อายุครรภ์ 7 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 7 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อายุครรภ์ 7 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 7 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

04.03.2020

อายุครรภ์ 7 สัปดาห์อยู่ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ สัปดาห์นี้คุณแม่อาจมีอาการปวดตรงบริเวณท้องน้อยเบา ๆ สาเหตุมาจากมดลูกมีการบีบตัวเป็นระยะ ทั้งนี้หากมีเลือดซึมออกมาจากช่องคลอด คุณแม่ควรรีบไปโรงพยาบาลทันที รวมถึงการรับประทานอาหาร หรือยาบำรุงต่าง ๆ ควรอยู่ในคำแนะนำจากแพทย์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากทารกในครรภ์มีพัฒนาการการเจริญเติบโตของร่างกายและมีการสร้างอวัยวะสำคัญ ๆ หากไม่ระมัดระวังอาจเสี่ยงทำให้ทารกในครรภ์เกิดความพิการได้

headphones

PLAYING: อายุครรภ์ 7 สัปดาห์ คุณแม่ท้อง 7 สัปดาห์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • อายุครรภ์ 7 สัปดาห์ มีการเต้นของหัวใจ และจังหวะการเต้นหัวใจจะอยู่ที่ 100-140 ครั้งต่อนาที
  • อายุครรภ์ 7 สัปดาห์ อาจจะมีอาการท้องผูก เต้านมทั้งสองข้างมีขนาดใหญ่ขึ้น และรู้สึกได้ถึงความคัดตึง
  • อายุครรภ์ 7 สัปดาห์ ทารกในครรภ์มีขนาดเทียบได้เท่ากับผลบลูเบอร์รี ขนาดตัวของทารกจะอยู่ที่ประมาณ 2.5 เซนติเมตร และหนักอยู่ที่ 9-10 กรัม

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ในอายุครรภ์ 7 สัปดาห์แพทย์ที่ดูแลครรภ์คุณแม่จะมีการอัลตราซาวนด์เพื่อดูพัฒนาการต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ ซึ่งหนึ่งในพัฒนาการที่น่ายินดีก็คือ อาจได้ยินเสียงเต้นของหัวใจทารก สำหรับอัตราการเต้นจังหวะหัวใจของทารกในครรภ์จะวัดได้อยู่ที่ประมาณ 100-140 ครั้งต่อนาที

 

ตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์ ควรเฝ้าระวังเรื่องใดบ้าง

ภาวะอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ไตรมาสแรก ที่คุณแม่จำเป็นต้องอยู่ในการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด 

1. ภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic Pregnancy)

เป็นภาวะที่ตัวอ่อนฝังตัวนอกโพรงมดลูก อาการเตือนคือคุณแม่จะรู้สึกปวดตรงบริเวณท้องน้อยไปจนถึงทวารหนัก และช่องคลอดมีเลือดซึมออกมาผิดปกติ

 

2. ภาวะแท้งคุกคาม (Threatened Abortion)

การที่มีเลือดออกจากช่องคลอดกะปริบกะปรอยหลายวันถึงหลายสัปดาห์ มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแท้งคุกคามอาการเตือนที่คุณแม่สามารถสังเกตได้ คือปวดบริเวณท้องน้อย ลักษณะการปวดเหมือนปวดการมีรอบเดือน ปวดร้าวไปจนถึงหลัง มีเลือดสีแดงสด หรือมูกปนเลือดออกจากช่องคลอด

 

3. การเอกซเรย์ขณะตั้งครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์หากมีปัญหาสุขภาพและได้รับการวินิจฉัยให้มีการเอกซเรย์ แนะนำว่าให้แจ้งแพทย์ เจ้าของไข้ และเจ้าหน้าที่เอกซเรย์ก่อนทุกครั้ง โดยเฉพาะในอายุครรภ์เริ่มต้น เนื่องจากเป็นช่วงที่ทารกในครรภ์กำลังพัฒนาร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ

 

4. ความดันโลหิตสูง (Hypertension in Pregnancy)

ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อการเกิดครรภ์เป็นพิษขึ้นได้ การวัดความดันในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่บ่งบอกว่ามีความดันโลหิตสูง ได้แก่ การแสดงค่าความดันโลหิตตัวเลขด้านบนมากกว่าหรือเท่ากับ 140 mmHg มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันโลหิตตัวเลขด้านล่างมากกว่าหรือเท่ากับ 90 mmHg มิลลิเมตรปรอท อาการเตือนที่คุณแม่สามารถสังเกตได้ คือจุกแน่นตรงลิ้นปี่ มีอาการสายตาพร่ามัว ปวดศีรษะ เป็นต้น

 

อาการคนท้อง 7 สัปดาห์ ที่พบได้ทั่วไป

อาการปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ในระหว่างอายุครรภ์ 7 สัปดาห์ มีดังนี้

  • มีอาการท้องผูก ขับถ่ายได้ยากขึ้น
  • มีอาการท้องอืด
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • มีอาการเจ็บคัดตึงต้านมทั้งสองข้าง

 

คำแนะนำสำหรับคุณแม่ท้อง 7 สัปดาห์ ที่มีอาการแพ้ท้อง

 

คำแนะนำสำหรับคุณแม่ท้อง 7 สัปดาห์ เมื่อมีอาการแพ้ท้อง

  1. ลดปริมาณอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อลง แต่เพิ่มเป็นรับประทานบ่อย ๆ
  2. เลี่ยงเมนูอาหารที่มีกลิ่นฉุนแรง ปรับเปลี่ยนมาเป็นเมนู หรือวัตถุดิบประกอบอาหารที่กลิ่นไม่แรง เช่น ขนมปัง ข้าวโพด เป็นต้น
  3. หากดื่มน้ำเปล่าได้ไม่มาก อาจเพิ่มการจิบน้ำขิงอุ่น ๆ ระหว่างวัน
  4. แพ้ท้องจะทำให้คุณแม่รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย แนะนำให้นอนหลับพักผ่อนให้มากขึ้นกว่าปกติ
  5. ปรับสมดุลภายในร่างกายด้วยการนั่งสมาธิทุกวัน จะเป็นช่วงเช้า หรือก่อนเข้านอนกลางคืน
  6. เดินออกกำลังเบา ๆ สามารถช่วยให้ดีขึ้นจากอาการแพ้ท้อง และช่วยให้สบายท้องจากอาการจุกแน่นท้อง

 

ท้อง 7 สัปดาห์ ท้องจะใหญ่ขึ้นแค่ไหน

ขนาดครรภ์ในอายุครรภ์ 7 สัปดาห์ ยังไม่ใหญ่ขึ้นมาก ในคุณแม่ที่มีอาการแพ้ท้อง น้ำหนักอาจไม่เพิ่มขึ้น เนื่องจากรับประทานอาหารได้น้อย หรือรับประทานไม่ได้เลย แต่หากคุณแม่ที่ไม่มีอาการแพ้ท้อง น้ำหนักจะเริ่มเพิ่มขึ้นแต่ไม่เกิน 2 กิโลกรัม คุณแม่รู้สึกได้ว่าเสื้อผ้าที่ใส่อยู่เริ่มคับ

 

อายุครรภ์ 7 สัปดาห์ ลูกในครรภ์จะตัวใหญ่แค่ไหน

ทารกในครรภ์อายุ 7 สัปดาห์มีขนาดเล็ก เปรียบเสมือนผลบลูเบอร์รีขนาดเล็ก หรือประมาณ 2.5 เซนติเมตร และมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 9-10 กรัม

 

พัฒนาการของทารกในครรภ์อายุ 7 สัปดาห์

  • หัวมีขนาดโตขึ้น
  • หัวใจเต้นชัดเจนขึ้น
  • เริ่มมีตุ่มแขน ขาเล็ก ๆ ขึ้นมา

 

การดูแลตัวเอง สำหรับคุณแม่ท้อง 7 สัปดาห์

  1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เพิ่มอาหารในกลุ่มโปรตีน และมีธาตุเหล็กมากขึ้น เพื่อช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อ เซลล์สมอง อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย และเม็ดเลือดแดงให้กับทารกในครรภ์
  2. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  3. ออกกำลังกายเบา ๆ เช่น การเดินช้า ๆ โยคะสำหรับคนท้อง หรือการว่ายน้ำ เดินในน้ำ ฯลฯ
  4. การมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้มีข้อห้ามหากไม่ได้มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ แต่อาจยกเว้นในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เคยมีประวัติการแท้ง มีภาวะรกเกาะต่ำ และตั้งครรภ์แฝด เป็นต้น
  5. ควรฝากครรภ์ในช่วงอายุครรภ์ตั้งแต่ไตรมาสแรก 

 

ในช่วงอายุครรภ์เดือนที่สอง ร่างกายของคุณแม่จำเป็นต้องได้รับพลังงานอย่างเพียงพอ ซึ่งพลังงานที่ควรได้รับต่อวันจะอยู่ที่ประมาณ 2,000–2,300 กิโลแคลอรี แนะนำให้คุณแม่รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม อาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกายขณะตั้งครรภ์ได้ดี ได้แก่ ข้าว ก๋วยเตี๋ยว เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน หมู ไก่ เนื้อวัว นมจืดพร่องมันเนย ผักทุกชนิด และผลไม้ เป็นต้น

 

การดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์พร้อมของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ จะช่วยให้ร่างกายมีการสร้างน้ำนมแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าทารกจะคลอดธรรมชาติหรือมีความจำเป็นที่ต้องผ่าคลอดหากได้กินนมแม่เร็วจะส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวมพัฒนาการสมองการเรียนรู้ และมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี  เพราะในนมแม่มีสารอาหารกว่า 200 ชนิด เช่น โปรตีน ดีเอชเอ แคลเซียม และยังมีสฟิงโกไมอีลินที่เป็นสารอาหารเพื่อการพัฒนาสมอง รวมถึงมีจุลินทรีย์สุขภาพหลากหลายสายพันธุ์ เช่น   บีแล็กทิส (B.Lactis) ที่ช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงให้กับทารกได้ตั้งแต่แรกเกิด

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. การดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์และพัฒนาการทารกในครรภ์, โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
  2. สังเกตอาการคุณแม่ท้อง 2 เดือน และการดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์, POBPAD
  3. คุณแม่ควรระวัง การตั้งครรภ์นอกมดลูก, โรงพยาบาลพญาไท
  4. เลือดออกขณะตั้งครรภ์อาจแท้งคุกคาม, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  5. 10 สิ่ง ที่คนตั้งครรภ์ ต้องห้ามทำ, โรงพยาบาลบางโพ
  6. ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  7. ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (Hypertension in Pregnancy), สูติล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  8. 3 เทคนิค “ลดอาการแพ้ท้อง”, โรงพยาบาลเปาโล
  9. วิธีรับมืออาการแพ้ท้อง ที่คุณแม่มือใหม่ต้องรู้, โรงพยาบาลบางปะกอก
  10. พัฒนาการของทารกในครรภ์ตลอด 9 เดือน เป็นอย่างไรบ้างนะ, โรงพยาบาลพญาไท
  11. ขนาดทารกในครรภ์ ในช่วงสัปดาห์ต่าง ๆ เปรียบเทียบกับขนาดผักและผลไม้, helloคุณหมอ
  12. ท้องไตรมาสแรก ภาวะเสี่ยงที่คุณแม่ต้องระวัง, โรงพยาบาลเปาโล
  13. คุณแม่ตั้งครรภ์ คุมน้ำหนักอย่างไรให้พอดี, โรงพยาบาลบางปะกอกสมุทรปราการ
  14. มีเพศสัมพันธ์ช่วงตั้งครรภ์ได้ไหม, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

อ้างอิง ณ วันที่ 7 มีนาคม 2567

บทความแนะนำ

คนท้องกินรังนกได้ไหม มีประโยชน์ยังไง อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินรังนกได้ไหม มีประโยชน์ยังไง อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินรังนกได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินรังนก เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ รังนกดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

คนท้องกินส้มตําได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินส้มตําได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินส้มตําได้ไหม คุณแม่ท้องกินส้มตำบ่อย จะอันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า ต้องกินแค่ไหนถึงไม่อันตรายกับแม่ท้องและลูกในท้อง กินอย่างไรให้ลดความเสี่ยง ไปดูกัน

คนท้องกินหมูกระทะได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินหมูกระทะได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินหมูกระทะได้ไหม คุณแม่ท้องกินหมูกระทะบ่อย จะเสี่ยงติดเชื้อและอันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า กินอย่างไรเพื่อลดความเสี่ยงกับคุณแม่และลูกในครรภ์

คนท้องกินอัลมอนด์ได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินอัลมอนด์ได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินอัลมอนด์ได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า คุณแม่ท้องอยากกินอัลมอนด์ สามารถกินได้บ่อยแค่ไหน ควรกินเท่าไรถึงพอดีและได้ประโยชน์ ปลอดภัยทั้งแม่และลูก