เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

08.11.2024

เด็กขาโก่ง ในบางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจคิดว่าเป็นเรื่องปกติตามธรรมชาติของเด็กเล็ก และเมื่อโตขึ้นภาวะขาโก่งนี้จะหายได้เอง จนละเลยการสังเกตถึงความผิดปกติของกระดูก รวมถึงไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ซึ่งจะส่งผลต่อบุคลิกภาพและสรีระของลูกเมื่อโตขึ้น เด็กขาโก่งหากไม่ได้รับการรักษาจะอันตรายแค่ไหน เด็กขาโก่งดูยังไง เรามาหาคำตอบจากบทความนี้กัน

headphones

PLAYING: เด็กขาโก่ง จำเป็นต้องดัดขาลูกไหม ลูกขาโก่งดูยังไง

อ่าน 4 นาที

 

สรุป

  • คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตลูกว่าขาโก่งหรือไม่ ด้วยการสังเกตขณะยืน โดยให้เด็กยืนลักษณะข้อเท้าชิดกัน และดูว่าหัวเข่าทั้ง 2 ข้างมีลักษณะแยกออกจากกันหรือไม่
  • เด็กขาโก่ง สามารถแบ่งสาเหตุหลักออกเป็น 2 ปัจจัย คือ ภาวะขาโก่งตามธรรมชาติซึ่งเมื่ออายุ 2 ปีขึ้นไป อาการขาโก่งจะค่อย ๆ ดีขึ้นจนหายเป็นปกติได้เอง และภาวะขาโก่งที่เป็นโรคจากความผิดปกติของลักษณะกระดูก ซึ่งต้องได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี
  • การป้องกันไม่ให้ลูกมีภาวะขาโก่ง โดยการควบคุมน้ำหนักลูกให้อยู่ในเกณฑ์, ไม่เร่งให้เด็กเดินได้ก่อนวัยที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยงการใช้รถเข็นหัดเดิน (Baby Walker) เพราะอาจทำให้เด็กเดินเขย่งเท้าจนทำให้ขาโก่งได้

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

เด็กขาโก่ง เกิดจากอะไร

การสังเกตว่าลูกมีภาวะขาโก่งหรือไม่ คุณพ่อคุณแม่สามารถดูได้จากลักษณะของเข่าทั้ง 2 ข้างว่ามีการโค้งแยกออกจากกันหรือไม่ โดยทั่วไปจะสามารถแบ่งว่าเด็กมีภาวะขาโก่งตามธรรมชาติ หรือเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของลักษณะกระดูก ได้ดังนี้

1. เด็กขาโก่งตามธรรมชาติ

เด็กแรกเกิดโดยทั่วไป จะมีภาวะขาโก่งตามธรรมชาติอยู่แล้ว และเมื่อโตขึ้นอายุประมาณ 2 ปี อาการขาโก่งจะค่อย ๆ ดีขึ้นจนกลับมาตรงมากขึ้น จนถึงอายุ 3 ปี ขาอาจจะเริ่มเกออกอีกครั้ง และกลับมาตรงเป็นปกติตอนอายุ 7 ปี ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติของร่างกายเด็ก

 

2. เด็กขาโก่งจากความผิดปกติ

คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้จากขาโก่งไม่ดีขึ้น เมื่อเด็กอายุ 2 ปี แล้ว หรือบางครั้งอาจดูมีภาวะขาโก่งมากขึ้น ซึ่งอาจถือเป็นขาโก่งที่เกิดจากความผิดปกติของกระดูก ที่เรียกว่า โรคเบล้าท์ (Blount’s Disease) ส่วนมากเกิดจากเด็กที่มีน้ำหนักเยอะ จนไปกดทับด้านในของเข่า จนทำให้แผ่นเยื่อเจริญกระดูกเติบโตได้ไม่เต็มที่ หรืออาจเป็นขาโก่งที่เกิดจากการขาดวิตามินดี

 

ลูกขาโก่งดูยังไง คุณแม่สังเกตยังไงได้บ้าง

ลูกขาโก่งดูยังไง การสังเกตลูกว่าขาโก่งหรือไม่ ด้วยการสังเกตขณะยืน โดยให้เด็กยืนลักษณะข้อเท้าชิดกัน และดูว่าหัวเข่าทั้ง 2 ข้างมีลักษณะแยกออกจากกันหรือไม่ ซึ่งภาวะขาโก่งอาจเกิดขึ้นได้จากการขดตัวขณะอยู่ในครรภ์คุณแม่ หรือหากเด็กเดินเร็วเพราะเด็กเล็กยังไม่สามารถเดินได้อย่างมั่นคง หรือกรณีเคยเกิดอุบัติเหตุจนกระดูกแตกหัก จนกระดูกเปลี่ยนรูปจนเกิดขาโก่งได้

 

ภาวะขาโก่ง ส่งผลยังไงกับลูก

หากลูกมีภาวะขาโก่งที่เกิดจากความผิดปกติ หรือเป็นโรคเบล้าท์ (Blount’s Disease) และไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี อาจส่งผลเสียอื่น ๆ ตามมามากมาย ดังนี้

  • เสียบุคลิก: ลูกขาโก่ง อาจทำให้เสียบุคลิก เนื่องจากมีสรีระที่ผิดปกติ ทำให้เดินขาโก่งตลอดเวลา
  • ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง: จากการที่เดินขาโก่งจนคนภายนอกสังเกตได้ชัดเจน
  • ปวดเข่าตลอดเวลา: เพราะขณะที่เดินขาโก่ง จะส่งผลต่อเอ็นข้อเข่าให้ยืดออกไปด้วย จนทำให้ปวดเข่าเรื้อรังได้

 

ลูกขาโก่งดูยังไง คุณแม่ไม่จำเป็นต้องดัดขาให้ลูก

 

เด็กขาโก่ง คุณแม่ต้องดัดขาให้ลูกไหม

ความเชื่อเกี่ยวกับการดัดขา เมื่อพบว่าลูกขาโก่งนั้น เป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากเมื่อเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป ขาที่เคยโก่งจะเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติจนตรงในที่สุดตามธรรมชาติอยู่แล้ว แต่คุณพ่อคุณแม่บางครอบครัวทำการดัดขา หรือใช้ผ้ารัดขาให้เข้ารูปตั้งแต่ก่อนอายุ 2 ปี จนเข้าใจว่าการดัดขาช่วยให้ลูกหายขาโก่งได้

 

ซึ่งในความเป็นจริงอาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยได้ เพราะอาจทำให้ลูกรู้สึกเจ็บปวดหรือกระดูกหักได้หากมีการดัดขาหรือรัดขาแน่นจนเกินไป ดังนั้นหากลูกอายุเกิน 2 ปีแล้ว และยังมีภาวะขาโก่ง ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีโดยไม่ต้องดัดขา

 

3 เคล็ดลับ ป้องกันภาวะเด็กขาโก่งในเด็ก

เด็กขาโก่ง เป็นอาการที่พบได้บ่อยมากในเด็กเล็ก โดยเฉพาะในเด็กวัยเริ่มหัดเดิน หรืออายุประมาณ 1 ปี ซึ่งอาจเกิดได้จากอาการตามธรรมชาติ และจะดีขึ้นได้เองเมื่อติบโตขึ้น หรือเกิดจากความผิดปกติจนถือว่าเป็นโรค ซึ่งจำเป็นต้องทำการรักษาให้ถูกวิธีโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เช่น การใส่อุปกรณ์ดามขาหรือการผ่าตัด ขึ้นกับความรุนแรงของอาการขาโก่งและอายุด้วย ทั้งนี้หากคุณพ่อคุณแม่อยากป้องกันความเสี่ยงที่ลูกน้อยจะเกิดภาวะขาโก่ง สามารถทำได้ ดังนี้

1. ควบคุมน้ำหนักลูกให้อยู่ในเกณฑ์

หากเด็กมีน้ำหนักมากจนเกินมาตรฐาน อาจส่งผลให้กระดูกมีการกดทับบริเวณด้านในข้อเข่าจนทำให้เกิดอาการขาโก่ง

 

2. ไม่ต้องเร่งรีบสอนลูกเดินเร็วเกินวัย

จากการศึกษาพบว่าเด็กที่เดินเร็วเกินวัย อาจทำให้เกิดภาวะขาโก่งได้ง่าย เพราะด้วยวัยที่ยังไม่พร้อมเดิน ทำให้เด็กเดินได้ไม่มั่นคงเพียงพอ

 

3. ใช้รถเข็นหัดเดินอย่างระมัดระวัง

เพราะอาจเสี่ยงต่อการผลัดล้มหรือพลิกคว่ำของการใช้รถเข็นหัดเดิน (Baby Walker) และยังสร้างลักษณะการเดินเขย่งเท้าจนทำให้ขาโก่ง

 

คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมการยืนและการเดินของลูกตั้งแต่ต้น เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของภาวะขาโก่งของลูก เพื่อให้คุณหมอวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี จนสามารถกลับมาหายเป็นปกติ ทำให้ลูกเติบโตได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรงมากที่สุด และมีความมั่นใจในสรีระ ตลอดจนบุคลิกภาพที่ดีของตนเอง

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 


อ้างอิง:

  1. ลูกน้อยขาโก่งอย่าชะล่าใจ อาจโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่สมบูรณ์, โรงพยาบาลพญาไท
  2. ลูกขาโก่ง ภัยอันตรายแฝงเงียบที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม, โรงพยาบาลสินแพทย์
  3. ภาวะขาโก่งในเด็ก (Bowed leg), โรงพยาบาลสินแพทย์

อ้างอิง ณ วันที่ 4 กันยายน 2567
 

บทความแนะนำ

อาการภูมิแพ้ในเด็ก สาเหตุ อาการ พร้อมวิธีดูแลรักษาภูมิแพ้ในเด็ก

โรคภูมิแพ้ในเด็ก อาการ สาเหตุ พร้อมวิธีดูแลอาการภูมิแพ้ในเด็ก

ทำความรู้จักโรคภูมิแพ้ในเด็ก สาเหตุ อาการ และ 3 ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการภูมิแพ้ในเด็กที่เกิดขึ้นกับลูก ภูมิแพ้ในเด็กเกิดจากอะไร พร้อมวิธีดูแลลูกน้อยเบื้องต้น

รู้ทันโรคภูมิแพ้ในเด็ก เด็กแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้อาหาร ที่แม่ป้องกันได้

รู้ทันโรคภูมิแพ้ในเด็ก เด็กแพ้ฝุ่น ภูมิแพ้อาหาร ที่แม่ป้องกันได้

โรคภูมิแพ้ในเด็ก เกิดจากอะไร ลูกเป็นภูมิแพ้ฝุ่น ขนสัตว์หรือเด็กแพ้อาหาร คุณแม่ควรสังเกตสารก่อภูมิแพ้ในเด็ก พร้อมวิธีป้องกันอาการเด็กแพ้ฝุ่นและเด็กแพ้อาหาร

แพ้แลคโตส คืออะไร อาการแพ้แลคโตสทารก ที่แม่ต้องรู้

แพ้แลคโตส คืออะไร อาการแพ้แลคโตสทารก ที่แม่ต้องรู้

ลูกแพ้แลคโตส คืออะไร อาการแพ้แลคโตสทารก เกิดจากอะไรได้บ้าง คุณแม่มีวิธีรับมือกับอาการแพ้แลคโตสทารกอย่างไร พร้อมวิธีป้องกันเมื่อลูกแพ้แลคโตสในนม

 เด็กแพ้นมวัว มีอาการอย่างไร พร้อมวิธีสังเกตลูกน้อย

เด็กแพ้นมวัว มีอาการอย่างไร พร้อมวิธีสังเกตลูกน้อย

เด็กแพ้นมวัว เกิดจากอะไร อาการเด็กแพ้นมวัวเป็นแบบไหน ลูกแพ้นมวัวจะมีผื่นแพ้นมวัวหรือเปล่า พร้อมวิธีสังเกตว่าเด็กแพ้อาหารทั่วไปหรือเด็กแพ้นมวัว

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก