วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอเมื่อลูกไม่เรอ ช่วยให้ลูกสบายท้อง หลังอิ่มนม

วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอ ท่าจับลูกเรอ ช่วยให้ลูกสบายท้องหลังอิ่มนม

04.04.2024

เด็กวัยให้นม เป็นวัยที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะร่างกายยังเติบโตไม่เต็มที่และยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหารและการย่อยของทารก ทำให้หลังจากที่คุณแม่ป้อนนมให้ลูกน้อย คุณแม่ควรจับลูกให้อยู่ในท่าที่ถูกต้อง เพื่อให้ลูกน้อยสบายท้อง สำหรับวิธีอุ้มเรอหรือวิธีจับลูกเรอ เมื่อลูกไม่เรอ มีท่าไหนบ้าง ต้องใช้เวลาเท่าไหร่กว่าลูกจะเรอ ลูกนอนไปแล้ว คุณแม่จำเป็นต้องปลุกลูกขึ้นมาไหม ทุกคำถามที่คุณแม่สงสัย เรามีคำตอบ

headphones

PLAYING: วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอ ท่าจับลูกเรอ ช่วยให้ลูกสบายท้องหลังอิ่มนม

อ่าน 4 นาที

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

การจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอ ดีกับลูกน้อยอย่างไร

  • การจับลูกเรอ ด้วยท่าอุ้มเรอหลังกินนม สามารถช่วยลดอาการทารกท้องอืด  การไม่สบายท้อง และอาการแหวะนม ให้กับลูกน้อยได้ เพราะเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า 6 เดือน ระบบทางเดินอาหารและการย่อย ยังไม่สมบูรณ์ การเกิดลมหรือแก๊สในกระเพาะอาหารจึงเกิดขึ้นได้ง่าย
  • เมื่อคุณแม่ให้ลูกกินนมแล้ว คุณแม่สามารถจับลูกเรอได้ด้วยท่าอุ้มเรอ 3 ท่าด้วยกัน คือ พาดบ่าวางลูกน้อยระหว่างไหล่ ให้ลูกนั่งตัก และให้ลูกน้อยนอนคว่ำบนตัก โดยที่แม่ใช้มืออีกข้างค่อย ๆ ลูบหลังเพื่อเป็นการขับลมออกมา
  • เด็กแต่ละคนใช้ระยะเวลาในการเรอที่แตกต่างกัน หนูน้อยบางคนแทบจะเรอทันทีที่จับอุ้มเรอ แต่เด็กบางคนอาจใช้เวลา 2-3 นาที หรือลูกไม่เรอเลยก็มี ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ หากลูกไม่เรอคุณแม่ควรเปลี่ยนวิธีอุ้มเรอหรือท่าอุ้มเรอให้กับลูกน้อย

 

การจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอ ดีกับลูกน้อยอย่างไร

 

การจับลูกเรอคืออะไร และทำไมคุณแม่ต้องจับลูกเรอ

การจับลูกเรอหรือท่าอุ้มเรอ คือ วิธีการช่วยขับลมหรือแก๊สที่เกิดขึ้นระหว่างการกินนมให้ออกจากกระเพาะอาหาร ผ่านทางเดินอาหาร แล้วขับลมออกมาทางปากของลูกน้อย ทำให้เจ้าตัวเล็กรู้สึกสบายท้อง ไม่จุกเสียดท้องแน่นท้องจากการระบายเอาลมออกมา ซึ่งวิธีจับลูกเรอนี้จะช่วยลดอาการอึดอัด ร้องไห้งอแง และลดอาการท้องอืดของเด็กลงได้

 

คุณแม่ควรจับลูกเรอตอนไหนบ้าง

หากลูกไม่เรอ คุณแม่ควรจับลูกเรอ ด้วยท่าอุ้มเรอที่ถูกต้องทุกครั้งหลังจากให้ลูกกินนม เพื่อขับลมหรือแก๊สออกจากระเพาะอาหารที่เกิดขึ้นเพราะเด็กได้กลืนเอาลมหรืออากาศเข้าไปพร้อมกับนม โดยวิธีการจับลูกเรอด้วยท่าอุ้มเรอสำหรับเด็ก

 

ท่าอุ้มเรอและวิธีจับลูกเรอฉบับคุณแม่มือโปร

ท่าอุ้มเรอสำหรับลูกน้อยมีหลายวิธี เช่น การอุ้ม การจับนั่ง และการลูบหลัง โดยคุณแม่สามารถเลือกวิธีทำให้ลูกเรอได้ตามความถนัดและความสะดวกได้เลย ซึ่งท่าอุ้มเรอมี ดังนี้

1. ท่าอุ้มเรอวางลูกพาดบ่า

เริ่มจากให้คุณแม่ใช้ผ้าอ้อมพาดรองที่บ่าแล้วอุ้มลูกพาดที่บ่า พยายามให้ลำตัวของเด็กตั้งตรง ใช้มือข้างหนึ่งประคองที่ก้นลูกไว้ ส่วนอีกข้างค่อย ๆ เอามือลูบบริเวณหลังของลูกเบา ๆ ในระหว่างนั้นคุณแม่สามารถเดินไปมาเพื่อให้นมจากกระเพาะอาหารไหลลงสู่ลำไส้ได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งท่านี้เป็นท่าอุ้มเรอที่ง่ายที่สุดสำหรับคุณแม่มือใหม่

 

วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอวางลูกพาดบ่า

 

2. ท่าอุ้มเรอนั่งบนตัก

ให้คุณแม่จับลูกนั่งตัวตรง โดยที่ตัวลูกแนบชิดกับตัวคุณแม่ ใช้มือข้างหนึ่งคอยประคองบริเวณลำคอของลูกเอาไว้ ส่วนมืออีกข้างลูบด้านหลังโดยวนเป็นวงกลมอย่างช้า ๆ เพื่อให้ลมถูกขับออกมา

 

วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอนั่งบนตัก

 

3. ท่าอุ้มเรอนอนคว่ำบนตัก

ให้คุณแม่ใช้มือข้างหนึ่งประคองที่คางลูก โดยให้คางอยู่ระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วโป้ง เพื่อประคองศีรษะของลูกน้อยให้มั่นคง แล้วโน้มตัวลูกไปด้านหน้าเล็กน้อย จากนั้นใช้มืออีกข้างค่อย ๆ ลูบหลังเบา ๆ โดยเริ่มจากช่วงเอวขึ้นมายังต้นคอ ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าลูกจะเรอ

 

วิธีจับลูกเรอ ท่าอุ้มเรอนอนคว่ำบนตัก

ข้อควรระวัง: ควรประคองศีรษะลูกให้มั่นคง

 

คุณแม่ต้องจับลูกเรอกี่นาที หรือนานแค่ไหน

ในระหว่างที่คุณแม่จับลูกเรอ ด้วยท่าอุ้มเรอคงกระวนกระวายใจว่าเมื่อไหร่ลูกจะเรอกันนะ แล้วนานไหมกว่าลูกจะเรอ โดยปกติแล้วเมื่อมีการจับลูกเรอ ควรใช้เวลาประมาณ 2-3 นาที ในบางกรณีเด็กบางคนอาจใช้เวลาเร็วหรือนานกว่านั้น ซึ่งระยะเวลาในการเรอของเด็กอาจไม่แน่นอน และในเด็กบางคนอาจไม่เรอเลยก็ได้ 

 

ช่วงอายุและเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มจับลูกเรอ

ช่วงเวลาที่ควรจับลูกเรอ คือช่วงที่ลูกอายุยังไม่เกินประมาณ 6 เดือน เนื่องจากหลังจากช่วงนี้ไปแล้ว ร่างกายของทารกจะเริ่มโตขึ้น ระบบทางเดินอาหารจะพัฒนาสมบูรณ์ขึ้นตามวัย และปัญหาแก๊สสะสมในกระเพาะอาหารก็จะเริ่มลดน้อยลง โดยความถี่ที่ควรจับลูกเรอจะแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน เนื่องจากเด็กบางคนอาจมีโอกาสเกิดแก๊สในกระเพาะอาหารมากกว่า เช่น เด็กที่ดื่มจากขวด เพราะมักจะดื่มนมเร็วกว่า ซึ่งจะเพิ่มโอกาสให้เด็กกลืนอากาศเข้าไปมากขึ้น หลัก ๆ แล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจยึดตามเกณฑ์ต่อไปนี้

  • เด็กที่ดื่มจากเต้า ให้จับลูกเรอทุกครั้งที่คุณแม่เปลี่ยนข้างเต้านมที่ให้นมลูก
  • เด็กที่ดื่มจากขวด ให้จับลูกเรอทุกครั้งเมื่อลูกดื่มนมไปได้ประมาณ 60–90 มิลลิลิตร

 

คุณพ่อคุณแม่ควรจับลูกเรอทุกครั้งหลังจากที่ลูกดื่มนมเสร็จ

กรณีที่ลูกน้อยหลับไปขณะให้นมสามารถปล่อยให้ลูกน้อยได้หลับตามปกติ โดยไม่ต้องปลุกลูกขึ้นมาให้เรอ นอกจากการจับเรอในช่วงหลังให้นมแล้ว ช่วงเวลาอื่นที่จะจับลูกเรออาจลองสังเกตจากสัญญาณบางอย่าง เช่น เมื่อลูกงอแงขณะดื่มนม บ้วนน้ำลาย ลูกไม่ยอมกินนม  หรือขณะที่ลูกดิ้นไปดิ้นมา

 

คุณพ่อคุณแม่ควรจับลูกเรอทุกครั้งหลังจากที่ลูกดื่มนมเสร็จ

 

สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่อยู่ในช่วงให้นมลูกน้อย  คงหายสงสัยและคลายกังวลเกี่ยวกับการเรอและวิธีจับลูกเรอไปบ้างแล้ว แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่คุณแม่พบว่าเมื่อจับลูกอุ้มเรอแล้วลูกยังมีอาการร้องไห้งอแงไม่หยุด หรือมีอาการแหวะนมมากกว่าปกติอยู่บ่อยครั้ง แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำในการดูแลลูกโดยเฉพาะ เพื่อให้ลูกน้อยมีสุขภาพที่ดีและมีร่างกายที่แข็งแรง

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นม

 


อ้างอิง:

  1. คุณแม่อย่าเผลอ…อย่าลืมให้ลูกเรอหลังกินนม
  2. รู้จักช่วงเวลาที่เหมาะสมในการจับลูกเรอ และวิธีจับลูกเรออย่างถูกต้อง, พบแพทย์

อ้างอิง ณ วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2566

บทความแนะนำ

คันแผลผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าคลอด

คันแผลผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าคลอด

คันแผลผ่าคลอดทำยังไงดี คุณแม่มีอาการคันแผลผ่าคลอดหลังคลอดลูก มีวิธีบรรเทาอาการคันหลังคลอดยังไงบ้าง พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าคลอดที่แม่ควรรู้

ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย แผลผ่าคลอดไหมละลายตอนไหน

ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย แผลผ่าคลอดไหมละลายตอนไหน

ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย ใช้เวลานานแค่ไหนกว่าแผลผ่าคลอดไหมจะละลาย ข้อดีของไหมละลายมีอะไรบ้าง คุณแม่ผ่าคลอดต้องกลับมาตัดไหมด้วยหรือเปล่า ไปดูกัน

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าตัดขับรถได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าตัดขับรถได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าคลอดเริ่มขับรถได้เลยไหม ถ้าเริ่มขับทันทีหลังคลอด จะอันตรายกับคุณแม่ผ่าคลอดแค่ไหน หากคุณแม่ต้องขับรถ ไปดูกัน

ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม ท้องผูกหลังผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี

ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม ท้องผูกหลังผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี

คุณแม่ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม หลังผ่าคลอดคุณแม่มีอาการท้องผูกหลังผ่าคลอด เกิดจากอะไร ท้องผูกบ่อยอันตรายไหมสำหรับแม่ผ่าคลอดที่มีอาการท้องผูก

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก