คุณแม่ตั้งครรภ์เบิกค่าฝากครรภ์ได้กี่บาท มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

คุณแม่ตั้งครรภ์เบิกค่าฝากครรภ์ได้กี่บาท มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

09.04.2024

คุณแม่ตั้งครรภ์และมีการส่งเงินเข้าระบบประกันสังคม จะสามารถเบิกค่าฝากครรภ์ได้ โดยมีวงเงินรวมทั้งสิ้น 1,500 บาท และเบิกได้ 5 ครั้ง ตามช่วงอายุครรภ์ดังนี้

  1. อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 500 บาท
  2. อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ จนถึง อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาท
  3. อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ จนถึง อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาท
  4. อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ จนถึง อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 200 บาท
  5. อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ จนถึง อายุครรภ์ 40 สัปดาห์ขึ้นไป จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 200 บาท
headphones

PLAYING: คุณแม่ตั้งครรภ์เบิกค่าฝากครรภ์ได้กี่บาท มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

อ่าน 5 นาที


สรุป

  • คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนที่มีการส่งเงินสมทบประกันสังคมตามกำหนด สามารถเบิกค่าฝากครรภ์ได้ 5 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,500 บาท และไม่จำกัดจำนวนบุตร
  • คุณแม่สามารถยื่นขอเบิกค่าฝากครรภ์ได้ด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมสาขาที่สะดวก หรือยื่นเรื่องขอเบิกออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคมก็ได้เช่นกัน
  • เอกสารสำหรับใช้ในการยื่นขอเบิกค่าฝากครรภ์ประกันสังคม ประกอบด้วย แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม ใบรับรองแพทย์หรือสมุดฝากครรภ์ ใบเสร็จรับเงินจากสถานพยาบาลที่เข้ารับการฝากครรภ์ บัตรประชาชนตัวจริง และสำเนาสมุดบัญชีธนาคาร

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

จะเบิกค่าฝากครรภ์ได้ ต้องส่งเงินประกันสังคมมากี่เดือน

หญิงตั้งครรภ์สามารถใช้สิทธิ์เบิกประกันสังคมได้ก็ต่อเมื่อมีการส่งเงินเข้าประกันสังคมอย่างน้อย 5 เดือนขึ้นไป และจะเบิกค่าฝากครรภ์ได้ภายใน 15 เดือน ก่อนการคลอดบุตร โดยประกันสังคมจะจ่ายค่าฝากครรภ์เหมาจ่ายจำนวน 5 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,500 บาท ซึ่งมีการปรับปรุงเพิ่มเติมจากเดิมที่เหมาจ่ายจำนวน 3 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

 

เบิกค่าฝากครรภ์ ทำได้ตอนไหน

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ก็สามารถยื่นขอเบิกค่าฝากครรภ์และเบิกค่ารักษาอื่น ๆ ได้ทันที เช่น ค่าคลอดบุตร เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร เงินสงเคราะห์เพื่อการเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น

 

คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถเบิกค่าฝากครรภ์ได้ผ่านสิทธิประกันสังคม

 

ฝ่ายคุณพ่อที่มีสิทธิประกันสังคม สามารถเบิกค่าฝากครรภ์ได้ไหม

คุณพ่อหรือคุณแม่สามารถเบิกค่าฝากครรภ์ได้ แต่ต้องเป็นผู้ประกันตนประกันสังคมทั้งคู่ จึงจะสามารถเบิกค่าฝากครรภ์ได้ โดยสามารถเบิกได้คนใดคนหนึ่งเท่านั้น และไม่จำกัดจำนวนบุตรและครั้งที่ตั้งครรภ์

 

เอกสารสำหรับทำเรื่องเบิกค่าฝากครรภ์

คุณแม่ต้องเตรียมเอกสารสำหรับยื่นขอเบิกค่าฝากครรภ์ดังนี้

  1. ใบเสร็จรับเงินจากสถานพยาบาลที่ตรวจและฝากครรภ์
  2. ใบรับรองแพทย์หรือสำเนาสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก
  3. บัตรประชาชนตัวจริง (สำหรับผู้ประกันตนสัญชาติไทย)
  4. สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร
  5. เอกสารแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนผู้ประกันตน หรือเรียกว่าใบ สปส. 2-01

ซึ่งผู้ที่ยื่นเบิกต้องเตรียมเอกสารตามรายการนี้ให้ครบถ้วน จึงจะสามารถขอเบิกค่าฝากครรภ์กับทางสำนักงานประกันสังคมได้

 

เบิกค่าฝากครรภ์ต้องใช้ใบเสร็จไหม

ในการเบิกค่าฝากครรภ์ คุณแม่ต้องเตรียมใบเสร็จไปด้วย เพื่อใช้ยื่นเอกสารขอเบิกค่าฝากครรภ์ดังกล่าว

 

เบิกค่าฝากครรภ์ ต้องไปทำที่ไหน

คุณแม่สามารถขอเบิกค่าฝากครรภ์ได้ที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ หรือตามสาขาที่คุณแม่สะดวก แต่ยกเว้นสำนักงานประกันสังคมสำนักงานใหญ่กระทรวงสาธารณสุข ที่ไม่สามารถขอเบิกค่าฝากครรภ์ได้ นอกจากนั้นคุณแม่ยังสามารถทำเอกสารมอบอำนาจให้ตัวแทนไปดำเนินการยื่นขอเบิกค่าฝากครรภ์แทนได้ หรือจะยื่นเรื่องพร้อมแนบเอกสารทั้งหมดทางออนไลน์ก็ทำได้เช่นกัน

 

ขั้นตอนการเบิกค่าฝากครรภ์ประกันสังคม

ขั้นตอนการเบิกค่าฝากครรภ์ประกันสังคม มี 2 วิธีหลัก ๆ ดังนี้

  1. คุณแม่ยื่นเอกสารขอเบิกค่าฝากครรภ์เองที่สำนักงานประกันสังคม ตามสาขาที่สะดวกหรือยื่นขอเบิกค่าฝากครรภ์ผ่านระบบออนไลน์ในเว็บของสำนักงานประกันสังคม ก็สามารถทำได้เช่นกัน
  2. ส่งเอกสารทางไปรษณีย์ให้กับทางประกันสังคม

 

ถ้าไม่สะดวก สามารถเบิกค่าฝากครรภ์ออนไลน์ได้ไหม

คุณแม่ยื่นผ่านออนไลน์โดยเข้าไปที่เว็บประกันสังคมก็ทำได้เช่นกัน www.sso.go.th และเข้าระบบ หลังจากนั้นไปที่ ระบบ e-self Service และเข้าไปที่หัวข้อ “ขอรับประโยชน์ทดแทนของกองทุนประกันสังคม” และเข้าไปที่หัวข้อ “คลอดบุตร” และเลือกหัวข้อ “ฝากครรภ์ตามเกณฑ์คุณภาพ” แล้วคุณแม่จึงกรอกข้อมูลส่วนตัวและแนบเอกสารเข้าระบบโดยมีเอกสารที่ต้องแนบดังนี้

  1. ใบเสร็จรับเงิน
  2. ใบรับรองแพทย์หรือสำเนาสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก โดยคุณแม่ต้องระบุวันที่ตรวจครรภ์และอายุครรภ์ด้วย
  3. ทะเบียนสมรส หรือทะเบียนการหย่าพร้อมบันทึกแนบท้าย

แล้วจึงกรอกข้อมูลช่องทางรับเงินและกดบันทึกก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการขอเบิกค่าฝากครรภ์ผ่านระบบออนไลน์

 

ยื่นเบิกค่าฝากครรภ์ ต้องทำภายในกี่วัน

ระยะเวลาวันที่ต้องขอเบิกค่าฝากครรภ์ สามารถยื่นขอเบิกเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ได้มีการกำหนดวันแต่อย่างใด และหลังจากยื่นแล้วคุณแม่จะได้เงินภายใน 5-7 วัน ตามช่องทางรับเงินที่คุณแม่แจ้งไว้

 

คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนที่จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 5 เดือน ประกันสังคม มีสิทธิ์ในการเบิกค่าฝากครรภ์ ซึ่งในปัจจุบันจะได้วงเงินทั้งสิ้น 1,500 บาท โดยมีการปรับขึ้นจากเดิมที่เบิกค่าฝากครรภ์ได้ 3 ครั้ง และมีวงเงินรวม 1,000 บาท แบ่งเป็นจำนวนการเบิกทั้งหมด 5 ครั้ง แบ่งตามช่วงอายุครรภ์ตามประกาศของสำนักงานประกันสังคม คุณแม่ควรศึกษารายละเอียดที่สามารถใช้สิทธิ์เบิกได้ของหญิงตั้งครรภ์อย่างละเอียดและครบถ้วน เพื่อจะได้ใช้สิทธิ์อย่างครบถ้วนที่สุด

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

 

อ้างอิง:

  1. คุณแม่ตั้งครรภ์ มีสิทธิเบิกประกันสังคม อะไรได้บ้าง?, โรงพยาบาลบางปะกอก
  2. คนท้องเบิกประกันสังคมได้กี่บาท ? เบิกอะไรได้บ้าง ? (2564), รักษ์นรีคลินิก
  3. e-self Service, สำนักงานประกันสังคม

อ้างอิง ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567

บทความแนะนำ

คนท้องกินลองกองได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินลองกองได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินลองกองได้ไหม คุณแม่อยากกินลองกอง กินเยอะเสี่ยงเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ไหม จะอันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า คนท้องอยากกินลองกอง กินเท่าไหร่ถึงพอดี

คนท้องกินส้มโอได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินส้มโอได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินส้มโอได้ไหม ในส้มโอมีสารอาหารอะไรที่ดีกับคนท้องบ้าง คนท้องกินส้มโอมากไป อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า คุณแม่กินส้มโอได้บ่อยแค่ไหน ไปดูกัน

คนท้องมือชา เกิดจากอะไร อันตรายกับคุณแม่ตั้งครรภ์ไหม

คนท้องมือชา เกิดจากอะไร อันตรายกับคุณแม่ตั้งครรภ์ไหม

คนท้องมือชา เกิดจากอะไร อาการมือชาของคนท้องขณะตั้งครรภ์ บอกอะไรคุณแม่ได้บ้าง อาการมือช้า นิ้วชา แบบไหนเข้าข่ายอันตรายและควรไปพบแพทย์ พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

คนท้องกินเผือกได้ไหม กินมากเกินไป อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินเผือกได้ไหม กินมากเกินไป อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินเผือกได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินเผือก เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ เผือกดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

คนท้องกินไข่เค็มได้ไหม กินมากเกินไป อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินไข่เค็มได้ไหม กินมากเกินไป อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินไข่เค็มได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินไข่เค็ม เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ ไข่เค็มดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

คนท้องกินขนมจีนได้ไหม เท่าไหร่ถึงพอดี อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินขนมจีนได้ไหม เท่าไหร่ถึงพอดี อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินขนมจีนได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินขนมจีน เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ ขมมจีนดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

คนท้องกินขนมปังได้ไหม เท่าไหร่ถึงพอดี อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินขนมปังได้ไหม เท่าไหร่ถึงพอดี อันตรายกับลูกในท้องหรือเปล่า

คนท้องกินขนมปังได้ไหม คุณแม่ท้องอยากกินขนมปัง เพื่อบำรุงสุขภาพครรภ์ ขมมปังดีกับลูกในท้องหรือเปล่า กินเท่าไหร่ถึงพอดีและปลอดภัยกับคุณแม่และลูกในครรภ์

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก