โปรแกรมคำนวณน้ำหนักคนท้อง แต่ละไตรมาสน้ำหนักคุณแม่ควรเพิ่มเท่าไหร่

โปรแกรมคำนวณน้ำหนักคนท้อง แต่ละไตรมาสควรเพิ่มเท่าไหร่

25.09.2019

โภชนาการที่ดีย่อมส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่สมวัยของลูกน้อยในท้อง หากคุณแม่ดูแลตัวเองไม่ดีทานอาหารไม่เพียงพอหรือไม่มีประโยชน์ อาจทำให้ทารกน้อยในครรภ์เจริญเติบโตได้ไม่ดีมากนัก เมื่อลูกคลอดออกมาจึงมีน้ำหนักตัวที่น้อยและอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพและพัฒนาการอื่น ๆ ตามมา เช่น เสี่ยงต่อภาวะเตี้ยในเด็ก ในทางตรงกันข้าม หากคนท้องทานอาหารมากเกินไปอาจทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวที่มากกว่าเกณฑ์จนนำไปสู่ภาวะอ้วนและมีความเสี่ยงต่อโรคติดต่อเรื้อรังได้

headphones

PLAYING: โปรแกรมคำนวณน้ำหนักคนท้อง แต่ละไตรมาสควรเพิ่มเท่าไหร่

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • คนท้องควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นตามหลักการและหญิงตั้งครรภ์ควรเพิ่มประมาณ 10-15 กิโลกรัม หรือน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 12.5 กิโลกรัม
  • หากค่า BMI ก่อนท้องของคุณแม่อยู่ที่ 18.5-24.9 แสดงว่าคุณแม่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ คุณแม่ควรเพิ่มน้ำหนักตัวในระหว่างตั้งครรภ์ประมาณ 11.5–16 กิโลกรัม
  • คนท้องมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมน้ำหนักตัวและอาหารให้เหมาะสมในแต่ละระยะ นอกจากนี้ หากคุณแม่มีน้ำหนักตัวเกินกว่าเกณฑ์ยังเสี่ยงต่อการหยุดหายใจขณะนอนหลับ ภาวะครรภ์เป็นพิษ และโรคหลอดเลือดในสมองด้วย

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

คนท้องควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ในแต่ละเดือน ตามหลักการแล้วหญิงตั้งครรภ์ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 10-15 กิโลกรัม หรือน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 12.5 กิโลกรัม ซึ่งน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนี้ไม่ใช่มีแค่น้ำหนักตัวของคุณแม่เพียงอย่างเดียวแต่ยังรวมเอาน้ำหนักจากส่วนอื่น ๆ ของร่างกายคุณแม่ไปด้วย เช่น น้ำหนักของลูกน้อยในท้อง น้ำคร่ำ รก มดลูก เป็นต้น อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับดัชนีมวลกายของคุณแม่ก่อนการตั้งครรภ์ ซึ่งน้ำหนักตัวของคุณแม่ควรเพิ่มเท่าไหร่สามารถดูได้จากตารางด้านล่าง ดังนี้

 

ตาราง: น้ำหนักตัวที่ควรเพิ่มขึ้นของคุณแม่ท้องในแต่ละไตรมาส

ดัชนีมวลกายของคุณแม่ก่อน
การตั้งครรภ์

น้ำหนักตัวคุณแม่ที่ควรเพิ่ม
ในไตรมาสแรก (กก.)

น้ำหนักตัวคุณแม่ที่ควรเพิ่ม
ในไตรมาส 2 และ 3 (กก.)

BMI น้อยกว่า 18.5

2.3

0.5

BMI 18.5-24.9

1.6

0.4

BMI 25-29.9

0.9

0.3

BMI มากกว่า 30

0

0.2

 

ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ของคุณแม่ตั้งครรภ์

ค่าดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index (BMI) เป็นค่าผลลัพธ์ของปริมาณไขมันในร่างกายโดยวัดจากสัดส่วนของน้ำหนักและส่วนสูงของคุณแม่ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

ตาราง: น้ำหนักตัวที่ควรเพิ่มขึ้นของคุณแม่ท้องโดยรวม

ดัชนีมวลกายของคุณแม่ก่อนการตั้งครรภ์

น้ำหนักตัวคุณแม่ที่ควรเพิ่มขึ้น (กก.)

BMI น้อยกว่า 18.5

12.5-18

BMI 18.5-24.9

11.5–16

BMI 25-29.9

7–11.5

BMI มากกว่า 30

5–9

*กรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์แฝด

15.9–20.4

 

  • ค่า BMI ที่แสดงว่าคุณแม่ตั้งครรภ์มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์: จากตารางดัชนีมวลกาย จะเห็นได้ว่าค่า BMI ก่อนท้องของคุณแม่อยู่ที่น้อยกว่า 18.5 เท่ากับว่า คุณแม่ควรเพิ่มน้ำหนักตัวขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ประมาณ 12.5-18 กิโลกรัม
  • ค่า BMI ที่แสดงว่าดีต่อสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์: จากตารางดัชนีมวลกาย จะเห็นได้ว่าค่า BMI ก่อนท้องของคุณแม่อยู่ที่ 18.5-24.9 เท่ากับว่า คุณแม่ควรเพิ่มน้ำหนักตัวขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ประมาณ 11.5–16 กิโลกรัม
  • ค่า BMI ที่แสดงว่าคุณแม่ตั้งครรภ์มีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์: จากตารางดัชนีมวลกาย จะเห็นได้ว่าค่า BMI ก่อนท้องของคุณแม่อยู่ที่ 25-29.9 เท่ากับว่า คุณแม่ควรเพิ่มน้ำหนักตัวขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ประมาณ 7-11.5 กิโลกรัม
  • ค่า BMI ที่แสดงว่าคุณแม่ตั้งครรภ์เข้าสู่ภาวะอ้วน: จากตารางดัชนีมวลกาย จะเห็นได้ว่าค่า BMI ก่อนท้องของคุณแม่อยู่ที่มากกว่า 30 เท่ากับว่า คุณแม่ควรเพิ่มน้ำหนักตัวขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ประมาณ 5-9 กิโลกรัม

 

วิธีคำนวณค่าดัชนีมวลกายอย่างง่าย

ถ้าคุณแม่อยากทราบว่าก่อนการตั้งครรภ์ตัวเองมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เท่าไหร่ ให้ใช้วิธีคำนวณตามนี้ 

BMI = น้ำหนักตัวของคุณแม่ก่อนตั้งครรภ์ (กิโลกรัม) ÷ ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง

 

ตัวอย่าง น้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์อยู่ที่ 45 กิโลกรัม และมีส่วนสูง 155 เซนติเมตร หรือ 1.55 เมตร

  • BMI = 45 ÷ 1.552 หรือ 45 ÷ (1.55 x 1.55)
  • BMI = 18.7
  • แสดงว่า คุณแม่น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ดี เพราะมีค่าอยู่ระหว่าง 18.5-24.9 และควรเพิ่มน้ำหนักตัวประมาณ 11.5–16 กิโลกรัม

 

ปัจจัยที่ส่งผลต่อน้ำหนักของคุณแม่ตั้งครรภ์

  • ทานอาหารมากเกินไป: อาหารเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของภาวะอ้วนในคนท้อง มักเกิดจากการทานอาหารที่ไม่สมดุลทำให้คนท้องได้รับพลังงานมากเกินความจำเป็นของร่างกาย จึงส่งผลให้เกิดการสะสมของไขมันขึ้น
  • การหลั่งฮอร์โมนบางชนิดที่ผิดปกติ: เมื่อร่างกายคนท้องเกิดการหลั่งฮอร์โมนที่ผิดปกติทำให้เกิดความไม่สมดุลของความหิวอิ่ม และยังส่งผลให้ระบบการเผาผลาญของร่างกายผิดปกติไปด้วย
  • กรรมพันธุ์: คนท้องบางคนอาจรู้สึกว่าตัวเองอ้วนขึ้นได้ง่าย เพราะอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ทางครอบครัวที่คนส่วนใหญ่มักมีน้ำหนักตัวเกินกว่ามาตรฐานหรือน้ำหนักที่มากกว่าเกณฑ์ทำให้คุณแม่มีภาวะอ้วนไปด้วย
  • พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน: พฤติกรรมการกินของคุณแม่อาจส่งผลต่อภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกินของคนท้องได้ ยิ่งคุณแม่เป็นคนที่ชอบกินจุบจิบ กินบ่อย กินไม่หยุด หรือชอบดื่มเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูง เช่น ชา น้ำอัดลม เป็นประจำก็อาจเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้คุณแม่เกิดภาวะอ้วนได้ง่าย

 

ภาวะแทรกซ้อน หากคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควบคุมน้ำหนัก

  • โรคเบาหวาน: โดยปกติแล้วคนท้องมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อยู่แล้ว หากคุณแม่ทานอาหารโดยไม่มีการควบคุมน้ำหนักอาจยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานมากขึ้นตามไปด้วย
  • โรคความดันโลหิตสูง: หากคุณแม่ปล่อยให้ตัวเองมีน้ำหนักตัวเกินกว่ามาตรฐานจนเข้าสู่ภาวะอ้วนอาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์ ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษหรือโรคหลอดเลือดในสมองด้วย
  • เสี่ยงต่อการหยุดหายใจขณะนอนหลับ: ภาวะนี้มักจะพบได้ในคนที่เป็นโรคอ้วน หากคนท้องมีภาวะอ้วนแล้วเกิดภาวะหยุดหายใจสั้น ๆ ในขณะนอนหลับขึ้น จะส่งผลให้คุณแม่รู้สึกนอนไม่พอ อ่อนเพลียได้ง่าย และยังเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงในอนาคต
  • ทารกพิการแต่กำเนิด: เมื่อคุณแม่ตั้งท้องในขณะที่น้ำหนักตัวเกินอาจนำไปสู่ความเสี่ยงต่อภาวะทารกพิการแต่กำเนิดได้ เพราะไขมันในร่างกายของคุณแม่ที่มีมากเกินไปทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ขึ้นมาในระหว่างการตั้งครรภ์ได้ง่ายจนนำไปสู่ปัญหาสุขภาพของคุณแม่และอาจส่งต่อไปยังลูกน้อยในท้อง
  • ลูกน้อยคลอดยาก: คุณแม่ที่มีน้ำหนักเกินก่อนตั้งครรภ์ เสี่ยงต่อทารกมีรูปร่างที่ใหญ่กว่าปกติ เมื่อถึงเวลาคลอดทำให้ลูกน้อยกลายเป็นเด็กคลอดยาก คุณแม่จึงควรควบคุมน้ำหนักไม่ให้มีน้ำหนักพุ่งมากเกินไป
  • ทารกเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในครรภ์: การควบคุมอาหารของคนท้องมีความสำคัญมาก คุณแม่ต้องพยายามไม่ให้มีน้ำหนักตัวมากเกินไปเพราะอาจทำให้เลือดไปเลี้ยงลูกในท้องน้อยจนเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในครรภ์ได้

 

เคล็ดลับการรับประทานอาหาร เพื่อคุมน้ำหนัก

  • เลี่ยงไขมันสูง เน้นอาหารพลังงานสูงแทน: คนท้องควรเลือกทานอาหารที่มีไขมันต่ำแต่ให้พลังงานสูงอย่างโปรตีน เช่น เนื้อปลา อกไก่ เพราะนอกจากช่วยให้อิ่มท้องแล้วยังช่วยลดความเสี่ยงของภาวะน้ำหนักตัวเกินของคุณแม่ตั้งครรภ์ด้วย
  • เลี่ยงอาหารรสเค็ม และเครื่องดื่มรสหวานจัด: เพื่อสุขภาพที่ดีของคนท้องและรักษาน้ำหนักให้อยู่ตามเกณฑ์ที่ดี คุณแม่ควรงดอาหารที่มีรสชาติเค็มหรือหวาน งดขนมหวาน และเครื่องดื่มที่หวานจัด เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน รวมถึงขนมขบเคี้ยวด้วย
  • เลือกทานแต่อาหารที่มีประโยชน์: ในระหว่างตั้งครรภ์คนท้องควรเลือกอาหารที่เหมาะสำหรับคนท้อง เช่น ทานผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี เนื้อปลา และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน รวมถึงอาหารที่มีไขมันดีอย่าง อะโวคาโด และน้ำมันรำข้าว เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและน้ำหนักตัวที่ดีของแม่ตั้งครรภ์
  • แบ่งทานอาหารออกเป็น 5-6 มื้อ: ในระหว่างวันคุณแม่ควรแบ่งอาหารออกเป็นมื้อย่อย ๆ 5–6 มื้อ แทนการทานอาหารเพียง 3 มื้อ เพื่อให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้สะดวก ย่อยได้ดี และสามารถดูดซึมได้ดียิ่งขึ้น

 

เมื่อตั้งครรภ์คุณแม่ควรใส่ใจเรื่องโภชนาการและน้ำหนักตัวของคนท้อง คุณแม่ต้องควบคุมน้ำหนักตัวเองให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีเพราะถ้าน้ำหนักมากเกินไปอาจเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ตาม คุณแม่ไม่ควรใช้วิธีอดอาหารให้มีน้ำหนักตัวที่ดีเพราะอาจทำให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารไม่เพียงพอได้ แต่คุณแม่ควรใช้วิธีควบคุมอาหารแทนพยายามแบ่งทานอาหารออกเป็นมื้อเล็ก ๆ แล้วกินบ่อยขึ้น เพื่อจะได้ไม่ทานคราวละมาก ๆ ภายในมื้อเดียว

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. คู่มือการฝากครรภ์ สำหรับบุคลากรสาธารณสุข, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  2. คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ในแต่ละไตรมาส, โรงพยาบาลนครธน
  3. วิธีคํานวณค่า BMI สูตรคำนวณดัชนีมวลกาย บอกอะไรได้บ้าง, โรงพยาบาลสมิติเวช
  4. ภาวะน้ำหนักเกินและภาวะอ้วนในขณะตั้งครรภ์ความท้าทายของพยาบาลผดุงครรภ์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  5. อ้วนแล้วไง... โรคภัยถามหา, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  6. น้ำหนัก คน ท้อง เกินกว่าเกณฑ์ ส่งผลต่อทารกในครรภ์อย่างไร, Hellokhunmor
  7. วิธีคํานวณค่า BMI สูตรคำนวณดัชนีมวลกาย บอกอะไรได้บ้าง, โรงพยาบาลสมิติเวช
  8. รู้จัก “ภาวะครรภ์เสี่ยง”…เพิ่มความใส่ใจคุณแม่ตั้งครรภ์, โรงพยาบาลพญาไท
  9. คุณแม่ตั้งครรภ์ คุมน้ำหนักอย่างไรให้พอดี, โรงพยาบาลบางปะกอก

อ้างอิง ณ วันที่ 3 มกราคม 2567

บทความแนะนำ

ท้องไตรมาส 3 คุณแม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้

ท้องไตรมาส 3 คุณแม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้

คุณแม่ท้องไตรมาส 3 ร่างกายของคุณแม่จะเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด คุณแม่ท้องไตรมาส 3 ควรรู้อะไรก่อนบ้าง ไปดูสัญญาณที่บอกว่าคุณแม่ใกล้คลอดแล้ว

ทำลูกแฝดยากไหม คุณแม่อยากมีลูกแฝด ทำอย่างไรได้บ้าง

อยากได้ลูกแฝดต้องอ่าน! วิธีทำลูกแฝด ทั้งทางการแพทย์และวิธีธรรมชาติ

คุณแม่อยากมีลูกแฝด การทำลูกแฝดยากไหมในปัจจุบัน หากอยากทำลูกแฝด มีวิธีไหนบ้าง ไปดูขั้นตอนการทำลูกแฝดทางการแพทย์และความแตกต่างของแฝดแท้และแฝดเทียม

คนท้องกินโซดาได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินโซดาได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินโซดาได้ไหม คนท้องกินน้ำอัดลมได้ไหม หากคุณแม่กินเยอะและบ่อยเกินไป จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า ต้องกินปริมาณเท่าไหร่ถึงจะพอดี

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม เสี่ยงแท้งแค่ไหน อันตรายกับคนท้องหรือเปล่า

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม เสี่ยงแท้งไหม อันตรายกับคนท้องหรือเปล่า

คนท้องกินสับปะรดได้ไหม คุณแม่กินสับปะรดมากเกินไปเสี่ยงแท้งจริงหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและไม่เป็นอันตรายกับลูกในท้อง พร้อมวิธีดูแลครรภ์แม่ท้อง