนหลังคลอดจะเริ่มมาเมื่อไหร่ ประจำเดือนหลังคลอดมากี่วัน

ประจำเดือนหลังคลอดจะเริ่มมาเมื่อไหร่ ประจำเดือนหลังคลอดมากี่วัน

คุณแม่ให้นมบุตร
บทความ
พ.ย. 19, 2024
6นาที

ประจำเดือนหลังคลอด คือ การมีประจำเดือนครั้งแรกหลังจากคลอดทารก โดยทั่วไปร่างกายของคุณแม่ที่ให้นมบุตรร่วมกับนมชงจะใช้เวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์ ในการฟื้นฟูระบบฮอร์โมนให้กลับมาสู่ภาวะปกติ ซึ่งส่งผลต่อการกลับมาของการมีประจำเดือน ส่วนคุณแม่ที่ให้นมบุตรเพียงอย่างเดียวในบางราย อาจไม่มีประจำเดือนตลอดระยะเวลาที่ให้นมบุตรเลยก็ได้ อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาการกลับมาของประจำเดือนหลังคลอดนั้น แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ

 

สรุป

  • ประจำเดือนหลังคลอดมาช้าหรือเร็วอยู่ที่ปัจจัยของคุณแม่แต่ละคน ในเรื่องฮอร์โมน สภาพร่างกาย และการให้นมลูก
  • โดยทั่วไป หากคุณแม่ไม่ได้ให้นมลูก ประจำเดือนหลังคลอดเริ่มมาประมาณ 6-8 สัปดาห์หลังคลอด
  • ประจำเดือนหลังคลอดที่กลับมาในช่วงแรก อาจไม่สม่ำเสมอ แต่จะกลับมาเป็นปกติในที่สุด เนื่องจากร่างกายกำลังปรับตัวเข้าสู่สภาวะปกติ
  • การดูแลร่างกายอย่างถูกต้อง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นดูแลสุขอนามัย กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ หากิจกรรมผ่อนคลายทำ จะช่วยให้ประจำเดือนหลังคลอดกลับมาปกติ

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ประจำเดือนหลังคลอดจะกลับมาเมื่อไหร่

การกลับมาของการมีประจำเดือนหลังคลอดบุตรนั้น อาจมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับช่วงเวลา สุขภาพร่างกาย และการให้นมบุตร โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ดังนี้

  1. คุณแม่ที่ไม่ได้ให้นมลูกหรือให้นมลูกร่วมกับนมชง โดยทั่วไปคุณแม่จะกลับมามีประจำเดือนภายใน 6-8 สัปดาห์หลังคลอด แต่หากเกิน 3 เดือนแล้วประจำเดือนยังไม่มา ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุดูว่า มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ หรือเปล่า
  2. คุณแม่ที่ให้นมลูกเพียงอย่างเดียว ฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) ที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อผลิตน้ำนมจะไปยับยั้งการตกไข่ ส่งผลให้ประจำเดือนอาจจะไม่มาตลอดช่วงที่ให้นมลูก ไม่ถือว่าผิดปกติ ทั้งนี้ ความถี่และปริมาณการให้นมลูก ส่งผลต่อการกลับมามีประจำเดือน หากคุณแม่ให้นมลูกน้อยลง ประจำเดือนหลังคลอดอาจกลับมาเร็วขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าร่างกายจะหยุดการตกไข่ในช่วงให้นมลูกเสมอไป คุณแม่บางรายที่ให้นมลูกอาจกลับมามีประจำเดือนหลังคลอด 1 เดือน หรือคุณแม่บางรายอาจมีประจำเดือนช้าหลายเดือน ทั้งนี้ประจำเดือนหลังคลอดของคุณแม่แต่ละรายอาจมาช้าเร็วแตกต่างกันไปด้วยหลายปัจจัย

 

ประจําเดือนหลังคลอดมากี่วัน จะรู้ได้ไงว่าผิดปกติ

ลักษณะของประจำเดือนหลังคลอดนั้นคล้ายกับประจำเดือนปกติ อาจมีอาการปวดท้องน้อยร่วมด้วยในช่วงแรก ปริมาณเลือด อาจมาก แต่จะกลับมาเป็นปกติในที่สุด เนื่องจากในช่วงแรก ร่างกายของคุณแม่หลังคลอดต้องการเวลาปรับตัว ประจำเดือนจึงอาจมาไม่สม่ำเสมอ หรือมาแบบกะปริดกะปรอย

 

โดยทั่วไปแล้ว ประจำเดือนจะมาหลังจากน้ำคาวปลาหมดประมาณ 1 เดือน สำหรับคุณแม่ให้นมลูก ประจำเดือนอาจมาช้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ให้นมบุตร และสุขภาพโดยรวมของคุณแม่ คุณแม่ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงจะกลับมาตกไข่ได้เร็ว ส่งผลให้ประจำเดือนกลับมาได้เร็วขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม หากพบภาวะ เลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที ในกรณีต่อไปนี้

  • เลือดออกมากกว่าปกติ จนต้องเปลี่ยนผ้าอนามัย 1 ชิ้นต่อชั่วโมง
  • น้ำคาวปลา มีสีแดงสดนานเกิน 4 วัน หรือมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
  • ปวดท้องน้อย 1 สัปดาห์แรกหลังคลอด หรือปวดท้องกะทันหันอย่างรุนแรง
  • เป็นไข้เฉียบพลัน หรือมีไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส
  • มีประจำเดือนมากกว่า 7 วัน
  • มีลิ่มเลือดขนาดใหญ่ ออกมาร่วมกับเลือดประจำเดือน เป็นเวลา 1 สัปดาห์

 

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ประจำเดือนหลังคลอดมาช้า

 

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ประจำเดือนหลังคลอดมาช้า

การไม่มีประจำเดือนหลังคลอด หรือประจำเดือนมาช้าหลังคลอดเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ คุณแม่ไม่จำเป็นต้องกังวลใจ ระยะเวลาที่ประจำเดือนจะกลับมาหลังคลอดแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน สุขภาพร่างกาย และการให้นมบุตร ดังนี้

  • ฮอร์โมน ฮอร์โมนมีบทบาทสำคัญในการควบคุมรอบเดือน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงตั้งครรภ์และหลังคลอด ส่งผลต่อการกลับมาของประจำเดือน
  • ความสมบูรณ์ของร่างกาย คุณแม่ที่อายุยังน้อย สุขภาพร่างกายแข็งแรง อาจกลับมามีประจำเดือนได้เร็วกว่า
  • การให้นมลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้นมบุตร 100 เปอร์เซ็นต์ เป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ประจำเดือนมาช้า หรืออาจไม่มาเลยตลอดช่วงที่ให้นมบุตร เนื่องจากฮอร์โมนโปรแลคตินที่ผลิตน้ำนมจะไปยับยั้งการตกไข่


คลอดเองกับผ่าคลอด ประจำเดือนหลังคลอดจะมาช้าเร็วต่างกันไหม

ปัจจัยที่ส่งผลให้ประจำเดือนหลังคลอดมาช้าเร็วแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยในเรื่องของฮอร์โมนที่จะค่อย ๆ ปรับเข้าสู่ภาวะปกติ ความสมบูรณ์ของร่างกายคุณแม่แต่ละคน รวมไปถึงความถี่และระยะเวลาในการให้นมบุตร ดังนั้น ไม่ว่าคุณแม่จะคลอดเองกับผ่าคลอด ไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้ประจำเดือนมาช้าหรือเร็วกว่ากัน

 

หลังคลอดลูก ประจำเดือนหลังคลอดมาแบบไหน

หลังคลอดบุตร ร่างกายของคุณแม่จะปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งอาจส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอในช่วงแรก แต่หากพบอาการดังต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์ทันที

  • ประจำเดือนมามากกว่าปกติ เช่น เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยมาก มีลิ่มเลือดขนาดใหญ่ หรือมีปริมาณเลือดมากกว่าปกติอย่างเห็นได้ชัด
  • มีไข้เฉียบพลัน หากคุณแม่มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ ปวดศีรษะรุนแรง หายใจลำบาก รู้ไม่สบายตัวจนทนไม่ไหว ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ
  • มีอาการปวดท้องรุนแรง อาการปวดท้องน้อยเป็นอาการที่พบได้บ่อยขณะมีประจำเดือน แต่หากปวดท้องรุนแรงมาก กะทันหัน หรือปวดท้องแบบไม่เคยเป็นมาก่อน ควรไปพบแพทย์ทันที
  • ประจำเดือนหลังคลอดไม่มานานกว่า 3 เดือน สำหรับคุณแม่ที่ให้นมลูก ประจำเดือนอาจไม่มาเลย ตลอดระยะเวลาที่ให้นมไม่ถือว่าผิดปกติ แต่หากคุณแม่ไม่ได้ให้นมลูก ไม่ควรปล่อยให้ประจำเดือนหลังคลอดไม่มานานเกิน 3 เดือน เนื่องจากปกติประจำเดือนหลังคลอดควรจะมาภายใน 6-8 สัปดาห์ หากประจำเดือนหลังคลอดไม่มาเกิน 3 เดือน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ

 

มีประจำเดือนหลังคลอดแล้วปวดท้องมาก กินยาแก้ปวดได้ไหม

หากมีอาการปวดท้องระหว่างมีประจำเดือนหลังคลอด เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ เนื่องจากร่างกายกำลังปรับตัว และมดลูกกำลังหดตัวเพื่อกลับสู่ภาวะปกติ คุณแม่สามารถประคบอุ่น เพื่อบรรเทาอาการปวด ในกรณีปวดประจำเดือนมาก มีความจำเป็นต้องใช้ ยาแก้ปวด ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับชนิดและปริมาณยาที่เหมาะสม

 

วิธีดูแลตัวเองหลังคลอด เพื่อให้ประจำเดือนหลังคลอดมาปกติ

การดูแลตัวเองหลังคลอดอย่างถูกวิธีเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวและระบบต่าง ๆ ในร่างกาย กลับมาทำงานเป็นปกติ รวมถึงการกลับมาของประจำเดือนด้วย คุณแม่ลองปฏิบัติตามวิธีเหล่านี้ดู

  1. พักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวัน การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอจะช่วยให้ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และช่วยให้ฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกายกลับมาสู่ภาวะสมดุล ซึ่งมีผลต่อการกลับมาของประจำเดือน
  2. ดูแลสุขอนามัย เปลี่ยนผ้าอนามัยสม่ำเสมอ การเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ จะช่วยป้องกันการติดเชื้อ และทำให้รู้สึกสะอาดสบายตัว
  3. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช เนื้อสัตว์ และไข่ ช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน ซึ่งจำเป็นต่อการฟื้นตัว ดื่มน้ำสะอาดประมาณวันละ 8 แก้ว ช่วยให้ร่างกายขับของเสีย และช่วยให้ระบบต่าง ๆ ทำงานได้ดีขึ้น
  4. หากิจกรรมผ่อนคลาย ทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง หรือทำสมาธิ ช่วยลดความเครียดและช่วยให้จิตใจสงบ อย่ากลัวที่จะขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นสามี ญาติ หรือเพื่อนฝูง เพื่อให้คุณได้พักสมองจากการดูแลลูกตลอดเวลา

 

ประจำเดือนหลังคลอดมาช้าหรือเร็วอยู่ที่ปัจจัยของคุณแม่แต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสุขภาพร่างกาย ระยะเวลาที่ร่างกายต้องปรับตัว และการให้นมบุตร แต่คุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวล ในช่วงแรกประจำเดือนอาจมาไม่สม่ำเสมอ คุณแม่ควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด เพื่อให้ประจำเดือนหลังคลอดมาปกติ แต่หากพบความผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาทันที

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. ประจำเดือนหลังคลอด เริ่มมาตอนไหน และต้องดูแลตัวเองอย่างไร, Pobpad
  2. หลังคลอดประจำเดือนจะมาเมื่อไหร่ และคุณแม่ต้องดูแลตนเองอย่างไร?, โรงพยาบาลพญาไท
  3. Worried about first period after delivery?, CKB Hospital
  4. 13 คำถามยอดฮิตสำหรับคุณแม่หลังคลอด, โรงพยาบาลบางปะกอก 3
  5. 13 อาการผิดปกติหลังคลอด, โรงพยาบาลเปาโล

อ้างอิง ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2567

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่
บทความ
แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ มักมีความกังวลว่า แม่เป็นโรคภูมิแพ้แล้วลูกจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือเปล่า ไปดูสาเหตุพร้อมวิธีป้องกันเบื้องต้นกัน

4นาที อ่าน

View details น้ำนมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง พร้อมการเก็บน้ำนมแม่ที่ถูกต้อง
บทความ
น้ำนมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง พร้อมการเก็บน้ำนมแม่ที่ถูกต้อง

น้ำนมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง พร้อมการเก็บน้ำนมแม่ที่ถูกต้อง

น้ำนมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง น้ำนมแม่เก็บได้นานแค่ไหน อยากเก็บนมแม่ให้อยู่ได้นาน ๆ มีวิธีไหนบ้างที่ช่วยรักษาคุณภาพของน้ำนม ไปดูวิธีการเก็บนมแม่ที่ถูกต้องกัน

5นาที อ่าน

View details ภูมิแพ้ในเด็กเล็ก พร้อมวิธีดูแลลูก เมื่อเด็กเป็นภูมิแพ้
บทความ
ภูมิแพ้ในเด็กเล็ก พร้อมวิธีดูแลลูก เมื่อเด็กเป็นภูมิแพ้

ภูมิแพ้ในเด็กเล็ก พร้อมวิธีดูแลลูก เมื่อเด็กเป็นภูมิแพ้

ทำความรู้จักโรคภูมิแพ้ในเด็ก สาเหตุ อาการ และ 3 ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการภูมิแพ้ในเด็กที่เกิดขึ้นกับลูก ภูมิแพ้ในเด็กเกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลลูกน้อยเบื้องต้น

13นาที อ่าน

View details 10 วิธีกระตุ้นน้ำนม เพิ่มน้ำนมคุณแม่ เมื่อน้ำนมไม่ไหล
บทความ
10 วิธีกระตุ้นน้ำนม เพิ่มน้ำนมคุณแม่ เมื่อน้ำนมไม่ไหล

10 วิธีกระตุ้นน้ำนม เพิ่มน้ำนมคุณแม่ เมื่อน้ำนมไม่ไหล

รวมวิธีกระตุ้นน้ำนม เพิ่มน้ำนมคุณแม่ เมื่อคุณแม่มีน้ำนมไม่พอและน้ำนมไม่ไหล เมื่อต้องให้นมลูกน้อย ไปดูวิธีกระตุ้นน้ำนมคุณแม่ให้นม พร้อมอาหารบำรุงน้ำนมคุณแม่กัน

View details ทารกแหวะนม ทารกสำลักนมอันตรายไหม ปัญหากวนใจที่แม่รับมือได้
บทความ
ทารกแหวะนมบ่อย อันตรายหรือไม่ ปัญหากวนใจที่คุณแม่รับมือได้

ทารกแหวะนม ทารกสำลักนมอันตรายไหม ปัญหากวนใจที่แม่รับมือได้

ทารกแหวะนม ทารกสำลักนมบ่อย อาการแหวะนมของลูก เกิดจากอะไรได้บ้าง ลักษณะแบบไหนที่บ่งบอกว่าลูกเริ่มมีอาการผิดปกติ พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกแหวะนม

5นาที อ่าน

View details คุณแม่ปวดหลังหลังคลอด พร้อมวิธีบรรเทาอาการปวดหลังหลังคลอด
บทความ
คุณแม่ปวดหลังหลังคลอด พร้อมวิธีบรรเทาอาการปวดหลังหลังคลอด

คุณแม่ปวดหลังหลังคลอด พร้อมวิธีบรรเทาอาการปวดหลังหลังคลอด

ปวดหลังหลังคลอด เกิดจากอะไร คุณแม่ผ่าคลอดปวดหลังหลังผ่าคลอดทันที จะเป็นอันตรายกับร่างกายไหม พร้อมวิธีบรรเทาอาการปวดหลังหลังคลอดที่แม่ควรรู้

5นาที อ่าน

View details 3 วิธีละลายนมแม่ พร้อมวิธีอุ่นนมแม่ที่ถูกต้อง ช่วยให้น้ำนมมีคุณภาพ
บทความ
3 วิธีละลายนมแม่ พร้อมวิธีอุ่นนมแม่ที่ถูกต้อง ช่วยให้น้ำนมมีคุณภาพ

3 วิธีละลายนมแม่ พร้อมวิธีอุ่นนมแม่ที่ถูกต้อง ช่วยให้น้ำนมมีคุณภาพ

รวมวิธีละลายนมแม่สำหรับคุณแม่มือใหม่ พร้อมวิธีอุ่นนมแม่ที่ถูกต้อง เมื่อลูกน้อยต้องกินนมสต๊อก ไปดูวิธีละลายนมแม่และวิธีอุ่นนมแม่ไม่ให้น้ำนมเสียคุณภาพ

View details ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ ลูกแพ้เหงื่อตัวเอง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล
บทความ
ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ ลูกแพ้เหงื่อตัวเอง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ ลูกแพ้เหงื่อตัวเอง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแล

ลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ เกิดจากอะไร อาการลูกแพ้เหงื่อตัวเอง มักเกิดขึ้นหลังเด็กมีเหงื่อออกตามใบหน้าและลำตัว ไปรู้จักอาการลูกเป็นผื่นแพ้เหงื่อ พร้อมวิธีดูแลลูก

8นาที อ่าน

View details Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน
บทความ
Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป อันตรายแค่ไหน

Overfeeding คืออะไร คุณแม่ให้ลูกกินนมเยอะเกินไป จะเป็นอันตรายกับลูกน้อยไหม ลูกน้อยจะมีอาการอย่างไร เมื่อให้นมลูกเยอะเกิน พร้อมวิธีให้นมลูกน้อยที่ถูกต้อง

6นาที อ่าน

View details ตารางกินนมทารก ลูกควรกินนมแม่วันละกี่ครั้ง ปริมาณเท่าไหร่
บทความ
ตารางกินนมทารก ลูกควรกินนมแม่วันละกี่ครั้ง ปริมาณเท่าไหร่

ตารางกินนมทารก ลูกควรกินนมแม่วันละกี่ครั้ง ปริมาณเท่าไหร่

แจกตารางกินนมทารกและตารางให้นมทารก ในแต่ละวันลูกควรกินนมแม่วันละกี่ครั้งและปริมาณเท่าไหร่ถึงเหมาะสม เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารที่ดีและครบถ้วน

6นาที อ่าน

View details เจ็บเต้าจี๊ด ๆ เหมือนเข็มทิ่ม เจ็บเต้าจี๊ด ๆ ข้างซ้ายผู้หญิง
บทความ
เจ็บเต้าจี๊ด ๆ เหมือนเข็มทิ่ม เจ็บเต้าจี๊ด ๆ ข้างซ้ายผู้หญิง อันตรายไหม

เจ็บเต้าจี๊ด ๆ เหมือนเข็มทิ่ม เจ็บเต้าจี๊ด ๆ ข้างซ้ายผู้หญิง

คุณแม่เจ็บเต้าจี๊ด ๆ เหมือนเข็มทิ่ม บางครั้งเจ็บเต้าจี๊ด ๆ ข้างซ้ายผู้หญิง อาการแบบนี้เกิดจากอะไร หากเจ็บเต้านมบ่อยจะเป็นอันตรายกับแม่ให้นมไหม ไปดูกัน

7นาที อ่าน

View details วิธีให้นมลูก การให้นมลูกหลังคลอด สำหรับคุณแม่มือใหม่
บทความ
วิธีให้นมลูก การให้นมลูกหลังคลอด สำหรับคุณแม่มือใหม่

วิธีให้นมลูก การให้นมลูกหลังคลอด สำหรับคุณแม่มือใหม่

รวมวิธีให้นมลูกสำหรับคุณแม่มือใหม่ พร้อมการให้นมลูกหลังคลอดที่ถูกต้อง ด้วยการเข้าเต้า 3 ดูด ช่วยกระตุ้นน้ำนมแม่ให้เพียงพอ ไปดูวิธีให้นมลูกที่ถูกต้องกัน

View details กลากน้ำนม เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลเกลื้อนน้ำนมในเด็ก
บทความ
กลากน้ำนม เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลเกลื้อนน้ำนมในเด็ก

กลากน้ำนม เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลเกลื้อนน้ำนมในเด็ก

กลากน้ำนม คืออะไร กลากน้ำนม เกลื้อนน้ำนม หรือเกลื้อนแดด พบได้บ่อยในเด็กอายุ 3-14 ปี เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคกลากน้ำนมได้

7นาที อ่าน

View details ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย แผลผ่าคลอดไหมละลายตอนไหน
บทความ
ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย แผลผ่าคลอดไหมละลายตอนไหน

ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย แผลผ่าคลอดไหมละลายตอนไหน

ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย ใช้เวลานานแค่ไหนกว่าแผลผ่าคลอดไหมจะละลาย ข้อดีของไหมละลายมีอะไรบ้าง คุณแม่ผ่าคลอดต้องกลับมาตัดไหมด้วยหรือเปล่า ไปดูกัน

6นาที อ่าน

View details วิธีเพิ่มน้ำนม กระตุ้นน้ำนมคุณแม่ จากธรรมชาติ
บทความ
วิธีเพิ่มน้ำนม กระตุ้นน้ำนมคุณแม่ จากธรรมชาติ

วิธีเพิ่มน้ำนม กระตุ้นน้ำนมคุณแม่ จากธรรมชาติ

คุณแม่น้ำนมไม่พอ ปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้กับคุณแม่ช่วงให้นม อาหารกระตุ้นน้ำนมจากธรรมชาติ ช่วยเพิ่มน้ำนมให้คุณแม่ได้จริงไหม อาหารเพิ่มน้ำนมแม่มีอะไรบ้าง

8นาที อ่าน

View details อาการภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ ป้องกันได้ยังไง
บทความ
อาการภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ ป้องกันได้ยังไง

อาการภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ ป้องกันได้ยังไง

ภูมิแพ้ในเด็ก คืออะไร เด็กเป็นภูมิแพ้ เกิดจากหลายปัจจัยอะไรบ้าง คุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการภูมิแพ้ในเด็กของลูกน้อย พร้อมวิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงสารกระตุ้นภูมิแพ้

3นาที อ่าน

View details วิธีเก็บนมแม่ที่ถูกต้อง พร้อมการเก็บนมแม่ให้ปลอดภัยและมีคุณภาพ
บทความ
วิธีเก็บนมแม่ที่ถูกต้อง พร้อมการเก็บนมแม่ให้ปลอดภัยและมีคุณภาพ

วิธีเก็บนมแม่ที่ถูกต้อง พร้อมการเก็บนมแม่ให้ปลอดภัยและมีคุณภาพ

รวมวิธีเก็บนมแม่และการเก็บน้ำนมแม่สำหรับแม่มือใหม่ ด้วยวิธีที่ถูกต้องและปลอดภัย ช่วยให้คุณแม่สามารถคงคุณภาพของน้ำนมได้ยาวนานมากขึ้น ไปดูวิธีเก็บน้ำนมคุณแม่กัน

View details วิธีนวดเปิดท่อน้ำนม นวดเต้าหลังคลอด แก้ไขปัญหาคุณแม่น้ำนมน้อย
บทความ
วิธีนวดเปิดท่อน้ำนม แก้ไขปัญหาคุณแม่น้ำนมน้อย น้ำนมไม่ไหล

วิธีนวดเปิดท่อน้ำนม นวดเต้าหลังคลอด แก้ไขปัญหาคุณแม่น้ำนมน้อย

รวมวิธีนวดเปิดท่อน้ำนมและนวดเต้าหลังคลอด คุณแม่มือใหม่สามารถนวดกระตุ้นน้ำนมและนวดเปิดท่อน้ำนมได้อย่างไรบ้าง ไปดูวิธีนวดเต้าหลังคลอดที่ถูกต้องกัน

6นาที อ่าน

View details วิธีดูแลรอยแผลผ่าคลอดสวย ให้แผลผ่าคลอดสวยเรียบเนียน
บทความ
วิธีดูแลรอยแผลผ่าคลอดสวย ให้แผลผ่าคลอดสวยเรียบเนียน

วิธีดูแลรอยแผลผ่าคลอดสวย ให้แผลผ่าคลอดสวยเรียบเนียน

วิธีดูแลรอยแผลผ่าคลอดสวย ดูแลรอยแผลผ่าคลอดอย่างไร ให้แผลสวยเรียบเนียน ไม่นูนแดงและทิ้งรอยแผลเป็นที่หน้าท้อง พร้อมวิธีดูแลรอยแผลผ่าคลอดสวย

5นาที อ่าน