41 เคล็ดไม่ลับวิธีสร้างสมอง สู่พรสวรรค์ของลูกน้อยวัย 5 ปี
คำว่า “พรสวรรค์” ครอบคลุมถึงความสามารถหลายด้านไม่ว่าจะเป็น ภาษา การคำนวน ศิลปะ กีฬา ดนตรี เทคโนโลยีและอีกมากมาย การเปิดโอกาสให้ลูกได้ลองทำกิจกรรมที่หลาก หลายจะทำให้คุณพ่อคุณแม่ทราบได้ว่าสิ่งที่ลูกชอบ ให้ความสนใจและทำได้ดีคืออะไร คำชมเชย การให้กำลังใจ การตั้งเป้าหมายที่เหมาะสมและการสร้างบรรยากาศในบ้านที่ กระตุ้นแต่ไม่กดดันจะช่วยให้ลูกอดทนฝึกฝนพฤติกรรมที่ชอบนี้ไปได้นานๆ และทำมันได้ดีขึ้น เรื่อยๆในที่สุด
เคล็ดไม่ลับ
"วิธีสร้างสมองสู่พรสวรรค์ของลูกน้อยวัย 5 ปี"
การเปลี่ยนแปลงของแม่-ลูก
1.ตอนนี้การมองเห็นของหนูมีความชัดเจนใกล้เคียงกับผู้ใหญ่แล้วนะ ไม่ต้องเข้ามาใกล้มากหนูก็มองเห็นในระยะเดียวกับที่คุณพ่อคุณแม่มองได้
2. “หนูจะเอาขนมไปแจกเพื่อนๆ” ก็หนูเริ่มอยากเป็นที่รักในกลุ่มเพื่อนๆแล้วน่ะสิ
3. “ถ้าโดนแปะ เราต้องหยุดวิ่ง” หนูเล่นเกมกับเพื่อนๆ ที่มีกฎเกณฑ์ซับซ้อนมากขึ้นได้
4. “หนูเป็นผู้ชาย คุณแม่เป็นผู้หญิง” หนูมีความเข้าใจเรื่องเพศมากขึ้นเรื่อยๆ
5. “ใส่รองเท้าถูกข้าง” หนูรู้จักซ้ายขวาแล้วนะ ให้หนูเลี้ยวซ้ายหรือให้ยกมือซ้ายหนูรู้แล้วว่า ต้องทำอย่างไร
6. “คุณแม่หนูไปเล่นกับพี่ข้างบ้านนะ” หนูมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้นทำสิ่งต่างๆได้ด้วยตัวเอง ถ้าคุณพ่อคุณแม่ประเมินแล้วว่าปลอดภัยก็ปล่อยให้หนูตัดสินใจเองบ้างก็ได้
7. “เพื่อนร้องไห้เพราะโดนแย่งตุ๊กตา” “คุณแม่เสียใจเพราะหนูทานข้าวไม่หมด” หนูอธิบาย ความหมายและจุดประสงค์ของพฤติกรรมต่างๆ ได้แล้ว
8. “ทำไมลูกไม่ทำการบ้าน” “หนูไม่ทำการบ้านก็เพราะมันยากไป” วัย 5 ขวบแบบหนูนี่ สามารถตอบคำถามว่าทำไมได้เก่งขึ้นแล้ว
9. “ผี ความมืด สัตว์ประหลาด” ความกลัวที่เกิดขึ้นในช่วงวัยก่อนหน้านี้ดีขึ้นแล้วตามการรับรู้ ความเป็นจริงที่ดีขึ้นของหนู
10. “หนูบอกชื่อและที่อยู่ของหนูได้” คุณพ่อคุณแม่ช่วยสอนหนูหน่อย การบอกได้แบบนี้มัน ช่วยหนูได้มากเลยนะเวลาหลงทาง
11. “นี่คือแบงค์ 20 และนี่คือเหรียญ 10 บาท” “หมาที่เราเลี้ยงชื่อ...” ของใกล้ตัวง่ายๆ พวกนี้หนูเรียกชื่อมันถูกแล้วนะ
12. หนูใช้ช้อนส้อมตักอาหารเข้าปากเองได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องคอยป้อนหนูแล้วล่ะ เวลาอยู่ในโรงเรียนแล้วช่วยเหลือตัวเองไม่ได้นี่ มันน่าอายมากเลย
13. “เล่นชิงช้ากันเถอะ” หนูปีนขึ้นลงและแกว่งชิงช้าไปมาได้แล้ว ดูซิหนูจะไปได้สูงแค่ไหน
14. หนูเดินขึ้นลงบันไดได้โดยไม่ต้องเกาะราวแล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังต้องระวังให้หนูอยู่นะ กล้ามเนื้อและการทรงตัวของหนูดีขึ้น แต่การคาดการณ์เรื่องอันตรายหนูยังทำได้ไม่ค่อยดีนัก
15. “เธอเล่นไปแล้ว ตาฉันเล่นบ้าง” หนูกับเพื่อนเริ่มถกเถียงเรื่องความยุติธรรมกันแล้ว
16. “หนูรู้นะว่าคุณพ่อคุณแม่พูดโกหก” เด็กห้าขวบอย่างหนูเริ่มรู้นะว่าใครพูดความจริง ใครพูดโกหกการกระตุ้นพัฒนาการ
17. คุณพ่อคุณแม่คุยกับหนูด้วยประโยคที่ซับซ้อนและยาวขึ้นเหมือนคุยกับพี่ได้แล้วนะ พูดได้เข้าใจและชัดเจนมากขึ้นแล้ว
18. หนูนับเลขได้มากกว่า 10 แล้วนะลองชวนหนูเล่นเกมนับของบนโต๊ะ นับรถสีฟ้าบนถนน นับผักในจานสิ เกมแบบนี้ช่วยเรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลขและขยายคำศัพท์ของหนูให้ มีมากขึ้นด้วย“นี่คุณพ่อดูสิ หนูเขียนตัวเลขและตัวหนังสือสวยไหม” ผู้ใหญ่รอบตัวให้หนูจับดินสอเพื่อ
ขีดเขียนบ่อยๆ การฝึกแบบนี้เลยทำให้หนูเขียนตัวหนังสือและตัวเลขได้คล่องแคล่วขึ้นจากวงกลม มาเป็นสามเหลี่ยมหนูวาดรูปทรงต่างๆ ได้มากขึ้นและสวยงามขึ้น คุณพ่อคุณ แม่ช่วยหนูฝึกนะ
21. “การเชื่อมโยงตัวอักษรหรือคำกับการออกเสียง ทำได้แล้ว!” เด็กๆ สามารถเชื่อมโยงเสียงและตัวอักษรหรือคำได้บ้างแล้ว การเขียนตัวอักษรและตัวเลขก็เช่นกัน คุณแม่สามารถ สอดแทรกเข้าไปในชีวิตประจำวันหรือเป็นเกม
22. “หนูอยากแชร์ความรู้สึกนะ” ช่วงเวลาที่อยู่พร้อมหน้าหรือลูกอยู่กับคุณแม่ในช่วงเวลาคุณภาพ เช่น ระหว่างมื้ออาหารเย็น คุณแม่ควรกระตุ้นให้ลูกได้เล่าหรือบอกความรู้สึกต่อสิ่งต่างๆ ลูกน้อยเป็นนักอภิปรายความเห็นต่างๆ ได้แล้วในช่วงวัยนี้
23. “หนูจำเบอร์มือถือแม่ได้นะ” ไม่เฉพาะหมายเลขโทรศัพท์มือถือ แต่ที่อยู่ของบ้านเด็กวัยนี้จดจำได้แล้ว แน่นอนว่า หากพลัดหลงกับลูกไปอย่างน้อยเมื่อพลเมืองดีเจอลูก จะได้ติดต่อ หาคุณแม่ได้
24. “พูดไร แม่ไม่รู้เรื่อง เอาใหม่” ลูกน้อยกำลังพัฒนาด้านภาษา ซึ่งรวมถึงเรื่องไวยากรณ์ คำศัพท์ โครงสร้างประโยค เป็นต้น ดังนั้น หากลูกพูดสลับหรือสื่อความหมายไม่ตรง คุณแม่เพียงพูดออกมาให้ลูกได้ฟัง แล้วเขาจะเลียนแบบประโยคของคุณแม่ต่อไปเอง
25. “เอกลักษณ์ของลูกถูกสร้างแล้ว” โลกของเด็กวัย 5 ขวบ คือ โลกในนิทานแฟนตาซี จินตนาการของลูก ความสร้างสรรค์ของลูก จะเกิดขึ้นได้จากการสนับสนุนของคุณแม่ การเล่นบทบาทสมมติด้วยกัน นอกจากจะสร้างความผูกพันและเชื่อมโยงระหว่างกันแล้ว บุคลิกภาพและคุณลักษณะที่เป็นตัวตนของลูกจะถูกพัฒนาอย่างชัดเจนขึ้นด้วย
แม่มือใหม่ควรรู้
26. “ว้าวคุณแม่เห็นไหม นี่ไงฟันแท้ซี่แรกของหนู” สอนหนูแปรงฟันดีๆ และลดพวกของหวานๆ ถ้าฟันหนูหลออายเพื่อนๆ แย่เลย
27. “ถ้าหนูสะสมสติ๊กเกอร์ทำความดีได้ 5 ดวง หนูจะเอาไปแลกของที่หนูอยากได้” ความเข้าใจเรื่องกฎกติกาต่างๆของหนูมันดีขึ้นมากในวัย 5 ขวบนี้
28. “แล้วแต่อารมณ์” บางครั้งหนูก็ให้ความร่วมมือกับคุณพ่อคุณแม่ดีนะ แต่บางครั้งหนูก็ลุก ขึ้นมาต่อต้านเฉยๆ คุณพ่อคุณแม่ใจเย็นกับหนูหน่อย การควบคุมอารมณ์ของหนูกำลัง พัฒน “มั่วแล้ว อ่านอะไรน่ะ” หนึ่งในพฤติกรรมที่ลูกน้อยวัย 5 ขวบ แสดงออกมาคือ การทำเหมือนอ่านหนังสือได้และพูดออกมาดังๆ คุณแม่ไม่ควรว่ากล่าวหรือทำทีว่าลูกโกหก คุณแม่อาจยิ้มๆและเดินเข้าไปถามว่า “อ่านอะไรคะ แม่อ่านด้วยได้ไหม”
“ห้าม....อย่า....ใครบอกให้ทำ......” น้ำเสียงของคุณแม่สำคัญมากต่อความรู้สึกของลูก ในประโยคเดียวกัน แค่เปลี่ยนน้ำเสียง เจตนาอาจเปลี่ยนไป การรับรู้ของลูกก็เปลี่ยนไปด้วย ฝึกใช้น้ำเสียงที่เหมาะสมกับลูกดีกว่า
“หนูไม่โอเคนะแม่” การแสดงความโมโหหรือไม่พอใจของลูก คุณแม่ต้องสังเกตว่า ลูกระบายออกมาผ่านการใช้คำพูดด้วยหรือไม่ มันจะดีกว่า ถ้าลูกน้อยได้แสดงออกผ่านทางวัจนภาษาหรือการพูดออกมามากกว่าผ่านการแสดงออกทางร่างกายอย่างเดียว
“ไว้ใจได้ไหมนะ” ลูกน้อยจะไว้วางใจคุณแม่ คนในครอบครัว และผู้อื่นอย่างไร ขึ้นอยู่กับท่าทีของคุณแม่ด้วย ลูกรับรู้ได้ว่าสภาพแวดล้อมแบบไหนที่เขาจะวางใจได้ การไว้ใจได้จะนำไปสู่ความมั่นใจในตนเองของลูกด้วย
“หนูดูแลตัวเองได้มากขึ้นเยอะเลย” ทั้งการแต่งตัว การเปลี่ยนเสื้อผ้า การแปรงฟัน อาบน้ำ รวมถึงการเข้าใจว่าผู้อื่นต้องการอะไร ลูกน้อยสามารถทำได้แล้ว แต่อาจจะให้ความช่วยเหลือมากๆ ไม่ได้
“เตรียมหนูก่อนไปโรงเรียนด้วยนะ” คุณแม่ควรเตรียมตัวให้ลูกก่อนไปโรงเรียนจริงสักพัก เช่น เตรียมเรื่องกระเป๋าและของในกระเป๋า ทำบรรยากาศให้ผ่อนคลายและสร้างความคิดที่ดีต่อการไปโรงเรียนและเจอผู้คนใหม่ๆ เป็นต้น
“ทำไมไม่เข้าใจแม่เลย เห็นใจแม่บ้าง” ส่วนใหญ่ลูกน้อยจะรู้ว่าผู้อื่นมีความรู้สึกอย่างไรบ้าง แต่ลูกไม่ได้เข้าใจความคิดและมุมมองของคนอื่นขนาดนั้น เพราะฉะนั้น คุณแม่ไม่ควรว่ากล่าวหรือส่งเสียงดังใส่ลูก เขายังเป็นด็กนะ
“ทำไมทำได้แค่นี้ล่ะ” คำพูดบั่นทอนจิตใจของลูก คุณแม่ต้องเข้าใจว่า แม้ลูกวัยนี้จะสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น และเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ไว แต่หลายๆ อย่างยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ เช่น ทักษะการเคลื่อนไหว การนั่งจดจ่อกับหนังสือนานๆ เป็นต้น
“หนูเป็นเด็กดีก็ได้ แต่หนูขอซื้ออันนั้นได้ไหม” การต่อรองเกิดขึ้นแล้วในช่วงเวลานี้ คุณแม่แต่ละบ้านอาจส่งผ่านกติกาหรือวางเงื่อนไขให้กับลูกมากน้อยแตกต่างกัน ไม่ใช่แค่การต่อรองในบ้าน ลูกน้อยยังรู้จักต่อรองกับเพื่อนๆ ของเขาด้วยแล้วนะ
“ตอนแม่เป็นเด็ก แม่เป็นยังไงนะ” ลูกน้อยสนใจเรื่องราวชีวิตของคุณพ่อคุณแม่ เราอาจเล่าประสบการณ์ชีวิตแบบที่ลูกน้อยจะสามารถเข้าใจและเข้าถึงเหตุการณ์นั้นได้ เช่น งานอดิเรก อาหารที่ชอบ การท่องเที่ยว เป็นต้น
“เช้า สาย บ่าย เย็น ค่ำ หนูมีอะไรทำตลอดแหละ” ตารางกิจวัตรประจำวันของลูกอาจต่างจากตอนอายุ 4 ขวบสักหน่อย เพิ่มเติมด้วยการระบุช่วงเวลาให้ละเอียดลงไปได้ เพราะลูกน้อยเข้าใจเรื่องเวลามากขึ้นแล้ว
“โตขึ้นลูกก็จะเป็นหมอนะลูกนะ” แม้ลูกจะยังดูเล็ก แต่ลูกรับรู้ถึงความคาดหวังที่พ่อแม่มีต่อ เขาแล้ว แน่นอนว่า ความกดดันและความเครียดในเด็กเกิดขึ้นได้ พ่อแม่ควรเปิดกว้างในเรื่องต่างๆ ต่อลูก เช่น อาชีพ ความชอบ ความเป็นเพศ ค่านิยมต่างๆทางสังคม เป็นต้น
“แม่ก็มีสิ่งที่ชอบมากๆนะ” ต้นแบบสำคัญคือพ่อและแม่ หากพ่อแม่มีความหลงใหลในกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ทำแล้วมีความสุข และแสดงออกให้ลูกได้เห็น ให้ลูกได้มีส่วนร่วม ลูกจะได้ซึมซับความสร้างสรรค์ ความสนุกสนานจากสิ่งที่พ่อแม่ทำด้วยเช่นกัน แน่นอนว่า จะนำไปสู่การค้นหาความชอบของลูกเองด้วย
29. “มั่วแล้ว อ่านอะไรน่ะ” หนึ่งในพฤติกรรมที่ลูกน้อยวัย 5 ขวบ แสดงออกมาคือ การทำเหมือนอ่านหนังสือได้และพูดออกมาดังๆ คุณแม่ไม่ควรว่ากล่าวหรือทำทีว่าลูกโกหก คุณแม่อาจยิ้มๆและเดินเข้าไปถามว่า “อ่านอะไรคะ แม่อ่านด้วยได้ไหม”
30. “ห้าม....อย่า....ใครบอกให้ทำ......” น้ำเสียงของคุณแม่สำคัญมากต่อความรู้สึกของลูก ในประโยคเดียวกัน แค่เปลี่ยนน้ำเสียง เจตนาอาจเปลี่ยนไป การรับรู้ของลูกก็เปลี่ยนไปด้วย ฝึกใช้น้ำเสียงที่เหมาะสมกับลูกดีกว่า
31. “หนูไม่โอเคนะแม่” การแสดงความโมโหหรือไม่พอใจของลูก คุณแม่ต้องสังเกตว่า ลูกระบายออกมาผ่านการใช้คำพูดด้วยหรือไม่ มันจะดีกว่า ถ้าลูกน้อยได้แสดงออกผ่านทางวัจนภาษาหรือการพูดออกมามากกว่าผ่านการแสดงออกทางร่างกายอย่างเดียว
32. “ไว้ใจได้ไหมนะ” ลูกน้อยจะไว้วางใจคุณแม่ คนในครอบครัว และผู้อื่นอย่างไร ขึ้นอยู่กับท่าทีของคุณแม่ด้วย ลูกรับรู้ได้ว่าสภาพแวดล้อมแบบไหนที่เขาจะวางใจได้ การไว้ใจได้จะนำไปสู่ความมั่นใจในตนเองของลูกด้วย
33. “หนูดูแลตัวเองได้มากขึ้นเยอะเลย” ทั้งการแต่งตัว การเปลี่ยนเสื้อผ้า การแปรงฟัน อาบน้ำ รวมถึงการเข้าใจว่าผู้อื่นต้องการอะไร ลูกน้อยสามารถทำได้แล้ว แต่อาจจะให้ความช่วยเหลือมากๆ ไม่ได้
34. “เตรียมหนูก่อนไปโรงเรียนด้วยนะ” คุณแม่ควรเตรียมตัวให้ลูกก่อนไปโรงเรียนจริงสักพัก เช่น เตรียมเรื่องกระเป๋าและของในกระเป๋า ทำบรรยากาศให้ผ่อนคลายและสร้างความคิดที่ดีต่อการไปโรงเรียนและเจอผู้คนใหม่ๆ เป็นต้น
35. “ทำไมไม่เข้าใจแม่เลย เห็นใจแม่บ้าง” ส่วนใหญ่ลูกน้อยจะรู้ว่าผู้อื่นมีความรู้สึกอย่างไรบ้าง แต่ลูกไม่ได้เข้าใจความคิดและมุมมองของคนอื่นขนาดนั้น เพราะฉะนั้น คุณแม่ไม่ควรว่ากล่าวหรือส่งเสียงดังใส่ลูก เขายังเป็นด็กนะ
36. “ทำไมทำได้แค่นี้ล่ะ” คำพูดบั่นทอนจิตใจของลูก คุณแม่ต้องเข้าใจว่า แม้ลูกวัยนี้จะสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น และเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ไว แต่หลายๆ อย่างยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ เช่น ทักษะการเคลื่อนไหว การนั่งจดจ่อกับหนังสือนานๆ เป็นต้น
37. “หนูเป็นเด็กดีก็ได้ แต่หนูขอซื้ออันนั้นได้ไหม” การต่อรองเกิดขึ้นแล้วในช่วงเวลานี้ คุณแม่แต่ละบ้านอาจส่งผ่านกติกาหรือวางเงื่อนไขให้กับลูกมากน้อยแตกต่างกัน ไม่ใช่แค่การต่อรองในบ้าน ลูกน้อยยังรู้จักต่อรองกับเพื่อนๆ ของเขาด้วยแล้วนะ
38. “ตอนแม่เป็นเด็ก แม่เป็นยังไงนะ” ลูกน้อยสนใจเรื่องราวชีวิตของคุณพ่อคุณแม่ เราอาจเล่าประสบการณ์ชีวิตแบบที่ลูกน้อยจะสามารถเข้าใจและเข้าถึงเหตุการณ์นั้นได้ เช่น งานอดิเรก อาหารที่ชอบ การท่องเที่ยว เป็นต้น
39. “เช้า สาย บ่าย เย็น ค่ำ หนูมีอะไรทำตลอดแหละ” ตารางกิจวัตรประจำวันของลูกอาจต่างจากตอนอายุ 4 ขวบสักหน่อย เพิ่มเติมด้วยการระบุช่วงเวลาให้ละเอียดลงไปได้ เพราะลูกน้อยเข้าใจเรื่องเวลามากขึ้นแล้ว
40. “โตขึ้นลูกก็จะเป็นหมอนะลูกนะ” แม้ลูกจะยังดูเล็ก แต่ลูกรับรู้ถึงความคาดหวังที่พ่อแม่มีต่อ เขาแล้ว แน่นอนว่า ความกดดันและความเครียดในเด็กเกิดขึ้นได้ พ่อแม่ควรเปิดกว้างในเรื่องต่างๆ ต่อลูก เช่น อาชีพ ความชอบ ความเป็นเพศ ค่านิยมต่างๆทางสังคม เป็นต้น
41. “แม่ก็มีสิ่งที่ชอบมากๆนะ” ต้นแบบสำคัญคือพ่อและแม่ หากพ่อแม่มีความหลงใหลในกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ทำแล้วมีความสุข และแสดงออกให้ลูกได้เห็น ให้ลูกได้มีส่วนร่วม ลูกจะได้ซึมซับความสร้างสรรค์ ความสนุกสนานจากสิ่งที่พ่อแม่ทำด้วยเช่นกัน แน่นอนว่า จะนำไปสู่การค้นหาความชอบของลูกเองด้วย