เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

ดูแลลูกตามช่วงวัย
บทความ
พ.ย. 14, 2024
4นาที

เด็กขาโก่ง ในบางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจคิดว่าเป็นเรื่องปกติตามธรรมชาติของเด็กเล็ก และเมื่อโตขึ้นภาวะขาโก่งนี้จะหายได้เอง จนละเลยการสังเกตถึงความผิดปกติของกระดูก รวมถึงไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ซึ่งจะส่งผลต่อบุคลิกภาพและสรีระของลูกเมื่อโตขึ้น เด็กขาโก่งหากไม่ได้รับการรักษาจะอันตรายแค่ไหน เด็กขาโก่งดูยังไง เรามาหาคำตอบจากบทความนี้กัน

 

สรุป

  • คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตลูกว่าขาโก่งหรือไม่ ด้วยการสังเกตขณะยืน โดยให้เด็กยืนลักษณะข้อเท้าชิดกัน และดูว่าหัวเข่าทั้ง 2 ข้างมีลักษณะแยกออกจากกันหรือไม่
  • เด็กขาโก่ง สามารถแบ่งสาเหตุหลักออกเป็น 2 ปัจจัย คือ ภาวะขาโก่งตามธรรมชาติซึ่งเมื่ออายุ 2 ปีขึ้นไป อาการขาโก่งจะค่อย ๆ ดีขึ้นจนหายเป็นปกติได้เอง และภาวะขาโก่งที่เป็นโรคจากความผิดปกติของลักษณะกระดูก ซึ่งต้องได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี
  • การป้องกันไม่ให้ลูกมีภาวะขาโก่ง โดยการควบคุมน้ำหนักลูกให้อยู่ในเกณฑ์, ไม่เร่งให้เด็กเดินได้ก่อนวัยที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยงการใช้รถเข็นหัดเดิน (Baby Walker) เพราะอาจทำให้เด็กเดินเขย่งเท้าจนทำให้ขาโก่งได้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

เด็กขาโก่ง เกิดจากอะไร

การสังเกตว่าลูกมีภาวะขาโก่งหรือไม่ คุณพ่อคุณแม่สามารถดูได้จากลักษณะของเข่าทั้ง 2 ข้างว่ามีการโค้งแยกออกจากกันหรือไม่ โดยทั่วไปจะสามารถแบ่งว่าเด็กมีภาวะขาโก่งตามธรรมชาติ หรือเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของลักษณะกระดูก ได้ดังนี้

1. เด็กขาโก่งตามธรรมชาติ

เด็กแรกเกิดโดยทั่วไป จะมีภาวะขาโก่งตามธรรมชาติอยู่แล้ว และเมื่อโตขึ้นอายุประมาณ 2 ปี อาการขาโก่งจะค่อย ๆ ดีขึ้นจนกลับมาตรงมากขึ้น จนถึงอายุ 3 ปี ขาอาจจะเริ่มเกออกอีกครั้ง และกลับมาตรงเป็นปกติตอนอายุ 7 ปี ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติของร่างกายเด็ก

 

2. เด็กขาโก่งจากความผิดปกติ

คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้จากขาโก่งไม่ดีขึ้น เมื่อเด็กอายุ 2 ปี แล้ว หรือบางครั้งอาจดูมีภาวะขาโก่งมากขึ้น ซึ่งอาจถือเป็นขาโก่งที่เกิดจากความผิดปกติของกระดูก ที่เรียกว่า โรคเบล้าท์ (Blount’s Disease) ส่วนมากเกิดจากเด็กที่มีน้ำหนักเยอะ จนไปกดทับด้านในของเข่า จนทำให้แผ่นเยื่อเจริญกระดูกเติบโตได้ไม่เต็มที่ หรืออาจเป็นขาโก่งที่เกิดจากการขาดวิตามินดี

 

ลูกขาโก่งดูยังไง คุณแม่สังเกตยังไงได้บ้าง

ลูกขาโก่งดูยังไง การสังเกตลูกว่าขาโก่งหรือไม่ ด้วยการสังเกตขณะยืน โดยให้เด็กยืนลักษณะข้อเท้าชิดกัน และดูว่าหัวเข่าทั้ง 2 ข้างมีลักษณะแยกออกจากกันหรือไม่ ซึ่งภาวะขาโก่งอาจเกิดขึ้นได้จากการขดตัวขณะอยู่ในครรภ์คุณแม่ หรือหากเด็กเดินเร็วเพราะเด็กเล็กยังไม่สามารถเดินได้อย่างมั่นคง หรือกรณีเคยเกิดอุบัติเหตุจนกระดูกแตกหัก จนกระดูกเปลี่ยนรูปจนเกิดขาโก่งได้

 

ภาวะขาโก่ง ส่งผลยังไงกับลูก

หากลูกมีภาวะขาโก่งที่เกิดจากความผิดปกติ หรือเป็นโรคเบล้าท์ (Blount’s Disease) และไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี อาจส่งผลเสียอื่น ๆ ตามมามากมาย ดังนี้

  • เสียบุคลิก: ลูกขาโก่ง อาจทำให้เสียบุคลิก เนื่องจากมีสรีระที่ผิดปกติ ทำให้เดินขาโก่งตลอดเวลา
  • ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง: จากการที่เดินขาโก่งจนคนภายนอกสังเกตได้ชัดเจน
  • ปวดเข่าตลอดเวลา: เพราะขณะที่เดินขาโก่ง จะส่งผลต่อเอ็นข้อเข่าให้ยืดออกไปด้วย จนทำให้ปวดเข่าเรื้อรังได้

 

ลูกขาโก่งดูยังไง คุณแม่ไม่จำเป็นต้องดัดขาให้ลูก

 

เด็กขาโก่ง คุณแม่ต้องดัดขาให้ลูกไหม

ความเชื่อเกี่ยวกับการดัดขา เมื่อพบว่าลูกขาโก่งนั้น เป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากเมื่อเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป ขาที่เคยโก่งจะเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติจนตรงในที่สุดตามธรรมชาติอยู่แล้ว แต่คุณพ่อคุณแม่บางครอบครัวทำการดัดขา หรือใช้ผ้ารัดขาให้เข้ารูปตั้งแต่ก่อนอายุ 2 ปี จนเข้าใจว่าการดัดขาช่วยให้ลูกหายขาโก่งได้

 

ซึ่งในความเป็นจริงอาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยได้ เพราะอาจทำให้ลูกรู้สึกเจ็บปวดหรือกระดูกหักได้หากมีการดัดขาหรือรัดขาแน่นจนเกินไป ดังนั้นหากลูกอายุเกิน 2 ปีแล้ว และยังมีภาวะขาโก่ง ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีโดยไม่ต้องดัดขา

 

3 เคล็ดลับ ป้องกันภาวะเด็กขาโก่งในเด็ก

เด็กขาโก่ง เป็นอาการที่พบได้บ่อยมากในเด็กเล็ก โดยเฉพาะในเด็กวัยเริ่มหัดเดิน หรืออายุประมาณ 1 ปี ซึ่งอาจเกิดได้จากอาการตามธรรมชาติ และจะดีขึ้นได้เองเมื่อติบโตขึ้น หรือเกิดจากความผิดปกติจนถือว่าเป็นโรค ซึ่งจำเป็นต้องทำการรักษาให้ถูกวิธีโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เช่น การใส่อุปกรณ์ดามขาหรือการผ่าตัด ขึ้นกับความรุนแรงของอาการขาโก่งและอายุด้วย ทั้งนี้หากคุณพ่อคุณแม่อยากป้องกันความเสี่ยงที่ลูกน้อยจะเกิดภาวะขาโก่ง สามารถทำได้ ดังนี้

1. ควบคุมน้ำหนักลูกให้อยู่ในเกณฑ์

หากเด็กมีน้ำหนักมากจนเกินมาตรฐาน อาจส่งผลให้กระดูกมีการกดทับบริเวณด้านในข้อเข่าจนทำให้เกิดอาการขาโก่ง

 

2. ไม่ต้องเร่งรีบสอนลูกเดินเร็วเกินวัย

จากการศึกษาพบว่าเด็กที่เดินเร็วเกินวัย อาจทำให้เกิดภาวะขาโก่งได้ง่าย เพราะด้วยวัยที่ยังไม่พร้อมเดิน ทำให้เด็กเดินได้ไม่มั่นคงเพียงพอ

 

3. ใช้รถเข็นหัดเดินอย่างระมัดระวัง

เพราะอาจเสี่ยงต่อการผลัดล้มหรือพลิกคว่ำของการใช้รถเข็นหัดเดิน (Baby Walker) และยังสร้างลักษณะการเดินเขย่งเท้าจนทำให้ขาโก่ง

 

คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมการยืนและการเดินของลูกตั้งแต่ต้น เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของภาวะขาโก่งของลูก เพื่อให้คุณหมอวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี จนสามารถกลับมาหายเป็นปกติ ทำให้ลูกเติบโตได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรงมากที่สุด และมีความมั่นใจในสรีระ ตลอดจนบุคลิกภาพที่ดีของตนเอง

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 


อ้างอิง:

  1. ลูกน้อยขาโก่งอย่าชะล่าใจ อาจโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่สมบูรณ์, โรงพยาบาลพญาไท
  2. ลูกขาโก่ง ภัยอันตรายแฝงเงียบที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม, โรงพยาบาลสินแพทย์
  3. ภาวะขาโก่งในเด็ก (Bowed leg), โรงพยาบาลสินแพทย์

อ้างอิง ณ วันที่ 4 กันยายน 2567
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

View details ลูกถ่ายไม่ออกร้องไห้ พร้อมวิธีดูแลลูกท้องผูก
บทความ
ลูกถ่ายไม่ออกร้องไห้ พร้อมวิธีดูแลลูกท้องผูก

ลูกถ่ายไม่ออกร้องไห้ พร้อมวิธีดูแลลูกท้องผูก

ลูกถ่ายไม่ออกร้องไห้ ลูกท้องผูก ลูกถ่ายยากทำไงดี คุณแม่ควรหมั่นสังเกตเมื่อลูกถ่ายไม่ออก พร้อมวิธีแก้ทารกไม่ถ่าย เมื่อลูกท้องผูก และลูกถ่ายไม่ออก

View details พัฒนาการเด็ก 2 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการเด็ก
บทความ
พัฒนาการเด็ก 2 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการเด็ก

พัฒนาการเด็ก 2 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการเด็ก

พัฒนาการเด็ก 2 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ทั้งน้ำหนัก ส่วนสูง พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการทารก 2 เดือน ให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีและแข็งแรง

View details ทารกไม่ถ่ายกี่วันผิดปกติ ทารกตดบ่อย พร้อมวิธีแก้ทารกไม่ถ่าย
บทความ
ทารกไม่ถ่ายกี่วันผิดปกติ ทารกตดบ่อย ลูกน้อยควรกินอะไรให้ขับถ่ายง่าย

ทารกไม่ถ่ายกี่วันผิดปกติ ทารกตดบ่อย พร้อมวิธีแก้ทารกไม่ถ่าย

ทารกไม่ถ่ายกี่วันผิดปกติ ทารกตดบ่อยผิดปกติไหม คุณแม่สังเกตลูกอย่างไร เมื่อทารกไม่ถ่าย อาหารแบบไหนที่ช่วยให้ลูกขับถ่ายได้ดี พร้อมวิธีแก้ทารกไม่ถ่าย

9นาที อ่าน

View details วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอ ท่าจับลูกเรอ ช่วยให้ลูกสบายท้องหลังอิ่มนม
บทความ
วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอ ท่าจับลูกเรอ ช่วยให้ลูกสบายท้องหลังอิ่มนม

วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอ ท่าจับลูกเรอ ช่วยให้ลูกสบายท้องหลังอิ่มนม

วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอ เมื่อลูกไม่เรอสำหรับลูกน้อย ช่วยป้องกันอาการแหวะนม ไปดูวิธีจับลูกเรอและท่าอุ้มเรอที่ช่วยให้ลูกเรอง่ายและท้องไม่อืดหลังกินนม

4นาที อ่าน

View details เด็กแพ้นมวัว มีอาการอย่างไร พร้อมวิธีสังเกตเมื่อลูกแพ้นมวัว
บทความ
เด็กแพ้นมวัว มีอาการอย่างไร พร้อมวิธีสังเกตเมื่อลูกแพ้นมวัว

เด็กแพ้นมวัว มีอาการอย่างไร พร้อมวิธีสังเกตเมื่อลูกแพ้นมวัว

เด็กแพ้นมวัว เกิดจากอะไร อาการเด็กแพ้นมวัวเป็นแบบไหน ลูกแพ้นมวัวจะมีผื่นแพ้นมวัวหรือเปล่า พร้อมวิธีสังเกตว่าเด็กแพ้อาหารทั่วไปหรือเด็กแพ้นมวัว

9นาที อ่าน

View details ลูกไข้ขึ้นตอนกลางคืนทำไงดี พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกมีไข้สูง
บทความ
ลูกไข้ขึ้นตอนกลางคืนทำไงดี พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกมีไข้สูง

ลูกไข้ขึ้นตอนกลางคืนทำไงดี พร้อมวิธีรับมือเมื่อลูกมีไข้สูง

ลูกเป็นไข้ตอนกลางคืนกลางวันปกติเพราะอะไร ลูกมีไข้ตอนกลางคืนแบบไหนเสี่ยงอันตราย เด็กมีไข้ตอนกลางคืนให้กินยาอะไรได้บ้าง พ่อแม่ดูแลยังไงให้ถูกวิธี

8นาที อ่าน

View details พัฒนาการและอาหารที่เหมาะกับลูกน้อยช่วง 10-11 เดือน
บทความ
พัฒนาการและอาหารที่เหมาะกับลูกน้อยช่วง 10-11 เดือน

พัฒนาการและอาหารที่เหมาะกับลูกน้อยช่วง 10-11 เดือน

พัฒนาการลูกน้อยอายุ 10-11 เดือน มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้บ้าง อาหารแบบไหน ที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็กทารกอายุ 10-11 เดือน พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยตามช่วงวัย

View details พัฒนาการเด็ก 8 เดือน ทารก 8 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก
บทความ
พัฒนาการเด็ก 8 เดือน ทารก 8 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการเด็ก 8 เดือน ทารก 8 เดือน พร้อมวิธีเสริมพัฒนาการลูก

พัฒนาการทารก 8 เดือน ลูกน้อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง คุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการทารก 8 เดือน และส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 8 เดือน ได้อย่างไร ไปดูกัน

11นาที อ่าน

View details ทารกคอแข็งกี่เดือน เด็กคอแข็งช้า พร้อมวิธีฝึกลูกชันคอ
บทความ
ทารกคอแข็งกี่เดือน เด็กคอแข็งช้า พร้อมวิธีฝึกลูกชันคอ

ทารกคอแข็งกี่เดือน เด็กคอแข็งช้า พร้อมวิธีฝึกลูกชันคอ

ทารกคอแข็งกี่เดือน เด็กคอแข็งช้า ผิดปกติไหม เด็กคอแข็งกี่เดือน คุณแม่ควรสังเกตลูกน้อยอย่างไร พร้อมวิธีกระตุ้นกล้ามเนื้อคอให้แข็งแรงตามช่วงวัย

8นาที อ่าน

View details โรคซางในเด็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ป้องกันได้หรือเปล่า
บทความ
โรคซางในเด็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กมีจริงไหม เกิดจากอะไร ป้องกันได้หรือเปล่า

โรคซางในเด็กเล็ก เกิดจากสาเหตุอะไร หากลูกของคุณแม่มีอาการเหมือนจะเป็นโรคซาง มีไข้ เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลด คุณแม่ควรเฝ้าดูอาการและรีบพาไปพบแพทย์ทันที

8นาที อ่าน

View details วิธีไล่ลมในท้องทารก เมื่อลูกน้อยมีอาการท้องอืด ไม่สบายท้อง
บทความ
วิธีไล่ลมในท้องทารก เมื่อลูกน้อยมีอาการท้องอืด ไม่สบายท้อง

วิธีไล่ลมในท้องทารก เมื่อลูกน้อยมีอาการท้องอืด ไม่สบายท้อง

วิธีไล่ลมในท้องทารก คุณพ่อคุณแม่ทำยังไงได้บ้าง เมื่อลูกน้อยรู้สึกท้องอืด ไม่สบายท้อง การไล่ลมในท้องทารกต้องทำยังไง ไปดูวิธีไล่ลมในท้องทารก ช่วยให้ลูกสบายท้องกัน

7นาที อ่าน

View details DHA คืออะไร รู้จัก DHA สำหรับเด็ก ช่วยพัฒนาสมองลูกน้อย
บทความ
DHA คืออะไร รู้จัก DHA สำหรับเด็ก ช่วยพัฒนาสมองลูกน้อย

DHA คืออะไร รู้จัก DHA สำหรับเด็ก ช่วยพัฒนาสมองลูกน้อย

DHA คืออะไร DHA สำหรับเด็ก สารอาหารสำคัญต่อสมอง ระบบประสาทและสายตาของลูก DHA สำหรับเด็ก (ดีเอชเอ) มีส่วนช่วยในการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก

View details ทารกเป็นหวัดหายใจครืดคราด ลูกเป็นหวัดหายใจไม่สะดวกทําไงดี
บทความ
ทารกเป็นหวัดหายใจครืดคราด ลูกเป็นหวัดหายใจไม่สะดวกทําไงดี

ทารกเป็นหวัดหายใจครืดคราด ลูกเป็นหวัดหายใจไม่สะดวกทําไงดี

ทารกเป็นหวัดหายใจครืดคราด ลูกเป็นหวัดหายใจไม่สะดวกทําไงดี คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการทารกเป็นหวัด เพื่อดูระดับความรุนแรง พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

8นาที อ่าน

View details ลูกเป็นผื่นผิวสาก ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกผื่นสาก
บทความ
ลูกเป็นผื่นผิวสาก ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกผื่นสาก

ลูกเป็นผื่นผิวสาก ๆ เกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลทารกผื่นสาก

ลูกเป็นผื่นผิวสาก ๆ เกิดจากอะไร ทารกมีผื่นสาก บอกอะไรได้บ้าง ลูกเป็นผื่นผิวสาก ๆ ทารกผื่นสาก เป็นอันตรายไหม มีสาเหตุมาจากอะไร พร้อมวิธีดูแลลูกน้อย

7นาที อ่าน

View details เหาเกิดจากอะไร กำจัดเหาในเด็กเล็กยังไงได้บ้าง
บทความ
เหาเกิดจากอะไร กำจัดเหาในเด็กเล็กยังไงได้บ้าง

เหาเกิดจากอะไร กำจัดเหาในเด็กเล็กยังไงได้บ้าง

เหาเกิดจากอะไร ลูกเป็นเหา คันหนังศีรษะ คุณแม่มีวิธีกำจัดเหาอย่างไร หากปล่อยไว้นาน ไม่กำจัดเหา จะเป็นอันตรายกับลูกน้อยไหม พร้อมวิธีป้องกันเหาในเด็ก

10นาที อ่าน

View details ลูก 3 เดือนไม่ถ่าย 3 วัน เป็นไรไหม ทารก 3 เดือนไม่ถ่าย ทำไงดี
บทความ
ลูก 3 เดือนไม่ถ่าย 3 วัน เป็นไรไหม ทารก 3 เดือนไม่ถ่าย ทำไงดี

ลูก 3 เดือนไม่ถ่าย 3 วัน เป็นไรไหม ทารก 3 เดือนไม่ถ่าย ทำไงดี

ลูก 3 เดือนไม่ถ่าย 3 วัน เป็นไรไหม ทารก 3 เดือนไม่ถ่าย เกิดจากอะไร ลูกถ่ายยาก จะเป็นอันตรายกับสุขภาพของเด็กไหม ไปดูวิธีรับมือเมื่อลูก 3 เดือน ไม่ยอมถ่ายกัน

7นาที อ่าน

View details พัฒนาการลูกน้อย อายุ 4-5 เดือน วิธีช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็ก
บทความ
พัฒนาการลูกน้อย อายุ 4-5 เดือน วิธีช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็ก

พัฒนาการลูกน้อย อายุ 4-5 เดือน วิธีช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็ก

พัฒนาการลูกน้อยอายุ 4-5 เดือน มีอะไรที่คุณแม่ควรรู้บ้าง อาหารแบบไหน ที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็กทารกอายุ 4-5 เดือน พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยตามช่วงวัย

View details น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ 0-12 ปี และส่วนสูงเด็กตามช่วงวัย
บทความ
น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ 0-12 ปี และส่วนสูงเด็กตามช่วงวัย

น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ 0-12 ปี และส่วนสูงเด็กตามช่วงวัย

ตารางเกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงทารก น้ำหนักเด็ก-ส่วนสูงเด็กตามเกณฑ์ อายุ 0-12 ปี ควรอยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อสุขภาพที่ดีและพัฒนาการของลูกน้อยในช่วงขวบปีแรก

7นาที อ่าน

View details เด็กทารกสะอึก เกิดจากอะไร พร้อมวิธีช่วยบรรเทาอาการลูกสะอึก
บทความ
เด็กทารกสะอึก เกิดจากอะไร พร้อมวิธีช่วยบรรเทาอาการลูกสะอึก

เด็กทารกสะอึก เกิดจากอะไร พร้อมวิธีช่วยบรรเทาอาการลูกสะอึก

เด็กทารกสะอึก เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เมื่อลูกสะอึกทำให้คุณพ่อคุณแม่เกิดความกังวลว่าลูกจะเป็นอันตรายหรือเปล่า ดูแลเด็กทารกสะอึกได้ยังไงบ้าง ไปดูกัน

7นาที อ่าน