เช็คพัฒนาการการเรียนรู้ ทารกวัย 1 - 3 เดือน

เช็กพัฒนาการการเรียนรู้ ทารกวัย 1-3 เดือน

 

แม่ ๆ รู้ไหม เบบี๋วัย 1 - 3 เดือน ทำอะไรได้มากกว่าที่เราคิด แถมแต่ละคนยังมีพัฒนาการแตกต่างกัน เราจึงอยากชวนแม่ ๆ มาสังเกตพัฒนาการของลูกกันดีกว่า ว่าลูกรักมีพัฒนาการดีสมวัยหรือไม่ และแม่ ๆ อย่างเราสามารถช่วยกระตุ้นพัฒนาการได้อย่างไรบ้าง

 

พัฒนาการทารกแรกเกิด - 1 เดือน

พัฒนาการทารกแรกเกิด - 1 เดือน

พัฒนาการตามเกณฑ์

  • พัฒนาการการเคลื่อนไหว: อยู่ในท่านอนคว่ำแล้วยกศีรษะหันไปข้างใดข้างหนึ่งได้
  • การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา: นอนหงายและมองตามสิ่งของได้ถึงกึ่งกลางลำตัว
  • การเข้าใจภาษา: สะดุ้งหรือเคลื่อนไหวร่างกายเมื่อได้ยินเสียงพูดในระดับปกติ
  • การใช้ภาษา: ส่งเสียงอ้อแอ้ได้
  • การช่วยเหลือตัวเองและผู้อื่น: จ้องหน้าผู้อื่นได้ 1 - 2 วินาที


พัฒนาการอาจล่าช้า

  • พัฒนาการการเคลื่อนไหว: ไม่สามารถยกศีรษะหันไปทางใดทางหนึ่งได้
  • การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา: มองตามสิ่งของได้แค่ตำแหน่งเหนือศีรษะเท่านั้น
  • การเข้าใจภาษา: ไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบเมื่อมีเสียงเรียกในระดับปกติ
  • การใช้ภาษา: ไม่สามารถส่งเสียงใด ๆ ได้
  • การช่วยเหลือตัวเองและผู้อื่น: จ้องหน้าได้สั้นกว่า 1- 2 วินาที

แนะนำให้ปรึกษาบุคคลากรทางการแพทย์ หากคุณแม่สงสัยเรื่องพัฒนาการของลูก


วิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยวัยแรกเกิด - 1 เดือน

  1. จัดท่าให้ลูกนอนหงาย หันศีรษะไปด้านใดด้านหนี่ง แล้วให้คุณแม่เรียกชื่อ หรือพูดคุยกับลูกจากทางด้านข้าง เพื่อกระตุ้นให้ลูกหันไปมา
  2. เขย่าของเล่นที่มีเสียงกรุ๊งกริ๊ง เพื่อกระตุ้นให้ลูกหันมองตาม
  3. พูดคุยและแสดงสีหน้าต่าง ๆ กับลูกในระยะห่างประมาณ 1 ไม้บรรทัด
     
พัฒนาการทารกวัย 1 - 2 เดือน

พัฒนาการทารกวัย 1 - 2 เดือน

พัฒนาการตามเกณฑ์

  • พัฒนาการการเคลื่อนไหว: อยู่ในท่านอนคว่ำ สามารถยกศีรษะตั้งได้ 45 องศา นาน 3 วินาที
  • การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา: นอนหงายและมองตามสิ่งของที่เคลื่อนผ่านกลางลำตัวได้
  • การเข้าใจภาษา: มองหน้าคู่สนทนาได้นาน 5 วินาที
  • การใช้ภาษา: ทำเสียงในลำคอ เช่น อู อา อือ ได้ชัดเจน
  • การช่วยเหลือตัวเองและผู้อื่น: ยิ้มหรือส่งเสียงโต้ตอบ เมื่อมีคนยิ้มหรือทักทายได้


พัฒนาการอาจล่าช้า

  • พัฒนาการการเคลื่อนไหว: ไม่สามารถยกศีรษะตั้งได้ 45 องศา หรือยกค้างไว้ได้สั้นกว่า 3 วินาที
  • การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา: นอนหงายและมองตามสิ่งของได้แค่กลางลำตัว
  • การเข้าใจภาษา: มองหน้าคู่สนทนาได้น้อยกว่า 5 วินาที
  • การใช้ภาษา: ไม่สามารถทำเสียงในลำคอได้
  • การช่วยเหลือตัวเองและผู้อื่น: ไม่มีปฏิกิริยาตอบกลับเมื่อมีคนยิ้มหรือทักทาย

แนะนำให้ปรึกษาบุคคลากรทางการแพทย์ หากคุณแม่สงสัยเรื่องพัฒนาการของลูก


วิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยวัย 1 - 2 เดือน

  1. พูดคุยกับลูกช้า ๆ ใกล้ ๆ เพื่อให้ลูกสังเกตเห็นปากของพ่อแม่ที่ขยับไปมา
  2. หยุดฟังเมื่อลูกพูด และพูดตอบ พร้อมจ้องตาลูก
  3. โอบกอดลูก และสบตา พร้อมสื่อสารด้วยถ้อยคำแสดงความรัก เช่น แม่รักหนูนะคนเก่งของแม่ เป็นต้น
     
พัฒนาการทารกวัย 2 - 3 เดือน

พัฒนาการทารกวัย 2 - 3 เดือน


พัฒนาการตามเกณฑ์

  • พัฒนาการการเคลื่อนไหว: อยู่ในท่านอนคว่ำ สามารถยกศีรษะและหน้าอกพ้นพื้นได้
  • การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา: นอนหงายและมองสิ่งของตามแนวขวางเป็นมุม 180 องศาได้
  • การเข้าใจภาษา: หันศีรษะตามเสียงได้
  • การใช้ภาษา: ทำเสียงสูงๆ ต่ำๆ เพื่อแสดงความรู้สึกได้
  • การช่วยเหลือตัวเองและผู้อื่น: ยิ้มทักทายบุคคลใกล้ชิดได้


พัฒนาการอาจล่าช้า

  • พัฒนาการการเคลื่อนไหว: ไม่สามารถยกศีรษะและหน้าอกพ้นพื้นได้
  • การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา: ไม่สามารถมองสิ่งของตามแนวขวางเป็นมุม 180 องศาได้
  • การเข้าใจภาษา: มองหน้าคู่สนทนาได้น้อยกว่า 5 วินาที
  • การใช้ภาษา: ไม่สามารถส่งเสียงเพื่อแสดงความรู้สึกได้
  • การช่วยเหลือตัวเองและผู้อื่น: ไม่ยิ้มทักทายกับคนใกล้ชิด

แนะนำให้ปรึกษาบุคคลากรทางการแพทย์ หากคุณแม่สงสัยเรื่องพัฒนาการของลูก


วิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยวัย 2 - 3 เดือน

  1. เล่านิทานภาพสีสันสดใสให้ลูกฟัง เพื่อกระตุ้นพัฒนาการของสายตา การฟังและการใช้ภาษา
  2. เล่นของเล่นสีสดใส เขย่าแล้วมีเสียง เพื่อกระตุ้นการได้ยิน หรือมีลักษณะเป็นรูปห่วงให้ลูกคว้าจับ
  3. ให้ลูกลองสัมผัสสิ่งของที่มีผิวสัมผัสแตกต่างกัน เช่น ผ้านุ่มนิ่ม ตุ๊กตาผ้ากำมะหยี่ของเล่นที่มีผิวขรุขระ เป็นต้น

 

แม้ว่าเด็ก ๆ จะมีพัฒนาการช้าหรือเร็วแตกต่างกัน แต่พ่อแม่คือผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นพัฒนาการของลูกรัก ซึ่งช่วยให้เจ้าตัวเล็กมีพัฒนาการที่ดีสมวัย คุณแม่สามารถเสริมนมผงสำหรับเด็กให้ลูกน้อย เพื่อให้ลูกเติบโตได้อย่างแข็งแรง เพราะ #ทุกการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่เริ่มได้ใน 1000 วันแรกของชีวิต


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ