วิธีเช็คผลอนุมัติเงินค่าคลอดบุตร สมทบบุตร สิทธิประกันสังคมมาตรา 33

วิธีเช็กผลอนุมัติเงินค่าคลอดบุตร สมทบบุตร สิทธิประกันสังคมมาตรา 33

02.04.2024

สำหรับคุณแม่วัยทำงานที่กำลังตั้งครรภ์ หรือมีบุตรเล็ก ๆ ที่บ้าน บทความนี้จะช่วยให้คุณแม่เข้าใจเกี่ยวกับสิทธิประกันสังคมมาตรา 33 ในกรณีคลอดบุตรและสงเคราะห์บุตร สิทธิประกันสังคมเป็นสิทธิ์ที่คุณแม่วัยทำงานพึงได้ สามารถเบิกได้ แต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของสำนักงานประกันสังคม จึงมีเรื่องที่ต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน ทั้งเงื่อนไข การส่งเอกสาร รวมถึงวิธีการตรวจสอบผลอนุมัติ หวังว่าบทความนี้จะเป็นแนวทางที่ช่วยให้คุณแม่วัยทำงานทุกคน สามารถรู้ทันสิทธิประกันสังคมของตนเอง และสามารถใช้สิทธิ์ได้อย่างเต็มที่

headphones

PLAYING: วิธีเช็กผลอนุมัติเงินค่าคลอดบุตร สมทบบุตร สิทธิประกันสังคมมาตรา 33

อ่าน 7 นาที

 

สรุป

  • สิทธิประกันสังคมมาตรา 33 เป็นสิทธิ์ที่ให้แก่ผู้ประกอบการและลูกจ้างที่มีการจ่ายเงินสมทบประกันสังคม
  • เงินค่าคลอดบุตร เป็นสิทธิ์ที่ให้แก่ผู้ประกันสังคมที่คลอดบุตร โดยจะได้รับเงินค่าคลอดบุตร 15,000 บาท ต่อ 1 ครั้ง สำหรับบุตรคนแรกถึงคนที่ 2
  • สงเคราะห์บุตร เป็นสิทธิ์ที่ให้แก่ผู้ประกันสังคมที่มีบุตรอายุไม่เกิน 6 ปี โดยจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตร 800 บาท ต่อ 1 เดือน สำหรับบุตรคนแรกถึงคนที่ 3
  • เอกสารที่ต้องใช้ เพื่อขอรับสิทธิ์เงินค่าคลอดบุตรหรือสงเคราะห์บุตร มีดังนี้: ใบสำคัญการคลอดบุตร, สำเนาบัตรประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน, และสำเนาสมุดบัญชีธนาคาร

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

สิทธิประกันสังคม แต่ละมาตราครอบคลุมอะไรบ้าง

ผู้ประกันตนภายใต้ระบบประกันสังคม แบ่งออกเป็นภายใต้ 3 มาตราด้วยกัน คือ มาตรา 33, มาตรา 39, และ มาตรา 40 รายละเอียดและสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตนแต่ละมาตรา มีดังต่อไปนี้

1. มาตรา 33

สำหรับคุณแม่วัยทำงานทุกคนที่เข้าระบบประกันสังคม จะได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี ได้แก่ กรณีเจ็บป่วย/อุบัติเหตุ, กรณีทุพพลภาพ, กรณีเสียชีวิต, กรณีคลอดบุตร, กรณีสงเคราะห์บุตร, กรณีชราภาพ, และกรณีว่างงาน

 

2. มาตรา 39

สำหรับบุคคลที่เคยทำงานและเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาก่อน แล้วออกจากงาน แต่ยังต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมด้วยการส่งประกันสังคมต่อเอง จะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ได้แก่ กรณีเจ็บป่วย/อุบัติเหตุ, กรณีทุพพลภาพ, กรณีเสียชีวิต, กรณีคลอดบุตร, กรณีสงเคราะห์บุตร, และกรณีชราภาพ

 

3. มาตรา 40

สำหรับบุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพอิสระ, หรือแรงงานนอกระบบ ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้รับความคุ้มครองน้อยกว่าผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 และมูลค่าความคุ้มครองหรือการสงเคราะห์ขึ้นอยู่กับมูลค่าเบี้ยประกันตนที่ส่งให้แก่สำนักประกันสังคมที่แบ่งออกเป็น 3 ทางเลือก คือ

  • ทางเลือกที่ 1 จ่าย 70 บาทต่อเดือน จะได้รับความคุ้มครอง 3 กรณี ได้แก่ กรณีเจ็บป่วย/อุบัติเหตุ, กรณีทุพพลภาพ, และกรณีเสียชีวิต
  • ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาทต่อเดือน จะได้รับความคุ้มครอง 4 กรณี ได้แก่ กรณีเจ็บป่วย/อุบัติเหตุ, กรณีทุพพลภาพ, กรณีเสียชีวิต และกรณีชราภาพ
  • ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาทต่อเดือน จะได้รับความคุ้มครอง 5 กรณี ได้แก่ กรณีเจ็บป่วย/อุบัติเหตุ, กรณีทุพพลภาพ, กรณีเสียชีวิต, กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร

 

เช็กสิทธิประกันสังคมมาตรา 33 คลอดบุตร ได้อะไรบ้าง

สิทธิประกันสังคมมาตรา 33 ในการคลอดบุตร ครอบคลุมดังนี้

  • กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิ์ในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนบุตรต่อครั้ง
  • ผู้ประกันตนฝ่ายหญิงมีสิทธิ์ได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน สำหรับบุตรคนแรกถึงคนที่ 2
  • ผู้ประกันตนจะได้รับค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 15,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง

 

ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่ากี่เดือนก่อนคลอด จึงได้รับสิทธิ์เบิกค่าคลอดบุตร

ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน หรือภายใน 15 เดือน โดยการจ่ายต้องจ่ายก่อนครบกำหนดเดือนคลอดบุตร จึงจะสามารถเบิกค่าคลอดประกันสังคมได้

 

เบิกค่าคลอดบุตรตามสิทธิประกันสังคมมาตรา 33 ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

สำหรับกรณีคลอดบุตรและการเบิกค่าคลอดบุตรตามสิทธิประกันสังคมมาตรา 33 คุณแม่จะต้องเตรียมเอกสารดังนี้

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ
  2. สำเนาสูติบัตรของลูก 1 ชุด (กรณีคลอดลูกแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
  3. สำเนาทะเบียนสมรส หรือหากไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส
  4. สำเนาหน้าแรกของสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ
  5. เมื่อเตรียมเอกสารครบถ้วนแล้ว คุณแม่สามารถยื่นเอกสารเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์เบิกเงินค่าคลอดบุตรได้ที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ

 

สำหรับการเช็กผลอนุมัติเงินค่าคลอดบุตร คุณแม่สามารถเช็กได้ที่แถบเมนู “การเบิกสิทธิประโยชน์” บนเว็บไซต์ประกันสังคม www.sso.go.th ประกันสังคมจะโอนเงินเข้าบัญชีของผู้ประกันตนภายใน 5-7 วันทำการ จากวันที่เอกสารได้รับอนุมัติ

 

สิทธิประกันสังคมมาตรา 33 สงเคราะห์บุตร ได้อะไรบ้าง

 

เช็กผลอนุมัติเงินค่าคลอดบุตร ทำผ่านแอปได้ไหม

คุณแม่สามารถตรวจสอบหรือเช็กผลอนุมัติเงินค่าคลอดบุตรผ่านแอปพลิเคชันได้ โดยดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “SSO Connect” หรือเข้าเว็บไซต์ www.sso.go.th แล้วเข้าสู่ระบบ หากยังไม่ได้เป็นสมาชิกสามารถสมัครผ่านระบบก่อน หลังจากนั้นคุณสามารถเช็กเงินค่าคลอดบุตรได้ที่แถบเมนู “การเบิกสิทธิประโยชน์” โปรดทราบว่า วันที่ยอดวงเงินเข้าสามารถตรวจสอบได้จากรายละเอียดบนหน้าแอปพลิเคชัน

 

สิทธิประกันสังคมมาตรา 33 สงเคราะห์บุตร ได้อะไรบ้าง

สิทธิประกันสังคมมาตรา 33 ในกรณีสงเคราะห์บุตร กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิ์ในการเบิกเงินสงเคราะห์บุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ครอบคลุมเบื้องต้นดังนี้

  1. ผู้ประกันตนจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 800 บาทต่อบุตรหนึ่งคน สำหรับบุตรคนแรกถึงคนที่ 3
  2. สามารถเบิกเงินสงเคราะห์บุตรได้คราวละไม่เกิน 3 คน
  3. สิทธิ์รับเงินกรณีสงเคราะห์บุตรสิ้นสุดเมื่อบุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์

 

ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่ากี่เดือนก่อนคลอด ได้รับสิทธิ์เบิกเงินสงเคราะห์บุตร

สำหรับสิทธิประกันสังคมในกรณีสงเคราะห์บุตร ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทน

 

กรณีสงเคราะห์บุตร ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

สำหรับกรณีสงเคราะห์บุตรและการเบิกเงินสงเคราะห์บุตรตามสิทธิประกันสังคมมาตรา 33 ต้องเตรียมเอกสารดังนี้

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ
  2. สำเนาสูติบัตรของลูก 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
  3. สำหรับผู้ประกันตนชายให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตนหรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
  4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อ และเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ

 

เมื่อเตรียมเอกสารครบถ้วนแล้ว คุณแม่สามารถยื่นเอกสารเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์เบิกเงินสงเคราะห์บุตรได้ที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ

 

การเป็นคุณแม่วัยทำงานไม่ได้ง่ายเลย และแม้คุณแม่จะเข้มแข็งยืนหยัดด้วยความรักของผู้เป็นแม่ แต่สิทธิประกันสังคมนี้คือตัวช่วยที่มีคุณค่า สนับสนุนคุณแม่ทุกคนในช่วงเวลาที่เปลี่ยนสถานะจากผู้หญิงคนหนึ่งมาพ่วงเป็นแม่คนหนึ่งด้วย อย่าลืมว่าคุณแม่สามารถตรวจสอบผลอนุมัติเงินค่าคลอดบุตรและสงเคราะห์บุตรได้ทุกเวลาผ่านทางเว็บไซต์ www.sso.go.th หรือแอปพลิเคชันของประกันสังคม และหากมีข้อสงสัยหรือปัญหาใด ๆ อย่าลังเลที่จะติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความช่วยเหลือ

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. สิทธิประกันสังคม ลูกจ้าง เบิกอะไรได้บ้าง? (ผู้ประกันตนตาม ม. 33), iTAX
  2. ประกันสังคม ม.39 คืออะไร? ได้สิทธิอะไรบ้าง, สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.)
  3. การสมัครและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40, สำนักงานประกันสังคม
  4. กรณีคลอดบุตร, สำนักงานประกันสังคม
  5. วิธีเช็กเงินค่าคลอดบุตรประกันสังคม ทำผ่านแอปง่ายๆ, KTC (ธนาคารกรุงไทย)
  6. สิทธิกรณีสงเคราะห์บุตร, สำนักงานประกันสังคม

อ้างอิง ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567

บทความแนะนำ

คนท้องไปงานศพได้ไหม เพราะอะไร ทำไมคนท้องไปงานศพไม่ได้

คนท้องไปงานศพได้ไหม เพราะอะไร ทำไมคนท้องไปงานศพไม่ได้

คนท้องไปงานศพได้ไหม เพราะอะไรคนท้องถึงไปงานศพไม่ได้ หากคนท้องไปงานศพจะเกิดอะไรขึ้น ทำไมถึงมีความเชื่อว่าคนท้องไม่ควรไปงานศพ ไปทำความเข้าใจพร้อมกัน

อารมณ์คนท้องระยะแรกเป็นแบบไหน คนท้องอารมณ์ขึ้น ๆ ลงๆ รับมืออย่างไร

อารมณ์คนท้องระยะแรกเป็นแบบไหน คนท้องอารมณ์ขึ้น ๆ ลงๆ รับมืออย่างไร

อารมณ์คนท้องระยะแรกเป็นแบบไหน คุณแม่ท้องอารมณ์ขึ้นๆ ลง เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณพ่อมือใหม่มีวิธีรับมือกับอารมณ์คนท้องระยะแรกของคุณแม่ได้อย่างไร ไปดูกัน

คลอดก่อนกําหนด 7 เดือน คลอดก่อนกำหนด 32 สัปดาห์ อันตรายไหม

คลอดก่อนกําหนด 7 เดือน คลอดก่อนกำหนด 32 สัปดาห์ อันตรายไหม

คลอดก่อนกําหนด 7 เดือน เกิดจากอะไร คุณแม่คลอดก่อนกำหนด 32 สัปดาห์ ลูกมีโอกาสรอดแค่ไหน อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า พร้อมสัญญาณเตือนการคลอดก่อนกำหนด

ทําหมันเจ็บไหม ผู้หญิงผ่าคลอดทำหมันกี่วันหาย เตรียมตัวแบบไหนดี

ทําหมันเจ็บไหม ผู้หญิงผ่าคลอดทำหมันกี่วันหาย เตรียมตัวแบบไหนดี

ทําหมันเจ็บไหม ผู้หญิงผ่าคลอดทําหมันกี่วันหาย คุณแม่ทำหมันทันทีเลยได้ไหม ต้องเตรียมตัวอย่างไร ให้คุณแม่เจ็บน้อยที่สุด พร้อมข้อดีและข้อเสียการทำหมัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก