ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็น คุณแม่รับมืออย่างไรดี

ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็น คุณแม่รับมืออย่างไรดี

12.09.2024

เด็กเล็กมักมีอาการป่วยอยู่บ่อย ๆ เพราะภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ ทำให้คุณแม่หลายคนเกิดอาการกระวนกระวายใจทุกครั้งที่ลูกมีไข้จนคุณแม่แทบจะป่วยตาม ปกติลูกเป็นไข้ตัวร้อนเพียงอย่างเดียว แต่ครั้งนี้ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็นด้วย เกิดจากอะไร เป็นอาการป่วยที่ผิดปกติไหม และมีวิธีการดูแลลูกน้อยอย่างไร เรามาดูคำแนะนำกันเลย

headphones

PLAYING: ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็น คุณแม่รับมืออย่างไรดี

อ่าน 5 นาที

 

สรุป

  • ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็นเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย คือ ภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การดูแลรักษาความสะอาดที่ไม่ดีพอ ทำให้ลูกน้อยเสี่ยงต่อการเป็นไข้
  • อาการลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็น เป็นอาการที่พบได้ปกติของเด็ก เกิดจากกลไกของร่างกายที่ตอบสนองต่อเชื้อโรค ลูกน้อยจึงมีอาการตัวร้อน เป็นไข้ และอาจมีอาการมือเท้าเย็นร่วมด้วย
  • เมื่อลูกน้อยมีอาการเป็นไข้ตัวร้อนควรดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด คุณแม่ควรให้ลูกกินยาลดไข้ตามคำแนะนำของแพทย์ควบคู่กับการเช็ดตัวบ่อย ๆ เพื่อให้อาการตัวร้อนเป็นไข้บรรเทาลง

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ลูกเป็นไข้ตัวร้อน เกิดจากสาเหตุอะไร

สาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยเป็นไข้ไม่สบายเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ได้แก่

1. ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของเด็กยังอ่อนแอไม่แข็งแรงเหมือนของผู้ใหญ่ ทำให้ลูกน้อยเสี่ยงจากการติดเชื้อที่มีเชื้อโรคแพร่กระจายอยู่ในอากาศเต็มไปหมด

 

2. การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

สภาพอากาศที่แปรปรวนเปลี่ยนแปลงบ่อย เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็น คุณแม่จึงต้องดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด

 

3. การดูแลรักษาความสะอาดที่ไม่ดีพอ

เชื้อโรคที่ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยไม่สบายมักกระจายอยู่รอบตัวของลูกน้อย คุณแม่จึงต้องหมั่นดูแลสุขอนามัยของลูกน้อยให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคจนทำให้เสี่ยง ต่อการติดเชื้อจนเป็นไข้ตัวร้อนได้

 

ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็น ผิดปกติไหม

อาการลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็น เป็นอาการที่พบได้ปกติในเด็ก เกิดจากกลไกของสารเคมีในเม็ดเลือดขาวในร่างกายที่ตอบสนองต่อเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่รุกล้ำเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ร่างกายผลิตความร้อนออกมาเพื่อกำจัดเชื้อโรคออกจากร่างกาย ลูกน้อยจึงมีอาการตัวร้อนเป็นไข้ เด็กบางคนอาจมีอาการมือเท้าเย็นและซีดร่วมด้วย

 

ลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็น เป็นนานแค่ไหนอันตราย

เมื่อลูกเป็นไข้ตัวร้อนแต่มือเท้าเย็นคุณแม่อย่านิ่งนอนใจ ควรวัดอุณหภูมิของลูกน้อยเพื่อดูว่าลูกมีไข้สูงหรือไม่ และควรดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด หมั่นวัดอุณหภูมิบ่อย ๆ ทุก 4-6 ชั่วโมง โดยมีคำแนะนำดังนี้

  • ลูกน้อยมีอุณหภูมิอยู่ที่ 37.5 - 38.4 องศาเซลเซียส แสดงว่า ลูกมีอาการไข้ต่ำ คุณแม่ควรเช็ดตัวให้ลูกน้อยบ่อย ๆ เน้นช่วงข้อพับของร่างกาย ครั้งละประมาณ 15-20 นาที หรือจนกว่าไข้จะลด หากไข้ไม่ลดลงควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์
  • ลูกน้อยมีไข้สูงอยู่ที่ 38.5 - 39.4 องศาเซลเซียส แสดงว่า ลูกมีอาการไข้สูง ถ้าลูกน้อยมียาลดไข้อยู่แล้วคุณแม่ควรให้ลูกกินยาลดไข้ตามคำแนะนำของแพทย์ควบคู่กับการเช็ดตัวบ่อย ๆ เพื่อให้ไข้ลดลง หากลูกน้อยกินยาแล้วแต่ไข้ไม่ลดลงภายใน 48 ชั่วโมง ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์ทันที ในกรณีที่ลูกน้อยมีไข้สูงและมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาเจียน กินข้าวไม่ได้ เหงื่อออกเยอะ และมีอาการซึม และไข้ยังไม่ลดลงหลังจากกินยาลดไข้และเช็ดตัวภายใน 24 ชม. ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์ทันที
  • ลูกน้อยมีไข้สูงมากกว่า 41.5 องศาเซลเซียส แสดงว่า ลูกมีไข้สูงมากเข้าขั้นวิกฤต คุณแม่ต้องพาลูกไปพบแพทย์ ทันที เพราะถ้าปล่อยไว้นานอาจทำให้ลูกชัก และถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

ลูกตัวร้อนแต่มือเท้าเย็น ต้องเช็ดตัวบ่อยแค่ไหน

ถ้าคุณแม่พบว่าลูกน้อยมีอาการตัวร้อนแต่มือเท้าเย็นควรเช็ดตัวให้ลูกน้อยบ่อย ๆ ทุก 4-6 ชั่วโมง ควบคู่กับการกินยาลดไข้ตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร และควรวัดอุณหภูมิของลูกน้อยหลังจากเช็ดตัวแล้ว 30 นาที หรือหลังจากให้ลูกน้อยกินยาลดไข้ 1 ชั่วโมง หากไข้ยังขึ้น ๆ ลง ๆ ภายใน 48 ชั่วโมง ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์

 

ลูกตัวร้อนมือเท้าเย็น กินยาลดไข้ได้ไหม

เมื่อลูกน้อยมีอาการเป็นไข้ตัวร้อน ไม่แนะนำให้คุณแม่เลือกยาให้ลูกกินเอง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อย ดังนั้น เมื่อลูกมีไข้คุณแม่ควรพาลูกน้อยไปหาหมอจะดีที่สุด โดยคุณแม่สามารถขอคำแนะนำในการใช้ยาลดไข้ที่เหมาะสมกับขนาดตัวของลูกน้อย เพื่อความปลอดภัยของเด็ก

 

ลูกตัวร้อนมือเท้าเย็น กินยาลดไข้ได้ไหม

 

ลูกตัวร้อนแต่มือเท้าเย็น ใช้แผ่นเจลลดไข้ได้ไหม

คุณแม่สามารถให้ลูกใช้แผ่นเจลลดไข้ได้หากลูกน้อยมีอายุ 2 ปีขึ้นไป เพราะความเย็นที่ออกมาจากตัวเจลจะทำให้ลูกน้อยรู้สึกสบายมากขึ้นและยังช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้ดี โดยแผ่นเจลที่ใช้แล้วคุณแม่ไม่ควรนำกลับมาใช้ซ้ำ และไม่ควรนำแผ่นเจลลดไข้ไปแช่แข็งเพราะอาจเป็นอันตรายต่อผิวหนังที่บอบบางของลูกน้อยได้ หากคุณแม่ต้องการใช้เจลลดไข้ให้ลูกน้อยสามารถขอคำแนะนำการใช้งานและวิธีใช้แผ่นเจลลดไข้สำหรับเด็กได้จากเภสัชกรได้เลย ควบคู่กับการเช็ดตัวให้ลูกน้อยอย่างสม่ำเสมอ

 

ลูกตัวร้อนแต่มือเท้าเย็น คุณแม่ช่วยลดไข้ลูกได้ยังไงบ้าง

เมื่อลูกตัวร้อนเป็นไข้ไม่สบาย คุณแม่สามารถดูแลลูกน้อยได้ ดังนี้

1. เช็ดตัวให้ลูกน้อยบ่อย ๆ

วิธีลดไข้เด็กทารก คุณแม่ควรเช็ดตัวให้ลูกน้อย โดยเลือกใช้น้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดาแทนน้ำเย็น เพื่อให้หลอดเลือดได้ขยาย และให้น้ำอุ่นนำความร้อนภายในร่างกายออกมาสู่ผิวได้มากขึ้น โดยให้คุณแม่นำผ้าชุบน้ำอุ่น บิดหมาดก่อนจะเริ่มเช็ดตั้งแต่ปลายเท้าขึ้นมาบริเวณลำตัวในลักษณะย้อนรูขุมขน เน้นประคบผ้าบริเวณหน้าผาก และข้อพับต่าง ๆ เช่น หลังหู รักแร้ ขาหนีบ และก้นกบ เพื่อให้ความร้อนถ่ายเทได้มากขึ้น นานครั้งละ 10-15 นาที หากลูกมีอาการหนาวสั่น ขณะเช็ดตัวให้หยุดทันที

 

2. ให้ลูกดื่มน้ำมาก ๆ

การดื่มน้ำจะช่วยให้ร่างกายได้ชดเชยน้ำที่สูญเสียไปจากเหงื่อเพราะพิษไข้ เพิ่มความชุ่มชื้น และลดการก่อเชื้อโรคในช่องปาก อีกทั้งการดื่มน้ำอุ่นยังช่วยให้ร่างกายของลูกน้อยเย็นลง ช่วยให้ร่างกายขับความร้อนออกมาในรูปแบบของปัสสาวะได้มากขึ้นด้วย

 

3. สวมเสื้อผ้าที่เบาสบาย

หลังจากเช็ดตัวให้ลูกน้อยแล้วคุณแม่ควรเปลี่ยนเสื้อผ้าให้ลูกน้อยเป็นชุดที่โปร่งสบาย ไม่หนา เพราะยิ่งให้ลูกน้อยสวมเสื้อหนา ๆ จะยิ่งทำให้ร่างกายขับความร้อนได้ยากขึ้น

 

4.  จัดห้องนอนให้เหมาะสม

คุณแม่ควรจัดที่นอนของลูกให้อยู่ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก และควรปรับอุณหภูมิของห้องให้เหมาะสมไม่ให้ร้อนหรือเย็นเกินไป โดยพยายามหลีกเลี่ยงการเปิดเครื่องปรับอากาศ และพยายามไม่เปิดพัดลมโดนตัวลูกน้อยตรง ๆ

 

5. เน้นอาหารที่ย่อยง่าย

เมื่อลูกตัวร้อนเป็นไข้ คุณแม่ควรทำอาหารที่ย่อยง่ายหรือมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก เช่น ข้าวต้ม หรือซุป หลีกเลี่ยงอาหารมันเพราะทำให้ย่อยได้ยาก รวมถึงอาหารรสเค็มจัด หรือหวานจัดด้วย

 

6. ปรับท่านอนให้ลูกน้อย

หากลูกมีอาการคัดจมูก ร่วมด้วย แนะนำให้คุณแม่จัดท่าให้ลูกน้อยนอนตะแคง และหนุนหมอนให้สูงขึ้น เพื่อช่วยให้ลูกน้อยหายใจได้สะดวกมากขึ้น

 

การดูแลลูกน้อยเมื่อมีอาการเป็นไข้ตัวร้อนมือเท้าเย็น มีขั้นตอนดูแลเหมือนกับอาการลูกมีไข้ตัวร้อน สิ่งสำคัญที่คุณแม่ควรทำเมื่อลูกมีไข้ควรเช็กอุณหภูมิของลูกน้อยก่อนว่าลูกมีไข้สูงหรือไม่ และควรลดความร้อนหรือลดไข้ให้ลูกน้อยให้เร็วที่สุด อย่าปล่อยให้ลูกมีไข้สูงเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้ลูกเกิดอาการชักจนเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ อีกทั้งควรกินยาลดไข้ตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกร ไม่ควรเลือกซื้อยาให้ลูกกินเองเพราะอาจยิ่งเพิ่มอันตรายให้กับลูกน้อยได้

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 

 

อ้างอิง:

  1. ลูกป่วยเป็นไข้บ่อย อย่าปล่อยไว้จนป่วยเรื้อรัง, โรงพยาบาลพญาไท
  2. เมื่อลูกน้อยมีไข้สูงตอนกลางคืน ต้องทำอย่างไร, โรงพยาบาลเปาโล
  3. เมื่อลูกเป็นหวัด มีไข้ ดูแลอย่างไรให้หายดี?, โรงพยาบาลพญาไท
  4. ไข้ในเด็ก อันตรายอย่างไร ?, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  5. วิธีเช็ดตัว “ลดไข้” ที่ถูกต้อง ควรทำอย่างไร ?, โรงพยาบาลศิครินทร์

อ้างอิง ณ วันที่ 5 สิงหาคม 2567
 

บทความแนะนำ

100 ชื่อจริง 100 ชื่อเล่นภาษาอังกฤษลูกสาว

100 ชื่อจริง ชื่อเล่นภาษาอังกฤษลูกสาว อัพเดตปี 2024 (ปี 2567)

รวมชื่อภาษาอังกฤษลูกสาว ชื่อภาษาอังกฤษผู้หญิง ชื่อเพราะน่ารัก ไอเดียตั้งชื่อลูกสาวภาษาอังกฤษ รับปีมังกรทอง ชื่อไหนเพราะ เป็นมงคล เหมาะกับลูกสาว ไปดูกัน

100 ชื่อจริง 100 ชื่อเล่นภาษาอังกฤษ

100 ชื่อจริง ชื่อเล่นภาษาอังกฤษลูกชาย อัพเดตปี 2024 (ปี 2567)

รวมชื่อภาษาอังกฤษลูกชาย ชื่อภาษาอังกฤษผู้ชาย ชื่อเพราะน่ารัก ไอเดียตั้งชื่อลูกชายภาษาอังกฤษ รับปีมังกรทอง ชื่อไหนเพราะ เป็นมงคล เหมาะกับลูกชาย ไปดูกัน

เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด 2563

เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด 2563 ทำยังไง ใครลงทะเบียนได้บ้าง อยากรู้อ่านเลย!

โครงการที่จะมาช่วยเหลือพ่อแม่เลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เงินอุดหนุนทารกแรกเกิดล่าสุด ประจำปี 2563 มาแล้ว ใครที่อยากรู้ว่าใช้เอกสารอะไรประกอบการลงทะเบียนบ้าง ลงทะเบียนเริ่มต้นตั้งแต่วันไหน วันสุดท้ายลงลงทะเบียนได้คือเมื่อไหร่  เรารวบรวมข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับ เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด 2563 มาให้ คุณแม่ คุณพ่อ เรียบร้อยแล้ว 

เมนูเด็กวัย 6 เดือน เริ่มยังไงดี ลูกต้องกินแค่ไหนถึงจะพอดี

เมนูเด็กวัย 6 เดือน เริ่มยังไงดี ลูกต้องกินแค่ไหนถึงจะพอดี

เมนูอาหารสำหรับเด็กวัย 6 เดือน มื้อแรกของลูกต้องเริ่มยังไง สำหรับเด็กเริ่มเคี้ยว ลูกน้อยต้องกินแค่ไหนถึงจะพอดี อาหารสำหรับเด็ก 6 เดือน มีอะไรบ้าง ไปดูกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก