รู้ทันโรคภูมิแพ้ในเด็ก เด็กแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้อาหาร ที่แม่ป้องกันได้

เด็กแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้อาหาร ภูมิแพ้ในเด็ก ที่แม่ป้องกันได้

09.05.2024

แม้ว่าพันธุกรรมจากพ่อแม่สู่ลูกจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็ใช่ว่าคุณจะไม่มีทางป้องกันลูกรักห่างไกลจากโรคภูมิแพ้ในเด็ก เรามีเทคนิคป้องกันโรคภูมิแพ้ในเด็กมาแนะนำ

headphones

PLAYING: เด็กแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้อาหาร ภูมิแพ้ในเด็ก ที่แม่ป้องกันได้

อ่าน 6 นาที

 

สรุป

  • ภูมิแพ้ในเด็ก หรือโรคภูมิแพ้ในเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายซึ่งเป็นระบบกลไกที่มีหน้าที่ป้องกันร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมภายนอก ยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการระคายเคืองต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ง่าย
  • สิ่งที่มากระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ เรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ พบได้ทั้งที่ล่องลอยในอากาศ หรือส่วนประกอบอยู่ในอาหาร โดยอาการแพ้จะมีการแสดงออกได้หลากหลายรูปแบบทั้งระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง และตา
  • การดูแลลูกที่เป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่คุณแม่คุณพ่อจะต้องดูแลให้ครบองค์รวม นอกจากหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้แล้ว ก็ควรรับประทานยาตามคำสั่งของคุณหมอให้ครบถ้วน ดูแลสุขอนามัยของลูกน้อยให้ดี

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ลูกบอบบางแค่ไหน แม่ก็ปกป้องได้

เด็ก โดยเฉพาะในเด็กเล็กนั้น ระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการระคายเคืองต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ง่าย เช่น มลภาวะ ฝุ่น ควัน หรือสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ อันเป็นสาเหตุของโรคภูมิแพ้ในเด็ก หรือลูกแพ้ฝุ่น แพ้ไรฝุ่น แม้ว่าลูกจะบอบบางแค่ไหน หากคุณแม่รู้เท่าทันปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ก็สามารถปกป้องลูกน้อยจากสาเหตุการแพ้ได้ค่ะ



รู้จักกับสารก่อภูมิแพ้สาเหตุของภูมิแพ้ในเด็ก

ภูมิแพ้ในเด็ก หรือโรคภูมิแพ้ในเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายซึ่งเป็นระบบกลไกที่มีหน้าที่ป้องกันร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมภายนอก เช่น เชื้อโรค สารเคมี ฝุ่น พืช ละอองเกสร ขนสัตว์ เป็นต้น ซึ่งสิ่งที่มากระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ดังกล่าว เรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ และสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร

1. สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ

เป็นสารก่อภูมิแพ้ที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ ซึ่งพบทั้งในบ้านและนอกบ้าน โดยพบว่าสารก่อภูมิแพ้ในบ้านนั้นมีหลากหลายได้แก่ ไรฝุ่น เศษซากแมลงสาบ รังแคแมว และสุนัข ส่วนสารก่อภูมิแพ้นอกบ้าน ได้แก่ ละอองเกสรของดอกไม้ หรือ พืชต่าง ๆ สำหรับประเทศไทยไรฝุ่นเป็นสารก่อภูมิแพ้เด็ก ที่มีผลต่อระบบทางเดินหายใจเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ เศษซากแมลงสาบ รังแคแมวและสุนัข ตามลำดับ

 

2. สารก่อภูมิแพ้ในอาหาร

คือ โปรตีนที่เป็นส่วนประกอบอยู่ในอาหารชนิดนั้น ๆ จะเป็นส่วนที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ได้แก่ นม ไข่ ถั่วลิสง ถั่วเปลือกแข็ง ถั่วเหลือง แป้งสาลี อาหารทะเล งา เมล็ดพืช เป็นต้น โดยอาการแพ้จะมีการแสดงออกได้หลากหลายรูปแบบทั้งระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง และตา

 

ภูมิแพ้ในเด็ก คุณแม่ทำอย่างไร เมื่อลูกแพ้อาหาร

 

ภูมิแพ้ในเด็ก คุณแม่ทำอย่างไร เมื่อลูกแพ้อาหาร

หากลูกอายุน้อยกว่า 6 เดือน และให้ลูกกินนมแม่ จะเป็นแนวทางที่ดีที่สุดเพราะนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด และยังมีคุณสมบัติเป็น Hypo-Allergenic หรือ H.A. ที่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคภูมิแพ้ และนมแม่มีสารที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน หรือพรีไบโอติกโอลิโกแซคคาไรด์ ใยอาหารหลักที่สำคัญที่ช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อต่าง ๆ ซึ่งโอลิโกแซคคาไรด์ ประกอบด้วยใยอาหารหลากหลายชนิด ซึ่ง 5 ใยอาหารหลัก (5 Oligosaccharide หรือ 5 HMO เช่น 2’FL, DFL, LNT, 6’SL และ 3’SL) และยังมีโพรไบโอติกหลายชนิด เช่น B. lactis (บีแล็กทิส) ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ได้อีกด้วย อีกทั้งโปรตีนในนมแม่บางส่วน ได้ถูกย่อยให้มีขนาดเล็กลง หรือที่เรียกว่า PHP (Partially Hydrolyzed Proteins ) ซึ่งง่ายต่อการดูดซึมเข้าร่างกายของลูกน้อย แต่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ลูกแพ้ เช่น หากลูกแพ้ไข่ ก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไข่ โดยพบว่าอาหารที่คุณแม่รับประทานเข้าไปจะไปสู่น้ำนมที่ให้ลูกน้อยรับประทานด้วย แต่ในกรณีที่คุณแม่ให้นมลูกน้อยไม่ได้ อาจมีสาเหตุมาจากภาวะร่างกายของคุณแม่ เช่น คุณแม่มีน้ำนมน้อย หรือคุณแม่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงอาหารที่ลูกแพ้ได้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที

 

ภูมิแพ้ในเด็ก คุณแม่ทำอย่างไร เมื่อลูกเป็นภูมิแพ้ไรฝุ่น

 

ภูมิแพ้ในเด็ก คุณแม่ทำอย่างไร เมื่อลูกเป็นภูมิแพ้ไรฝุ่น
 

ไรฝุ่นเป็นสิ่งที่ก่อภูมิแพ้ในบ้านมากที่สุด ส่งผลให้ลูกเป็นภูมิแพ้ไรฝุ่นหรือเด็กแพ้ฝุ่น โดยห้องนอนเป็นบริเวณที่พบไรฝุ่นมากที่สุด โดยเฉพาะส่วนของเครื่องนอน ฟูก หมอน ผ้าห่ม พรม ผ้าทอต่าง ๆ เก้าอี้และโซฟา เมื่อพบว่าลูกเป็นภูมิแพ้ไรฝุ่น คุณแม่สามารถจัดการไรฝุ่นได้โดยวิธีการเหล่านี้ เช่น

  1. ทำความสะอาดห้องนอนเป็นประจำ ด้วยเครื่องดูดฝุ่นที่มีประสิทธิภาพสูง หรือ เช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด ร่วมกับคุมความชื้นในห้องนอน เปิดหน้าต่างสม่ำเสมอในพื้นที่ที่แห้ง หรือเปิดแอร์ในพื้นที่ที่มีความชื้น
  2. หลีกเลี่ยงแหล่งสะสมไรฝุ่นในห้องนอน เช่น หนังสือ ตุ๊กตามีขน พรม ฟูก
  3. เลือกผ้าใยสังเคราะห์ที่ทอแน่น ในการคลุมเครื่องนอน ห่อหุ้มหมอน ที่นอน ผ้าห่ม ผ้านวม
  4. ทำความสะอาดเครื่องนอนเป็นประจำด้วยน้ำเปล่าร่วมกับผงซักฟอก เป็นประจำทุก 1-2 สัปดาห์ และพบว่าการทำความสะอาดด้วยน้ำร้อนอุณหภูมิประมาณ 60 องศาระยะเวลา 30 นาที ช่วยลดไรฝุ่นได้
  5. หากมีฟูกหนา ๆ ให้นำไปตากแดดจัดนานกว่า 5 ชั่วโมง ทุก 2 สัปดาห์

 

เมื่อลูกน้อยยังบอบบาง อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ในเด็ก คือ ซากแมลงสาบพบมากสุดในห้องครัว นอกจากนี้สารก่อภูมิแพ้จากแมลงสาบมีความสัมพันธ์กับโรคหืดด้วย คุณแม่จึงต้องมีแผนควบคุมกำจัดอย่างเป็นระบบเพื่อประสิทธิภาพที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการใช้เหยื่อล่อแมลงสาบ การจัดการเศษอาหารหรือน้ำที่เป็นแหล่งอาหารของแมลงสาบ รวมไปถึงการทำความสะอาดบ้านเช็ดถูฝุ่นเพื่อขจัดสารก่อภูมิแพ้ ควรดูแลพื้นผิวของห้องน้ำหรือห้องครัวให้แห้งไม่มีน้ำขัง และปิดจุดช่องต่าง ๆ ภายในบ้านเพื่อปิดทางเข้าของแมลงสาบ หากลูกน้อยมีอาการเป็นโรคหืด การใช้สเปรย์เพื่อฆ่าแมลงสาบอาจทำให้ลูกน้อยมีอาการระคายเคืองจากกลิ่นของสารระเหยได้

 

สาเหตุสุดท้ายที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ในเด็ก คือ รังแคของสัตว์เลี้ยง พบว่าแมวและสุนัข เป็นสัตว์เลี้ยงที่ก่อภูมิแพ้หลัก ซึ่งมาจาก ขน รังแค ปัสสาวะ หรือน้ำลายของสัตว์ ซึ่งมักลอยอยู่ในอากาศนานกว่าสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่น วิธีการจัดการที่มีประสิทธิภาพคือต้องนำสัตว์เลี้ยงออกจากบ้านหรือห้องที่ลูกน้อยอยู่เป็นประจำ หากสมาชิกในบ้านยังมีการเล่นกับสัตว์เลี้ยงอยู่บ้างก็จะมีโอกาสนำสารก่อภูมิแพ้เข้ามาในบ้านได้ นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้พรม และจัดห้องให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก ใช้เครื่องกรองอากาศ ร่วมกับอาบน้ำสัตว์เลี้ยงอย่างสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

 

การดูแลลูกที่เป็นโรคภูมิแพ้ในเด็กนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่คุณแม่คุณพ่อจะต้องดูแลให้ครบองค์รวม นอกจากหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้แล้ว ก็ควรรับประทานยาตามคำสั่งของคุณหมอให้ครบถ้วน ดูแลสุขอนามัยของลูกน้อยให้ดี สนับสนุนให้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่เมื่อถึงวัยที่เหมาะสม คอยสังเกตอาการผิดปกติของลูกน้อยเพื่อให้บรรเทาอาการแพ้ของลูกน้อยนั่นเอง มีงานวิจัยพบว่าโรคภูมิแพ้บางประเภท สามารถหายได้เมื่อลูกน้อยโตขึ้น เช่น โดยส่วนใหญ่การแพ้ไข่จะหายไปเมื่อลูกอายุประมาณ 2-3 ปี หรือการแพ้นมวัวจะหายไปเมื่ออายุประมาณ 3-5 ปี ขณะที่การแพ้บางประเภทก็อาจจะเป็นไปตลอดชีวิต เช่น ถั่วประเภทต่าง ๆ หรือแป้งสาลี ซึ่งจะต้องดูแลและเฝ้าระวังติดตามไปตลอด

 

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 

 

อ้างอิง:

  1. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษา โรคแพ้โปรตีนนมวัว (Cow milk Protein Allergy), ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
  2. แนวทางปฏิบัติในการป้องกันโรคภูมิแพ้ของประเทศไทย, สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
  3. การแพ้อาหารในเด็ก...ข้อมูลสรุปสำหรับพ่อแม่มือใหม่, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
     

     

บทความแนะนำ

ทารกแรกเกิดควรใส่เสื้อผ้าแบบไหน เลือกเสื้อผ้าเด็กทารกยังไงดี

ทารกแรกเกิดควรใส่เสื้อผ้าแบบไหน เลือกเสื้อผ้าเด็กทารกยังไงดี

ทารกแรกเกิดควรใส่เสื้อผ้าแบบไหน การเลือกเสื้อผ้าให้ทารกแรกเกิดสำคัญอย่างไร เลือกเสื้อผ้าแบบไหนให้ลูกรู้สึกสบายตัวและปลอดภัยกับผิวของเด็กทารก ไปดูกัน

วิธีกล่อมลูกนอน ช่วยให้ลูกนอนหลับสนิทตลอดทั้งคืน

วิธีกล่อมลูกนอน ช่วยให้ลูกนอนหลับสนิทตลอดทั้งคืน

รวมวิธีกล่อมลูกนอน ช่วยให้ลูกน้อยนอนหลับสนิทตลอดทั้งคืนและไม่สะดุ้งตื่นกลางดึก ดีต่อพัฒนาการของลูกน้อย วิธีไหนบ้างที่ช่วยกล่อมลูกนอนได้สำเร็จ ไปดูกัน

เด็กทารกเล่นน้ำลาย คุณแม่ควรห้ามไหม มีผลต่อพัฒนาการอย่างไร

เด็กทารกเล่นน้ำลาย คุณแม่ควรห้ามไหม มีผลต่อพัฒนาการอย่างไร

เด็กทารกเล่นน้ำลาย เกิดจากอะไร เด็กเล่นน้ำลายบ่อย ผิดปกติไหม จะมีผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร เมื่อลูกชอบเล่นน้ำลาย

เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

เด็กขาโก่ง เกิดจากอะไร ภาวะขาโก่งในเด็ก อันตรายไหม ลูกน้อยขาโก่ง คุณแม่ต้องดัดขาลูกทุกวันหรือเปล่า ลูกขาโก่งดูยังไง ไปดูวิธีสังเกตเด็กขาโก่งและวิธีแก้ไขกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก