6 สัญญาณอาการใกล้คลอด เมื่อคุณแม่เริ่มเจ็บท้องคลอด

อาการเจ็บท้องคลอด สัญญาณอาการใกล้คลอดที่สังเกตได้

04.03.2020

สัญญาณเตือนอาการใกล้คลอด โค้งสุดท้ายหลังจากอุ้มท้องผ่านมา 9 เดือน คุณแม่ก็เข้าสู่ช่วงนับถอยหลังเพื่อเตรียมตัวรอคลอด ต้อนรับสมาชิกตัวน้อยที่กำลังจะลืมตาดูโลก คุณแม่มือใหม่อาจสงสัยว่า อาการใกล้คลอดและเจ็บท้องคลอดมีสัญญาณอะไร และมีสิ่งไหนที่คุณแม่ต้องระวัง เพื่อถึงเวลานั้นคุณแม่จะได้เก็บกระเป๋าไปโรงพยาบาลได้อย่างท่วงที

headphones

PLAYING: อาการเจ็บท้องคลอด สัญญาณอาการใกล้คลอดที่สังเกตได้

อ่าน 5 นาที

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

อาการก่อนคลอดของคุณแม่ใกล้คลอด

เมื่อเข้าช่วงสุดท้ายของการตั้งครรภ์ อาจมีอาการสำคัญ 2-3 อย่างที่คุณแม่ต้องเฝ้าสังเกต เพื่อให้มีเวลาเตรียมความพร้อมก่อนเจ็บท้องคลอด

  1. เจ็บท้องเตือน อาการใกล้คลอดนี้มักเริ่มเกิดช่วงตั้งครรภ์เดือนที่ 8 เนื่องจากมดลูกขยายตัวเต็มที่และเคลื่อนต่ำลง คุณแม่สามารถคลำสัมผัสที่หน้าท้องและรู้สึกได้ว่ามีก้อนแข็ง ๆ นอกจากนี้มดลูกจะมีการบีบตัวให้ปวดตึงบริเวณท้องน้อย แต่เป็นระยะเวลาสั้น ๆ ไม่สม่ำเสมอ และมีจังหวะไม่แน่นอน อาการเจ็บจะหายไปเองได้เมื่อมีการเปลี่ยนท่าทาง
  2. อาการท้องลด เป็นภาวะที่ศีรษะของทารกในครรภ์เคลื่อนลงมาในอุ้งเชิงกรานเตรียมพร้อมที่จะคลอด อาการนี้อาจเกิดขึ้น 2-3 สัปดาห์ก่อนคลอด คุณแม่สังเกตได้จากที่ความสูงของยอดมดลูกลดลงเล็กน้อย คุณแม่จะรู้สึกว่าหายใจคล่องขึ้น รับประทานอาหารไม่ค่อยแน่นท้อง  แต่จะปวดหน่วงที่บริเวณช่องคลอด รวมถึงปัสสาวะบ่อยขึ้น เพราะศีรษะของลูกเบียดกระเพาะปัสสาวะให้มีพื้นที่น้อยลง
  3. มีมูกขาวข้นออกทางช่องคลอด ในระหว่างตั้งครรภ์ร่างกายจะสร้างเมือกหนาบริเวณปากมดลูก เพื่อช่วยป้องกันเชื้อโรคและแบคทีเรียไม่ให้เข้าสู่มดลูก ดังนั้นหนึ่งในสัญญาณเตือนอาการใกล้คลอด คือ มูกสีขาวข้นเหนียวที่อุดอยู่ปากมดลูกจะหลุดและไหลออกมาทางช่องคลอด เนื่องมาจากมดลูกเริ่มมีการขยายตัว โดยมักจะหลุดออกมาในช่วยก่อนคลอดประมาณ 1-2 สัปดาห์


อาการใกล้คลอด

เมื่อถึงเวลาใกล้คลอดร่างกายจะส่งสัญญาณเตือนให้รู้ ซึ่งแต่ละคนก็มีอาการเจ็บท้องคลอดหรืออาการใกล้คลอดที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ต้องสังเกตให้ดีว่าเป็นอาการเจ็บท้องเตือนหรือเจ็บท้องคลอดจริง โดยคุณแม่อาจลองสังเกตได้จากสัญญาณเตือนสำคัญเหล่านี้

  1. มูกเลือดออกทางช่องคลอด ปกติปากมดลูกของคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีมูกเลือดป้องกันสิ่งแปลกปลอม เมื่อใกล้คลอดปากมดลูกเริ่มเปิดและขยาย ทำให้เส้นเลือดที่บริเวณปากมดลูกมีการแตก จึงมีมูกเลือดไหลออกมา ซึ่งควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์
  2. ถุงน้ำคร่ำแตก หรือที่เรียกกันว่า น้ำเดิน แสดงถึงการที่มดลูกเริ่มบีบตัวหดเล็กลง เพื่อบีบให้ศีรษะของเด็กเคลื่อนลงสู่อุ้งเชิงกราน น้ำที่ออกมาจะเป็นลักษณะใส ๆ คล้ายน้ำปัสสาวะ ไม่มีกลิ่น ซึ่งอาจจะไหลพรวดออกมาหรือค่อย ๆ ไหลออกมาก็ได้ อาการน้ำเดินมีโอกาสมากถึง 80% ที่จะคลอดภายใน 12 ชั่วโมง หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการถุงน้ำคร่ำแตก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะเมื่อน้ำเดินหรือถุงน้ำคร่ำแตกจะมีโอกาสทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ช่องคลอดและโพรงมดลูกได้ง่าย ส่งผลให้เกิดการอักเสบติดเชื้อในโพรงมดลูก ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อคุณแม่และลูกในครรภ์
  3. เจ็บท้องคลอด จะเป็นอาการเจ็บท้องรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ในลักษณะที่เจ็บสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง นานขึ้นและถี่ขึ้นจนกว่ากระบวนการคลอดจะสิ้นสุดลง โดยอาการเจ็บท้องคลอดนี้จะรู้สึกว่าเริ่มเจ็บที่ส่วนบนของมดลูกก่อน แล้วเจ็บร้าวลงไปข้างล่าง ท้องแข็งตึง ถ้าเดินหรือเคลื่อนไหวก็จะเจ็บมากขึ้น ส่วนใหญ่มักจะมีมูกปนเลือดออกมาทางช่องคลอดมากขึ้น อาการก่อนคลอดหรืออาการเจ็บท้องคลอดนี้จะไม่หายไปเมื่อครบ 1 ชั่วโมง คุณแม่ต้องไปโรงพยาบาลทันที

 

วิธีสังเกตอาการ “เจ็บท้องเตือน” และ “เจ็บท้องคลอด”

 

วิธีสังเกตอาการ “เจ็บท้องเตือน” และ “เจ็บท้องคลอด”

อาการใกล้คลอด เจ็บท้องคลอดของคุณแม่ในช่วงใกล้คลอด มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือเจ็บท้องเตือน กับ เจ็บท้องคลอด

 

1. เจ็บทางเตือน

อาการเจ็บท้องเตือน คือ อาการปวดท้องคล้ายกับว่าจะมีการคลอดเกิดขึ้น แต่จะไม่มีการคลอดเกิดขึ้นจริง ๆ สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่สอง ไปจนถึงไตรมาสที่สาม แต่อาการจะเริ่มรุนแรงและเห็นชัดขึ้นในช่วงก่อนคลอดไม่นาน จึงมักทำให้เกิดความสับสนว่านี่เป็นอาการเจ็บท้องคลอดจริงหรือเจ็บท้องหลอก ซึ่งมีลักษณะ ดังนี้

  • เกิดไม่สม่ำเสมอ เป็น ๆ หาย ๆ
  • เจ็บห่าง ๆ เช่น ชั่วโมงละครั้ง
  • ความรุนแรงในการปวดไม่มาก
  • ปวดท้องน้อย
  • ปากมดลูกไม่เปิดขยาย

 

2. เจ็บท้องคลอด 

อาการเจ็บท้องคลอดหรืออาการใกล้คลอด คุณแม่จะรู้สึกได้เมื่อตอนอายุครรภ์ได้ประมาณ สัปดาห์ที่ 37 ขึ้นไป เป็นอาการเจ็บท้องที่กำลังจะมีการคลอดขึ้นตามมาในไม่ช้า โดยอาการเจ็บท้องคลอดนี้ เกิดจากการหดรัดตัวของมดลูก เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่กระบวนการคลอดในเร็ว ๆ นี้ สังเกตได้ดังนี้

  • สม่ำเสมอ เช่น ปวดทุก 10 นาที
  • เจ็บถี่ขึ้น จากปวดทุก 10 นาที เป็น 5 นาที
  • ปวดแรงขึ้นเรื่อย ๆ
  • ปวดส่วนบนของมดลูกหรือยอดมดลูกและแผ่นหลัง
  • อาการปวดไม่ลดลง ถ้าเคลื่อนไหวก็จะเจ็บมาก
  • ปากมดลูกเปิดขยาย


โดยทั่วไปการเจ็บท้องคลอดจริงใช้เวลา 8-12 ชั่วโมง กว่าปากมดลูกจะเปิดขยาย คุณแม่ควรทำใจให้สบายเพื่อที่จะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นและรับมือกับความเจ็บปวดได้ดีขึ้น

 

อาการแบบไหนที่คุณแม่ควรรีบไปโรงพยาบาล

นอกจากอาการเจ็บท้องเตือน อาการใกล้คลอดหรือเจ็บท้องคลอดแล้ว หากมีอาการและสัญญาณเตือนอื่น ๆ เพิ่มเติมในช่วงไตรมาสสุดท้าย คุณแม่ควรรีบไปโรงพยาบาลทันที ได้แก่ 

  • มีเลือดออกทางช่องคลอด 
  • ตัวบวม หรือน้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • ลูกไม่ดิ้นหรือดิ้นน้อยลง 
  • มีไข้หรือหนาวสั่น 
  • อาการปวดท้องน้อยมากผิดปกติ
  • น้ำคร่ำเป็นสีน้ำตาล เขียว เหลือง หรือสีอื่น ๆ นอกเหนือจากสีใสหรือสีชมพู 
  • อาเจียนไม่หยุด 
  • หมดสติ
     
ป้องกันน้ำเดินหรือถุงน้ำคร่ำแตก ก่อนปวดท้องคลอดได้อย่างไร

 

ป้องกันน้ำเดินหรือถุงน้ำคร่ำแตก ก่อนปวดท้องคลอดได้อย่างไร

ปกติแล้วอาการน้ำเดินจะเกิดในช่วงอายุครรภ์ 37-40 สัปดาห์ แต่ถ้าอาการน้ำเดินเกิดขึ้นก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ถือว่าเป็นภาวะน้ำคร่ำเดินก่อนกำหนด (Premature rupture of membranes หรือ PROM) โดยภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดพบในช่วงอายุครรภ์ครบกำหนดประมาณ 10% และก่อนอายุครรภ์ครบกำหนดประมาณ 3% ของการคลอดบุตรทั้งหมด


ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด ถือว่าเป็นสัญญาณเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อขึ้นที่โพรงมดลูก และเสี่ยงที่จะทำให้ทารกในครรภ์มีการติดเชื้อที่รุนแรงตามไปด้วย หรืออาจก่อให้เกิดภาวะทุพพลภาพในทารก หรือทารกเสี่ยงที่จะมีปัญหาต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ในระยะยาว เช่น ปอดไม่สมบูรณ์ หัวใจทำงานผิดปกติ เป็นต้น

 

ถ้าแพทย์ตรวจพบว่ามีภาวะน้ำเดินก่อนกำหนดที่เป็นภาวะครรภ์เสี่ยง ส่วนใหญ่จะให้เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในจนกว่าจะคลอด ส่วนแนวทางการรักษาขึ้นอยู่กับการพิจารณาในหลายปัจจัย ซึ่งต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

 

การดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์ของคุณแม่มือใหม่เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมาก คุณแม่ตั้งครรภ์ควรฝากครรภ์แต่เนิ่น ๆ เพื่อความมั่นใจและความปลอดภัยทั้งคุณแม่และลูกน้อยและเมื่อคุณแม่มีอาการเจ็บท้องคลอด หรือมีอาการใกล้คลอด คุณแม่ควรทำใจให้สบาย เพื่อที่จะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นและรับมือกับความเจ็บปวดได้ดีขึ้น และเมื่อคุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย ลูกน้อยก็จะรู้สึกผ่อนคลายตามไปด้วย ที่สำคัญ คุณแม่ควรเตรียมของไปคลอดด้วย และเรื่องการเดินทางไปโรงพยาบาลให้พร้อมเพื่อจะได้ไม่ฉุกละหุก
 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 

 

 

บทความแนะนำ

คุณแม่ท้อง 1 เดือนกี่สัปดาห์ พร้อมวิธีนับอายุครรภ์รายสัปดาห์

คุณแม่ท้อง 1 เดือนกี่สัปดาห์ พร้อมวิธีนับอายุครรภ์รายสัปดาห์

ท้อง 1 เดือนกี่สัปดาห์ คุณแม่มือใหม่นับอายุลูกน้อยในครรภ์รายสัปดาห์อย่างไรให้แม่นยำ เพื่อพัฒนาการของลูกน้อย คุณแม่ท้อง 1 สัปดาห์ นับแบบไหนดี ไปดูกัน

นอนท่าไหนมดลูกเข้าอู่เร็ว อยากให้มดลูกเข้าอู่เร็วคุณแม่ต้องทำยังไง

นอนท่าไหนมดลูกเข้าอู่เร็ว อยากให้มดลูกเข้าอู่เร็วคุณแม่ต้องทำยังไง

คุณแม่หลังคลอดนอนท่าไหนมดลูกเข้าอู่เร็ว อยากให้มดลูกเข้าอู่เร็วต้องทำยังไงบ้าง ไปดูวิธีที่ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังคลอด

การทำหมันหญิงอันตรายไหม ทำหมันหลังคลอดทันทีได้หรือเปล่า

การทำหมันหญิงอันตรายไหม ทำหมันหลังคลอดทันทีได้หรือเปล่า

การทำหมันหญิงอันตรายไหม คุณแม่ทำหมันหลังคลอดทันที พักฟื้นนานหรือเปล่า มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง พร้อมวิธีดูแลตัวเองหลังการทำหมันหญิงหลังคลอด

ท้องกระตุกเหมือนลูกดิ้น อาการท้องกระตุก บอกอะไรคุณแม่ได้บ้าง

ท้องกระตุกเหมือนลูกดิ้น อาการท้องกระตุก บอกอะไรคุณแม่ได้บ้าง

ท้องกระตุกเหมือนลูกดิ้น อาการแบบนี้เกิดจากอะไร ท้องกระตุกบ่อย อันตรายไหม บอกอะไรคุณแม่ได้บ้าง อาการท้องกระตุกเหมือนลูกดิ้นแบบไหนที่คุณแม่ควรสังเกต