เด็กนั่งได้กี่เดือน ทารกนั่งได้ตอนกี่เดือน แบบไหนคือพัฒนาการล่าช้า

เด็กนั่งได้กี่เดือน ทารกนั่งได้ตอนกี่เดือน แบบไหนคือพัฒนาการล่าช้า

29.08.2024

พัฒนาการของลูกเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องสังเกตกันอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อ ซึ่งมีด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก และด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของลูกก่อนวัยขวบ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตดูว่าลูกชูคอ พลิกคว่ำ พลิกหงาย และนั่งได้ตามวัยหรือไม่ ซึ่งพัฒนาการการนั่งของลูกเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายที่ควรเริ่มขึ้นเมื่ออายุลูกได้ 6 เดือน

headphones

PLAYING: เด็กนั่งได้กี่เดือน ทารกนั่งได้ตอนกี่เดือน แบบไหนคือพัฒนาการล่าช้า

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • เด็กทารกจะเริ่มนั่งได้ตอนอายุ 6 เดือน และจะสามารถนั่งทรงตัวได้ด้วยตัวเอง มองหาของเล่น มองตามของที่ตกได้ตอนอายุ 7-8 เดือน
  • เมื่อลูกอายุเข้า 9 เดือนเป็นต้นไป จะมีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่แข็งแรงขึ้น ลูกสามารถที่จะลุกขึ้นนั่งจากท่านอนได้เอง และเกาะเดินได้ 4-5 ก้าว

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

เด็กนั่งได้กี่เดือน คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายท่านคงสงสัยกันใช่ไหมว่า ลูกน้อยคว่ำได้กี่เดือน และเริ่มนั่งได้กี่เดือน การนั่งเป็นทักษะพัฒนาการสำคัญที่ลูกน้อยต้องฝึกฝน ซึ่งปกติแล้วทารกจะเริ่มนั่งได้เมื่ออายุประมาณ 6 เดือน แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของเด็กแต่ละคนด้วย ในเด็กบางคนอาจเริ่มนั่งได้เร็วกว่าหรือช้ากว่านี้ บทความนี้จะมาไขข้อสงสัย พร้อมแชร์วิธีฝึกทารกนั่งอย่างถูกต้องและปลอดภัย ‍‍‍เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้สร้างช่วงเวลาแห่งความสุขกับลูกน้อยได้อย่างมั่นใจ

 

เด็กนั่งได้กี่เดือน เรียกว่าพัฒนาการไม่ช้าจนเกินไป

การนั่งของเด็กคือพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ซึ่งจะเริ่มนั่งได้เมื่ออายุลูกได้ 6 เดือน และลูกจะสามารถนั่งทรงตัวได้เอง มีการเอี้ยวตัว หมุนตัวเพื่อที่จะหยิบของเล่น หรือหันตัวไปหาคุณพ่อคุณแม่ แล้วก็หันกลับมานั่งตัวตรงได้เหมือนเดิมตอนอายุ 7-8 เดือน และเมื่อลูกอายุ 9 เดือนเป็นต้นไป จะมีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่แข็งแรงขึ้น ลูกสามารถที่จะลุกขึ้นนั่งจากท่านอนได้เอง และเกาะเดินได้เองประมาณ 4-5 ก้าว

 

พัฒนาการของลูกที่พ่อแม่ควรสังเกต

อยากรู้ไหมว่าเด็กนั่งได้กี่เดือน คุณพ่อคุณแม่มาเช็กพัฒนาการของลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 15 เดือน ว่าพัฒนาการสำคัญ ๆ ในแต่ละเดือนนั้นมีอะไรกันบ้าง

1. ช่วงวัยแรกเกิด (1-3 เดือนแรก)

  • ลูกสบตาและมองหน้าคุณพ่อคุณแม่
  • ทำเสียงอ้อแอ้ ยิ้ม หันหน้ามองหา
  • เริ่มชันคอขึ้นในท่าคว่ำ

 

2. ช่วงวัย 4-6 เดือน

  • นอนคว่ำชูคอตั้งขึ้น
  • เริ่มเอื้อมมือไขว่คว้า
  • พลิกคว่ำ พลิกหงาย และคืบ
  • หันหาเสียง และส่งเสียงโต้ตอบ
  • เริ่มที่จะนั่งได้

 

3. ช่วงวัย 7-9 เดือน

  • นั่งทรงตัวได้มั่นคงขึ้น สามารถเอี้ยวและหมุนตัวขณะนั่ง
  • นอนอยู่แล้วลุกขึ้นนั่งได้เอง
  • เริ่มคลาน
  • ชอบเล่นจ๊ะเอ๋กับคุณพ่อคุณแม่

 

4. ช่วงวัย 10-12 เดือน

  • เริ่มพูดคำสั้น ๆ เช่น หม่ำ พ่อ แม่
  • เริ่มตั้งไข่
  • เริ่มทำตามคำสั่งได้ เช่น ปรบมือ โบกมือบ๊าย บาย
  • ยืนได้ เริ่มก้าวสั้นได้ 1-2 ก้าว

 

5. ช่วงวัย 13-15 เดือน

  • จำชื่อสิ่งของรอบตัวได้
  • ยืนเองได้มั่นคงและนานขึ้น
  • เริ่มจับดินสอลากเขียนเป็นเส้น ๆ บนกระดาษได้

 

ทารกนั่งได้ตอนกี่เดือน ฝึกลูกนั่งทำได้ยังไงบ้าง

 

พ่อแม่ควรเริ่มฝึกลูกนั่งเมื่อไหร่ดีที่สุด

คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มฝึกให้ลูกนั่งได้ตั้งแต่ช่วง 4-6 เดือน โดยให้นั่งแบบ Tripod position แล้วมีคุณพ่อคุณแม่ หรือพี่เลี้ยงคอยช่วยประคองตัวลูกไว้ เพื่อป้องกันลูกล้มระหว่างที่กำลังนั่ง และเมื่อลูกอายุได้ 5-9 เดือน จะสามารถนั่งได้ด้วยตัวเอง การฝึกลูกนั่งสามารถฝึกได้บ่อยวันละ 3-4 ครั้ง โดยแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที

 

ทารกนั่งได้ตอนกี่เดือน ฝึกลูกนั่งทำได้ยังไงบ้าง

ลูกน้อยจะเริ่มนั่งได้ตอน 4-6 เดือน เป็นการเริ่มนั่งแบบที่ต้องมีตัวช่วย หรือมีคนช่วยประคอง และ 5-9 เดือนเริ่มนั่งได้ด้วยตัวเอง ดังนั้นเพื่อให้การนั่งของลูกน้อยมั่นคงแข็งแรงขึ้น คุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกลูกนั่งได้ ดังนี้

  • ฝึกการทรงตัว: การฝึกการทรงตัวให้กับลูก เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของต้นคอและหลัง ให้คุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกนั่งลงบนตักหรือให้นั่งตรงระหว่างขาก็ได้ จากนั้นให้จับที่รักแร้ลูก แล้วไล่ลงมาจับที่หน้าอก และจับที่สะโพกของลูก ขณะที่ลูกนั่งคุณแม่อาจจะร้องเพลง อ่านหนังสือ หรือเล่นของเล่นต่าง ๆ ไปกับลูกด้วยก็ได้
  • ฝึกนั่งท่า Tripod: ด้วยการให้ลูกนั่งระหว่างขาของคุณพ่อคุณแม่เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกล้ม และเมื่อลูกเริ่มแข็งแรงให้ใช้หมอนโอบรอบตัวคอยพยุงป้องกันการล้ม

 

อุปกรณ์สำหรับลูกน้อยที่ช่วยให้ลูกฝึกนั่งได้ดี

เพื่อช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการการนั่งที่แข็งแรงขึ้นตามวัย คุณพ่อคุณแม่อาจหาตัวช่วยในการฝึกลูกนั่งได้ ดังนี้

  1. เก้าอี้หัดนั่ง: การใช้เก้าอี้ฝึกนั่ง ต้องดูที่ความพร้อมของลูกเป็นสำคัญ ต้องแน่ใจแล้วว่ากล้ามเนื้อต้นคอมีความแข็งแรง และลูกสามารถที่จะควบคุมตัวเองได้แล้ว ค่อยฝึกให้นั่งเก้าอี้หัดนั่งสำหรับเด็ก
  2. เบาะหรือหมอนหลาย ๆ ใบ: เพื่อช่วยให้ลูกนั่งได้ดีมากขึ้น ให้ฝึกลูกนั่งลงบนพื้นที่ไม่มีความสูง คุณแม่สามารถหาหมอนใบใหญ่นุ่ม ๆ มาให้ลูกพิงหลังหรือวางเบาะรองไว้รอบ ๆ ตัวลูก

 

ลูกอายุครบ 9 เดือน ยังนั่งไม่ได้ แบบนี้ปกติไหม

หากลูกน้อยอายุ 9 เดือน แล้ว แต่ไม่สามารถนั่งโดยมีคนพยุงได้ กล้ามเนื้อไม่แข็งแรงขณะเคลื่อนไหว ไม่สามารถควบคุมศีรษะให้มั่นคงได้ ไม่สามารถเอื้อมมือ หรือไม่สามารถหยิบจับนำสิ่งของเข้าปากได้ พัฒนาการเหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณที่บอกถึงความล่าช้าของทักษะการเคลื่อนไหวโดยรวมของลูก ดังนั้นเมื่อคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกน้อยมีความผิดปกติเกิดขึ้น ควรพาลูกไปพบกุมารแพทย์ทันที

 

การฝึกลูกนั่ง เป็นก้าวสำคัญในพัฒนาการของเด็ก คุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มฝึกลูกนั่งเมื่อลูกอายุได้ประมาณ 4-6 เดือนขึ้นไป เมื่อกล้ามเนื้อคอและหลังแข็งแรงพอแล้ว ตามคำแนะนำจากกุมารแพทย์ของลูก ควรเริ่มจากการประคองตัวลูกให้นั่งเป็นระยะเวลาสั้น ๆ แล้วค่อย ๆ เพิ่มเวลาฝึกลูกนั่งทีละน้อย หากลูกยังนั่งเองไม่ได้ไม่ควรฝืน รวมถึงหากพบความผิดปกติของลูกน้อยควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อตรวจสอบพัฒนาการของลูก และเพื่อให้ลูกน้อยมีพัฒนาการการเจริญเติบโตที่สมวัย มีทักษะต่าง ๆ ของร่างกายที่แข็งแรง ตั้งแต่แรกเกิดแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะในนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เช่น ดีเอชเอ วิตามิน แคลเซียม และสฟิงโกไมอีลิน ซึ่งช่วยในพัฒนาการสมอง สติปัญญา และการเจริญเติบโตของลูก

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 

 

อ้างอิง:

  1. พัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัย แบบไหนเข้าข่าย “พัฒนาการล่าช้า”, โรงพยาบาลสุขุมวิท
  2. เช็คพัฒนาการเจ้าตัวน้อยวันแรกเกิด 1 ปีผ่านไป หนูโตไวเหมือนกันนะ, โรงพยาบาลนนทเวช
  3. พัฒนาการลูกน้อยตามวัย, โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาการุณย์
  4. ลูกจะนั่งได้เมื่อไหร่? เทคนิคสอนลูกนั่ง เก้าอี้ฝึกนั่งจำเป็นหรือไม่ (When Can Babies Sit Up), แพทย์หญิงทานตะวัน พระโสภา แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฉุกเฉิน Dr.Noi TheFamily
  5. When Can Babies Sit Up and How Can You Help a Baby Develop This Skill?, Healthline

อ้างอิง ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2567
 

บทความแนะนำ

ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็น คุณแม่รับมืออย่างไรดี

ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็น คุณแม่รับมืออย่างไรดี

ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็นผิดปกติไหม ลูกตัวร้อนแต่มือเท้าเย็นเกิดจากสาเหตุอะไร อันตรายไหม ลูกตัวร้อนมือเท้าเย็นพ่อแม่ควรดูแลลูกแบบไหนให้ดีที่สุด

เด็กเดินได้กี่เดือน ลูกเดินช้า มีผลต่อพัฒนาการสมองไหม

เด็กเดินได้กี่เดือน ลูกเดินช้า มีผลต่อพัฒนาการสมองไหม

เด็กเดินได้กี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าลูกเริ่มเดินได้แล้ว ลูกเดินช้ามีผลต่อพัฒนาการสมองไหม พร้อมวิธีฝึกลูกเดิน ช่วยเสริมพัฒนาการลูกน้อย

เด็กเริ่มคลานกี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าเด็กเริ่มคลานได้แล้ว

เด็กเริ่มคลานกี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าเด็กเริ่มคลานได้แล้ว

เด็กเริ่มคลานกี่เดือน สัญญาณอะไรบ้างที่บอกว่าลูกเริ่มคลานได้แล้ว ลูกคลานช้ากี่เดือนถึงเรียกว่าพัฒนาการช้าเกินไป พร้อมวิธีฝึกลูกคลาน ช่วยเสริมพัฒนาการลูกน้อย

ผื่นส่าไข้ คืออะไร วิธีสังเกตส่าไข้ในเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้

ผื่นส่าไข้ คืออะไร วิธีสังเกตส่าไข้ในเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้

ผื่นส่าไข้ คืออะไร อันตรายกับลูกไหม ผื่นส่าไข้ในเด็ก มีวิธีสังเกตอาการอย่างไร คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันผื่นส่าไข้ในเด็กได้หรือเปล่า พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

อาการไข้ในเด็ก ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ เช็ดตัวยังไงให้ไข้ลด

อาการไข้ในเด็ก ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ เช็ดตัวยังไงให้ไข้ลด

ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ ดูแลลูกน้อยอย่างไรให้ถูกวิธี อาการไข้ในเด็กอันตรายไหม อาการแบบไหนที่คุณแม่ควรสังเกตเมื่อลูกมีไข้หนาวสั่น พร้อมวิธีดูแลลูกน้อยเบื้องต้น

ลูกป่วยบ่อยมาก ทำไงดี พร้อมวิธีเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรง

ลูกป่วยบ่อยมาก ทำไงดี พร้อมวิธีเสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรง

ลูกป่วยบ่อยมาก ทำไงดี ลูกไม่สบายบ่อย เกิดจากสาเหตุอะไร ลูกป่วยบ่อยอันตรายไหม อยากให้ลูกแข็งแรงต้องทำอย่างไร พร้อมวิธีดูแลลูกน้อยและเสริมภูมิคุ้มกัน

ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติ พร้อมวิธีดูแลเมื่อลูกมีไข้ตอนกลางคืน

ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติ พร้อมวิธีดูแลเมื่อลูกมีไข้ตอนกลางคืน

ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติเพราะอะไร ลูกมีไข้ตอนกลางคืนแบบไหนเสี่ยงอันตราย เด็กมีไข้ตอนกลางคืนให้กินยาอะไรได้บ้าง พ่อแม่ดูแลยังไงให้ถูกวิธี

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก