อายุครรภ์ 40 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 40 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 40 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 40 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

05.03.2020

พัฒนาการการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์  พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 40 

headphones

PLAYING: อายุครรภ์ 40 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 40 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อ่าน 3 นาที

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 40 

 

สัปดาห์ที่ 40 คือกำหนดคลอดที่คุณหมอจะบอกคุณแม่ในวันที่มาฝากครรภ์ ซึ่งอันที่จริง อายุครรภ์ที่ครบกำหนดและรอคลอดได้ ตั้งแต่ 37 สัปดาห์แล้ว แต่เนื่องจากคุณแม่แต่ละท่าน มีการทำงานของรังไข่และฮอร์โมนไม่เหมือนกัน บางท่านแม้จะจำวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายก่อนที่จะขาดประจำเดือนได้ดี แต่กลับพบว่าเมื่อคำนวณอายุครรภ์แล้วไม่ถูกต้อง เป็นเพราะเดิมมีภาวะรังไข่ทำงานไม่ปกติ ทำให้มีการตกไข่ล่าช้า  ดังนั้น การตรวจอัลตร้าซาวด์ประเมินอายุครรภ์ควบคู่ไปด้วยเมื่อเริ่มฝากครรภ์ในไตรมาสแรกจะมีประโยชน์มาก เพื่อคำนวณกำหนดคลอดที่แม่นยำ ยิ่งในคุณแม่ที่มีประวัติผ่าตัดคลอด คุณหมอจะต้องกำหนดวันผ่าตัดคลอด การกำหนดผ่าตัดที่อายุครรภ์ 39 สัปดาห์ จึงสร้างความมั่นใจได้ว่าจะเป็นอายุครรภ์ที่ปอดลูกมีการทำงานสมบูรณ์แล้ว


พัฒนาการลูก

ลูกมีความยาวประมาณ 50 ซม. ส่วนนำของลูกจะเคลื่อนลงสู่อุ้งเชิงกราน และในกรณีที่ศีรษะเคลื่อนลงเชิงกรานได้ดี จะเริ่มกดบริเวณปากมดลูก ซึ่งจะกระตุ้นให้มีการหลั่งสารเคมีในร่างกาย ซึ่งมีฤทธิ์ในการกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว และเมื่อมดลูกหดรัดตัวได้สม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพดี จะกระตุ้นให้ปากมดลูกเปิด ในกรณีที่ศีรษะลูกหันในทิศทางที่ผ่านลงเชิงกรานได้ดี ก็จะดันให้ปากมดลูกเปิดได้ดี และคลอดธรรมชาติได้ในที่สุด

 

 พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 40


Tips
             

  • ไม่ว่าคุณแม่จะคลอดธรรมชาติหรือผ่าตัดคลอด คุณแม่ก็สามารถให้นมลูกได้ หลังคลอด คุณหมอจะให้ลูกได้สัมผัสไออุ่นและอยู่ในอ้อมกอด สัมผัสหัวนมและเต้านมคุณแม่ให้เร็วที่สุด คุณแม่ควรดื่มน้ำสะอาดวันละ 2 ลิตร การดื่มน้ำขิง รับประทานอาหาร เช่น หัวปลี มะละกอ เต้าหู้ ใบกระเพรา มีส่วนในการกระตุ้นน้ำนมได้ดี
  • หลังคลอด คุณแม่จะมีน้ำคาวปลา เป็นสีแดงสดในช่วงแรก จากนั้นจะเป็นสีแดงจาง และเป็นลักษณะใสในที่สุด ช่วง 2 เดือนหลังคลอดเป็นช่วงที่จะยังมีน้ำคาวปลา แต่หากพบว่าผ่านไป 2สัปดาห์แล้วน้ำคาวปลายังเป็นสีแดงสด ปวดท้อง มีไข้ หรือน้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็นควรมาพบคุณหมอ
  • หลังคลอดสิ่งที่ทำให้คุณแม่รู้สึกกังวลอยู่เสมอคือรอยหมองคล้ำ เช่น ฝ้า รอยคล้ำตามขาหนีบ รักแร้ ซึ่งคุณแม่สามารถดูแลฟื้นฟูสภาพผิวได้ ด้วยการดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ลิตร ทานอาหาร ผัก ผลไม้ ที่ให้วิตามิน หรือรับประทานวิตามิน E, Zinc ( สังกะสี ) ซึ่งช่วยบำรุงผิว เส้นผม และลดรอยหมองคล้ำของผิวและแผลได้ดี 

 


บทความอื่นๆ ที่สนใจ 

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 38 

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 39 

 

อ้างอิง


บทความโดยแพทย์หญิง ธิศรา  วีรสมัย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน สูตินรีเวช เวชศาสตร์ครอบครัว 
และเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลพญาไท 1

 

บทความแนะนำ

รก คืออะไร หน้าที่ของรกมีอะไรบ้าง รกผิดปกติ อันตรายกับคุณแม่แค่ไหน

รก คืออะไร หน้าที่ของรกมีอะไรบ้าง รกผิดปกติ อันตรายกับคุณแม่แค่ไหน

รก คืออะไร หน้าที่ของรกสำคัญแค่ไหน เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ พร้อมวิธีสังเกตความผิดปกติของรก ที่คุณแม่ควรรู้ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับทารกในครรภ์

น้ำคร่ำน้อย เกิดจากอะไร น้ำคร่ำน้อยตอนใกล้คลอด อันตรายไหม

น้ำคร่ำน้อย เกิดจากอะไร น้ำคร่ำน้อยตอนใกล้คลอด อันตรายไหม

น้ำคร่ำน้อย สัญญาณอันตรายที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรมองข้าม น้ำคร่ำน้อยระหว่างตั้งครรภ์ มีอาการอย่างไร น้ำคร่ำน้อยตอนใกล้คลอดอันตรายไหม พร้อมวิธีดูแลตัวเอง 

คุณแม่เจ็บแผลทำหมันกี่วัน พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังทำหมัน

คุณแม่เจ็บแผลทำหมันกี่วัน พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังทำหมัน

คุณแม่เจ็บแผลทำหมันกี่วัน ใช้เวลานานแค่ไหนกว่าแผลทำหมันจะหายดี เจ็บแผลทำหมัน พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังทำหมันที่ถูกต้อง ช่วยให้แผลหายเร็วและปลอดภัย

เสริมแคลเซียมคนท้องจำเป็นไหม แม่ท้องควรเริ่มกินเมื่อไหร่

เสริมแคลเซียมคนท้องจำเป็นไหม แม่ท้องควรเริ่มกินเมื่อไหร่

แคลเซียมคนท้องจำเป็นไหม อยากเสริมแคลเซียมคนท้องกินอะไรดี คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเริ่มเสริมแคลเซียมสำหรับคนท้องตอนไหนดีที่สุดสำหรับคุณแม่และลูกในครรภ์