ผื่นลมพิษในเด็ก ผื่นลมพิษเด็ก พร้อมวิธีป้องกัน
อาการลมพิษในเด็ก ผื่นแดงนูนที่ขึ้นตามร่างกายของลูกน้อยอาจเป็นสัญญาณของโรคลมพิษ (Urticaria) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาของผิวหนังที่เกิดจากการตอบสนองต่อสารกระตุ้นต่าง ๆ โรคลมพิษสามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกวัย โดยมักมีอาการที่แตกต่างกันไป มาทำความเข้าใจอาการ สาเหตุ และวิธีการดูแลลูกน้อยเมื่อเกิดผื่นลมพิษกัน
สรุป
- ลมพิษในเด็ก (Hives หรือ Urticaria) คือ โรคทางผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ทุกวัย เกิดเป็นผื่นแดง บวม นูน และคันบนผิวหนังตามร่างกาย ก่อให้เกิดความไม่สบายตัวและรำคาญ โดยลมพิษนั้นเกิดได้หลายสาเหตุ แต่ลมพิษในเด็กส่วนใหญ่มักเกิดจากการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ ทำให้เด็กที่เป็นภูมิแพ้อยู่แล้วเสี่ยงต่อการเกิดลมพิษมากกว่าเด็กปกติ
- ผื่นลมพิษเด็ก มักจะมีผื่นแดง คัน บวม นูน เกิดจากการแพ้อาหาร ยา หรือการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียก็ได้ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาแก้แพ้ทุกครั้ง และ หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น ดูแลผิวให้ชุ่มชื้น ปรึกษาแพทย์
- การดูแลเด็กเป็นลมพิษ คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ และนอกจากนี้คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาแก้คันทุกครั้ง/ยาแก้คัน ประคบเย็น อาบน้ำเย็น ใส่เสื้อผ้าระบายอากาศ ตัดเล็บ ห้ามเกา
- วิธีแก้ผื่นลมพิษหรือการป้องกันลมพิษในเด็ก คุณพ่อคุณแม่สามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย ด้วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทานอาหารดี ออกกำลังกาย พักผ่อนและสังเกตอาการแพ้ หากมีอาการรุนแรงควรรีบไปพบแพทย์
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- ผื่นลมพิษในเด็ก คืออะไร
- เด็กเป็นลมพิษ เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง
- อาการลมพิษในเด็ก มีลักษณะอย่างไร
- การดูแลลมพิษในเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้
- วิธีแก้ผื่นลมพิษในเด็ก พร้อมวิธีป้องกัน
- อาการลมพิษในเด็กแบบไหน ที่ต้องระวัง
- ผื่นลมพิษในเด็ก ป้องกันได้อย่างไรบ้าง
ผื่นลมพิษในเด็ก คืออะไร
โรคลมพิษในเด็ก (Hives หรือ Urticaria) คือโรคทางผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ทุกวัย โดยเกิดผื่นแดง บวม นูน และคันขึ้นมาบนผิวหนังตามร่างกาย ก่อให้เกิดความไม่สบายตัวและรำคาญได้ โดยลมพิษนั้นเกิดได้หลายสาเหตุ แต่ลมพิษในเด็กส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่เด็กแพ้อาหาร ยา การติดเชื้อทั้งไวรัสและแบคทีเรีย รวมถึงการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้
เด็กเป็นลมพิษ เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง
ลมพิษในเด็กมักเกี่ยวข้องกับอาการแพ้ โดยมีสารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อย ได้แก่
1. แพ้อาหาร
- นม: นมวัวเป็นหนึ่งในสารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อยในทารกและเด็กเล็ก
- ไข่: การแพ้ไข่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในไข่ขาวและไข่แดง
- ถั่วเหลือง: ถั่วเหลืองมักเป็นส่วนประกอบในอาหารเด็กและอาจก่อให้เกิดการแพ้
- แป้งสาลี: การแพ้กลูเตนจากแป้งสาลีสามารถทำให้เกิดอาการลมพิษได้
- อาหารทะเล: เช่น กุ้ง ปู และปลา ซึ่งมีโอกาสก่อให้เกิดการแพ้สูง
- วัตถุเจือปนในอาหาร: สารกันบูดหรือวัตถุแต่งกลิ่นและสีในอาหาร
2. แพ้ยา
- ยาเพนิซิลลิน: ยานี้มักเป็นที่รู้จักในเรื่องของการแพ้
- ยาแอสไพริน: อาจทำให้เกิดการแพ้ในเด็กบางคน
- ยาลดไข้สูง: บางครั้งอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้
3. แพ้เกสรดอกไม้
เกสรจากดอกไม้ต่าง ๆ อาจกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ในเด็กที่มีแนวโน้มต่อภูมิแพ้
4. แพ้สัตว์และแมลงกัดต่อย
- ขนสัตว์จากสัตว์เลี้ยง เช่น แมวหรือสุนัข สามารถทำให้เกิดการแพ้ได้
- การถูกแมลงกัดต่อย เช่น ยุง หรือผึ้ง อาจทำให้เกิดอาการลมพิษในเด็ก
นอกจากนั้นยังในบางกรณี ลมพิษในเด็กยังเกิดขึ้นได้โดยไม่เกี่ยวกับภูมิแพ้ มีสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ การออกกำลังกาย ภาวะเครียด แสงอาทิตย์ สารเคมี และการกดทับผิวหนังอย่างรุนแรง
อาการลมพิษในเด็ก มีลักษณะอย่างไร
อาการผื่นลมพิษในเด็ก มีความคล้ายคลึงกับลมพิษในผู้ใหญ่ คือมีผื่นขึ้นเป็นกลุ่ม ตามบริเวณต่าง ๆ เช่น แผ่นหลัง หน้า แขน ขา หรือลำคอ ลักษณะผื่นนูนแดงบวม มองเห็นขอบเขตได้ชัดเจน ผื่นที่ขึ้นมักทำให้เกิดอาการคัน จึงอาจทำให้เด็กไม่สบายตัวและร้องไห้งอแงได้ โดยผื่นลมพิษในเด็กมักจะเป็นและหายภายได้เองใน 24 ชั่วโมงและอาจมีการย้ายไปขึ้นที่ใหม่อีก มักเป็นอยู่ 1-2 วัน แต่ในบางกรณีก็อาจนานกว่านั้น เราจึงสามารถแบ่งโรคลมพิษในเด็กตามระยะเวลาของโรคได้เป็น 2 ชนิด ดังนี้
1. ลมพิษแบบเฉียบพลัน (acute urticaria)
ผื่นลมพิษในเด็กแบบเฉียบพลัน เมื่อเป็นแล้วจะหายได้ภายในเวลา 3-6 สัปดาห์ เป็นผื่นลมพิษในเด็กและผู้ใหญ่ที่พบได้ทั่วไปกว่า 15-20% ของประชากร ส่วนมากเกิดจากการได้รับสารก่อภูมิแพ้หรือสารกระตุ้น เช่น แพ้อาหาร ยา ฝุ่น เกสรดอกไม้ หรือการติดเชื้อ เป็นต้น
2. ลมพิษแบบเรื้อรัง (chronic urticaria)
ผื่นลมพิษในเด็กแบบเรื้อรัง เมื่อเป็นแล้วจะเกิดขึ้นซ้ำอีกอย่างน้อยอาทิตย์ละ 2 ครั้ง และเป็นติดต่อกันนานเกิน 6 สัปดาห์ บางรายอาจใช้ระยะเวลารักษาหลายปี แต่พบในเด็กได้น้อยมากและมักไม่ทราบสาเหตุ
การดูแลลมพิษในเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้
การวินิจฉัยโรคลมพิษในเด็ก หากคุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปหาหมอซึ่ง คุณหมอมักจะทราบว่านี่คือลมพิษในเด็กตั้งแต่เมื่อเห็นลักษณะของผื่น แต่ในการที่จะหาว่าอะไรคือสาเหตุหรือสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการนั้น ต้องอาศัยการซักประวัติของลูกน้อยเพิ่มเติม เช่น โรคประจำตัว ยาที่ใช้ การสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ กิจกรรมที่ทำ เป็นต้น
นอกจากนั้น ในบางกรณีคุณหมออาจให้คุณพ่อคุณแม่ช่วยจดรายการอาหารที่กิน กิจวัตรประจำวันที่ทำ หรือข้อมูลอื่น ๆ ของลูกน้อยที่อาจเชื่อมโยงกับการเกิดลมพิษได้ และอาจมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจเลือด หรือ ทดสอบภูมิแพ้ เพิ่มเติมด้วย
วิธีแก้ผื่นลมพิษในเด็ก พร้อมวิธีป้องกัน
วิธีดูแลลูกน้อย เมื่อลูกเป็นโรคลมพิษในเด็กแต่ละคนนั้นอาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค อายุ และสุขภาไพโดยรวมของผู้ป่วย บางกรณีผื่นลมพิษในเด็กอาจหายได้เองโดยไม่ต้องพึ่งยา โดยหนึ่งในขั้นตอนการดูแล ที่สำคัญที่สุดคือการให้ลูกน้อยหลีกเลี่ยงอาหารที่ต้องสงสัย ลดการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้หรือสิ่งกระตุ้น และควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
นอกจากนั้น พยายามอย่าให้ลูกน้อยเกาหรือสัมผัสบริเวณที่เป็นผื่นลมพิษบ่อย ๆ เนื่องจากอาจทำให้ผิวหนังอักเสบได้ และพยายามปลอบลูกน้อยให้ไม่เครียดและวิตกกังวล เพราะความเครียดอาจเป็นปัจจัยกระตุ้นอาการลมพิษในเด็กได้เช่นกัน
อาการลมพิษในเด็กแบบไหน ที่ต้องระวัง
โดยทั่วไปอาการของโรคลมพิษมักไม่อันตราย มักจะหายภายใน 24 ชั่วโมง แต่หากมีอาการรุนแรงขึ้น ควรพาลูกน้อยไปหาคุณหมอ นอกจากนั้นลมพิษในเด็กยังเป็นหนึ่งในสัญญาณของภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน (Anaphylaxis) ซึ่งอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นหากพบว่าเด็กที่เป็นลมพิษมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วยต้องรีบนำไปพบแพทย์ทันที
- หายใจลำบาก แน่นหน้าอก
- เกิดการบวมที่หน้า ตา ปาก ลิ้น คอ
- ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
- หายใจมีเสียงหวีด รู้สึกเหมือนมีสิ่งอุดตันในลำคอ กลืนลำบาก
- ชีพจรอ่อน หัวใจเต้นเร็ว
- ไอ จาม น้ำมูกไหล
ผื่นลมพิษในเด็ก ป้องกันได้อย่างไรบ้าง
วิธีป้องกันเมื่อเด็กเป็นลมพิษที่สำคัญที่สุดคือการให้ลูกน้อยอยู่ห่างไกลจากปัจจัยกระตุ้นหรือสารก่อภูมิแพ้ในเด็ก รอบตัว โดยเฉพาะอาหาร ยา หรือสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ และสอนให้ลูกน้อยรู้จักหลีกเลียงสิ่งกระตุ้นนั้น ๆ ด้วยตนเอง นอกจากนั้นอย่าลืมรักษาสุขภาพของลูกน้อยให้แข็งแรง เพื่อเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะในเด็กที่เป็นภูมิแพ้หรือมีความเสี่ยงของโรคภูมิแพ้อยู่แล้ว
การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่ลูกน้อยเริ่มต้นได้ตั้งแต่แรกเกิดผ่านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยนมแม่นั้นมีคุณสมบัติ Hypo-Allergenic (H.A.) ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภูมิแพ้ในเด็กได้ นอกจากนั้นยังประกอบไปด้วยสารอาหารกว่า 200 ชนิด และโปรตีนในนมแม่บางส่วน ได้ถูกย่อยให้มีขนาดเล็กลง หรือที่เรียกว่า PHP (Partially Hydrolyzed Proteins ) ซึ่งง่ายต่อการดูดซึมเข้าร่างกายของลูกน้อย
อีกทั้งนมแม่ยังมีพรีไบโอติกโอลิโกแซคคาไรด์ใยอาหารหลักที่สำคัญ ที่ช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อต่าง ๆ ซึ่งโอลิโกแซคคาไรด์ ประกอบด้วยใยอาหารหลากหลายชนิด ซึ่ง 5 ใยอาหารหลัก (5 Oligosaccharide หรือ 5 HMO เช่น 2’FL , DFL, LNT, 6’SL และ 3’SL ) มีช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อต่าง ๆ เราจึงสนับสนุนให้ทารกได้รับนมแม่อย่างเดียว ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน และควรกินต่อเนื่องไปจนลูกอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น ควบคู่กับอาหารตามวัยที่เหมาะสม
หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการทราบว่าลูกน้อยมีความเสี่ยงต่อการเป็นลมพิษจากภูมิแพ้หรือไม่สามารถตรวจสอบความเสี่ยงภูมิแพ้เบื้องต้นได้ที่ S-MomClub
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่
- โปรแกรม Baby Development เช็คพัฒนาการลูกน้อยแต่ละช่วงวัย
- วัยทอง 1 ขวบ ลูกเริ่มดื้อ รับมือวัยทองเด็ก 1 ขวบ ยังไงดี
- วัยทอง 2 ขวบ ลูกดื้อมาก รับมือวัยทองเด็ก 2 ขวบ ยังไงดี
- วัยทอง 3 ขวบ ลูกกรี๊ดเอาแต่ใจ รับมือวัยทองเด็ก 3 ขวบ ยังไงดี
- ลูกพูดติดอ่าง ลูกพูดไม่ชัด เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไขลูกพูดติดอ่าง
- อาการออทิสติกเทียม ลูกไม่สบตาเรียกไม่หัน เสี่ยงออทิสติกหรือเปล่า
- เด็กติดโทรศัพท์ ลูกติดจอก่อนวัยแก้ยังไงดี พร้อมวิธีรับมือ
- เด็กสมาธิสั้น ลูกอยู่ไม่นิ่ง พร้อมวิธีรับมือที่พ่อแม่ควรรู้
- เด็กพัฒนาการเร็ว ลูกฉลาดเกินวัย มีสัญญาณอะไรบ้าง
- เด็กพัฒนาการช้าเป็นยังไง พร้อมวิธีสังเกตเมื่อเด็กมีพัฒนาการล่าช้า
- เด็กเรียนรู้ช้า ไอคิวต่ำ มีลักษณะอย่างไร พร้อมวิธีกระตุ้นพัฒนาการลูก
อ้างอิง:
- What Are Hives?, kidshealth
- โรคลมพิษ!, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- ‘โรคลมพิษ’ ผื่นแดงบนผิวหนังที่ไม่ควรมองข้าม, โรงพยาบาลศิครินทร์
- ภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิต, โรงพยาบาลกรุงเทพ
- โรคผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก, โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์
- โรค “ลมพิษ” สาเหตุและอาการที่ไม่ควรมองข้าม, โรงพยาบาลพญาไท
- โรคลมพิษ, สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
อ้างอิง ณ วันที่ 2 มีนาคม 2567
บทความที่เกี่ยวข้อง