ลูกแพ้แลคโตส เกิดจากอะไร อาการแพ้แลคโตสทารกที่คุณแม่ต้องรู้

ลูกแพ้แลคโตส คืออะไร อาการแพ้แลคโตสทารกที่คุณแม่ต้องรู้

09.05.2024

อาการแพ้แลคโตสทารก คือภาวะที่ทารกไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสได้ หรือที่เรียกว่า ภาวะการย่อยแลคโตสบกพร่อง ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายของทารกไม่สามารถผลิตเอนไซม์ที่ใช้ย่อยน้ำตาลแลคโตสได้เพียงพอหรือไม่สร้างเลย ทำให้เมื่อทารกดื่มนม (ไม่ว่าจะเป็นนมแม่หรือนมวัว) ก็จะเกิดอาการไม่สบาย เช่น ท้องเสีย ถ่ายเหลว อาเจียน แต่บางครั้งเด็กที่กินนมแล้วมีอาการท้องอืด ท้องเสีย อาจไม่ใช่เพราะแพ้แลคโตสเสมอไป สาเหตุที่พบบ่อยคือ ระบบการย่อยน้ำตาลแลคโตสทำงานไม่ดีชั่วคราว หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารได้เช่นกัน

headphones

PLAYING: ลูกแพ้แลคโตส คืออะไร อาการแพ้แลคโตสทารกที่คุณแม่ต้องรู้

อ่าน 9 นาที

 

สรุป

  • ภาวะแพ้แลคโตสทารก เกิดจากการที่ร่างกายขาดเอนไซม์แลคเตส ทำให้เด็กบางคนไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมได้
  • อาการที่พบได้บ่อยในเด็กที่มีภาวะแพ้แลคโตสทารก คืออาการท้องเสีย ท้องอืด ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน โดยเฉพาะหลังจากดื่มนม
  • สาเหตุของภาวะแพ้แลคโตสทารก เกิดจากพันธุกรรม รวมถึงการติดเชื้อในลำไส้และเด็กที่คลอดก่อนกำหนด
  • วิธีการดูแลลูกน้อยเบื้องต้น คุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงนมและผลิตภัณฑ์นมที่มีแลคโตส และปรึกษาแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์สำหรับการให้นมที่เหมาะสม
  • ประโยชน์ของโพรไบโอติกในเด็ก ช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ ลดอาการท้องเสีย และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  • อาการย่อยแลคโตสไม่ได้ คืออาการที่สามารถพบได้ คุณพ่อคุณแม่ควรมีการจดบันทึกอาหารที่ลูกกินในแต่ละวันรวมถึงอาการต่าง ๆ ของลูกน้อย แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการขอคำแนะนำจากแพทย์
  • หากลูกน้อยทานนมแม่อยู่ คุณแม่สามารถปั๊มนมส่วนหน้าออกไปก่อน และให้ลูกดื่มนมที่เป็นนมส่วนหลัง เนื่องจากนมส่วนหน้าจะมีน้ำตาลแลคโตสสูงกว่า แล้วค่อยให้ลูกน้อยทานนมส่วนหลังทีละน้อยทีหลังเมื่ออาการดีขึ้นมากแล้ว เพื่อให้ลำไส้ของลูกได้ค่อยๆปรับตัว เพราะน้ำนมแม่มีประโยชน์กับลูก

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

อาการแพ้แลคโตสในทารก คืออะไร

อาการแพ้แลคโตสทารก คือภาวะการย่อยแลคโตสบกพร่อง เป็นอาการที่ร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลลคโตสที่อยู่ในนมแม่หรือนมวัวได้ ทำให้ลูกน้อยเกิดอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว และอาเจียนหลังจากทานนมเข้าไป ส่วนสาเหตุสามารถเกิดขึ้นได้หลายปัจจัยด้วยกัน หากพ่อแม่สงสัยว่าลูกเกิดอาการแพ้แลคโตสทารก ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที เพื่อให้ลูกได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
 

ภาวะย่อยแลคโตสบกพร่องในเด็ก

โดยปกติแล้วเมื่อลูกน้อยทานนมเข้าไป เซลล์เยื่อบุลำไส้เล็กจะผลิตเอนไซม์แลคเตส (Lactase) ออกมาเพื่อย่อยน้ำตาลแลคโตส ที่เป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว เพื่อให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่ผิวบุผนังลำไส้แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานให้แก่ร่างกายได้ง่ายยิ่งขึ้น หากลูกน้อยมีภาวะอาการแพ้แลคโตสทารกจะทำให้ร่างกายผลิตเอนไซม์แลคเตสไม่เพียงพอหรือไม่สร้างเลย เราเรียกว่าลักษณะอาการแบบนี้ว่า ภาวะขาดเอนไซม์แลคเตส (Lactase)

เมื่อน้ำตาลแลคโตสไม่ถูกทำให้ย่อย จึงเกิดการหมักจากแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ ทำให้เกิดการสร้างกรดและแก๊สในท้องจนเป็นเหตุให้เกิดอาการท้องอืด ปวดท้อง มีลมในท้อง ท้องเสีย
 

ลูกแพ้แลคโตส คืออะไร อาการแพ้แลคโตสทารกที่คุณแม่ต้องรู้

 

สัญญาณที่บอกว่าลูกไม่สามารถกินแลคโตสได้

อาการที่เกิดขึ้นจากการกินนมที่มีน้ำตาลแลคโตสแล้วไม่สามารถย่อยได้ ทำให้มีอาการปวดท้อง แน่นท้อง อาเจียน ท้องเสีย ซึ่งจะเป็นอยู่ชั่วคราวเท่านั้น โดยเฉพาะหลังจากมีอาการป่วยติดเชื้อที่พบได้บ่อย ๆ คือ ไวรัสลงกระเพาะ ซึ่งจะทำให้มีท้องเสียรุนแรง จนเซลบุลำไส้ที่สร้างน้ำย่อยแลคเตสเสียหายไป ดังนั้นคุณแม่จึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำการให้นมอย่างเหมาะสมต่อไป
 

อาการย่อยน้ำตาลแลคโตสไม่ได้ มีกี่ชนิด

อาการย่อยน้ำตาลแลคโตสไม่ได้ แบ่งได้เป็น 2 ชนิด

  • ระดับปฐมภูมิในทารก เป็นภาวะทางพันธุกรรมที่พบได้น้อยมากของประเทศไทย และต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์
  • ระดับทุติยภูมิในเด็กทารก พบได้มากกว่า เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ในเยื่อบุผิวลำไส้เล็กที่สร้างเอ็นไซม์แลคเตสถูกทำให้เสียหาย จาการติดเชื้อในลำไส้แล้วทำให้มีอาการท้องเสีย ทำให้เอ็นไซม์อาจพร่องลงได้

 

ลูกน้อยย่อยน้ำตาลแลคโตสไม่ได้ จะมีอาการอย่างไร

มักเกิดขึ้นหลังจากกินนมหรือผลิตภัณฑ์นมไปแล้ว 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง โดยอาการที่พบ มีดังนี้

 

บ่อยครั้งที่จะเกิดอาการขึ้นเมื่อร่างกายได้รับแลคโตสเกินขีดจำกัดของร่างกาย ตัวอย่างเช่น ร่างกายสามารถรับแลคโตสปริมาณเล็กน้อยจากโยเกิร์ตได้โดยไม่แสดงอาการออกมา แต่การดื่มนมหนึ่งแก้วอาจทำให้ได้รับแลคโตสมากเกินไป จนทำให้แสดงอาการออกมา อาการของการไม่ย่อยน้ำตาลแลคโตส ค่อนข้างเป็นอาการที่มักพบได้ทั่วไป จึงเป็นเรื่องยากที่คุณพ่อคุณแม่จะรู้ว่าลูกมีภาวะดังกล่าวด้วยตนเอง ดังนั้นจึงควรมีการจดบันทึกอาหารที่ลูกกินในแต่ละวันและอาการต่าง ๆ แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการขอคำแนะนำจากแพทย์

 

สาเหตุที่ทำให้ลูกเกิดภาวะการขาดเอนไซม์แลคเตส

  1. ความผิดปกติทางพันธุกรรม จากพ่อและแม่ที่ถูกถ่ายทอดมาสู่ลูกทำให้เด็กมีภาวะขาดเอนไซม์แลคเตสตั้งแต่แรกเกิด
  2. เกิดจากภาวะพร่องเอนไซม์แลคเตส ในช่วงที่เป็นทารกแรกเกิด โดยบางคนอาจมีภาวะนี้ตั้งแต่เกิด แต่เพิ่งจะมาแสดงอาการเมื่อโตขึ้นหรือแท้จริงแล้ว อาจมีสาเหตุมาจากช่วงอายุเพราะปกติแล้วปริมาณเอนไซม์แลคเตสจะมีมากในช่วงวัยทารก แล้วจะลดน้อยลงเรื่อย ๆ เมื่อเริ่มโตขึ้น ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างน้ำย่อยแลคโตสได้เพียงพอหรือไม่สร้างเลย
  3. เกิดภายหลังติดเชื้อ หรือการอักเสบของลำไส้เล็ก จากการท้องเสียบ่อย ๆ หรือท้องเสียเรื้อรัง เช่น ท้องเสียจากการติดเชื้อไวรัสโรต้า ทำให้ร่างกายสร้างน้ำย่อยหรือเอ็นไซม์ได้น้อยลงชั่วคราวได้จากการที่เยื่อบุลำไส้เล็กเกิดอาการบาดเจ็บจนเซลล์เยื่อบุลำไส้เล็กสร้างน้ำย่อยไม่เพียงพอจนส่งผลให้ย่อยนมและอาหารได้น้อยลง ทำให้ลำไส้ขาดน้ำย่อยน้ำตาลแลคโตส หรือมีอาการพร่องเอนไซม์แลคเตสเอาได้
  4. เด็กคลอดก่อนกำหนด โดยปกติแล้ว เด็กคลอดก่อนกำหนด มักมีอาการภาวะการย่อยแลคโตสบกพร่อง เนื่องจากระบบทางเดินอาหารของเด็กยังเติบโตไม่เต็มที่ ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้เล็กจนนำไปสู่ภาวะดังกล่าวได้

  

อาการภาวะย่อยแลคโตสบกพร่อง เป็นแบบไหน

อาการแพ้แลคโตสทารก ความรุนแรงของอาการย่อยแลคโตสบกพร่องจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณนมหรืออาหารที่ลูกน้อยได้ทานเข้าไป และปริมาณน้ำย่อยแลคเตสที่ผลิตได้ สำหรับอาการที่พบบ่อย ได้แก่

  • มีลมในท้อง ผายลมบ่อย มีกลิ่นเหม็น
  • แน่นท้อง ท้องอืด
  • ปวดท้องน้อย บริเวณโดยรอบสะดือ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ท้องเสีย ถ่ายเหลว มีฟองเป็นน้ำ

โดยปกติแล้วอาการแพ้แลคโตสเหล่านี้จะเกิดขึ้นหลังจากที่ลูกน้อยได้รับนมไปประมาณ 30 นาที จนถึง 2 ชั่วโมง ในช่วงระยะเวลานี้ คุณแม่ต้องคอยสังเกตดูว่าลูกน้อยมีอาการท้องเสียมากน้อยเพียงใด

หากลูกมีอาการท้องเสียมากควรรีบไปพบแพทย์ทันที 

 

ลูกมีอาการย่อยแลคโตสบกพร่อง ควรทำอย่างไร

หากคุณแม่สงสัยว่าลูกน้อยอาจมีอาการแพ้แลคโตสหรือภาวะการย่อยแลคโตสบกพร่องหรือไม่ สามารถขอรับคำปรึกษาและคำแนะนำจากแพทย์ได้ โดยคุณหมออาจจะแนะนำให้มีการปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงอาการย่อยแลคโตสผิดปกติ ดังนี้

  1. เด็กเล็กที่มีภาวะขาดเอนไซม์แลคเตสตั้งแต่กำเนิด หรือจากความผิดปกติของพันธุกรรม ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อให้หนูน้อยได้รับสารอาหารที่เพียงพออย่างต่อเนื่อง
  2. ในกรณีที่เกิดภาวะบกพร่องเอนไซม์แลคเตสชั่วคราว แพทย์มักจะแนะนำให้คุณแม่หลีกเลี่ยงการให้นมลูกที่มีน้ำตาลแลคโตส ส่วนคุณแม่ให้นม แพทย์จะแนะนำให้ปั๊มนมส่วนหน้าที่มีน้ำตาลแลคโตสสูงออกไปก่อน แล้วค่อยให้ลูกน้อยทานนมส่วนหลังทีละน้อยทีหลังเมื่ออาการดีขึ้นมากแล้วเพื่อให้ลำไส้ของน้อง ๆ หนูๆ มีเวลาปรับตัวนั่นเอง
  3. อาการแพ้แลคโตสทารกคุณแม่จะต้องระวังอาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำตาลแลคโตสหรือนมวัวเป็นส่วนประกอบ เช่น เต้าหู้ เนยไอศกรีม ชีส ครีมเทียม ขนมปัง เค้ก เป็นต้นเพื่อหลีกเลี่ยงอาการรุนแรง

 

ภาวะย่อยแลคโตสบกพร่องเหมือนหรือแตกต่างกับภาวะแพ้นม

การย่อยแลคโตสบกพร่องไม่เหมือนกับอาการแพ้นมหรือแพ้โปรตีนนม เนื่องจากอาการแพ้น้ำตาลแลคโตสไม่ได้เป็นปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ จึงไม่พบอาการทางผิวหนัง ในขณะที่อาการแพ้โปรตีนนมมักเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่เกิดจากการตอบสนองกับนมหรืออาหารบางประเภททำให้ร่างกายเกิดการสนองด้วยอาการต่าง ๆ ตั้งแต่อาการเล็กน้อย เช่น ผื่นทารกตามร่างกาย คัน ไปจนถึงอาการรุนแรง เช่น หายใจติดขัด

อีกทั้งอาการย่อยแลคโตสบกพร่อง คุณแม่ยังสามารถให้นมลูกหรือนมวัวได้ แต่จำเป็นต้องลดปริมาณลงก่อนในช่วงแรก ๆ เพื่อให้ร่างกายมีการปรับตัวหากมีอาการพร่องเอนไซม์ชั่วคราวเด็กก็จะกลับมาทานนมแม่หรือนมวัวได้ แต่ในกรณีที่เด็กมีอาการแพ้โปรตีนนมวัว จะไม่สามารถทานนมวัว หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากนมวัวได้เลย เพราะการที่หนูน้อยได้รับสารก่อภูมิแพ้เพียงนิดเดียวก็อาจกระตุ้นให้เด็กเกิดอาการแพ้นมได้

 

ประโยชน์ของโพรไบโอติก จุลินทรีย์สุขภาพ

โพรไบโอติก (probiotics) หรือจุลินทรีย์สุขภาพ อาศัยอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตเจ้าบ้าน (host) ที่ช่วยให้ผลดีต่อสุขภาพ อีกทั้งยังได้รับการยืนยันด้วยการศึกษาทางคลินิกว่าสามารถป้องกันและรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร และโรคหรือความผิดปกตินอกระบบทางเดินอาหารบางชนิดปัจจุบันมีการนำมาใช้ทางด้านสุขภาพในหลากหลายรูปแบบ และแตกต่างกันออกไป

แอล รียูเทอรี (L.reutri) เป็นจุลินทรีย์สุขภาพกลุ่มแลคโตบาซิลัส (Lactobacillus) ที่มีการศึกษาหลากหลายตั้งแต่ในทารกจนถึงผู้ใหญ่ มีประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย สามารถพบได้ในร่างกายมนุษย์ เช่น ระบบทางเดินอาหาร ทางเดินปัสสาวะ ผิวหนัง และน้ำนมแม่ ซึ่งมีความสามารถในการผลิตเปปไทด์ต้านจุลชีพ (antimicrobial peptides) จำพวกกรดอินทรีย์หลายชนิดที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรค ทั้งยังช่วยปรับสมดุลการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในร่างกาย ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของลำไส้ให้แข็งแรง

รวมถึงลดการติดเชื้อบางชนิด อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในเรื่องของการดูดซึม แร่ธาตุและวิตามินจากอาหารเข้าสู่ร่างกายอีกด้วย นอกจากนี้ จากการศึกษาประโยชน์ของ (L. reuteri) ในเด็กท้องเสีย พบว่า การใช้ (L. reuteri) เสริมร่วมกับการรักษาอื่นในเด็กท้องเสีย เช่น เกลือแร่ดื่ม (oral rehydration solution, ORS) อาจช่วยลดระยะเวลาท้องเสีย ลดระยะเวลานอนโรงพยาบาล และ ลดความรุนแรงของการเกิดโรคได้ โดยควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกร เพื่อขอคำแนะนำที่ถูกต้อง

 

คุณพ่อคุณแม่รับมือกับปัญหาการย่อยน้ำตาลแลคโตสได้อย่างไร

วิธีง่าย ๆ ก็คือ ในช่วงที่มีปัญหาท้องเสีย ควรงดนมวัวที่มีน้ำตาลแลคโตสชั่วคราวและปรึกษาแพทย์เพื่อนรับคำแนะนำการรับประทานนมอย่างเหมาะสม เพราะการงดนมและผลิตภัณฑ์นมเป็นการตัดอาหารกลุ่มสำคัญจากอาหารที่ลูกกิน ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบทางสุขภาพตามมา อีกทั้งนมและผลิตภัณฑ์นมเป็นแหล่งของแคลเซียม ที่จำเป็นต่อการสร้างกระดูกและฟัน และน้ำตาลแลคโตสยังช่วยในการดูดซึมแคลเซียมได้ดีมากขึ้นด้วย โดยหากลูกน้อยที่ทานนมแม่อยู่นั้น คุณแม่สามารถปั๊มนมส่วนหน้าออกไปก่อน และให้ลูกดื่มนมที่เป็นนมส่วนหลัง

เนื่องจากนมส่วนหน้าจะมีน้ำตาลแลคโตสสูงกว่านั่นเอง ลักษณะนี้ทำให้ลูกยังสามารถดื่มน้ำนมแม่ได้โดยลดกปริมาณน้ำตาลแลคโตส เพราะน้ำนมแม่มีประโยชน์มากมาย มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด และยังมีคุณสมบัติเป็น Hypo-Allergenic หรือ H.A. ที่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคภูมิแพ้ได้ด้วย อีกทั้งโปรตีนในนมแม่บางส่วน ได้ถูกย่อยให้มีขนาดเล็กลง หรือที่เรียกว่า PHP (Partially Hydrolyzed Proteins )

ซึ่งง่ายต่อการดูดซึมเข้าร่างกายของลูกน้อย รวมถึงมีพรีไบโอติกโอลิโกแซคคาไรด์ใยอาหารหลักที่สำคัญ ที่ช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อต่าง ๆ ซึ่งโอลิโกแซคคาไรด์ ประกอบด้วยใยอาหารหลากหลายชนิด ซึ่ง 5 ใยอาหารหลัก (5 Oligosaccharide หรือ 5 HMO เช่น 2’FL, DFL, LNT, 6’SL และ 3’SL ) มีช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันในเด็กเล็ก และมีโพรไบโอติกหลายชนิด เช่น B. lactis (บีแล็กทิส) ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ แต่ถ้ายังมีปัญหาควรปรึกษาแพทย์

 

สิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรทราบ

  • รับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ทั้งในระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด ช่วยให้แม่มีปริมาณน้ำนมที่เพียงพอ หลังการคลอดบุตร การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นสิ่งที่ดีสุดสำหรับทารก เนื่องจากนมแม่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด และช่วยปกป้องลูกน้อยจากภาวะเจ็บป่วยต่างๆ
  • ในระยะที่ทารกกินนมแม่อย่างเดียวอาจมีการถ่ายนิ่ม เนื่องจากลูกได้รับนมส่วนหน้ามากกว่านมส่วนหลัง สาเหตุจากการที่แม่พยายามให้ลูกดูดนมบ่อย รวมถึงการเปลี่ยนข้างบ่อย เพราะในนมส่วนหน้านี้มีน้ำและน้ำตาลแลคโตสในปริมาณมาก ลูกน้อยจึงถ่ายบ่อย บางรายอาจถ่ายจนก้นแดง ซึ่งคุณแม่สามารถแก้ไขได้โดยที่ลูกสามารถกินนมแม่ต่อไป
  • ควรให้นมลูกอย่างถูกต้อง โดยพยายามให้ลูกดูดนมให้นานพอ ดูดให้เกลี้ยงเต้า เนื่องจากน้ำนมส่วนหน้าและน้ำนมส่วนหลังมีความแตกต่างกัน ในกรณีมีปัญหาเรื่องการย่อยแลคโตสชั่วคราว คุณแม่อาจบีบนมส่วนหน้า (foremilk) ทิ้งก่อนแล้วค่อยให้ลูกดูดนมส่วนหลัง (hindmilk) เพราะนมแม่มีคุณประโยชน์มากมาย เช่น มีโพรไบโอติกหลายชนิด เช่น แอล รียูเทอรี (L. reuteri) ที่ช่วยปรับสมดุลและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคภายในลำไส้ มี DHA และ AA ที่เป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อระบบประสาทและการมองเห็นของทารก ทั้งยังมีสารอาหารที่ช่วยสร้างสมอง และพัฒนาการทางสมองที่ดีด้วย อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่พบว่าลูกไม่สบายจากอาการท้องเสีย ซึม ลูกท้องผูกเรื้อรัง ดูดนมได้ไม่ดี มีลักษณะของการติดเชื้อและน้ำหนักลด ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของปัญหาทางท้องเสีย

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่



อ้างอิง:

  1. ไขข้อข้องใจ..โรคแพ้โปรตีนนมวัวและการย่อยแลกโทสบกพร่อง ต่างกันอย่างไร?, โรงพยาบาลพญาไท อ้างอิง ณ วันที่ 3 มีนาคม 2567
  2. อรวรรณ ละอองคำ. โพรไบโอติก: จุลินทรีย์คัดสรรเพื่อสุขภาพ, วารสารอาหาร. ต.ค.-ธ.ค. 2562;49(4)
  3. Qinghui Mu, Vincent J. Tavella and Xin M. Luo. Role of Lactobacillus reuteri in Human Health and Diseases. 2018:757(9)
  4. สมาคมกุมารเวชศาสตร์ทางเดินอาหารและตับ. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคท้องร่วงเฉียบพลันในเด็ก. 2562
  5. เจษฎา โทนุสิน. Breastfeeding in Special Condition. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์
  6. ผกากรอง วนไพศาล. น้ำนมแม่ ประโยชน์อเนกอนันต์. ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ้างอิง ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564
 

บทความแนะนำ

ออมเงินให้ลูก ดอกเบี้ยสูง เปิดบัญชีให้ลูกธนาคารไหนดี

ออมเงินให้ลูก ดอกเบี้ยสูง เปิดบัญชีให้ลูกธนาคารไหนดี

พ่อแม่ยุคใหม่ อยากเปิดบัญชีให้ลูกทำยังไงได้บ้าง เปิดบัญชีให้ลูกได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่ ต้องเตรียมเอกสารและมีขั้นตอนอย่างไร เปิดบัญชีให้ลูกธนาคารไหนดี

ย้ายทะเบียนบ้านลูกใช้อะไรบ้าง พร้อมขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านลูก

ย้ายทะเบียนบ้านลูกใช้อะไรบ้าง พร้อมขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านลูก

ย้ายทะเบียนบ้านลูกใช้อะไรบ้าง คุณพ่อคุณแม่อยากย้ายทะเบียนบ้านลูกต้องเตรียมเอกสารอะไร สามารถทำผ่านระบบออนไลน์ได้ไหม พร้อมขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านลูกที่ถูกต้อง

เด็กนั่งได้กี่เดือน ทารกนั่งได้ตอนกี่เดือน แบบไหนคือพัฒนาการล่าช้า

เด็กนั่งได้กี่เดือน ทารกนั่งได้ตอนกี่เดือน แบบไหนคือพัฒนาการล่าช้า

เด็กนั่งได้กี่เดือน ทารกนั่งได้ตอนกี่เดือน ลักษณะแบบไหนที่บ่งบอกว่าลูกมีพัฒนาการล่าช้า พ่อแม่จะฝึกให้ลูกนั่งได้อย่างไรบ้าง ช่วงวัยไหนเหมาะสมที่สุด ไปดูกัน

วิธีการเลี้ยงลูกให้อารมณ์ดี ให้ลูกเติบโตอย่างมีความสุข

วิธีการเลี้ยงลูกให้อารมณ์ดี ให้ลูกเติบโตอย่างมีความสุข

รวมวิธีการเลี้ยงลูกให้อารมณ์ดี อยากให้ลูกอารมณ์ดี มีความสุข ไม่เป็นเด็กขี้หงุดหงิด ต้องทำยังไงบ้าง ควรเริ่มฝึกช่วงไหน ไปดูวิธีการเลี้ยงลูกให้อารมณ์ดีกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก