ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม ท้องผูกหลังผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี

ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม ท้องผูกหลังผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี

21.08.2024

อาการหลังคลอดของคุณแม่ เกิดจากภาวะที่ร่างกายกำลังฟื้นฟูกลับเข้าสู่สภาวะปกติเหมือนก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งอวัยวะต่าง ๆ ต้องใช้ระยะเวลาในการกลับเข้าสู่สภาวะปกติ และลำไส้ถือเป็นอวัยวะหนึ่งที่ต้องใช้เวลาในการปรับตัว ในช่วงแรกหลังคลอด ลำไส้จะยังขยับหรือเคลื่อนไหวได้ไม่ดีนัก จึงส่งผลต่อกระบวนการย่อยอาหาร รวมไปถึงการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ขยับร่างกายน้อยอาจเนื่องมาจากการเจ็บแผลผ่าคลอด ทำให้คุณแม่หลังคลอดส่วนใหญ่ พบปัญหาอาการท้องผูกตามมาด้วย

headphones

PLAYING: ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม ท้องผูกหลังผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • ปัญหาอาการท้องผูก เกิดขึ้นได้จากอาการเจ็บแผลผ่าคลอดอาจทำให้คุณแม่รู้สึกไม่อยากเบ่งอุจจาระ ซึ่งส่งผลต่ออาการท้องผูกจนถึงภาวะริดสีดวงตามมา
  • คุณแม่ผ่าคลอดสามารถเบ่งอุจจาระเบา ๆ เพื่อช่วยกระตุ้นระบบขับถ่ายให้ดียิ่งขึ้น และควรทำเป็นประจำสม่ำเสมอถึงแม้จะไม่มีอาการปวดอุจจาระ เพื่อจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายกลับสู่ภาวะปกติ
  • วิธีรับมือเมื่อเกิดอาการท้องผูกหลังผ่าคลอด คือ การดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายเบา ๆ ทั้งหมดนี้จะช่วยกระตุ้นระบบขับถ่ายให้ดีขึ้น

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ท้องผูกหลังผ่าคลอด ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติไหม

หลังจากการผ่าคลอดลูกแล้ว ปัญหาหนึ่งที่คุณแม่สามารถพบได้ในช่วงหลังคลอด คือ ปัญหาอาการท้องผูก เนื่องจากอาการเจ็บแผลผ่าคลอดอาจทำให้คุณแม่รู้สึกไม่อยากเบ่งอุจจาระ ซึ่งส่งผลต่ออาการท้องผูกจนถึงภาวะริดสีดวงตามมาหลังจากนั้น คุณแม่จึงควรรับประทานอาหารคุณแม่หลังคลอดที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชต่าง ๆ และดื่มน้ำให้มากเพียงพอ เพื่อช่วยให้คุณแม่ขับถ่ายได้ดีมากขึ้น ซึ่งหากเมื่อผ่านไปสักพักแล้วอาการท้องผูกยังไม่ดีขึ้น คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป

 

หลังผ่าคลอดท้องผูก เกิดจากอะไรได้บ้าง

สาเหตุที่คุณแม่หลังผ่าตัดคลอดอาจเกิดอาการท้องผูกได้นั้น อาจเนื่องมาจากการปรับตัวของร่างกายที่กำลังจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ รวมถึงการพักผ่อนไม่เพียงพอ การดื่มน้ำน้อย ขาดการขยับร่างกายหรือออกกำลังกาย ทั้งหมดนี้อาจส่งผลต่อการขับถ่าย และทำให้เกิดอาการท้องผูกสำหรับคุณแม่หลังคลอดได้

 

คุณแม่ผ่าคลอดเบ่งอุจจาระได้ไหม

ภายหลังคลอดลูก จะเป็นช่วงที่ร่างกายพยายามฟื้นฟูอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งการเบ่งอุจจาระเบา ๆ ถือเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยคุณแม่หลังผ่าคลอดในการกระตุ้นระบบขับถ่ายให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งคุณแม่ควรทำเป็นประจำสม่ำเสมอถึงแม้จะไม่มีอาการปวดอุจจาระก็ตาม เพื่อจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายกลับสู่ภาวะปกติ และหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่ออาการท้องผูกหรือริดสีดวง

 

ท้องผูกหลังผ่าคลอด ส่งผลกระทบอะไรกับคุณแม่บ้าง

  1. ความเครียด ความกังวล จากการที่คุณแม่จะรู้สึกไม่สบายตัวซึ่งอาจส่งผลต่อการพักผ่อนไม่เพียงพอด้วย ยิ่งทำให้อาการท้องผูกรุนแรงขึ้นได้
  2. เจ็บแผล แผลปริ เนื่องจากภาวะท้องผูก ส่งผลให้คุณแม่ต้องออกแรงเบ่งอุจจาระจนอาจทำให้เจ็บบริเวณแผลหรือแผลผ่าคลอดมีเลือดออกอักเสบข้างในได้ ดังนั้น ในช่วงแรกควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงเยอะ เพราะอาจส่งผลต่อบริเวณแผลผ่าคลอด ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ที่แผลผ่าคลอดชั้นนอกจะเริ่มสมานตัว และแผลผ่าคลอดชั้นในจะต้องใช้เวลาอีกประมาณ 2-4 สัปดาห์ ในการรักษาแผลผ่าคลอดจะปิดสนิทดี
  3. ริดสีดวง อาจเกิดขึ้นได้หากมีอาการท้องผูกเป็นระยะเวลานาน และออกแรงเบ่งขณะขับถ่ายมาก รวมถึงการนั่งขับถ่ายเป็นเวลานาน บางครั้งคุณแม่อาจติดการเล่นโทรศัพท์หรืออ่านหนังสือขณะขับถ่าย ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้อาจจะส่งผลให้ริดสีดวงมีขนาดใหญ่ขึ้นได้

 

ผ่าคลอดแล้วท้องผูก กลัวเบ่งแล้วแผลปริ ทำไงดี

คุณแม่หลังคลอดควรพยายามขับถ่ายให้ถูกวิธี ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ พักผ่อนนอนหลับอย่างมีคุณภาพ ขยับร่างกาย ปรับเปลี่ยนท่าทาง ลุกนั่ง ยืน เดิน สลับกับนอนบ้าง เพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้มากขึ้น รวมถึงรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง จะช่วยให้อาการท้องผูกดีขึ้น โดยระหว่างอุจจาระสามารถเบ่งเบา ๆ ได้ และพยายามขับถ่ายให้เป็นกิจวัตร เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจทำให้แผลผ่าคลอดปริได้

 

ท้องผูกหลังผ่าคลอด อาจทำให้คุณแม่เป็นริดสีดวงได้

ริดสีดวง คือ กลุ่มหลอดเลือดบริเวณเยื่อบุทวารหนักมีการโป่งพอง จะมีอาการคล้ายมีติ่งยื่นออกจากทวารหนัก ซึ่งอาการนี้บางครั้งอาจจะพบได้ตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอดในช่วงระยะแรก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ และระบบเลือดไหลเวียนไม่ดี ทำให้เลือดไปเลี้ยงริดสีดวงมากขึ้น ซึ่งอาการริดสีดวงที่พบได้หลังคลอด อาจทำให้ขณะอุจจาระมีอาการปวดทวารหนัก มีเลือดปนในอุจจาระ มีก้อนตรงทวารหนักจนสามารถคลำได้ หากคุณแม่มีอาการไม่มาก สามารถดูแลด้วยการด้วยการดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร ร่วมกับการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูงเพิ่มขึ้น แต่หากอาการเจ็บปวดหนักมากขึ้น ควรรีบปรึกษาคุณหมอต่อไป

 

วิธีรับมือเมื่อคุณแม่ท้องผูกหลังคลอด

 

วิธีรับมือเมื่อคุณแม่ท้องผูกหลังคลอด

  • ออกกำลังกายหลังคลอด หรือทำกิจกรรมเบา ๆ หมั่นขยับร่างกาย เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ ทำให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหว
  • รับประทานอาหารที่มีกากใย ไฟเบอร์สูง ช่วยให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น และกระตุ้นระบบย่อยอาหาร
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว ช่วยทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น และขับถ่ายง่ายขึ้น

 

ท้องผูกหลังคลอด คุณแม่กินยาระบายได้ไหม

หากปัญหาท้องผูกหลังคลอดสร้างความกังวลใจเป็นอย่างมาก และส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน คุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอและไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง ซึ่งคุณหมอจะให้การรักษาอย่างถูกวิธีที่สุด

 

ท้องผูกหลังผ่าคลอดแบบไหน ควรรีบไปพบแพทย์

โดยทั่วไปแล้ว อาการท้องผูกหลังผ่าคลอดจะดีขึ้นตามลำดับจนกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ โดยหากคุณแม่ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีกากใยมากขึ้น ก็จะช่วยแก้ปัญหาท้องผูกได้ดียิ่งขึ้น แต่หากหลังคลอดไปสักพักนึงแล้ว อาการท้องผูกยังไม่หายไป หรือมีอาการท้องผูกมากกว่า 4 วัน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาอาการให้ดีขึ้นอย่างถูกวิธีและปลอดภัยต่อการให้นมลูกด้วยค่ะ

 

ภาวะท้องผูกหลังผ่าคลอด ถือเป็นปัญหากวนใจของคุณแม่หลาย ๆ ท่าน ดังนั้น คุณแม่ต้องเตรียมรับมือ และศึกษาวิธีช่วยแก้ปัญหาอาการท้องผูก ทั้งการดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายเบา ๆ หลีกเลี่ยงการเบ่งอุจจาระอย่างรุนแรง เพราะหากปล่อยให้อาการท้องผูกเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลให้เกิดริดสีดวงได้ เมื่อปฏิบัติตามข้อแนะนำเหล่านี้แล้ว อาการท้องผูกหลังคลอดยังไม่ดีขึ้นหรือเป็นติดต่อกันยาวนาน ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด

 

 

อ้างอิง:

  1. ภาวะหลังคลอด ที่คุณแม่ควรทำความเข้าใจและเตรียมพร้อมรับมือ, โรงพยาบาลนครธน
  2. ท้องผูกหลังคลอด สาเหตุ และวิธีการรักษา, Hellokhunmor
  3. ถาม - ตอบข้อสงสัยเรื่องริดสีดวง, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  4. 8 เคล็ดลับดูแลแผลผ่าคลอดให้แผลสวย หายไว ฟื้นตัวเร็ว, โรงพยาบาลวิมุต

อ้างอิง ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2567
 

บทความแนะนำ

สักทับรอยผ่าคลอดอันตรายไหม พร้อมวิธีดูแลรอยสักทับแผลผ่าคลอด

สักทับรอยผ่าคลอดอันตรายไหม พร้อมวิธีดูแลรอยสักทับแผลผ่าคลอด

คุณแม่ผ่าคลอดสักทับรอยผ่าคลอดเพื่อกลบรอยแผลเป็นได้ไหม คุณแม่สามารถเริ่มสักทับรอยผ่าคลอดได้ตอนไหน อันตรายกับลูกเมื่อต้องให้นมหรือเปล่า ไปดูกัน

คันแผลผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าคลอด

คันแผลผ่าคลอด คุณแม่ทำยังไงดี พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าคลอด

คันแผลผ่าคลอดทำยังไงดี คุณแม่มีอาการคันแผลผ่าคลอดหลังคลอดลูก มีวิธีบรรเทาอาการคันหลังคลอดยังไงบ้าง พร้อมวิธีแก้อาการคันแผลผ่าคลอดที่แม่ควรรู้

ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย แผลผ่าคลอดไหมละลายตอนไหน

ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย แผลผ่าคลอดไหมละลายตอนไหน

ไหมละลายหลังคลอดกี่วันหาย ใช้เวลานานแค่ไหนกว่าแผลผ่าคลอดไหมจะละลาย ข้อดีของไหมละลายมีอะไรบ้าง คุณแม่ผ่าคลอดต้องกลับมาตัดไหมด้วยหรือเปล่า ไปดูกัน

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าตัดขับรถได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าตัดขับรถได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

คุณแม่ผ่าคลอดกี่วันขับรถได้ หลังผ่าคลอดเริ่มขับรถได้เลยไหม ถ้าเริ่มขับทันทีหลังคลอด จะอันตรายกับคุณแม่ผ่าคลอดแค่ไหน หากคุณแม่ต้องขับรถ ไปดูกัน

คุณแม่ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน

คุณแม่ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน

ผ่าคลอดห้ามยกของหนักกี่เดือน คุณแม่ผ่าคลอดยกของหนักได้ตอนไหน หากคุณแม่ยังไม่หายดีและยกของหนักทันที แบบนี้อันตรายกับคุณแม่ผ่าคลอดหรือเปล่า

ท่านอนหลังผ่าคลอด ท่านอนคนผ่าคลอด คุณแม่นอนแบบไหนถึงดีที่สุด

ท่านอนหลังผ่าคลอด ท่านอนคนผ่าคลอด คุณแม่นอนแบบไหนถึงดีที่สุด

ท่านอนหลังผ่าคลอด คุณแม่ผ่าคลอดควรนอนท่าไหน ท่านอนแบบไหนนอนแล้วไม่เจ็บแผลผ่าคลอดและเหมาะกับแม่ผ่าคลอดที่สุด ไปดูท่านอนหลังผ่าคลอดกัน

ผ่าคลอดกินไข่ได้ไหม แม่หลังผ่าคลอดกินไข่ได้ไหม ห้ามกินอะไรบ้าง

ผ่าคลอดกินไข่ได้ไหม แม่หลังผ่าคลอดกินไข่ได้ไหม ห้ามกินอะไรบ้าง

คุณแม่ผ่าคลอดกินไข่ได้ไหม กินไข่หลังผ่าคลอดทำให้แผลนูนและหายช้าจริงหรือเปล่า ไปดูกันว่าคุณแม่หลังคลอดกินไข่ได้ไหม พร้อมวิธีช่วยให้แผลหายเร็ว

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก