แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

09.05.2024

Allergic march ภูมิแพ้จากพ่อแม่ อาจทำให้ลูกมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นภูมิแพ้สูงขึ้น ดังนั้นควรตรวจเช็คเพื่อลดความเสี่ยงและหาวิธีป้องกันโอกาสที่ลูกจะเป็นภูมิแพ้

headphones

PLAYING: แม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกน้อยจะเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กด้วยหรือไม่

อ่าน 4 นาที

 

สรุป

  • โรคภูมิแพ้ หรือภาวะภูมิแพ้ในทารกอาจส่งต่อมาทางพันธุกรรมได้ โดยหากทั้งคุณพ่อคุณแม่เป็นภูมิแพ้ ความเสี่ยงที่ลูกน้อยจะเป็นภูมิแพ้เพิ่มขึ้นเป็น 50-80% หรือในกรณีที่ทั้งคุณพ่อและคุณแม่ไม่มีภาวะภูมิแพ้ ลูกน้อยก็มีความสามารถเสี่ยงต่อการเกิดภูมิแพ้ได้ 14% เช่นกัน
  • วิธีที่สำคัญในการป้องกันการเกิดภูมิแพ้ในทารกคือ ให้นมแม่อย่างน้อยที่สุด 6 เดือนหรือนานที่สุดเท่าที่ทำได้ เพราะนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิดช่วยลดความเสี่ยงของโรคภูมิแพ้ได้ รวมถึงช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อต่าง ๆ ได้อีกด้วย

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

"Allergic march" ไม่ได้หมายถึงโรคภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นกับลูกน้อยช่วงเดือนมีนาคม แต่คือโรคภูมิแพ้ในเด็กที่ส่งผลต่อเนื่องตลอดวัยเด็ก ซึ่งจะแสดงอาการผ่านแต่ละช่วงของการเจริญเติบโตของลูกน้อย อธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ โรคภูมิแพ้ที่มีแนวโน้มจะพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ ตลอดช่วงวัยเด็กของลูกน้อยนั่นเอง ในบางกรณี โรคภูมิแพ้อาจเกิดขึ้นซ้ำซ้อนกัน ทำให้ลูกมีอาการภูมิแพ้มากกว่า 1 ชนิดในช่วงเวลาหนึ่ง หรือภูมิแพ้ชนิดแรกอาจเริ่มหายไป และแทนที่ด้วยภูมิแพ้อีกชนิดก็ได้


ไขข้อสงสัยลูกเป็นภูมิแพ้ได้อย่างไร

 

Allergic march อาจรู้จักกันในชื่อของ “Atopic March” ซึ่งลูกอาจเป็นภูมิแพ้หรืออาการแบบใดแบบหนึ่งเป็นลำดับขั้นไปตามอายุและการ เจริญเติบโตของเขา ในขณะที่ลูกน้อยอาจผ่านภาวะภูมิแพ้มาหลายแบบในแต่ละช่วงวัย ภูมิแพ้ชนิดเดิม ๆ ก็อาจเกิดซ้ำกันได้ในช่วงที่ลูกกำลัง เจริญเติบโตเช่นกัน
 

ตารางแสดงโรคภูมิแพ้ในเด็ก Allergic march

 

ตัวอย่างของกระบวนการการเกิดภูมิแพ้ที่สามารถเห็นได้ชัดคือ การเกิดโรคภูมิแพ้ผิวหนังที่อาจมีอาหารเป็นสารก่อภูมิแพ้ (Atopic dermatitis) โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (แพ้อากาศ หรือ Rhino-conjunctivitis) และเมื่อโตขึ้น ก็อาจมีอาการของโรคหืดหอบ (Asthma) ตามมา อย่างไรก็ดีเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน และลูกน้อยของคุณแม่อาจมีขั้นตอนของการเกิดภูมิแพ้แตกต่างจากเด็กคนอื่น ๆ ก็เป็นได้
 

ไขข้อสงสัยลูกเป็นภูมิแพ้ได้อย่างไร

โรคภูมิแพ้ หรือภาวะภูมิแพ้ในทารกอาจส่งต่อมาทางพันธุกรรม เช่น ในกรณีที่คุณแม่ท้องเป็นภูมิแพ้ ลูกน้อยจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคภูมิแพ้ได้ถึง 20-40% แต่หากทั้งคุณพ่อและคุณแม่เป็นภูมิแพ้ ความเสี่ยงที่ลูกน้อยจะเป็นภูมิแพ้เพิ่มขึ้นเป็น 50-80% หรือในกรณีที่ทั้งคุณพ่อและคุณแม่ไม่มีภาวะภูมิแพ้ ลูกน้อยก็มีความสามารถเสี่ยงต่อการเกิดภูมิแพ้ได้ 14% เช่นกัน สรุปคือ เด็กทุกคนต่างมีความเสี่ยงในการเป็นโรคภูมิแพ้ทั้งนั้น

 

ป้องกันไม่ให้ลูกเป็นภูมิแพ้ได้อย่างไร

 

เราสามารถป้องกันไม่ให้ลูกเป็นภูมิแพ้ได้อย่างไร

คุณแม่สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคภูมิแพ้ได้ ซึ่งต้องเริ่มจากการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่ช่วงวางแผนตั้งครรภ์ เพราะประวัติของครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการกำหนดความเสี่ยงที่ลูกจะเป็นโรคภูมิแพ้ได้ ขั้นแรกซึ่งอาจเป็นขั้นพื้นฐานที่สุดคือ การดูประวัติของคุณพ่อ-คุณแม่ และอีกหนึ่งวิธีที่สำคัญในการป้องกันการเกิดภูมิแพ้ในทารกคือ ให้นมแม่อย่างน้อยที่สุด 6 เดือน หรือนานที่สุดเท่าที่ทำได้ เพราะนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด และยังมีคุณสมบัติเป็น Hypo-Allergenic หรือ H.A. ที่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคภูมิแพ้ได้ด้วย และโปรตีนในนมแม่บางส่วน ได้ถูกย่อยให้มีขนาดเล็กลง หรือที่เรียกว่า PHP (Partially Hydrolyzed Proteins ) ซึ่งง่ายต่อการดูดซึมเข้าร่างกายของลูกน้อย และอ่อนโยนต่อระบบย่อยอาหารของลูกน้อย อีกทั้งนมแม่ยังมีพรีไบโอติกโอลิโกแซคคาไรด์ใยอาหารหลักที่สำคัญ ที่ช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อต่าง ๆ ซึ่งโอลิโกแซคคาไรด์ ประกอบด้วยใยอาหารหลากหลายชนิด ซึ่ง 5 ใยอาหารหลัก (5 Oligosaccharide หรือ 5HMO เช่น 2’FL, DFL, LNT, 6’SL และ 3’SL) มีช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันในเด็กเล็ก รวมถึงนมแม่มีโพรไบโอติกหลายชนิด เช่น B.lactis (บีแล็กทิส) ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ ในกรณีที่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการป้องกันภูมิแพ้สำหรับเด็ก

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

บทความแนะนำ

คนท้องกินน้ำมะพร้าวได้ไหม กินเยอะไป ส่งผลอะไรกับคุณแม่และลูกบ้าง

คนท้องกินน้ำมะพร้าวได้ไหม กินเยอะไป ส่งผลอะไรกับคุณแม่และลูกบ้าง

คนท้องกินน้ำมะพร้าวได้ไหม หากคุณแม่ในปริมาณที่เยอะเกินไป จะส่งผลเสียอะไรกับคุณแม่และลูกบ้าง กินน้ำมะพร้าวมาก เสี่ยงแท้งลูกจริงไหม ไปหาคำตอบกัน

คนท้องกินหน่อไม้ได้ไหม คุณแม่ต้องกินแบบไหนถึงจะปลอดภัยกับลูกในท้อง

คนท้องกินหน่อไม้ได้ไหม คุณแม่ต้องกินแบบไหนถึงจะปลอดภัยกับลูกในท้อง

คนท้องกินหน่อไม้ได้ไหม คุณแม่ท้องกินหน่อไม้เยอะเกินไป จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า ไปดูสารอาหารสำคัญในหน่อไม้และประโยชน์ของหน่อไม้กัน

คนท้องกินหอยนางรมได้ไหม อันตรายหรือไม่ จะส่งผลอะไรกับลูกในท้องบ้าง

คนท้องกินหอยนางรมได้ไหม อันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า

คนท้องกินหอยนางรมได้ไหม หากคุณแม่ท้องกินหอยนางรมเยอะเกินไป จะเป็นอันตรายกับลูกในครรภ์หรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและไม่เป็นอันตรายกับลูกน้อย

คุณแม่ตั้งครรภ์เบิกค่าฝากครรภ์ได้กี่บาท มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

คุณแม่ตั้งครรภ์เบิกค่าฝากครรภ์ได้กี่บาท มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีสิทธิประกันสังคมต้องรู้ เบิกค่าฝากครรภ์ได้เท่าไหร่ มีขั้นตอนอะไรบ้าง เบิกค่าฝากครรภ์ออนไลน์ได้ไหม และรายละเอียดที่ช่วยให้คุณแม่สะดวกขึ้น

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก